โอเปกมองมีความเสี่ยงด้านลบรออยู่มากมายในตลาดน้ำมันช่วงครึ่งแรกของปีนี้
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า Mohammad Barkindo เลขาธิการ องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (โอเปก) ระบุว่า โอเปกมองเห็นความเสี่ยงด้านลบรออยู่มากมายสำหรับตลาดน้ำมันในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 เขา กล่าวในการประชุมผู้เชี่ยวชาญของโอเปกและพันธมิตร หรือในนามกลุ่มโอเปกพลัสว่า ท่ามกลางสัญญาณแห่งความหวัง มุมมองเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกนี้ที่ค่อนข้างหลากหลายและยังคงมีความเสี่ยงด้านลบอยู่หลายประการ เมื่อเดือน ธ.ค. 2020 กลุ่มโอเปกพลัส มีแนวทางเพิ่มการผลิตน้ำมัน 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2021 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการค่อยๆ เพิ่มการผลิตน้ำมัน 2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ แต่ก็มีสมาชิกบางรายตั้งคำถามเกี่ยวกับความจำเป็นในการเพิ่มการผลิตมากขึ้น เนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่ไวรัสโคโรนามีการแพร่ระบาด โดย Amrita Sen ผู้ร่วมก่อตั้ง Energy Aspects think-tank กล่าวว่า เมื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานที่ยังอ่อนแอ จึงเป็นเรื่องที่โอเปกพลัสควรระมัดระวังในการรักษาการผลิตเอาไว้ให้คงที่ และก็มีผู้ผลิตรายใหญ่บางรายต้องการระงับการผลิตไว้ Barkindo กล่าวว่า ยังมีข้อจำกัดทางสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ และความกังวลเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เป็นอันตราย ส่วนเศรษฐกิจโลก อาจกลับมาฟื้นตัวแข็งแกร่งได้ช่วงครึ่งหลังของปี 2021 แต่บางกลุ่ม […]
กองทุนบัวหลวงตอบสนองการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 อนุญาตพนักงานทำงานที่บ้านได้ เริ่มตั้งแต่ 4 ม.ค. 2564 นี้ พร้อมให้ความมั่นใจแก่ลูกค้าว่าการปฏิบัติงานทุกอย่างยังเป็นไปได้อย่างราบรื่น
สรุปประเด็น กองทุนบัวหลวงอนุญาตให้พนักงานปฏิบัติงานจากที่บ้านได้ (Work From Home) เพื่อตอบสนองต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเต็มขีดความสามารถ เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์ความเสี่ยงจาก COVID-19 จะคลี่คลายลง พร้อมทั้งให้ความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนว่า การดำเนินงานทุกอย่างจะยังเป็นไปตามปกติ เนื่องจากทุกหน่วยงานขององค์กรเตรียมแผนปฏิบัติงานรองรับไว้แล้ว นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (กองทุนบัวหลวง) เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่คงยังมีความรุนแรง และมีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในการช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค กองทุนบัวหลวง จึงกำหนดให้พนักงานส่วนหนึ่งปฏิบัติงานจากที่บ้าน (Work From Home) ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์ความเสี่ยงจาก COVID-19 จะคลี่คลายลง อย่างไรก็ดี บริษัทจะยังให้บริการแก่ผู้ลงทุนได้ ตามเวลาทำการปกติ ในระหว่างวันจันทร์-วันศุกร์ […]
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : ญี่ปุ่น
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา และทิ ศทางเศรษฐกิจปี 2020-2021 ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 เป็นระลอกที่ 3 โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์มากกว่าในระลอกแรกและระลอกที่ 2 ซึ่งสาเหตุนอกเหนือจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจแล้ว การเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวทำให้สถานที่ต่าง ๆ ต้องปิดประตูหน้าต่าง การระบายอากาศจึงลดลง และมีส่วนสำคัญให้เกิดการกระจายของเชื้อโรค อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ที่เผชิญการระบาดเช่นเดียวกันจะพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันในญี่ปุ่นนั้นมีจำนวนไม่มาก และยอดผู้เสียชีวิตมีอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับระลอกแรก เศรษฐกิจไตรมาส 3/2020 ขยายตัว 22.9% QoQ saar จากที่หดตัว -29.2% ในไตรมาสก่อน เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส จากการใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัวดี ประกอบกับการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคในภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP และยอดส่งออกที่เติบโต 7.0% QoQ อย่างไรก็ดี ด้านการลงทุนภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ อันเนื่องมาจากมุมมองของภาคธุรกิจที่ยังมีความกังวลต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 สำหรับในปี 2021 เรามองว่า […]
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : ยุโรป
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020-2021 จากผลของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่นำมาซึ่งมาตรการล็อคดาวน์และการปิดพรมแดนระหว่างประเทศในยุโรปช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. ส่งผลให้เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 2/2020 หดตัวมากที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่มีการรวมกลุ่มยูโรโซนในปี 1999 ที่ -11.8% QoQ โดยเป็นการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนเป็นหลัก แต่หลังจากนั้นในไตรมาส 3/2020 ที่แต่ละประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ธุรกิจต่างๆ กลับมาเปิดดำเนินงาน และมีการเดินทางระหว่างประเทศในภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) การค้าปลีก และการผลิต ต่างฟื้นตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ตัวเลข GDP ของไตรมาส 3/2020 พลิกกลับมาขยายตัวดีกว่าที่ตลาดคาดถึง 12.5% QoQ นับเป็นการขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนจะพบว่าเศรษฐกิจยังหดตัวอยู่ -4.3% YoY ในรายประเทศ GDP ไตรมาส 3/2020 ของประเทศเศรษฐกิจหลักต่างพลิกกลับมาขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาด โดยเฉพาะอิตาลี สเปน และฝรั่งเศส จากความต้องการสินค้าในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของการบริโภคและการลงทุน […]
Economic Review Uncategorized US
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : สหรัฐอเมริกา
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020-2021 ภายหลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯถูกกระทบจาก COVID-19 เป็นผลให้ GDP ไตรมาส 2/2020 หดตัวหนักที่ -31.4% QoQ saar , สหรัฐฯ ก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ในไตรมาสถัดมา (Third Estimate) ในอัตรา 33.4% QoQ saar เป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังจากการผ่อนคลายล็อคดาวน์ การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวได้ดี (และเป็นองค์ประกอบหลักที่ผลักดัน GDP) หนุนโดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลที่ให้เงินช่วยเหลือแก่ประชาชนเพื่อจับจ่ายใช้สอยในช่วงที่สหรัฐฯประกาศล็อคดาวน์ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวได้ดีในทุกองค์ประกอบทั้งจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำสุด ส่งผลให้ยอดขายบ้านเติบโตได้ดี อีกทั้งรัฐบาลร่วมกับธนาคารกลางสหรัฐฯได้ออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจในช่วงล็อคดาวน์เช่นโครงการ Paycheck Protection Program และ Main Street Lending Program ก็มีส่วนช่วยหนุนการลงทุนของภาคธุรกิจด้วย ในรายองค์ประกอบ การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 41.0% (vs. -33.2% ไตรมาสก่อน) จาก การฟื้นตัวของการใช้จ่ายซื้อสินค้าทั่วไป […]
Economic Review News Update Press Release
กองทุนบัวหลวงประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2564 ยังมีหวังฟื้นตัว 3.8% โควิด-19 ระลอกใหม่เป็นความเสี่ยงหลัก
สรุปประเด็น กองทุนบัวหลวง ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวได้ 3.8% แม้จะยังไม่กลับมาเท่าระดับก่อนช่วงโควิด-19 ระบาด แต่ถือว่าดีขึ้นมากจากทั้งปี 2563 ที่คาดว่าจะหดตัว -6.4% โดยประเด็นความเสี่ยงหลักมาจากโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอีกครั้งส่งผลต่อภาคบริการ การจ้างงาน และการบริโภคในประเทศ ขณะที่การเมืองในประเทศเป็นอีกปัจจัยที่ต้องจับตา เพราะจะมีผลต่อเสถียรภาพของประเทศ กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021
BF Economic Research Core Macro Theme เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะฟื้นตัวภายหลัง COVID-19 แต่เป็นการฟื้นตัวในอัตราที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ (สะท้อนจาก GDP ในไตรมาส 3/2020 ดังรูป) จากความแตกต่างด้านโครงสร้างของเศรษฐกิจ, การปรับตัวของธุรกิจ, และนโยบายจากทางการ/ธนาคารกลาง ของแต่ละประเทศ สหรัฐฯขยายตัวก้าวกระโดดที่ 33.4% QoQ saar (จากไตรมาสก่อนที่ -31.4%) หนุนโดยมาตรการกระตุ้นทางการคลังระยะที่ 3 เป็นหลัก ผ่านโครงการการจ่ายเงินให้เปล่ากับประชาชนเป็นรายสัปดาห์ จึงส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนดีดตัวขึ้นสูงในช่วงนั้น ขณะที่ GDP จีนในไตรมาส 3/2020 ขยายตัว 4.9% YoY ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน (3.2%YoY) หนุนโดยภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนเป็นหลัก ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สำหรับเศรษฐกิจในเอเชียอื่นๆ (ยกเว้นเวียดนาม)ใน ไตรมาส 3/2020 โดยส่วนใหญ่ยังคงหดตัว เนื่องด้วยประเทศในเอเชียพึ่งพิงการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก จึงฟื้นตัวได้ช้ากว่าสหรัฐฯและจีน และอาจจะใช้เวลาไปถึงปี 2021กว่าจะเริ่มฟื้นตัว […]
ทบทวนพอร์ตลงทุนส่งท้ายปี 2563
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM กองทุนบัวหลวง ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ เชื่อว่านักลงทุนหลายคนต้องประสบกับการขาดทุน เนื่องจากในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ภาพรวมของหุ้นไทยค่อยๆ ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น จึงทำให้นักลงทุนรายใหม่สนใจเข้ามาลงทุนกันมากขึ้น แต่ก็เหมือนสวรรค์แกล้ง ลงทุนไปได้ไม่นานก็เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนทำให้ทั่วโลกต้องปิดล็อคการเดินทางระหว่างกัน ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคเศรษฐกิจไทย เนื่องจากตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของไทยคือ ภาคบริการและการท่องเที่ยว จึงคาดการณ์ว่าภาพรวมของ GDP ไทยในปี 2563 นี้ น่าจะติดลบอยู่ราว 7% โดยภาพรวมของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งปี 2563 จากสถิติของตลาดหลักทรัพย์ฯ ดัชนีปิดตลาด 1,449.35 จุด ลดลง 8.26% จากสิ้นปี 2562 และพบว่า นักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิ 1,238.29 ล้านบาท ในขณะที่นักลงทุนในประเทศมีสถานะขายสุทธิ 2,283.40 ล้านบาท คำถามที่อยู่ในใจของนักลงทุนรุ่นใหม่ที่กำลังขาดทุนหุ้นไทยอยู่ในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “เราควรไปต่อ หรือพอแค่นี้?” คือควรทยอยลงทุนในหุ้นไทยต่อไป เพื่อถัวเฉลี่ยราคาต้นทุนที่สูง เนื่องจากในช่วงที่ […]
Market Summary SET Uncategorized
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 ธ.ค. 2563 ปิดตลาดที่ 1,449.35 จุด ลดลง 12.60 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 ธ.ค. 2563 ซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของปี ปิดตลาดที่ 1,449.35 จุด ลดลง 12.60 จุด หรือ 0.86% โดยระหว่างวันดัชนีสูงสุดที่ 1,479.04 จุด ต่ำสุดที่ 1,445.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 87,544.52 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.DELTA ปิดที่ 486.00 บาท เพิ่มขึ้น 48.00 บาท (+10.96%) มูลค่าการซื้อขาย 11,205.68 ลบ. 2.GPSC ปิดที่ 73.75 บาท ลดลง 2.00 บาท (-2.64%) มูลค่าการซื้อขาย 3,367.53 ลบ. 3.STGT ปิดที่ 76.00 […]
Fund Comment
Fund Comment ธันวาคม 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ในเดือนสุดท้ายของปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.1% และตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.9% ส่งผลให้ผลตอบแทนปี 2020 ของตลาดหุ้นโลกอยู่ที่ 14.1% และตลาดหุ้นไทย ผลตอบแทนติดลบลดลงเหลือ -8.3% ปัจจัยที่เป็นแรงส่งในช่วงสุดท้ายของปียังคงเป็นความคาดหวังเชิงบวกจากวัคซีน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2021 โดยการเริ่มแจกจ่ายวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ นั้น ช่วยลดความกังวลต่อสถานการณ์ผู้ติดเชื้อทั่วโลกรายใหม่ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่การได้ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ เป็นนาย Joe Biden ช่วยหนุนบรรยากาศการค้าโลกและเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า แนวโน้มการลงทุนในปี 2021 นั้น แม้ระดับ Valuation ของตลาดหุ้นต่างๆ จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย อันเป็นผลจากการที่ผลประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ระดับดัชนีได้รับแรงหนุนจากสภาพคล่องทางการเงินของโลกและการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางหลักๆ แต่การที่เศรษฐกิจโลกในปี 2021 มีแนวโน้มฟื้นตัว โดย IMF คาดว่า GDP โลกจะขยายตัวที่ 5.2% ฟื้นขึ้นจากปี 2020 ที่ -4.4% จะส่งผลให้ผลประกอบการโดยรวมมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น และลดความร้อนแรงของระดับ Valuation ลงได้ สำหรับ […]