BBLAM Economic Update: เมื่อ Fed น็อครอบดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM การประชุมนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ส่งสัญญาณหนักหน่วงว่า มื้อนี้ ต้องเอาเงินเฟ้อลงให้ได้ แม้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสู่ขิตก็ยอมแลก เล่นเอาหลายๆ ประเทศอกสั่นขวัญแขวนค่ะ เพราะไม่ว่า Fed จะสามารถพิชิตภารกิจนี้ได้ไหม แต่ที่แน่ๆ การที่ Fed ดีดนิ้วหนึ่งครั้ง เท่ากับ น็อครอบธนาคารกลางอื่นไปแล้วสามรอบ ก็ Fed ขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 75 ตัง ทั้งที่ประเทศอื่นปรับขึ้นครั้งละ 25 ตัง และเมื่อ Fed มีความมุ่งมั่นเช่นนี้ ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ก็ดีดนำประเทศชาติบ้านอื่นให้ส่วนต่างระหว่างกันกว้างขึ้นไปอีก น็อครอบประเทศอื่นไปหลายรอบสนามเลย เดือดร้อนญี่ปุ่น ต้องออกมาตรการมาป้องกันค่าเงินเยนที่อ่อนสุดโต่ง และเมื่อมีคนหนึ่งทำ อีกคนต้องทำตาม นั่นคือ เวียดนาม และประเทศกลุ่ม […]
BBLAM Economic Note: เมื่อ Fed พร้อมแลกทุกอย่างเพื่อจัดการเงินเฟ้อ นักลงทุนจะหลบพายุจากพ่อพาวเวรได้อย่างไร
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ (12: 0) ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75 bps เป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ขยับขึ้นมาที่ 3.0-3.25% ในการประชุมเดือนก.ย. เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับ 75 bps สามครั้งติดต่อกันแล้ว และเป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายขยับมาสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2008 โดยในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการต่างเห็นพ้องกันว่า จะต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งถัดๆ ไปอีก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ประธาน Fed ได้ให้สัมภาษณ์ในช่วง Press Conference ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการเปิดเผย Dot Plot และข้อมูลประมาณการทางเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติมด้วย โดย Dot Plot ในรอบนี้ได้สะท้อนว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะวิ่งไปถึง 4.4% สิ้นปีนี้ (สูงกว่าประมาณการครั้งก่อนที่ 3.4%) และอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะวิ่งขึ้นไปต่อในปีหน้าที่ 4.6% ด้านประมาณการทางเศรษฐกิจนั้นถูกปรับลงมาโดย Fed มองว่าปีนี้ […]
BBLAM Economic Note: หาเรื่องลงไม่เนียนเลย…บ่องตง
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ขยับมาที่ 8.3% YoY (0.1%MoM) โดยจุดสนใจของตลาดอยู่ที่ Core Inflation ขยับมาที่ 0.6%MoM เป็นเหตุให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก ขณะที่โบรกเกอร์ (นำโดย Nomura) ส่งเสียงว่า 75 ตัง เอาไม่อยู่แล้ว ขึ้นไปเลย 1 บาท ขออนุญาตให้ข้อสังเกตดังนี้ค่ะ อัตราเงินเฟ้อที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุให้เป็นเป้าหมาย คือ เงินเฟ้อที่เรียกว่า Core PCE ไม่ใช่เจ้าอัตราเงินเฟ้อที่ประกาศไปเมื่อคืน เจ้า Core PCE ใช้วิธีคิดที่ต่างกันกับเงินเฟ้อเมื่อคืนค่ะ Core PCE (กราฟเขียว) ที่เป็น KPI ของ Fed […]
Inflation Reduction Act พรบ.งบฯ สหรัฐฯ ลดเงินเฟ้อตรงไหน
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM เมื่อวันที่ 16 ส.ค. ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ผ่านพรบ. Inflation Reduction Act (เข้าใจว่า ถ้าให้เทียบกับของไทย คือเป็น พรบ. งบประมาณ) แต่ว่าของสหรัฐฯ จะมีการตั้งชื่อต่างกันไปในแต่ละปีงบประมาณ (เช่น ในสมัยของ ปธน. Trump ก็จะใช้ชื่อว่า Tax Cuts and Jobs Act) แต่ก็เป็นพรบ.งบประมาณคือกัน แต่ต่างปีกัน ก็เลยตั้งชื่อให้ต่างกัน Inflation Reduction Act นี้เป็นภาคอวตารของ Build Back Better Bill (เรียกว่า Bill เพราะมันเป็นร่าง แต่พอเป็น Act แปลว่า ผ่านเป็นกฎหมายแล้วเรียบร้อย) เพราะเป็นเวอร์ชั่นที่ปริมาณเงินลงทุนลดลงสามเท่า […]
BF Economic Note Economic Note Economic Update
Economic Note : ปี 2019 เม็ดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสะพัด รัฐชูความสำคัญขนส่งทางราง และพื้นที่อีอีซี
BF Economic Research ฐนิตา ตุมราศวิน รมณ ไชยวรรณ Macro Analyst Fund Management Group ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานออกมาต่อเนื่องหลายฉบับ ทำให้การลงทุนภาครัฐของไทยขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ก่อนที่จะมาสะดุดในช่วงปี 2017 จากการเบิกจ่ายงบได้ล่าช้าของรัฐบาล สำหรับปี 2019 นี้ เรามองว่า รัฐบาลจะสามารถเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานได้เต็มที่มากขึ้น โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และการพัฒนาอีอีซี อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากความชัดเจนในโครงการลงทุนภาครัฐในระยะข้างหน้า ได้แก่ กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเครื่องจักรกลที่ใช้ในก่อสร้าง ปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด จึงทำให้รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับโครงข่าย (Network) การคมนาคมขนส่งของไทยให้ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลได้ประกาศแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานออกมาต่อเนื่องหลายฉบับ อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2017-2021) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 […]
BF Economic Note Uncategorized
แบงก์ชาติอินโดนีเซียขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 6 ในรอบปี เหนือความคาดหมาย เพื่อพยุงค่าเงินที่ผันผวน
BF Economic Research ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank of Indonesia: BI) ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25bps จาก 5.75% เป็น 6.0% โดยเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 6 ในรอบปี รวมทั้งหมด 175bps เพื่อพยุงค่าเงินรูเปียห์ที่ยังถือว่าผันผวน และอ่อนค่าลงมามากที่สุดในอาเซียนที่ -7.6% YTD แม้จะปรับลดลงมาต่ำกว่าระดับ 15,000 รูเปียห์ต่อดอลลาร์แล้วก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ยของ BI ครั้งนี้นับว่าเหนือความคาดหมายของตลาดที่คาดว่า BI จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.75% ในการประชุมเดือนพ.ย. ก่อนจะปรับขึ้น 25bps ในการประชุมเดือนธ.ค. เนื่องจากการประชุมในเดือนธ.ค. เป็นการประชุมในวันเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่ตลาดคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย (FED Fund Rate) เช่นเดียวกัน ในวันเดียวกันอินโดนีเซียได้ประกาศตัวเลขดุลการค้าเดือนต.ค. ที่ออกมาขาดดุล -1,820 ล้านดอลลาร์ฯ หลังจากในเดือนก่อนหน้าเกินดุลเล็กน้อยที่ 314 […]
ASEAN THIS MONTH: อัพเดทเศรษฐกิจอาเซียน ตุลาคม-พฤศจิกายน 2018
BF Economic Research Fund Management Group อินโดนีเซียขาดดุลการค้า -1 พันล้านดอลลาร์ฯ ในเดือน ส.ค. จากการนำเข้าที่ขยายตัว +24.6% YoY ในขณะที่การส่งออกขยายตัว +4.15 % YoY ทั้งนี้ แม้จะเป็นการขาดดุลที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -2 พันล้านดอลลาร์ฯ แต่ยังไม่สามารถหยุดการอ่อนค่าของเงินรูเปียะห์ที่อ่อนค่าลงต่อเนื่องจนหลุดระดับ 15,000 รูเปียะห์ต่อดอลลาร์ฯ ส่งผลให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 25bps ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ก.ย. ที่ผ่านมา จาก 5.50% เป็น 5.75% และมีแนวโน้มปรับขึ้นอีก 25bps จนถึงสิ้นปีนี้เพื่อชะลอการไหลออกของเงินทุน GDP ของสิงคโปร์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว +2.6% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว +4.3% YoY โดยเป็นผลมาจากภาคการผลิตซึ่งขยายตัวชะลอลงที่ +4.5% จากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว […]
ส่อง Theme เศรษฐกิจโลกในอีก 12 เดือนข้างหน้า
By…ฐนิตา ตุมราศวิน Macro Analyst BF Economic Research กองทุนบัวหลวง คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 3.9% ในปี 2018 และ 2019 เพิ่มขึ้นจาก 3.7% ในปี 2017 แต่เป็นการเติบโตแบบกระจุกตัวมากขึ้น เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นต่างค่อยๆ ฟื้นตัวดีขึ้น นำโดยสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวชัดเจนที่สุด ขณะที่ประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) กำลังเผชิญความเสี่ยงด้านลบจากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ การแข็งค่าของดอลลาร์ฯ ความขัดแย้งทางการค้า และปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการเงิน ความเสี่ยงด้านลบที่ต้องจับตา ได้แก่ 1) ทิศทางการดำเนินนโยบายของจีน 2) มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ 3) อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศพัฒนาแล้วขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย การฟื้นตัวที่แตกต่างของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในปัจจุบัน เรามองว่า การเติบโตของตลาดสหรัฐฯ นั้นกำลังใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว โดยในปี […]