แนะนำ RMF กระจายลงทุนให้ครบ กับ 3 กองทุน

แนะนำ RMF กระจายลงทุนให้ครบ กับ 3 กองทุน

B-GLOBALRMF ลงทุนในหุ้นดาวเด่นทั่วโลก ดูข้อมูลกองทุน B-INNOTECHRMF ลงทุนในนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เราคุ้นเคยอยู่ทุกวัน ดูข้อมูลกองทุน BFLRMF ยืดหยุ่นปรับตามสถานการณ์ ดูข้อมูลกองทุน เงินลงทุน RMF และ SSF สามารถชำระผ่านบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพได้ และสามารถลงทุนได้ง่ายผ่าน โมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ และ “แอพพลิเคชั่นลงทุน” ของตัวแทนขายที่ได้รับการแต่งตั้ง ตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333 บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง โทร. 0-2231-3777 or 0-2618-1000 บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต โทร. 0-2777-8999 บมจ.หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน โทร. 0-2638-5500 บจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส โทร. 0-2680-1234 บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) โทร. 0-2635-1700 […]

ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกจะลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ กับรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2030

ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกจะลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ กับรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2030

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า นักวิเคราะห์ชี้ว่าผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลกกำลังวางแผนใช้จ่ายมากกว่าครึ่งล้านล้านดอลลาร์สหรัฐกับรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ภายในปี 2030 โดยการเพิ่มเงินลงทุนนี้ มีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ผู้ซื้อรถยนต์หย่าขาดจากการใช้รถยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิล และเพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เข้มงวดมากขึ้น ในช่วงไม่ถึง 3 ปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ของ Reuters พบว่า บริษัทรถยนต์วางแผนใช้จ่าย 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กับรถยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง แต่จากการบังคับใช้เรื่องคาร์บอนเป็นศูนย์ที่กำลังจะเกิดขึ้นของเมืองต่างๆ เช่น ลอนดอน และปารีส รวมถึงประเทศต่างๆ ตั้งแต่นอร์เวย์ ไปจนถึงจีน ได้เพิ่มแรงกระตุ้นให้ต้องลงทุนเร่งด่วนเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เผยว่า ผู้ผลิตรถยนต์วางแผนใช้จ่าย 515,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วง 5-10 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาและสร้างแบตเตอรี่พลังงานใหม่สำหรับรถยนต์ และเปลี่ยนจากการใช้เครื่องยนต์สันดาป อย่างไรก็ตามผู้บริหารและนักพยาการณ์ ยังกังวลกับความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคที่อาจต่ำกว่าเป้าหมายเชิงรุกที่วางไว้ หากไม่มีการให้สิ่งจูงใจเพิ่มเติม รวมถึงการใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นกับโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จไฟและขีดความสามารถของโครงข่ายไฟฟ้า Brian Maxim หัวหน้าฝ่ายพยากรณ์ระบบส่งกำลังทั่วโลก บริษัท AutoForecast Solutions กล่าวว่า ภาระผูกพันในการลงทุนเพิ่มขึ้นด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเหมือนสงครามเย็น เมื่อมีโรงงานส่วนหนึ่งประกาศโครงการรถยนต์ไฟฟ้าออกมา […]

โลก move on จากโควิดแล้ว ลงทุนอะไรดี

โลก move on จากโควิดแล้ว ลงทุนอะไรดี

สรุปความสัมภาษณ์ เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ขณะนี้หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศใหญ่ในกลุ่มตะวันตก มีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนในวงกว้าง ทำให้เมื่อรวมจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วกับผู้ที่เคยติดโควิดและหายเรียบร้อยแล้ว มีรวมกันเกินอัตรา 70% ของประชากรทั้งประเทศ ตัวเลขนี้เป็นสำคัญที่บ่งบอกว่าประเทศนั้นๆ มีภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ herd immunity และเป็นตัวเลขที่ระดับสากลยอมรับ ทำให้ประเทศเหล่านี้สามารถเปิดประเทศ กลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้ เราจะเห็นว่าประเทศในกลุ่มที่กล่าวมานี้ พยายามผลักดันเรื่องการกระจายวัคซีน รวมทั้งเน้นรักษาระดับอัตราการติดเชื้อ เพราะไม่ต้องการให้ประเทศตัวเองต้องกลับมาล็อคดาวน์อีกครั้ง ซึ่งก็น่าจะดำเนินการได้ ขณะที่ประเทศในฝั่ง Emerging Market ซึ่งก็รวมถึงประเทศในแถบเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยเอง ก็จะเดินตามแนวทางนี้เช่นกัน เมื่อกลับมาดูในแง่ของการลงทุน เราจะพบว่าการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นประเทศต่างๆ ล้ำหน้าไปก่อนที่ประเทศเหล่านั้นจะกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษกิจตามปกติแล้ว โดยหุ้นหลายตัวปรับขึ้นไปรอก่อน เนื่องจากนักลงทุนจำนวนมากมองไปถึงการลงทุนระยะยาว มองเห็นล่วงหน้าก่อนแล้วว่าภาพที่เห็นอยู่ในเวลานี้เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงเข้าไปลงทุนดักรอก่อน จากการที่ประเทศต่างๆ ทยอยเปิดประเทศ เศรษฐกิจเริ่มกลับมา ผู้ลงทุนได้ให้ความสนใจกับ Theme การลงทุนที่สอดรับกับการเปิดประเทศ หรือ reopening ซึ่งก็จะพบว่า กิจการหรือว่าหุ้นหลายๆ ตัวในกลุ่มนี้ปรับขึ้นไปมาก เมื่อเป็นเช่นนึ้จึงเกิดคำถามในใจตามมาว่าควรจะลงทุนใน Theme […]

Platform Business เทรนด์ธุรกิจยุคดิจิทัล

Platform Business เทรนด์ธุรกิจยุคดิจิทัล

โดย…เต็มเดือน พัฒจันจุน กองทุนบัวหลวง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก ทุกวันนี้ เราจึงเห็นการเกิดขึ้นของธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ หรือธุรกิจเดิมที่เปลี่ยนโฉมไปจากในอดีต บทความนี้จะนำท่านผู้อ่านมารู้จักกับโมเดลธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่ถือว่าเติบโตอย่างมากในยุคนี้ นั่นก็คือ ธุรกิจแพลตฟอร์ม (Platform Business) จนมีคำกล่าวที่ว่า ทุกวันนี้แพลตฟอร์มอยู่รอบๆ ตัวเรา เพราะหันมองไปทางไหน เราก็จะเจอกับธุรกิจแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย บริการเรียกรถ บริการส่งของ บริการสั่งอาหาร การทำงานหรือเรียนออนไลน์ การค้าขายออนไลน์ บริการด้านสุขภาพ และบริการเกี่ยวกับการเงินการลงทุน เป็นต้น ซึ่งเรียกได้ว่า ธุรกิจแพลตฟอร์มเป็นธุรกิจมาแรงในยุคดิจิทัลเลยก็ว่าได้ ความแตกต่างระหว่างธุรกิจแพลตฟอร์มกับธุรกิจแบบดั้งเดิม (​Pipeline Business) คือ ธุรกิจแบบดั้งเดิมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยการจัดหาวัตถุดิบมาผลิตสินค้าและจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ ขณะที่ธุรกิจแพลตฟอร์มสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการเชื่อมโยงกันระหว่างสมาชิกในแพลตฟอร์ม โดยที่เจ้าของธุรกิจแพลตฟอร์มอาจไม่ได้ผลิตสินค้าหรือเป็นเจ้าของสินค้าเอง เช่น Airbnb ธุรกิจให้บริการห้องพักที่ไม่ได้มีห้องพักเป็นของตัวเอง หรือ Uber และ Grab ธุรกิจให้บริการเรียกรถแต่ไม่ได้มีรถเป็นของตัวเองเช่นกัน โดยธุรกิจแพลตฟอร์มที่ประสบความสำเร็จจะต้องสามารถดึงดูดให้มีผู้เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนที่มากพอและต่อเนื่อง (Network Effect) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนร่วมในระบบนิเวศ (Ecosystem) […]

เมื่อหุ้น ASEAN หันมาสนใจการ IPO ผ่าน SPAC

เมื่อหุ้น ASEAN หันมาสนใจการ IPO ผ่าน SPAC

โดย…พิชชาภา ศุภวัฒนกุล กองทุนบัวหลวง ในช่วงที่ผ่านมา มีบริษัท Start-Up  ในภูมิภาค Southeast Asia  มากมายที่เติบโตขึ้นมาถึงระดับ Unicorn  (ธุรกิจ Start-Up ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรม E-Commerce การขนส่งสินค้าและอาหาร การเดินทาง และ Media แต่จากการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เริ่มถึงจุดอิ่มตัว ทำให้เงินทุนเริ่มชะลอตัวลง หลายบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงต้องเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการสร้างกำไรมากกว่าการเร่งการเติบโต นอกจากนี้ วิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ประชากรทั่วโลกต้องปรับวิถีการใช้ชีวิตไปพึ่ง Digital Platforms มากขึ้น จากนโยบายปิดเมืองของรัฐบาล ทำให้บริษัทเหล่านี้เริ่มเห็นทิศทางต่อการสร้างกำไรได้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อ Platforms ที่สร้างขึ้นมาเริ่มมีความจำเป็นในการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ด้วย 2 เหตุผลประกอบกัน ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มมีบริษัทระดับ Unicorn ใน Southeast Asia ที่ให้ความสนใจกับการนำบริษัทเข้าตลาด ทั้งในการทำ IPO ผ่านตลาดในประเทศแบบที่เราคุ้นเคยกัน […]

Central Bank Digital Currency (CBDC)

Central Bank Digital Currency (CBDC)

โดย…ชัชวาล  สิมะธัมนันท์ กองทุนบัวหลวง นับตั้งแต่ปี 2009 ที่สกุลเงินดิจิทัลแรกของโลกอย่าง bitcoin ปรากฏตัว พร้อมกับศักยภาพของเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ที่อยู่เบื้องหลังอย่าง blockchain ที่มีความปลอดภัยและสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้งาน ทำให้โลกของการทำธุรกรรมทางการเงิน เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งวิกฤติ COVID-19 ได้เร่งให้ทั่วโลกก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะวงการการเงินที่กำลังมุ่งหน้าสู่สังคมไร้เงินสดมาก่อนเกิดวิกฤตอยู่แล้ว ปัจจุบัน ณ เดือนกรกฎาคม 2564 มีสกุลเงินดิจิทัล หรือ cryptocurrencies หมุนเวียนอยู่มากกว่า 6,000 สกุลเงิน และบริษัทชั้นนำระดับโลกต่างก็ให้ความสนใจสกุลเงินดิจิทัลกันมากขึ้น เช่น บริษัท Tesla เคยเปิดให้สามารถซื้อรถยนต์ของบริษัทด้วย bitcoin ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะประกาศยกเลิกในเวลาต่อมา หรือบริษัท Facebook ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำอีก 27 แห่ง เช่น Visa, Mastercard, Ebay, Uber และ Vodafone กำลังพัฒนาสกุลเงินใหม่ ชื่อว่า ดิเอม […]

พัฒนาการของ FinTech ใน ASEAN

พัฒนาการของ FinTech ใน ASEAN

โดย…ณัฐคม ธีรโรจนวงศ์ กองทุนบัวหลวง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของวงการการเงินและการธนาคารต่างๆ มากมาย และคำว่า FinTech ได้ถูกนำมาพูดถึงอย่างแพร่หลาย จนเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการชำระเงินออนไลน์ของกลุ่มธนาคาร การให้สินเชื่อออนไลน์ระหว่างบุคคล หรือ P2P Lending รวมไปถึงการพัฒนาการจ่ายเงินรูปแบบใหม่อย่าง Buy now Pay later ในกลุ่ม E-Commerce ซึ่งนวัตกรรมต่างๆ เหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เข้าถึงการบริการได้สะดวกรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้ารายใหม่เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีกด้วย สำหรับพัฒนาการของ FinTech ในภูมิภาคอาเซียนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เม็ดเงินลงทุนของกลุ่มสตาร์ทอัพเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 52% ต่อปี โดยในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพสูงถึง 904 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีบริษัทเกิดใหม่กว่า 46 บริษัท ทำให้ในภูมิภาคอาเซียนมีบริษัท FinTech เกิดใหม่รวมทั้งหมด 2,744 บริษัท ซึ่งถ้าแบ่งประเภทธุรกิจออกมา E-Payment ยังคงมีสัดส่วนเม็ดเงินลงทุนสูงกว่า […]

ท่องเที่ยวไทย ในวันฟ้าหม่น

ท่องเที่ยวไทย ในวันฟ้าหม่น

โดย…วนาลี ตรีสัมพันธ์ กองทุนบัวหลวง นับจากวันที่กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยครั้งแรก คือ วันที่ 12 มกราคม 2563 นั้น ก็เป็นเวลาเกือบจะ 2 ปีแล้ว ที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเข้าสู่หน้ามรสุมแบบไม่ทันได้ตั้งตัว หากถามว่า ภาคการท่องเที่ยวนั้นสำคัญกับประเทศไทยมากแค่ไหน ขอยกตัวอย่าง โดยเล่าย้อนไปในปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือที่เราเรียกกันติดปากกันว่า สนามบินสุวรรณภูมินั้น เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในปีนั้น เรามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพียง 13.8 ล้านคน และสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวน 485,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 6% ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 ซึ่งเป็นปีก่อนโควิด-19 จะระบาดไปทั่วโลกนั้น ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวจำนวนเกือบ 40 ล้านคน เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ในช่วงระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น […]

แนวคิด ESG ตลอดสายการผลิต สู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า

แนวคิด ESG ตลอดสายการผลิต สู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า

โดย…ชัยธัช เบน บุญญปะมัย กองทุนบัวหลวง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นและแบรนด์เนมนับเป็นอุตสาหกรรมต้นๆ ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในหลากหลายมิติ และตลอดสายการผลิตนับตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ ไปจนถึงกระบวนการผลิตและการกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิต ทั้งนี้ ในปี 2019 ด้วยมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นแตะ 4 ล้านล้านดอลลาร์ฯ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นจึงคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 2% ของ GDP โลก และมีแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ถึง 60-75 ล้านคนทั่วโลก โดย Goldman Sachs กล่าวถึงผลกระทบของอุตสาหกรรมดังกล่าวต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมไว้ใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) ปัญหามลพิษทางน้ำ/ทางอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2) การจัดการของเสียจากการผลิตกับเศรษฐกิจหมุนเวียน และ 3) แรงงานกับห่วงโซ่อุปทาน ปัญหามลพิษทางน้ำ/ทางอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการที่โรงงานผลิตเสื้อผ้าส่วนใหญ่นั้นมักจะตั้งอยู่ในประเทศหรือภูมิภาคที่มีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้มงวดมากนัก จึงนำไปสู่ปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ จากมลพิษทางน้ำ/ทางอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Goldman Sachs ชี้ให้เห็นว่า มีผู้ส่งออกเสื้อผ้ารายใหญ่ของโลกถึง […]

สำรวจ ASEAN และเทรนด์การลงทุน

สำรวจ ASEAN และเทรนด์การลงทุน

โดย…จันทร์เพ็ญ กิตติเวทย์วิทยา กองทุนบัวหลวง แม้ว่าประเทศไทยจะเลื่อนการเปิดพื้นที่ Sandbox ในพื้นที่ 5 จังหวัด จากเดิม 1 ตุลาคม เป็น 1 พฤศจิกายน 2564 ก็ตาม แต่ไทยเองก็เริ่มผ่อนคลายการ Lockdown ในหลายๆ กิจการมากขึ้น ทั้งร้านเสริมสวย สปา โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร รวมทั้งเร่งการฉีดวัคซีนให้ประชากร โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เสี่ยงอย่างกรุงเทพมหานครที่จำนวนคนฉีดวัคซีนครบโดสในปัจจุบันมีแล้ว 44% ทั้งนี้ก็เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวกลับมาและเปิดรับนักท่องเที่ยว เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีแผนเปิดเมืองเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเช่นกัน แม้ว่าอัตราการฉีดวัคซีนให้ครบโดสของประชากรทั้งประเทศยังต่ำกว่า 30% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ยกเว้นสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีอัตราการฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเกินกว่า 70% และ 60% ตามลำดับ ในแง่ของเทรนด์การลงทุนก็มีหลายๆ ประเด็นที่น่าสนใจ อย่างแรก คือ เรื่องของ Digitalization เพราะแม้ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วก็ตาม แต่การเกิดขึ้นของ […]