ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 6 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,189.44 จุด ลดลง 17.41 จุด (-1.44%)
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 6 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,189.44 จุด ลดลง 17.41 จุด (-1.44%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,186.91 จุด และสูงสุดที่ 1,207.04 จุด มูลค่าการซื้อขาย 47,199.92 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ DELTA ปิดที่ 77.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 (+2.65%) มูลค่าการซื้อขาย 3,135.83 ล้านบาท CPALL ปิดที่ 51.75 บาท ลดลง 0.75 (-1.43%) มูลค่าการซื้อขาย 2,199.94 ล้านบาท ADVANC ปิดที่ 274.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 (+0.74%) […]
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,177.44 จุด ลดลง 24.59 จุด (-2.05%)
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,177.44 จุด ลดลง 24.59 จุด (-2.05%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,177.44 จุด และสูงสุดที่ 1,196.52 จุด มูลค่าการซื้อขาย 34,257.69 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTT ปิดที่ 28.25 บาท ลดลง 1.50 (-5.04%) มูลค่าการซื้อขาย 2,675.66 ล้านบาท AOT ปิดที่ 38.75 บาท ลดลง 1.50 (-3.73%) มูลค่าการซื้อขาย 1,634.41 ล้านบาท DELTA ปิดที่ 76.50 บาท ลดลง 4.75 (-5.85%) […]
แบงก์ชาติญี่ปุ่นอาจขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุดในพ.ค. นี้ รับแนวโน้มเงินเฟ้อขยับขึ้น
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า แรงกดดันเงินเฟ้อจากการปรับขึ้นค่าจ้างและต้นทุนอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป เร็วสุดในเดือนพ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม การที่ BOJ จะปรับขึ้นหรือคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 30 เม.ย. – 1 พ.ค. นี้ จะขึ้นอยู่กับแนวโน้มเงินเฟ้อและผลกระทบจากนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีต่อตลาดการเงิน โดยคาดว่า BOJ จะคงนโยบายการเงินเอาไว้ในการประชุมวันที่ 18-19 มี.ค.นี้ หลังเพิ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 0.25% เป็น 0.50% ในการประชุมเดือนม.ค. ที่ผ่านมา โดยตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในไตรมาส 3 ของปีนี้ ชินอิจิ อุชิดะ รองผู้ว่าการ BOJ กล่าวว่า “เราไม่ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในทุกการประชุม” ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณว่าไม่น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค. อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ BOJ จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก BOJ จะเปิดเผยคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อรายไตรมาส โดยขยายช่วงการคาดการณ์ไปถึงปีงบประมาณ […]
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 7 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,202.03 จุด เพิ่มขึ้น 12.48 จุด (+2.49%)
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 7 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,202.03 จุด เพิ่มขึ้น 12.48 จุด (+2.49%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,186.93 จุด และสูงสุดที่ 1,202.03 จุด มูลค่าการซื้อขาย 37,805.49 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ KBANK ปิดที่ 148.00 บาท ลดลง 0.50 (-0.34%) มูลค่าการซื้อขาย 2,060.03 ล้านบาท ADVANC ปิดที่ 274.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,866.40 ล้านบาท CPALL ปิดที่ 52.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 (+0.48%) มูลค่าการซื้อขาย 1,777.68 ล้านบาท […]
ECB ลดดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด หั่นเป้าศก.ปีนี้เหลือโต 0.9%
สำนักข่าว Euronews รายงานว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินวานนี้ (6 มี.ค.) และนับเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 6 ตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2024 ท่ามกลางเศรษฐกิจยุโรปที่ยังคงอ่อนแอ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มขยับเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2% มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ECB ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากขณะนี้อยู่ที่ 2.50% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 2.90% และอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ระดับ 2.65% มีผลตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.เป็นต้นไป แถลงการณ์ของ ECB ระบุว่า “แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินเริ่มผ่อนคลายลงมาก โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทำให้ต้นทุนการกู้ยืมลดน้อยลงสำหรับภาคธุรกิจและครัวเรือน ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตของสินเชื่อให้เพิ่มขึ้น” “ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่ขัดขวางการผ่อนคลายการให้สินเชื่อยังมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอดีต และการให้สินเชื่อโดยรวมที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่เศรษฐกิจยังคงเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ECB ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจลงอีกครั้ง มาอยู่ที่ 0.9% ในปี 2025, 1.2% ในปี 2026 และ 1.3% ในปี 2027” การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนเดือนก.พ. […]
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2025: มุมมองตลาดตราสารหนี้
ประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ ในเดือนก.พ. คือ การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่มีผลต่อการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการ FOMC และการประกาศนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของโลก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 20-34 bps ซึ่งถึงแม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมกราคมจะอยู่ที่ 3.0% YoY สูงกว่าเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย รวมทั้งการที่ประธาน Fed ได้กล่าวต่อสมาชิกวุฒิสภาว่า ด้วยนโยบายการเงินของ Fed ที่มีความเข้มงวดน้อยลงกว่าช่วงก่อนหน้าเป็นอย่างมาก ขณะที่ เศรษฐกิจยังแข็งแรง ส่งผลให้ Fed ไม่มีความจำเป็นต้องรีบปรับจุดยืนด้านนโยบายการเงิน แต่หลังจากที่ตัวเลขดัชนีผู้ผลิต เดือนมกราคม ออกมาเร่งตัวกว่าคาด รวมทั้งยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าคาดและชะลอตัวลงแบบมีนัยสำคัญ ทำให้ตลาดมีความหวังที่ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มมากขั้น ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงในทุกช่วงอายุคงเหลือ โดยลดลงประมาณ 12-14 bps โดยมีปัจจัยหลักมาจากการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐ และผลการประชุมคณะกรรมการ กนง. ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ได้มีมติ […]
แรงเทขายพันธบัตรโลก หนุนบอนด์ยีลด์เยอรมนี-ญี่ปุ่นดีดแรงในรอบหลายสิบปี
แรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเอเชียวันนี้ ท่ามกลางแรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีที่รุนแรง หลังมีรายงานว่า เยอรมนีภายใต้การนำของผู้นำคนใหม่เตรียมเพิ่มงบกลาโหม ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนี รวมถึงญี่ปุ่นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายสิบปี ผลตอบแทนพันธบัตร หรือบอนด์ยีลด์ของญี่ปุ่น อายุ 10 ปี แตะระดับ 1.5% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2009 ขณะที่ญี่ปุ่นยังคงบริหารจัดการกับเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นและต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น ด้านผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ อายุ 10 ปี ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สาม แตะที่ 4.3% นอกจากนี้ พันธบัตรออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยังเพิ่มขึ้นประมาณ 0.10% ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนถึงความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการที่สหรัฐฯ ระงับการให้ความช่วยเหลือยูเครน และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการภาษีสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน ขณะที่เทรดเดอร์ยังประเมินผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ แผนนโยบายครั้งประวัติศาสตร์ของเยอรมนียังส่งผลต่อตลาดการเงิน หลังมีรายงานว่า นายฟรีดริช แมร์ซ ซึ่งกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ให้คำมั่นว่า “จะทำทุกวิถีทาง” เพื่อปกป้องประเทศ โดยเขากำลังพิจารณาเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหม รวมถึงแผนจัดตั้งกองทุนพิเศษสำหรับโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 500,000 ล้านยูโร (535,000 ล้านดอลลาร์) ซึ่งต้องอาศัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และได้รับการสนับสนุนจากเสียงข้างมาก อย่างน้อยสองในสามในรัฐสภาก่อน […]
BBLAM ESG Corner: กองทุน BKIND ก้าวสู่ปีที่ 11 แห่งการสร้างสังคมไทยที่ยั่งยืน
กองทุนรวมคนไทยใจดี หรือ กองทุน BKIND ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมก้าวสู่ปีที่ 11 แห่งการสร้างสังคมไทยที่ยั่งยืน จากการเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมไทย ด้วยความมุ่งมั่นต่อเนื่องของกองทุน BKIND อันเกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กรชั้นนำที่มีเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ได้แก่ BBLAM สถาบันเช้นจ์ ฟิวชัน (ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์) มูลนิธิเพื่อคนไทย และมูลนิธิยุวพัฒน์สนับสนุนโครงการสำคัญ สนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนาชีวิตผู้คนและสร้างความยั่งยืนในสังคมไทย มากถึง 68 โครงการ ด้วยงบประมาณกว่า 52 ล้านบาท ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคนไทยกว่า 18.2 ล้านคน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ทุกการลงทุนใน BKIND คือ การส่งต่อโอกาส สร้างรอยยิ้ม และเปลี่ยนชีวิตคนในสังคมไทยให้ดีขึ้น 10 ปีที่ผ่านมากับโครงการเพื่อสังคมที่หลากหลาย BKIND สนับสนุนและสร้างความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน โดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น: เด็กและเยาวชน: สนับสนุน 13 โครงการ ด้วยงบประมาณ […]
BBLAM Asset Allocation Corner: Trump Trade War 2024-2025 ความขัดแย้งที่เป็นโอกาสของอินเดีย
หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในปี 2024 ของโลกการลงทุน คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 หลังจากการแข่งขันหาเสียงที่เข้มข้นมานานหลายเดือน ระหว่าง กมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรค เดโมแครต และ โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตัวแทนจากพรรค รีพับลิกัน โดยผลการเลือกตั้งที่ออกมานั้น โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง นอกจากนี้ พรรครีพับลิกันยังได้รับชัยชนะ ทั้งในวุฒิสภา (Senate) และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) โดยผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ นั้นจะเป็นรูปแบบที่เรียกว่า “Red Sweep” ซึ่งจะทำให้การดำเนินนโยบายของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ได้หาเสียงไว้ มีโอกาสผ่านการอนุมัติร่างกฎหมายได้มากขึ้น ซึ่งนำไปสู่นโยบายต่างประเทศแบบกีดกันทางการค้า (Protectionist) ที่เคยสร้างความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ และมีผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและเศรษฐกิจโลกโดยรวมมาตั้งแต่ปี 2018 รวมถึงนโยบายในประเทศแบบ Pro-Growth ที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ อันได้แก่ […]
Fund Comment
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2025: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลงเล็กน้อย นำโดยตลาดหุ้นในภูมิภาคยุโรปและหุ้นเทคโนโลยีในจีนที่ได้รับแรงกระตุ้นจากเทคโนโลยี AI ‘DeepSeek’ ในขณะที่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ด้วย Valuation ที่ค่อนข้างตึงตัว ความผันผวนจากความกังวลด้านเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายต่างๆ ของทรัมป์ โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นั้นแสดงความอ่อนแอลงเล็กน้อย เช่น ดัชนี PMI ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี ดัชนีความเชื่อมันผู้บริโภคที่ลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 และตัวเลข ISM Manufacturing ที่ออกมาลดลง ในขณะที่ ราคาต้นทุนยังสูงอยู่ สอดคล้องกับตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ที่ออกมาสูงกว่าตลาดคาด จึงสร้างความกังวลต่อความเสี่ยงจากภาวะ Stagflation ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จะส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนจากประเด็นสงครามการค้ามากยิ่งขึ้น และเป็นตัวสร้างแรงกดดันให้กับตลาดโลกต่อจากนี้ ในฝั่งตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามาอย่างสงครามการค้าที่เกิดขึ้น ในขณะที่ ปัจจัยภายในยังถูกกดดันจากความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมา ทำให้เห็นแรงเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังสะท้อนความเสี่ยงในการเติบโตในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มการบริโภคในประเทศมีทิศทางที่ชะลอตัวลง และการลงทุนภาคธุรกิจมีความซบเซา ขณะที่ ปัจจัยสนับสนุนที่เป็นความหวัง คือ […]