อินโดนีเซียเล็งกำหนดค่าธรรมเนียมคงที่สำหรับการทำธุรกรรมผ่านอี-วอลเล็ท
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า อินโดนีเซียวางแผนจัดเก็บค่าธรรมเนียมอัตราคงที่กับการทำธุรกรรมบางรายการผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อี-วอลเล็ท) ซึ่งความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้ อาจกระทบรายได้และเพิ่มต้นทุนให้สตาร์ทอัพด้านการชำระเงิน เช่น แอนท์ ไฟแนนเชียล บริษัททางการเงินในกลุ่มอาลีบาบา โดยปัจจุบันผู้ให้บริการอี-วอลเล็ทในอินโดนีเซีย จัดเก็บค่าธรรมเนียมโดยปรับตามความเหมาะสมกับผู้ขาย มีการเก็บค่าธรรมเนียมพรีเมียมกับผู้ค้าปลีกรายใหญ่ และยอมรับภาระต้นทุนให้ร้านค้าเล็กๆ เพื่อสนับสนุนให้พวกเขาหันมาใช้แพลตฟอร์ม ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย พูดคุยกับสตาร์ทอัพการชำระเงินดิจิทัลรายใหญ่ที่สุดในประเทเรียบร้อยแล้ว เกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านคิวอาร์โค้ด ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้เกิดตั้งแต่เดือน ส.ค. 2019 เพื่อสร้างมาตรฐานการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บาร์โค้ดแบบเมทริกซ์ อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางอินโดนีเซียยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้ สำหรับผู้นำอี-วอลเล็ทในอินโดนีเซีย ก็คือสตาร์ทอัพด้านการแบ่งปันการขับขี่ที่มีต้นกำเนิดในอินโดนีเซียอย่าง Gojek ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกูเกิล นอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพที่ชื่อว่า OVO ที่มี Grab คู่แข่งของ Gojek ถือหุ้น ขณะที่อี-วอลเล็ทของแอนท์ ไฟแนนเชียล ชื่อว่า DANA ก็พยายามขยายตลาดนี้ เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มชำระเงินของรัฐที่ชื่อ่า LinkAja ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียต้องการเก็บค่าธรรมเนีมการทำธุรกรรมผ่านอี-วอลเล็ท แบบคงที่ในอัตรา 0.7% โดยอาจส่งผลกระทบต่อร้านคารายเล็กที่ปัจจุบันยังไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใดๆ สำหรับการใช้เครือข่ายอี-วอลเล็ท หรืออาจเป็นการบังคับให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต้องเพิ่มแรงจูงใจในการใช้บริการกับร้านค้าเหล่านี้ […]
Economic Review Economic Update Uncategorized
BF Monthly Economic Review ครึ่งปีแรก 2020
BF Monthly Economic Review ครึ่งปีแรก 2020 ท่านสามารถติดตามอ่านข้อมูล Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 ได้ที่ https://www.bblam.co.th/application/files/6715/7768/0189/1H2020Economic_Review_Final.pdf
Economic Review Economic Update Uncategorized Vietnam
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : เวียดนาม
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน เศรษฐกิจเวียดนามถือว่ายังสามารถขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งในปี 2019 ท่ามกลางความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2019 เติบโตถึง 6.98% YoY สูงที่สุดในรอบ 9 ปี โดยภาคอุตสาหกรรมซึ่งคิดเป็น 53.0% ของ GDP ยังขยายตัวได้ดีถึง 9.4% YoY เช่นเดียวกับภาคบริการที่เติบโต 6.8% YoY โดยได้อานิสงส์จากการขึ้นค่าจ้างแรงงาน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคการเกษตรชะลอตัวจากภาวะภัยแล้งที่ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร บวกกับโรคระบาดในสุกรที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้านการลงทุนในประเทศยังเติบโตได้ดีจากตัวเลข FDI ที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อขยายตัวอยู่ในกรอบของธนาคารกลางที่น้อยกว่า 4.0% แม้ตัวเลขล่าสุดในเดือนพ.ย. จะเด้งขึ้นมาแตะระดับ 3.52% หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ในช่วง 10 เดือนแรกขยายตัวต่ำกว่า 3.0% มาโดยตลอด โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหลายรายการ นอกเหนือจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทิศทางเศรษฐกิจปี 2020 […]
Economic Review Economic Update Thailand
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ไทย
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจในปี 2020 เศรษฐกิจไทยในปี 2019 เติบโตช้าลงต่อเนื่องจากปี 2018 ซึ่งเมื่อเราประเมินเศรษฐกิจไทยจากด้านอุปสงค์ (Expenditure Approach เป็นการวัดการขยายตัวของเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่าย) จะพบว่าการขยายตัวของอุปสงค์ภายในอันได้แก่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนต่างขยายตัวช้าลง และหนุนเศรษฐกิจในสัดส่วนที่น้อยลงเมื่อเทียบกับหลายไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่ด้านอุปสงค์จากภายนอก ทั้งการส่งออก และการนำเข้าก็กลับมาหดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นผลให้ GDP ล่าสุดสะท้อนโมเมนตัมที่ชะลอลงในทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับการประเมินเศรษฐกิจไทยจากด้านการผลิต (Income Approach เป็นการวัดการขยายตัวของเศรษฐกิจผ่านรายได้ของกลุ่มธุรกิจต่างๆ) ก็พบว่าภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรของไทยหดตัว (ทั้งคู่คิดเป็น 32%ของ GDP) ขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเช่นโรงแรมและร้านอาหารขยายตัวได้ไม่เท่ากับในอดีต สำหรับตัวเลขล่าสุด GDP ของไทยในไตรมาสที่ 3/2019 ขยายตัว 2.4%YoY ต่ากว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.7%YoY แต่เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 2.3%YoY ในรายองค์ประกอบด้านการใช้จ่าย พบว่า การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนขยายตัวได้ดีกว่าไตรมาสก่อน ขณะที่การส่งออกสุทธิให้ผลบวกกับ GDP แต่เนื่องด้วย GDP ปีก่อนขยายตัวในเกณฑ์สูง (ไตรมาส3/2018 ขยายตัว […]
Economic Review Economic Update Singapore
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : สิงคโปร์
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจในปี 2020 สิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าค่อนข้างหนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค GDP ไตรมาสทั้งสามไตรมาสที่ผ่านมาดิ่งลงต่ำกว่าในช่วงปี 2017-2018 โดยในรายองค์ประกอบพบว่า แรงฉุดหลักมาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตกลุ่ม Precision Engineering โดยสินค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อยู่ใน Tariff List ที่สหรัฐฯปรับขึ้นภาษีนำเข้ากับจีน (เป็นกลุ่ม 2 แสนล้านดอลลาร์ฯที่ปรับภาษีขึ้นไปเป็น 10.0% เมื่อเดือนก.ย. 2018) และเนื่องด้วยสิงค์โปร์มีส่วนแบ่งการตลาดในสินค้ากลุ่มนี้คิดเป็น 11.0% ของมูลค่าการตลาดทั้งโลก จึงทำให้สิงคโปร์ได้รับแรงกระทบค่อนข้างแรง ทั้งจากกำลังการผลิตที่ลดลง ยอดคำสั่งซื้อต่างประเทศที่หดตัวต่อเนื่อง ทำให้เศรษฐกิจสิงคโปร์แทบจะไม่ขยายตัวเลยในปี 2019 หากภาคการผลิตยังคงอ่อนแออย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นเศรษฐกิจสิงคโปร์เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิค (Technical Recession ) ในช่วงท้ายปี 2019 และต้นปี 2020 อย่างไรก็ดี เรายังไม่เชื่อว่า GDP ทั้งปี 2020 จะหดตัวเนื่องด้วย […]
Economic Review Economic Update Philippines
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ฟิลิปปินส์
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในปี 2019 ถูกกระทบจากการลงทุน/เบิกจ่ายภาครัฐเป็นหลัก เนื่องด้วยการพิจารณางบประมาณคลังมีความล่าช้าประกอบกับมีการเลือกตั้งกลางเทอมในช่วงเดือนพ.ค. เป็นผลให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่สามารถเปิดโครงการก่อสร้างใหม่ได้ เป็นผลให้การลงทุนหดตัวลงในไตรมาส 2-3 ของปี และน่าจะมีส่วนให้ GDP ปี 2019 ของฟิลิปปินส์จะขยับลงมาอยู่ที่ 5.8% ในปี 2019 (จากปี 2018 ที่ 6.2%) ด้านอัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ได้ชะลอลงตั้งแต่ต้นปี (อัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค.อยู่ที่ 4.4% YoY ก่อนที่ปรับตัวลงมาที่ 1.3% YoY ในเดือนพ.ย.) เป็นผลจากราคาอาหารและพลังงานได้ปรับลดลง ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยับลงมาต่ำกว่า 3.0% YoY เรามองว่าอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์น่าจะยืนอยู่ที่ 2.4% ทั้งปี 2019 นี้ก่อนที่จะขยับขึ้นเล็กน้อยที่ 2.9% ในปี 2020 สำหรับ GDP ในปี2020 เรามองว่าเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะขยายตัวกลับมาที่ 6.0% หนุนโดยการบริโภคและการใช้จ่ายภาครัฐ(ที่ไม่ใช่การลงทุน) […]
Economic Review Economic Update Malaysia
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : มาเลเซีย
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 3/2019 เติบโต 4.4% YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโตสูงถึง 4.9% YoY จากการลงทุนภาครัฐที่หดตัวถึง -14.1% YoY ซึ่งเป็นการหดตัวเป็นไตรมาสที่ 8 ติดต่อกัน จากการชะลอและลดมูลค่าโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศหลายโครงการให้ช่วงก่อนหน้า หลังจากการเลือกตั้งและเปลี่ยนพรรครัฐบาล ประกอบกับการบริโภคในประเทศที่เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักตั้งแต่ปี 2018 ขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ 7.0% YoY จาก 7.7% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2019 ด้านการส่งออกหดตัว -1.4%YoY จากผลของความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ทำให้ภาคการผลิตเติบโตชะลอลงตามไปด้วย ขณะที่ภาคการก่อสร้างเติบโตติดลบทั้งการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและมิใช่ที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับภาคเหมืองแร่ที่หดตัว จากปัญหาอุปทานน้ำมันดิบที่ลดลง (Supply Disruption) ชั่วคราว เนื่องจากการปิดท่อส่งน้ำมันเพื่อบำรุงรักษา ทิศทางเศรษฐกิจปี 2020 กองทุนบัวหลวงมองว่า ในปี 2020 เศรษฐกิจมาเลเซียน่าจะเติบโต 4.4% ใกล้เคียงกับตัวเลขปี […]
Economic Review Economic Update Indonesia
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : อินโดนีเซีย
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจอินโดนีเซียปี 2019 นับว่ามีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงปี 2018 ในแง่ของค่าเงินรูเปียห์ เงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างไรก็ดี แม้ว่าอินโดนีเซียจะเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการส่งออกน้อยที่สุดในเอเชีย แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ผ่านการลดลงของราคาน้ำมันปาล์มและถ่านหิน ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศ กดดันรายได้เกษตรกร และกระทบการใช้จ่ายในประเทศ ขณะที่ภาคการผลิตเพื่อการส่งออกก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ส่วนด้านการลงทุนภาครัฐเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในปีนี้ที่ชะลอตัวลงนั้น เป็นผลจากความพยายามของรัฐบาลในการลดการนำเข้า เพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และพยุงค่าเงิน ดังนั้น เราจึงเห็นภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่ชะลอตัวลงจากปีที่แล้วตั้งแต่ต้นปี 2019 ที่ผ่านมา โดยล่าสุด GDP ไตรมาส 3/2019 เติบโต 5.02% YoY ลดลงจาก 5.05% ในไตรมาสก่อนหน้า จากการชะลอตัวอย่างรุนแรงของการใช้จ่ายภาครัฐจาก 8.2% YoY ในไตรมาส 2/2019 มาเป็น 1.0% ประกอบกับการบริโภคในประเทศ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจอินโดนีเซียก็เติบโตชะลอตัวลงเป็น 5.0% YoY จาก 5.2% […]
China Economic Review Economic Update
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : จีน
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020 กิจกรรมในประเทศของจีนชะลอตัวลงต่อเนื่องสะท้อนจากทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรม (จากกลุ่มอุตสาหกรรมขั้นกลางและขั้นปลาย โดยอุตสาหกรรมที่หดตัวมากคือกลุ่มยานยนต์ ) และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (โดยเฉพาะจากกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และได้ส่งต่อไปยังการบริโภคภาคเอกชนที่ไม่ได้เติบโตแรงเท่าอดีต จากข้อมูล GDP ล่าสุดของจีนในไตรมาส 3/2019 ชะลอตัวลงเป็น 6.0% YoY ต่ำสุดในรอบ 27 ปี ในช่วงปี 2019 รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลัง อาทิ การลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 16.0% เป็น 13.0% การเพิ่มวงเงินการออกพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นจาก 1.35 ล้านล้านหยวนเป็น 2.15 ล้านลานหยวน การลดอัตรากันสำรองของธนาคารพาณิชย์ หรือ RRR และมาตรการปฏิรูปกลไกกำหนดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น เราเชื่อว่า นโยบายต่างๆ เหล่านี้จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนให้เติบโตได้ 6.0% ในปี 2019-2020 จากปี 2018 ที่ 6.6% แต่ถ้าเกิดกรณีที่ทั้งสองประเทศไม่สามารถหาข้อสรุปทางการค้าได้ ก็มีโอกาสที่ […]
Economic Review Economic Update Japan
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ญี่ปุ่น
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3/2019 ขยายตัว 0.4% QoQ sa (1.8% QoQ saar) ซึ่งเป็นการเติบโตติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 จากการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการลงทุนขยายตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่เติบโตถึง 1.8% QoQ sa ในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 0.5% QoQ sa ขณะที่ การส่งออกหดตัวจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน บวกกับอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ด้านผลของการขึ้นภาษีบริโภคในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้มีความผันผวนของการใช้จ่ายของประชาชนตามคาด คือ ยอดตัวเลขค้าปลีกในเดือนก.ย. ขยายตัวแรงแตะ 9.1% YoY จากการเร่งจับจ่ายก่อนการขึ้นภาษี และพลิกกลับลงมาหดตัว -7.1% YoY ในเดือนต.ค. (และ -2.1% YoY ในเดือนพ.ย.) สอดคล้องกับตัวเลข PMI ภาคบริการที่ลดลงมาต่ำกว่าระดับ 50 ในเดือนต.ค.เป็นครั้งแรกในรอบ […]