จีดีพีไทยไตรมาส 4 ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาการณ์

จีดีพีไทยไตรมาส 4 ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาการณ์

BF Economic Research ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไทยไตรมาส 4 ปี 2020 หดตัว -4.2% YoY  ตามการหดตัว -6.4% ในไตรมาสที่ 3 และตัวเลขออกมาดีกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่มองว่าจะลดลง -5.4% YoY โดยการหดตัวของจีดีพีครั้งนี้นับเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 แต่ลดลงน้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรก เนื่องจากรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายชุดและมาตรการจำกัดโควิด-19 ได้ผ่อนคลายลง เมื่อพิจารณาถึงปี 2020 ทั้งปีเศรษฐกิจหดตัว -6.1% (จากปี 2019 ที่ขยายตัว 2.4%) เป็นอัตราถดถอยต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1998 สำหรับปี 2021 สศช. ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจขยายตัว 2.5% -3.5% จากที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.5% -4.5% ในประมาณการครั้งก่อนเดือนพ.ย. 2020 ข้อมูลเพิ่มเติม

อัตราเงินเฟ้อไทยทั่วไปเดือน ม.ค. หดตัว -0.34% YoY คาด ก.พ. หดต่อ

อัตราเงินเฟ้อไทยทั่วไปเดือน ม.ค. หดตัว -0.34% YoY คาด ก.พ. หดต่อ

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของไทย หดตัว -0.34% YoY ในเดือน ม.ค. จากที่หดตัว -0.27% ในเดือน ธ.ค. จากปัจจัยหลักคือ ดัชนีราคาพลังงานที่ลดลง -4.8% YoY ขณะที่ดัชนีราคาอาหารสดค่อนข้าง Flat ที่ 0.6% ด้านเงินเฟ้อพื้นฐาน (เงินเฟ้อไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้น 0.21% (vs. 0.19% เดือนก่อน) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2021 เป็นต้นไป กระทรวงพาณิชย์มีการปรับเปลี่ยนปีฐานในการคำนวณเงินเฟ้อเป็นปี 2019 (จากปีฐานเดิม 2015) โดยเพิ่มน้ำหนักของดัชนีราคาอาหารสด (จาก 16.3% เป็น 20.8%) และดัชนีราคาพลังงาน (จาก 10.7% เป็น 11.7%) และจะปรับจำนวนสินค้าและบริการที่อยู่ในการคำนวณตะกร้าราคาเป็น […]

กนง. มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่ตลาดคาด เรามองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะยังคงอยู่ที่ 0.5% ทั้งปี 2021 นี้

กนง. มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่ตลาดคาด เรามองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะยังคงอยู่ที่ 0.5% ทั้งปี 2021 นี้

BF Economic Research กนง. มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่ตลาดคาด เรามองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะยังคงอยู่ที่ 0.5% ทั้งปี 2021 นี้   คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ในการประชุมวันที่ 3 ก.พ. สาระสำคัญจากการประชุม มีดังนี้ กนง. ยังไม่แถลงประมาณการเศรษฐกิจใหม่แต่มองว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะมีแนวโน้มขยายตัวช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ในเดือน ธ.ค. ที่ 3.2%  อย่างไรก็ตาม โดยที่ กนง. มองว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระลอกสองจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจแต่ไม่มากเท่ากับระลอกแรก เนื่องด้วยรัฐบาลออกมาตรการควบคุมไม่เข้มงวดเท่าครั้งก่อน และมีแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลัง และการฟื้นตัวของการส่งออก กระนั้น กนง. ยังมองว่าในระยะข้างหน้ายังคงมีความไม่แน่นอนสูง และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะไม่ทั่วถึง (Uneven Recovery) สำหรับแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งตัวเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ในช่วงกลางปี 2021 และยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับกรอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดทั้งปี กนง. มองสภาพคล่องยังกระจายตัวไม่ทั่วถึงตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้น จากฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเอกชนที่มีความอ่อนไหวสูงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส อย่างไรก็ตามเราเห็นว่าคณะกรรมการมีความกังวลต่อค่าเงินบาทน้อยลง เนื่องจากเงินบาทเคลื่อนไหวสอดคล้องกับสกุลเงินภูมิภาคมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา […]

การส่งออกไทยเดือน ธ.ค. พลิกกลับมาขยายตัว หนุนโดย สินค้ากลุ่ม WFH เช่น อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

การส่งออกไทยเดือน ธ.ค. พลิกกลับมาขยายตัว หนุนโดย สินค้ากลุ่ม WFH เช่น อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

การส่งออกไทยเดือน ธ.ค. พลิกกลับมาขยายตัว หนุนโดย สินค้ากลุ่ม WFH เช่น อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มูลค่าส่งออกไทยในเดือน ธ.ค.-20 อยู่ที่ 20,082.7 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,932.7 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ ขยายตัว 4.71%YoY (vs. prev.-3.65%YoY) ดีกว่า mkt survey ที่ -1.35% ถ้าไม่รวมทองคำ การส่งออกขยายตัวที่ 5.18%YoY (vs. prev.-3.12%YoY)รวมทั้งปี 2020 มูลค่าส่งออกไทยหดตัว-6.00% vs. 2019: -2.47% มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน ธ.ค.-20 อยู่ที่ 19,119.2 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,880.1 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ ขยายตัว 3.62%YoY (vs. […]

เศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวกลับสู่อัตราการเติบโตก่อน Covid-19

เศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวกลับสู่อัตราการเติบโตก่อน Covid-19

BF Economic Research GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 6.5% YoY (vs prev 4.9%) หนุนโดยการฟื้นตัวในทุก Sector เป็นผลให้ทั้งปี GDP จีน ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาดที่ 2.3% ในปี 2020 (mkt cons 2.1%, 2019: 6.0%) ทั้งนี้ Market Consensus มองว่าจีนจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2021 นี้และ GDP ปี 2021 จะยังคงขยายตัวดีในกรอบ 8-9% ส่วนตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือน ธ.ค. ยังส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง นำโดยภาคการผลิตที่เร่งตัวขึ้นสวนทางกับที่ตลาดคาด ส่วนการบริโภคและการลงทุนขยายตัวต่อเนื่อง รายละเอียดดังแสดง; ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ธ.ค. ขยายตัว  7.3% […]

ส่งออกไทยเดือนธ.ค. ดีขึ้น คาดทั้งปีหดตัวไม่เกิน -7%

ส่งออกไทยเดือนธ.ค. ดีขึ้น คาดทั้งปีหดตัวไม่เกิน -7%

BF Economic Research Fact Fact  ส่งออกไทย ในเดือน พ.ย. 2020 อยู่ที่ 18,932.7 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 19,376.7 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -3.65%YoY (vs. prev.-6.71%YoY) ถ้าไม่รวมทองจะอยู่ที่ -3.12%YoY (vs. prev.-6.34%YoY)  YTD Export Growth =-6.95% vs.prev.-7.26% มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน พ.ย. 2020 อยู่ที่ 18,880.1 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 17,330.2 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -1.00%YoY (vs. prev.-14.30%YoY) YTD Import Growth =-13.5% vs.prev.-14.7% ดุลการค้า ในเดือน […]

Fed คงดอกเบี้ยที่ 0-0.25% ปรับ outlook ของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแต่จะยังคง Dovish ไปอีกนาน

Fed คงดอกเบี้ยที่ 0-0.25% ปรับ outlook ของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแต่จะยังคง Dovish ไปอีกนาน

BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% และระบุว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) แนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ชี้ว่า Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย ซึ่งไม่แตกต่างจาก Dot Plot ครั้งก่อนในเดือน ก.ย.   ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ Fed ยังคงระบุว่า จะเข้าซื้อที่อัตราปัจจุบัน USD120bn ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) เดือนละ USD80bn […]

อัตราเงินเฟ้อไทยหดตัว -0.41% YoY ยังติดลบแต่หดตัวน้อยลง จากราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ขยายตัวขึ้น คาดทั้งปี 2020 จะติดลบ -0.8  to -0.9%

อัตราเงินเฟ้อไทยหดตัว -0.41% YoY ยังติดลบแต่หดตัวน้อยลง จากราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ขยายตัวขึ้น คาดทั้งปี 2020 จะติดลบ -0.8 to -0.9%

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน พ.ย.-20 อยู่ที่ 102.2 vs. prev 102.2 หรือ -0.41%YoY (vs. prev.-0.50%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน -0.04%MoM (vs. prev.0.05%MoM), YTD: -0.90% (vs. prev.-0.94%) อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ 0.18%YoY (vs. prev.0.19%YoY), เมื่อเทียบรายเดือน 0.01%MoM (vs. prev.-0.02%MoM) ราคาอาหาร (36% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ 1.70%YoY (vs. prev.1.57%YoY),เมื่อเทียบรายเดือน -0.23%MoM (vs. prev.0.05%MoM) ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (64% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่  -1.64%YoY (vs. prev.-1.70%YoY),เมื่อเทียบรายเดือน 0.07%MoM […]

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ต.ค.

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ต.ค.

BF Economic Research ธปท. เผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน ต.ค. หดตัวในอัตราสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวในเดือนก่อน จากปัจจัยชั่วคราวที่หมดลง และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในปีก่อน รายละเอียดสำคัญ ดังนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาในประเทศเป็นครั้งแรกในเดือน ต.ค. ที่จำนวน 1,200 คน หลังจากที่รัฐบาลได้ เริ่มดำเนินการเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบอยู่อาศัยระยะยาวผ่านการให้วีซ่าพิเศษ (Special Tourists VISA หรือ STV) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นมา การบริโภคครัวเรือนหดตัวที่ 1.1% YoY (vs. +0.4% เดือนก่อน) โดยเป็นผลมาจากการใช้จ่ายที่ลดลงในหมวดสินค้าไม่คงทน (-3.5% vs. +2.3% เดือนก่อน) และหมวดบริการ (-24.2% vs. -22.0% เดือนก่อน) ซึ่ง ธปท. ระบุว่าเป็นผลมาจากวันหยุดยาวพิเศษที่หมดไป (หยุดชดเชยสงกรานต์) และผลจากฐานสูงปีก่อน (รัฐดำเนินมาตรการชิมช้อปใช้) อนึ่ง […]

BF Monthly Economic Review – ส่งท้ายปี 2563

BF Monthly Economic Review – ส่งท้ายปี 2563

BF Economic Research ในเดือน ธ.ค. นี้ กองทุนบัวหลวงขอนำเสนอมุมมองเศรษฐกิจมหภาคสำหรับการลงทุนในปี 2564 ทั้งนี้มุมมองเศรษฐกิจสำหรับการลงทุนอาจไม่เหมือนกับภาพเศรษฐกิจในความเป็นจริง จะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย สำหรับธีมการลงทุนที่ในตลาดคาดหวังกัน ได้แก่ 1.ภาพเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่การฟื้นตัว (Global economic recovery) 2.นโยบายการเงินและการคลังยังเป็นตัวหลักหล่อลื่นเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อไป ส่งต่อไปจนถึงปี 2564 สำหรับภาพเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่การฟื้นตัวเป็นธีมที่นักลงทุนคาดหวังกัน โดยในปี 2564 ตลาดมองเศรษฐกิจปรับตัวฟื้นคืนมาสู่ระดับก่อนที่จะเกิด COVID-19 หรือปี 2562 นั่นเอง ประเทศที่จะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเลย คือ โควิด-19 หายไปแล้วฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง จะเป็นประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สามารถหาสมดุลได้ทั้งฝั่งภาคบริการและภาคการผลิต คือไม่พึ่งพิงภาคการท่องเที่ยวมากเกินไป มีสัดส่วนการผลิตและภาคบริการค่อนข้างสมดุลกัน ได้แก่ ประเทศจีน และเวียดนาม ทั้ง 2 ประเทศนี้ แม้กระทั่งไตรมาส 2 ของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประเทศต่างๆ ปรับตัวลดลงแรงๆ เพราะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 […]