GDP สหรัฐฯไตรมาส 2 (เบื้องต้น) หดตัว -32.9% QoQ, saar (vs. prev. -5.0% ไตรมาส 1) เป็นการหดตัวที่มากที่สุดตั้งแต่ช่วงปี 1940s คาดฟื้นตัวในไตรมาส 3
BF Economic Research GDP สหรัฐฯไตรมาส 2 (เบื้องต้น) หดตัว -32.9% QoQ, saar (vs. prev. -5.0% ไตรมาส 1) เป็นการหดตัวที่มากที่สุดตั้งแต่ช่วงปี 1940s จากการใช้มาตรการคุมเข้มเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะในเดือน เม.ย. ก่อนที่จะทยอยผ่อนปรนในเดือน พ.ค.-มิ.ย. ในรายองค์ประกอบ การบริโภคภาคเอกชนหดตัว -34.6% QoQ, saar จาก -6.9% ไตรมาสก่อน การลงทุนภาคเอกชนรวม หดตัว -49.0% QoQ จาก -9.0% ไตรมาสก่อน โดยในองค์ประกอบย่อยของการลงทุนพบว่า การลงทุนภาคธุรกิจ (CAPEX) หดตัว -27.0% (vs. -6.7% ไตรมาสก่อน) และการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์หดตัว -38.7% (vs. […]
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงดอกเบี้ยนโยบาย Federal Fund Rate ไว้ที่ระดับ 0.00-0.25% และย้ำพร้อมใช้ทุกเครื่องมือที่มีเพื่อหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงดอกเบี้ยนโยบาย Federal Fund Rate ไว้ที่ระดับ 0.00-0.25% และย้ำพร้อมใช้ทุกเครื่องมือที่มีเพื่อหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 ที่กระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และเงินเฟ้อในระยะใกล้ Fed มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับปัจจุบัน (0.00-0.25%) จนกว่าเศรษฐกิจจะสามารถเลยผ่านปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบัน และกลับเข้าสู่เป้าหมายเดิมคือการจ้างงานเต็มอัตราและระดับราคาที่มีเสถียรภาพได้ ทั้งนี้ Dot plot ล่าสุด (เดือน มิ.ย.) สะท้อนว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับปัจจุบันไปจนถึงปี 2022 เป็นอย่างน้อย แถลงการณ์ของ Fed ระบุกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานฟื้นตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงต้นปีก่อนการระบาดของ COVID-19 ขณะที่อุปสงค์ที่อ่อนแอและการปรับลดลงรุนแรงของราคาน้ำมันได้กดดันอัตราเงินเฟ้อ ส่วนสถานะทางการเงินโดยรวมปรับดีขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งจากผลดีของมาตรการช่วยเหลือที่ได้ออกมา Fed ระบุแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้าขึ้นอยู่กับพัฒนาการของ COVID-19 เป็นสำคัญ ซึ่ง Fed จะติดตามข้อมูลต่างๆ […]
ส่งออกไทยหดตัวต่ำสุดตั้งแต่ปี 2009 กระทรวงพาณิชย์มองว่า Bottom Out
BF Economic Research ส่งออกไทยในเดือน มิ.ย. 2020 อยู่ที่ 16,444.0 ล้านดอลลาร์ฯ prev 16,278.4 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -23.20% YoY (vs. prev.-22.50% YoY) ขณะที่การส่งออกหากไม่นับรวมทองจะอยู่ที่ -17.26% YoY (vs. prev.-27.86%YoY) YTD Export Growth เท่ากับ – 7.10% vs.prev.-3.72% สำหรับมูลค่านำเข้าไทยในเดือน มิ.ย.2020 อยู่ที่ 14,834.0 ล้านดอลลาร์ฯ prev 13,583.8 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -18.10%YoY (vs. prev.-34.40%YoY) YTD Import Growth เท่ากับ -12.6% vs.prev.-11.6% ดุลการค้าในเดือน มิ.ย.2020 […]
Economic Review Economic Update
เกาะติดเศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลัง 2020 ส่งผลอย่างไรต่อการลงทุน
เศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลัง ปี 2020 ส่งผลอย่างไรบ้างต่อการลงทุน แล้วถ้าจะต้องเลือกลงทุนในกองทุนต่างประเทศ ประเทศไหนน่าสนใจบ้าง ติดตามได้จากคลิปวิดีโอนี้ หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2020 ผู้นำสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ได้บรรลุข้อตกลง กองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือ EU Recovery Fund เป็นวงเงินทั้งสิ้น 7.5 แสนล้านยูโร ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังได้ที่ BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563 BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563
เปิดตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของจีน
BF Economic Research GDP ไตรมาส 2 ของจีน พลิกกลับมาขยายตัว 3.2% YoY จากที่หดตัว -6.8% ในไตรมาส 1 เป็นผลให้ GDP YTD อยู่ที่ -1.6% จากการฟื้นตัวของทุกอุตสาหกรรม ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ หนุนโดยการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย เป็นผลให้คะแนนของจีนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องมาที่ 26% จากเดือนก่อนที่ 9% ด้านตัวเลขรายเดือนสะท้อนว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือน มิ.ย. สะท้อนถึงการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการผลิต ขณะที่ภาคการบริโภคและการลงทุนค่อยๆฟื้นตัวอย่างช้าๆ ผลผลิตภาคอุตสาหรรม (Industrial Production) เดือน มิ.ย. ขยายตัว 4.8% YoY เร่งตัวขึ้นจาก 4.4% ในเดือนก่อน นำโดยผลผลิตรถยนต์ (20.4% vs. 19.0% เดือนก่อน) ไฟฟ้า (6.5% vs. […]
BOJ กำลังรอดูทิศทางพัฒนาการทางเศรษฐกิจก่อนเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน
BF Economic Research ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.1% ในการประชุมวันที่ 14-15 ก.ค. รวมทั้งคงมาตรการ Yield Curve Control ที่ควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไว้ที่ประมาณ 0% (-0.2% ถึง 0.2%) และไม่เปลี่ยนแปลงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด นอกจากนี้ BoJ ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจให้หดตัวมากขึ้นเพิ่มเติมจากการประชุมในเดือนเม.ย. โดยคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2020 (เม.ย. 2020-มี.ค. 2021) จะหดตัว -5.7% ถึง -4.5% จากเดิม -5.0% ถึง -3.0% แต่มองเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2021 และ 2022 เติบโตดีขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน ในขณะที่ กรอบคาดการณ์เงินเฟ้อในปีงบประมาณ 2020 แคบลงเหลือ -0.6% […]
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน มิ.ย. 20 อยู่ที่ -1.57%
• อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน มิ.ย. 20 อยู่ที่ 101.3 vs. prev 99.8 หรือ -1.57%YoY (vs. prev.-3.44%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน 1.56% MoM (vs. prev.0.01% MoM) • YTD: -1.13% (vs. prev.-1.04%) โดยอัตราเงินเฟ้อติดลบน้อยลงจากระดับราคาพลังงานที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับที่รัฐบาลได้ออกมาตรการควบคุมราคาสินค้าและช่วยลดค่าสาธารณูปโภค • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ -0.05%YoY (vs. prev.0.01%YoY)เมื่อเทียบรายเดือน -0.01%MoM (vs. prev.-0.30%MoM) • ราคาอาหาร (36% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ 0.06%YoY (vs. prev.-0.01%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน 0.20%MoM (vs. prev.0.02%MoM) […]
BF Monthly Economic Review – มิ.ย. 2563
BF Economic Research สรุปภาพเศรษฐกิจและการลงทุนเดือน มิ.ย. และมุมมองเดือน ก.ค. ช่วงเดือน มิ.ย. หลายประเทศเริ่มคลาย Lockdown จากโควิด-19 แล้ว เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นของภาพเศรษฐกิจหลายที่ เครื่องชี้รายเดือน เครื่องชี้ที่ถี่กว่ารายเดือน เริ่มเห็นกิจกรรมกลับเข้ามาแล้ว เช่น การกลับออกไปทานข้าวข้างนอก การไปท่องเที่ยวพื้นที่ใกล้เคียง ถือเป็นบรรยากาศที่ดี สำหรับ 3 ประเด็นหลัก เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนช่วงครึ่งปีหลัง มีดังนี้ 1.ประมาณการเศรษฐกิจโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 2.การใช้นโยบายการเงินของประเทศต่างๆ เพื่อดัดความชันของ Yield Curve ให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของธนาคารกลางแต่ละประเทศนั้นๆ 3.การเลือกตั้งสหรัฐฯ
ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค.
BF Economic Research ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค. ระบุ เศรษฐกิจไทยหดตัวต่อเนื่อง โดยรายละเอียดสำคัญมีดังนี้ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค. ระบุ เศรษฐกิจไทยหดตัวต่อเนื่อง โดยรายละเอียดสำคัญมีดังนี้ • นักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัว -100% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง: โดยเป็นผลมาจากการปิดน่านฟ้าและได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว • ส่งออกไทย (ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์) ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่16,278.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,948.2 ล้านดอลลาร์ฯหรือ -22.50%YoY (vs. prev.2.12% YoY) ถ้าไม่รวมทองจะอยู่ที่ -27.86% YoY (vs. prev.-10.31% YoY) มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่ 13,584.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 16,485.9 ล้านดอลลาร์ฯ […]
ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นปรับตัวลงแรงในไตรมาส 2/2020 ตามคาด สะท้อนผลกระทบของ COVID-19
BF Economic Research ดัชนี Tankan ที่สะท้อนความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ โดยการสำรวจรายไตรมาสของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงไตรมาส 2/2020 บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงอย่างมากแตะระดับ -34 จากระดับ -8 ในไตรมาส 1/2020 ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ -31 และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 สอดคล้องกับดัชนีของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงจากระดับ -8 และ -15 เป็น -36 และ -45 ตามลำดับ โดยเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดภาวะชะงักงัน การส่งออก และการผลิตลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในเดือนเม.ย. และพ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นอยู่ภายใต้ภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมไปถึงความต้องการสินค้าในตลาดที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้หลายบริษัทต้องลดกำลังการผลิตลง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ดัชนี Tankan ของบริษัทขนาดใหญ่ลดลงจากระดับ -17 เป็น -72 เนื่องจากตลาดส่งออกหลัก คือสหรัฐฯ และยุโรปซึ่งได้รับผลกระทบจาก COVID-19 […]