สหรัฐฯ เผชิญดัชนีต้นทุนการจ้างงานเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจะโตต่อต้องเสริมแกร่งตลาดแรงงาน
Jack Kleinhenz หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสหพันธ์ค้าปลีกแห่งชาติ (NRF) ซึ่งเป็นสมาคมค้าปลีกใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเผยว่า มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ที่มีบุตร หรือ Child tax credit และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ อย่างไรก็ดีการเติบโตทางเศรษฐกิจในขั้นต่อไปคงต้องพึ่งพาการจ้างงานมากขึ้น บทความที่ตีพิมพ์เมื่อวันพุธที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ระบุเนื้อหาว่า จากนี้ไปเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าสู่เดือนต่อๆ ไปของปี 2021 จะมีส่วนจากความช่วยเหลือของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ลดลงเรื่อยๆ โดยรัฐบาลจะเริ่มมุ่งเน้นไปที่ความสำคัญไปที่ความสามารถในการสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านค่าแรงและเงินเดือนเพื่อรองรับการใช้จ่ายของแรงงาน เขา มองว่า ผู้บริโภคชาวอเมริกันยังคงใช้จ่ายต่อเนื่อง แต่ตลาดแรงงานและการสร้างงานจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นต่อความสามารถของพวกเขาที่จะจับจ่ายใช้สอย ทั้งนี้ ตลาดแรงงานตึงตัวมาก ณ เดือน มิ.ย. 2021 โดยรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เปิดรับอยู่มีจำนวน 10.07 ล้านตำแหน่ง แต่มีเพียง 9.48 ล้านคนที่หางานทำ การสำรวจตำแหน่งงานที่เปิดรับและการหมุนเวียนของแรงงานจากกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ความไม่สมดุลดังกล่าวส่งผลให้ตามดัชนีต้นทุนการจ้างงานเพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 […]
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่น (B-NIPPON)
Highlight ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ยังฟื้นตัวช้ากว่าตลาดหุ้นหลักของโลก เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่ที่ยังคงไม่ลดลงมากนัก แม้ว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก และการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้ามากขึ้น แต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น กองทุนหลักเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีความยั่งยืน (Sustainable ROE) มีแนวโน้มเติบโตสูง และมีความสามารถในการทำกำไรสูง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาบางบริษัทราคาปรับตัวลงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ ครึ่งปีหลัง กองทุนหลักมีมุมมองว่าสถานการณ์โควิดจะดีขึ้น มีอัตราการฉีดวัคซีนจะทำให้เข้าสู่ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในปลายปี ทำให้ภาคการบริโภคจะแข็งแกร่งขึ้น และเริ่มเห็นสัญญานการฟื้นตัวของภาคบริการ จึงคาดหวังว่าการบริการจะค่อยๆ ฟื้นตัวตามการบริโภคและภาคการผลิต ภาพรวมตลาด ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ยังฟื้นตัวช้ากว่าตลาดหุ้นหลักของโลก เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่ที่ยังคงไม่ลดลงมากนัก แม้ว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก และการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้ามากขึ้น แต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น GDP ในไตรมาสที่ 2/2564 ขยายตัว 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 0.7% และดีกว่าในไตรมาสที่ 1/2564 ที่หดตัว 3.7% การขยายตัวมาจากภาคบริโภคซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และแม้ว่าภาคการส่งออกจะขยายตัวจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการผลิต แต่การนำเข้าก็เพิ่มขึ้นมาก จนทำให้การส่งออกสุทธิเป็นลบ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ […]
B-GTO B-GTORMF B-GTOSSF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้ (B-GTO) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GTORMF) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้เพื่อการออม (B-GTOSSF)
Highlight ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มเติบโต (Growth) นำโดยกลุ่ม กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มการเงิน แต่ราคาหุ้นกลุ่มเติบโตก็เริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงกลางไตรมาส 2 ที่ผ่านมา กลยุทธ์ปัจจุบัน กองทุนเน้นถือหุ้นด้านการดูแลสุขภาพ หุ้นเทคโนโลยีสารสนเทศ และหุ้นบริการการสื่อสาร การลงทุนในกลุ่มนวัตกรรมโลกผ่านมุมมองระยะยาว (long term) และเน้นการทำกำไรเป็นระยะๆ (low turnover) จะทำให้นักลงทุนได้ประโยชน์จากการปรับพอร์ตการลงทุน ภาพรวมตลาด หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น สถานการณ์ที่ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายใช้สอยหลังวิกฤต ภาวะที่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขาดแคลน และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางบางแห่ง จึงพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือปรับใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มเติบโต (Growth) นำโดยกลุ่ม กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มการเงิน แต่ราคาหุ้นกลุ่มเติบโตก็เริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงกลางไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พอร์ตการลงทุน […]
B-GLOBAL B-GLOBALRMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)
Highlight หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ไตรมาส 2/2021 ผู้จัดการกองทุนขายกำไรในหุ้นกลุ่มอุตสาหรรม เพราะราคาปรับเพิ่มขึ้นมามากจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการเพิ่มขึ้นของดีมานด์ โดยได้ลงทุนต่อในหลายอุตสาหกรรมและเลือกหุ้นที่ราคายังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงมุ่งรักษาความสมดุลย์ของพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นวัฎจักรและหุ้นเติบโต (Cyclical and Growth) การคัดเลือกหุ้นรายตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ ในจังหวะที่นโยบายเชิงมหภาคของแต่ละประเทศมีความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้เห็นโอกาสการลงทุนในช่วงที่ตลาดอาจเกิดความผันผวนจากนโยบายดังกล่าว ภาพรวมตลาด หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น สถานการณ์ที่ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายใช้สอยหลังวิกฤต ภาวะที่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขาดแคลน และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางบางแห่ง จึงพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือปรับใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มเติบโต (Growth) นำโดยกลุ่ม กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มการเงิน แต่ราคาหุ้นกลุ่มเติบโตก็เริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงกลางไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พอร์ตการลงทุน ไตรมาส 2/2021 ผู้จัดการกองทุนขายกำไรในหุ้นกลุ่มอุตสาหรรม เพราะราคาปรับเพิ่มขึ้นมามากจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการเพิ่มขึ้นของดีมานด์ […]
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)
Highlight ในไตรมาส2/2021 ดัชนี MSCI World Health Care NET ปิดบวกที่ 9.1% เนื่องจากกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย 4 ใน 5 กลุ่มของดัชนีอ้างอิงมีผลดำเนินการที่ดีขึ้น เมื่อวัดผลงานตามหมวดอุตสาหกรรมย่อยพบว่าหุ้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical technology) และหุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดใหญ่ (biopharma large cap) ทำผลงานได้ดีที่สุด ในขณะที่หุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดเล็ก (biopharma small cap) และหุ้นบริการด้านสุขภาพทำผลงานได้น้อยที่สุดในไตรมาสที่ผ่านมา กองทุนเน้นลงทุนในบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมการแพทย์ที่ยังมีอุปทานไม่เพียงพอ โดยในระยะยาวเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น สังคมสูงวัย และความต้องการด้านการแพทย์แผนตะวันตกที่ทันสมัยจะเป็นปัจจัยหนุนทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์เติบโต ภาพรวมตลาด ในไตรมาส 2/2021 ดัชนี MSCI World Health Care NET ปิดบวกที่ 9.1% จากกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย 4 ใน 5 กลุ่มของดัชนีอ้างอิงมีผลดำเนินการที่ดีขึ้น เมื่อวัดผลงานตามหมวดอุตสาหกรรมย่อยพบว่าหุ้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 ก.ย. 2564 ปิดตลาดที่ 1,634.48 จุด ลดลง 4.27 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 ก.ย. 2564 ปิดตลาดที่ 1,634.48 จุด ลดลง 4.27 จุด หรือ -0.26% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,646.07 จุด และต่ำสุดที่ 1,628.16 จุด มูลค่าการซื้อขาย 117,677.56 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.MAKRO ปิดที่ 50.00 บาท เพิ่มขึ้น 8.00 บาท (+19.05%) มูลค่าการซื้อขาย 7,571.40 ลบ. 2.CPALL ปิดที่ 65.00 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 7,473.08 ลบ. 3.DELTA ปิดที่ 656.00 บาท เพิ่มขึ้น 72.00 […]
ไต้หวันเร่งสนับสนุนวัคซีนโควิด Medigen ที่ผลิตในประเทศเพื่อเร่งอัตราการฉีด
CNBC รายงานว่า ไต้หวันกำลังสนับสนุนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตในประเทศ เพื่อเร่งการฉีดวัคซีน หลังจากที่ไต้หวันและอีกหลายประเทศเผชิญปัญหาเรื่องการส่งมอบวัคซีนจากบริษัทยารายใหญ่ การผลิตวัคซีนโควิดในท้องถิ่น ดำเนินการโดย Medigen Vaccine Biologics ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีประธานาธิบดี Tsai Ing-wen เป็นผู้เข้ารับวัคซีนเข็มแรกจากทั้งหมด 2 เข็มที่ต้องได้รับไปแล้ว โดยวัคซีนของ Medigen พัฒนาภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพของชาติในสหรัฐฯ โดยวัคซีนนี้คล้ายกับ Novavax ที่มีพื้นฐานเทคโนโลยีเป็นโปรตีนลูกผสม ซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของโปรตีนไวรัสโคโรนาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน Charles Chen ผู้บริหารของ Medigen vaccine กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีประชาชนกว่า 600,000 คนในไต้หวันที่ได้รับการฉีดวัคซีนของ Medigen ทั้งนี้ มีเสียงวิจารณาการอนุมัติวัคซีน Medigen ออกมา ซึ่งหน่วยงานกำกับด้านสุขภาพชี้ชัดว่า วัคซีนนี้สำหรับใช้กรณีฉุกเฉิน ในเดือน ก.ค. หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 ในไต้หวัน โดยไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพออกมา Chen กล่าวว่า […]
ทำไม กองทุนหุ้นสหรัฐฯ และจีน ถึงน่ามีไว้ติดพอร์ต
ปฎิเสธไม่ได้ว่า ทั้งจีนและสหรัฐอเมริกาต่างเป็นสองประเทศมหาอำนาจที่มีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก และหลายคนอาจจะเลือกลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะคิดว่าทั้งสองฝ่ายเป็นคู่แข่งกันและต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ชนะ แต่ความจริงแล้ว เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ไม่ได้เกี่ยวของกันตรง ๆ เสียทีเดียว และทั้งสองประเทศก็มีโอกาสเติบโตได้ดีทั้งคู่ ดังนั้น เราสามารถลงทุนได้ทั้งสองประเทศ หากเรารู้จักกระจายการลงทุน และหาจังหวะที่เหมาะสมในการลงทุน ก็จะสามารถสร้างการเติบโตของพอร์ตพร้อมกระจายความเสี่ยงได้อีกด้วย ลองมาดูความโดดเด่นในปัจจุบันของ ทั้งสองประเทศนี้ – สหรัฐอเมริกา: มีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยี พร้อมมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ มูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 ได้เร็ว และมีอัตราการฉีดวัคซีนต่อจำนวนประชากรสูง – จีน: ภาครัฐบาลกำลังต้องการเปลี่ยนผ่านให้เป็นประเทศแห่งนวัตกรรมมากขึ้น โดยการเข้าไปสนับสนุนด้านเทคโนโลยีอนาคต พร้อมสนับสนุนภาคการบริโภค ให้คนจีนหันมาจับจ่าย ใช้สินค้าในประเทศกันมากขึ้น บวกกับ ปัจจัยด้านการเมืองที่ค่อนข้างนิ่ง และเน้นการเติบโตแบบมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ต้องหมายเหตุไว้ว่า การลงทุนในทั้ง 2 ประเทศ ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกันไปในตอนนี้เช่นกัน เช่น จีนที่ออกมาตรการจัดระเบียบการดำเนินกิจการของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่วนสหรัฐอเมริกา ก็ยังมีความกังวลเรื่องการชะลอการอัดฉีดสภาพคล่องสู่ระบบเศรษฐกิจ และนโยบายการขึ้นดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง ซึ่งอาจกระทบกับตลาดการลงทุนในช่วงเวลานี้ […]
สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยรายเดือน
BF Economic Research สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยโดย ธปท. ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนหดตัวลงแรงในเดือน ก.ค. (-8.1% YoY vs. -0.5% เดือนก่อน) : โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่หดตัวในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทน (-10.2% vs. -2.5% เดือนก่อน) หมวดบริการ (-8.1% vs. -2.4% เดือนก่อน) และหมวดสินค้าคงทน (-8.0% vs. +12.0% เดือนก่อน) ขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอลงมาอยู่ที่ 7.3% (vs. +14.1% เดือนก่อน) และการขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับภาวะปกติ ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเป็น 11.6% (vs. 19.1% เดือนก่อน): โดยหลักเป็นผลของยอดขายวัสดุก่อสร้างที่ลดลง (-11.8% vs. +0.5% เดือนก่อน) และยอดจดทะเบียนรถยนต์สำหรับลงทุนใหม่ (-10.8% vs. +11.2% เดือนก่อน) […]