Economic Review Economic Update
BF Economic Review – ครึ่งแรกปี 2022
BF Economin Research Core Macro Theme : When the world is full of uncertainty, don’t count much on the economic outlook นับตั้งแต่ปี 2008 เศรษฐกิจโลกเผชิญการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างมาหลายครั้งที่ส่งผลให้ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจแตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ ตลอดช่วงระยะเวลาดังกล่าวยังเกิดการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลในภาคการเงินหลายครั้ง และนโยบายการเงินที่เปลี่ยนทิศทางไปมาอย่างรวดเร็วนับเป็นความท้าทายของนักเศรษฐศาสตร์ในการคาดการณ์แนวทางนโยบายของธนาคารกลางได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะเมื่อทั่วโลกเผชิญวิกฤติ COVID-19 ในปี 2019 การประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจอย่างแม่นยำจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากการเปิด/ปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ด้านตลาดแรงงาน และภาวะขาดแคลนปัจจัยการผลิตในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักก็ยังไม่สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วแม้จะกลับมาเปิดเมืองแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆ ทั้งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี, การเติบโตของตลาด Cryptocurrency, การหันมาใช้พลังงานสะอาด และความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งทำให้ความไม่แน่นอนมีมากขึ้นในระยะข้างหน้า ดังนั้นแล้ว ตัวเลขเศรษฐกิจจริงกับตัวเลขประมาณการ (GDP Projection) จึงสามารถแตกต่างกันได้อย่างสิ้นเชิง เราจึงต้องตระหนักถึงจุดนี้และใช้ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปี 2022 อย่างรอบคอบ (ดังรูปด้านล่าง) […]
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25%
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% เป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด ส่วน Dot Plot สะท้อนท่าทีที่ Hawkish มากขึ้น Fed ได้ระบุว่าเนื่องจากเงินเฟ้อขยายตัวในระดับสูงกว่าเป้าหมาย 2% มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว คณะกรรมการมองว่ามีความเหมาะสมที่ดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวไปก่อนจนกว่าตลาดแรงงงานจะฟื้นตัวไปจนถึงจุดที่คณะกรรมการมองว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ระบุว่า เนื่องจากเงินเฟ้อได้ขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายมานาน (ในช่วงก่อน COVID-19) คณะกรรมการต้องการให้เงินเฟ้อขยายตัวสูงกว่าเป้าหมายเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เงินเฟ้อขยายตัวเฉลี่ยที่ 2% ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ จากพัฒนาการของเงินเฟ้อและการฟื้นตัวต่อเนื่องของตลาดแรงงาน คณะกรรมการได้ตัดสินใจปรับลดอัตราการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Tapering) ลงเพิ่มเติม โดยจากเดิมที่ลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ลงเดือนละ USD15bn (แบ่งเป็น Treasury เดือนละ USD10bn และ MBS เดือนละ USD5bn) ได้ปรับเป็นลดลงเดือนละ USD30bn (แบ่งเป็น Treasury […]
BF Monthly Economic Review – ธ.ค. 2564
สรุปความ BF Economic Research When the world is full of uncertainty, don’t count much on the economic outlook. หมายความว่า เวลาที่โลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน อย่าไปเอาอะไรมากกับการประมาณการเศรษฐกิจ แม้จะเป็นการจั่วหัวที่ล่อแหลม แต่เราก็มีเหตุผลมาอธิบายว่าทำไมเราอาจไม่ต้องไปคิดมากว่าจะทำนายแม่นหรือไม่แม่นเกี่ยวกับประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือไม่ และถึงแม้ว่าประมาณการจะแม่นหรือไม่แม่น ก็สามารถช่วยในการจับจุดหาจังหวะการลงทุนได้ โดยปกติแล้ว GDP จะมีการประมาณการในช่วงเดือน ม.ค., เม.ย., ก.ค. และ ต.ค. หากดูจากกราฟด้านบน จุดสีน้ำเงินที่เห็นในกราฟจะแสดงการประมาณการเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในแต่ละไตรมาสของปี 2017-2020 ส่วนจุดสีชมพู แสดงตัวเลขจริงที่ออกมาว่าอยู่ที่เท่าไหร่ ในปี 2017 ช่วงนั้นเศรษฐกิจโลกค่อนข้างดี แต่กลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์มองว่าดีน้อยเกินไป โดยต้นปีมองว่าเศรษฐกิจจะโต 3.4% แต่ท้ายปีมาปิดที่ 3.8% ส่วนปี 2018 […]
GDP ไตรมาส 3 หดตัว -0.3% YoY (-1.1% QoQ, sa)
BF Economic Research GDP ไตรมาส 3 หดตัว -0.3% YoY (-1.1% QoQ, sa) จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ระบาดรุนแรง แต่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดที่ -0.8% สศช. รายงานเศรษฐกิจไทยหดตัว -0.3% YoY ในไตรมาส 3 ดีกว่าที่ตลาดคาด และปรับตัวแย่ลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 7.6% ทั้งนี้ เมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้า GDP หดตัว -1.1% QoQ sa (vs. 0.1% ไตรมาสก่อน) ในรายองค์ประกอบ: ด้านการใช้จ่าย (Demand Side) อุปสงค์ในต่างประเทศ: การส่งออกสินค้าและบริการโดยรวมชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า (12.3% vs. 27.7% ไตรมาสก่อน) โดยการส่งออกสินค้าชะลอลงเป็น 12.3% (vs. 30.7% […]
BF Monthly Economic Review – พ.ย. 2564
สรุปความ BF Economic Research สำหรับการสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจในครั้งนี้จะเริ่มต้นด้วยประเด็นของ Inflation หรือเรื่องของเงินเฟ้อ ทุกครั้งที่เกิดประเด็นเงินเฟ้อขึ้นมา ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ที่อยู่ในวงการการลงทุน ต้องบอกว่าเรื่อง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ยังไม่น่ากลัวเท่าประเด็นเงินเฟ้อ โดยเวลาที่มีเงินเฟ้อ เราจำเป็นต้องเข้าไปดูรายละเอียดค่อนข้างมาก เวลาตรวจร่างกาย แล้วคุณหมออ่านผลการตรวจเลือดของเรา แล้วทักว่าคลอเรสเตอรัลสูงขึ้น ซึ่งคลอเรสเตอรัลที่สูงขึ้นมาจากไขมันดีหรือไขมันร้าย ก็มีความคล้ายคลึงกันกับตรรกะของเรื่องเงินเฟ้อ โดยเวลาที่เงินเฟ้อปรับขึ้นมา นักเศรษฐศาสตร์จะต้องไปพิจารณาว่าเป็นเงินเฟ้อจากตัวดีหรือตัวร้าย เงินเฟ้อตัวดีนั้น คือ ระดับราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการในสินค้ามากขึ้น จึงยอมจ่ายแพงขึ้น ซึ่งเราอาจจะได้เห็นเรื่องนี้ ในช่วงที่ราคาบ้านในสหรัฐฯ ปรับขึ้นสูงมากในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ของปีนี้ ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ก็ไม่ค่อยกังวล เพราะคนมีความสามารถในการซื้อ โดยในช่วงเวลานั้นราคารถมือสองก็ปรับขึ้นมากๆ เช่นกัน เพราะรถยนต์มือหนึ่งผลิตไม่ทัน ซึ่งในเวลานั้นคนไม่ค่อยกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ส่วนประธาน Fed เองก็ระบุว่า เงินเฟ้อแบบนี้น่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยใช้คำว่า “Transitory” คือเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อมาถึงปลายไตรมาสที่ 3 เข้าสู่ไตรมาสที่ 4 […]
การประชุม Fed เดือน พ.ย. เผยการทำ Asset Tapering แล้ว แต่ยังไม่ Commit ต่อกรอบเวลาของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่กรอบ 0-0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาด และระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ปัจจุบันเข้าซื้อที่อัตรา USD120bn ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) เดือนละ USD80bn และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐ (MBS) เดือนละ USD40bn นั้น แถลงการณ์ระบุว่า Fed ตัดสินใจที่จะเริ่มต้นลดอัตราการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Taper) แบ่งเป็น Treasury เดือนละ USD10bn และ […]
สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ก.ย.
BF Economic Research กิจกรรมเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในเดือน ก.ย. ขณะที่การผ่อนคลาย Lockdown และการเปิดประเทศอาจจะมีส่วนช่วยหนุนให้กิจกรรมเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี การบริโภคภาคเอกชนหดตัวลดลง (-6.8% YoY vs. -8.6% เดือนก่อน) : ดัชนีปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกหมวดจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส โดยเฉพาะการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน (-11.4% vs. -22.3% เดือนก่อน) ด้านรายได้เกษตรกรหดตัว -3.1% YoY (vs. +4.7% เดือนก่อน) ตามราคาข้าวที่ลดลง ขณะที่การขอรับสวัสดิการต่อเนื่องยังคงสูงกว่าระดับก่อนช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเล็กน้อยที่ 5.9% YoY (vs. +6.1% เดือนก่อน) : โดยยอดขายวัสดุก่อสร้าง (-2.9% vs. -8.1% เดือนก่อน) และยอดจดทะเบียนรถยนต์ลงทุนใหม่ (-9.3% vs. -16.0% เดือนก่อน) ปรับตัวดีขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังอยู่ในระดับต่ำ (12.2 พันคน vs. 15.1 […]
GDP สหรัฐฯไตรมาส 3/2021 ขยายตัว 2.0% QoQ, saar ชะลอลงอย่างมากจาก 6.7% ไตรมาสก่อน และต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 2.7%
BF Economic Research GDP สหรัฐฯไตรมาส 3/2021 ขยายตัว 2.0% QoQ, saar ชะลอลงอย่างมากจาก 6.7% ไตรมาสก่อน และต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 2.7% โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน GDP ขยายตัว 4.9% YoY (vs. 12.2% ไตรมาสก่อน) ในรายองค์ประกอบพบว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่ที่1.6% QoQ, saar ชะลอลงจาก 12.0% ในไตรมาสก่อน แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 0.9% โดยการใช้จ่ายภาคบริการขยายตัว 7.9% (vs. 11.5% ไตรมาสก่อน) ยังคงได้อานิสงส์จากการเปิดเศรษฐกิจแม้จะชะลอลงจากไตรมาสก่อนจากการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta ขณะที่การใช้จ่ายซื้อสินค้าพลิกกลับมาหดตัว -9.2% (vs. 13.0% ไตรมาสก่อน) จากการใช้จ่ายหมวดรถยนต์และอุปกรณ์ที่หดตัวสูง -53.9% (vs. 15.9% […]
การส่งออกเดือนก.ย.เติบโต 17.1% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาด (+11.8%) และดีกว่าเดือนก่อนหน้า (+8.9%) ด้านส่งออกไม่รวมทองคำขยายตัว 18.9%
BF Economic Research การส่งออกเดือน ก.ย.เติบโต 17.1% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาด (+11.8%) และดีกว่าเดือนก่อนหน้า (+8.9%) ด้านส่งออกไม่รวมทองคำขยายตัว 18.9% การนำเข้าขยายตัว 30.3% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญขยายตัวสูงในหลายกลุ่ม (เช่น เชื้อเพลิง +43.9% สินค้าอุปโภคบริโภค +22.2% และวัตถุดิบ/สินค้าขั้นกลาง +44.6%) ดุลการค้าเกินดุล USD609mn (เทียบกับ USD-1.2bn เดือนก่อน) สำหรับ 9 เดือน ปี 2021 การส่งออกและนำเข้าเติบโต 15.5% และ 30.9% YoY ตามลำดับ ในรายสินค้า ผลิตภัณฑ์เกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ที่ +12.1% YoY นำโดยการส่งออกขยายตัวดีในยางพารา (+83.6%), […]
สรุปเศรษฐกิจจีนเดือน ก.ย.
BF Economic Research GDP จีน ไตรมาส 3/2021 ขยายตัว 4.9% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 5.0% ชะลอตัวลงจาก 7.9% ในไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน GDP ขยายตัว 0.2% QoQ (vs. 1.2% ไตรมาสก่อน) สำหรับ GDP Growth ทั้งสามไตรมาสอยู่ที่ 9.8% YoY YTD (ทั้งนี้ทางการจีนตั้งเป้า GDP Growth ทั้งปี 2021 ที่ “เหนือ 6.0%”) ด้านตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือน ก.ย. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าและแย่กว่าที่ตลาดคาด ขณะที่ยอดค้าปลีกฟื้นตัวขึ้นดีกว่าคาด ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ก.ย. ขยายตัว 3.1% […]