Economic Review Economic Update Philippines
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ฟิลิปปินส์
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในปี 2019 ถูกกระทบจากการลงทุน/เบิกจ่ายภาครัฐเป็นหลัก เนื่องด้วยการพิจารณางบประมาณคลังมีความล่าช้าประกอบกับมีการเลือกตั้งกลางเทอมในช่วงเดือนพ.ค. เป็นผลให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่สามารถเปิดโครงการก่อสร้างใหม่ได้ เป็นผลให้การลงทุนหดตัวลงในไตรมาส 2-3 ของปี และน่าจะมีส่วนให้ GDP ปี 2019 ของฟิลิปปินส์จะขยับลงมาอยู่ที่ 5.8% ในปี 2019 (จากปี 2018 ที่ 6.2%) ด้านอัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ได้ชะลอลงตั้งแต่ต้นปี (อัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค.อยู่ที่ 4.4% YoY ก่อนที่ปรับตัวลงมาที่ 1.3% YoY ในเดือนพ.ย.) เป็นผลจากราคาอาหารและพลังงานได้ปรับลดลง ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยับลงมาต่ำกว่า 3.0% YoY เรามองว่าอัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์น่าจะยืนอยู่ที่ 2.4% ทั้งปี 2019 นี้ก่อนที่จะขยับขึ้นเล็กน้อยที่ 2.9% ในปี 2020 สำหรับ GDP ในปี2020 เรามองว่าเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะขยายตัวกลับมาที่ 6.0% หนุนโดยการบริโภคและการใช้จ่ายภาครัฐ(ที่ไม่ใช่การลงทุน) […]
Economic Review Economic Update Malaysia
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : มาเลเซีย
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 3/2019 เติบโต 4.4% YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโตสูงถึง 4.9% YoY จากการลงทุนภาครัฐที่หดตัวถึง -14.1% YoY ซึ่งเป็นการหดตัวเป็นไตรมาสที่ 8 ติดต่อกัน จากการชะลอและลดมูลค่าโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศหลายโครงการให้ช่วงก่อนหน้า หลังจากการเลือกตั้งและเปลี่ยนพรรครัฐบาล ประกอบกับการบริโภคในประเทศที่เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักตั้งแต่ปี 2018 ขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ 7.0% YoY จาก 7.7% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2019 ด้านการส่งออกหดตัว -1.4%YoY จากผลของความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ทำให้ภาคการผลิตเติบโตชะลอลงตามไปด้วย ขณะที่ภาคการก่อสร้างเติบโตติดลบทั้งการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและมิใช่ที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับภาคเหมืองแร่ที่หดตัว จากปัญหาอุปทานน้ำมันดิบที่ลดลง (Supply Disruption) ชั่วคราว เนื่องจากการปิดท่อส่งน้ำมันเพื่อบำรุงรักษา ทิศทางเศรษฐกิจปี 2020 กองทุนบัวหลวงมองว่า ในปี 2020 เศรษฐกิจมาเลเซียน่าจะเติบโต 4.4% ใกล้เคียงกับตัวเลขปี […]
Economic Review Economic Update Indonesia
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : อินโดนีเซีย
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจอินโดนีเซียปี 2019 นับว่ามีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงปี 2018 ในแง่ของค่าเงินรูเปียห์ เงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างไรก็ดี แม้ว่าอินโดนีเซียจะเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการส่งออกน้อยที่สุดในเอเชีย แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ผ่านการลดลงของราคาน้ำมันปาล์มและถ่านหิน ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศ กดดันรายได้เกษตรกร และกระทบการใช้จ่ายในประเทศ ขณะที่ภาคการผลิตเพื่อการส่งออกก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ส่วนด้านการลงทุนภาครัฐเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในปีนี้ที่ชะลอตัวลงนั้น เป็นผลจากความพยายามของรัฐบาลในการลดการนำเข้า เพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และพยุงค่าเงิน ดังนั้น เราจึงเห็นภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่ชะลอตัวลงจากปีที่แล้วตั้งแต่ต้นปี 2019 ที่ผ่านมา โดยล่าสุด GDP ไตรมาส 3/2019 เติบโต 5.02% YoY ลดลงจาก 5.05% ในไตรมาสก่อนหน้า จากการชะลอตัวอย่างรุนแรงของการใช้จ่ายภาครัฐจาก 8.2% YoY ในไตรมาส 2/2019 มาเป็น 1.0% ประกอบกับการบริโภคในประเทศ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจอินโดนีเซียก็เติบโตชะลอตัวลงเป็น 5.0% YoY จาก 5.2% […]
China Economic Review Economic Update
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : จีน
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020 กิจกรรมในประเทศของจีนชะลอตัวลงต่อเนื่องสะท้อนจากทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรม (จากกลุ่มอุตสาหกรรมขั้นกลางและขั้นปลาย โดยอุตสาหกรรมที่หดตัวมากคือกลุ่มยานยนต์ ) และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (โดยเฉพาะจากกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และได้ส่งต่อไปยังการบริโภคภาคเอกชนที่ไม่ได้เติบโตแรงเท่าอดีต จากข้อมูล GDP ล่าสุดของจีนในไตรมาส 3/2019 ชะลอตัวลงเป็น 6.0% YoY ต่ำสุดในรอบ 27 ปี ในช่วงปี 2019 รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลัง อาทิ การลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 16.0% เป็น 13.0% การเพิ่มวงเงินการออกพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นจาก 1.35 ล้านล้านหยวนเป็น 2.15 ล้านลานหยวน การลดอัตรากันสำรองของธนาคารพาณิชย์ หรือ RRR และมาตรการปฏิรูปกลไกกำหนดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น เราเชื่อว่า นโยบายต่างๆ เหล่านี้จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนให้เติบโตได้ 6.0% ในปี 2019-2020 จากปี 2018 ที่ 6.6% แต่ถ้าเกิดกรณีที่ทั้งสองประเทศไม่สามารถหาข้อสรุปทางการค้าได้ ก็มีโอกาสที่ […]
Economic Review Economic Update Japan
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ญี่ปุ่น
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3/2019 ขยายตัว 0.4% QoQ sa (1.8% QoQ saar) ซึ่งเป็นการเติบโตติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 จากการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการลงทุนขยายตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่เติบโตถึง 1.8% QoQ sa ในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 0.5% QoQ sa ขณะที่ การส่งออกหดตัวจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน บวกกับอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ด้านผลของการขึ้นภาษีบริโภคในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้มีความผันผวนของการใช้จ่ายของประชาชนตามคาด คือ ยอดตัวเลขค้าปลีกในเดือนก.ย. ขยายตัวแรงแตะ 9.1% YoY จากการเร่งจับจ่ายก่อนการขึ้นภาษี และพลิกกลับลงมาหดตัว -7.1% YoY ในเดือนต.ค. (และ -2.1% YoY ในเดือนพ.ย.) สอดคล้องกับตัวเลข PMI ภาคบริการที่ลดลงมาต่ำกว่าระดับ 50 ในเดือนต.ค.เป็นครั้งแรกในรอบ […]
Economic Review Economic Update EU
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ยุโรป
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 3/2019 ขยายตัว 0.2% QoQ sa เท่ากับตัวเลขในไตรมาสก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบรายปีขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1.2% YoY เท่ากับไตรมาสก่อน ในรายองค์ประกอบ การใช้จ่ายภาคเอกชนเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ โดยส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Contribution to Growth) 0.3% ตามมาด้วยการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนที่ 0.1% อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การค้าโลกยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจยูโรโซนอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ยังคงไม่ได้ข้อสรุป ด้านเศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวดีกว่าคาดที่ 0.1% QoQ sa หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาส 3 เนื่องจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจหดตัว -0.2% ในไตรมาส 2 ส่งผลให้สามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยไปได้ ส่วนเศรษฐกิจฝรั่งเศส และอิตาลีมีการขยายตัว 0.3% QoQ sa และ 0.1% QoQ sa ตามลำดับ ทั้งนี้ ท่ามกลางการชะลอตัวของภาคการผลิตในยูโรโซนที่สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ […]
Economic Review Economic Update US
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : สหรัฐอเมริกา
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020 GDP สหรัฐฯในไตรมาส 3/2019 (ประมาณการครั้งที่ 3) ขยายตัวที่ 2.1% QoQ saar เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 2.0% QoQ saar หนุนจากการบริโภคที่ยังขยายตัวได้ (ในอัตราชะลอลง) ส่วนการลงทุนหดตัวน้อยลงเนื่องจากการลงทุนที่อยู่อาศัยพลิกกลับมาบวกในไตรมาส 3 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อมูลย้อนหลัง (ดังรูป) จะพบว่าโดยภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2019 ยังสามารถขยายตัวเป็นบวก (จากแรงหนุนในฝั่งการบริโภคภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐ) ด้วยอัตราที่ชะลอลง (เนื่องจากการส่งออกสุทธิและการลงทุนภาคเอกชนที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดด้านการค้า) และในปี 2020 การขยายตัวทางเศรษฐกิจก็น่าจะเป็นไปในรูปแบบนี้ เนื่องด้วย 1) อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน อัตราดอกเบี้ยรถยนต์ น่าจะปรับตัวลงต่ำตามทิศทางของดอกเบี้ยนโยบาย (ณ ขณะนี้อยู่ที่ 1.50-1.75%) จะมีส่วนช่วยหนุนยอดขายบ้าน การลงทุนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และยอดขายรถยนต์ ดังจะเห็นได้จากในรูปด้านล่างว่า การลงทุนและการก่อสร้างในกลุ่มที่อยู่อาศัยและยอดขายสินค้าคงทนได้ขยายตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 2) กระนั้น การส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนในกลุ่มอื่นๆ น่าจะยังชะลอตัวลงต่อไป ตราบใดก็ตามที่การเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังไม่เสร็จสิ้น […]
Economic Review Economic Update Global
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ภาพรวมเศรษฐกิจโลก
Core Macro Theme ตลาดผ่อนคลายความกังวลในช่วงสั้นๆ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2020 1. การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่กำลังดำเนินไปช่วยผ่อนคลายความกังวลของตลาดในระยะสั้น ปัจจุบันสหรัฐฯ และจีนกำลังอยู่ในช่วงการเจรจาข้อตกลงทางการค้าในระยะที่ 1 ซึ่งก่อนหน้านี้คาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงดังกล่าวในการประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปก ที่มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากชิลีได้ประกาศยกเลิกการจัดประชุมในครั้งนี้ไป ทำให้กำหนดเวลาสำหรับการลงนามมีความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ณ ขณะนี้ตลาดปรับมุมมองต่อสงครามการค้าในทิศทางที่ดีขึ้น โดยล่าสุด (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ธ.ค.) สำนักงานคณะผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้ประกาศรายละเอียดข้อตกลงการค้าหรือที่เรียกว่า Phase-one Deal เบื้องต้นระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เพิ่มเติม รายละเอียดดังนี้ 1) สหรัฐฯจะลดอัตราภาษีลงเป็น 7.5% จากปัจจุบันที่ 15.0% กับสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 1.12 แสนล้านดอลลาร์ฯ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา 2) สหรัฐฯ ยกเลิกการปรับขึ้นภาษีนำเข้าก้อนสุดท้าย […]
สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเดือน ต.ค. 2562
BF Economic Research กิจกรรมเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่องในเดือน ต.ค. ในรายองค์ประกอบ จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัว +12.2% YoY เป็น 3.04 ล้านคน ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวในระดับ 2 หลัก ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยมีแรงสนับสนุนจากฐานที่ต่ำมากในเดือน ต.ค. 2018 (-0.5%YoY หลังจากที่มีเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ตในเดือน ก.ค.) นอกจากนี้ ยังได้แรงหนุนจากมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราของคนต่างด้าว (Visa on arrival fee) โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในไทยขยายตัวมากนำโดยจีนและอินเดียเป็นหลัก (+27.9% และ +38.4% ตามลำดับ) การบริโภคภาคเอกชนโตขึ้นกว่าเดือนก่อน (PCI +1.3% YoY vs. +0.6% เดือนก่อน) การบริโภคสินค้าไม่คงทน (+2.7% vs. +0.8% เดือนก่อน) ได้อานิสงส์จากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการชิมช้อปใช้ ซึ่งมีการแจกเงินคนละ 1,000 บาทเข้าสู่ G-wallet […]
BF Monthly Economic Review – พ.ย. 2562
BF Economic Research ประเด็นสำคัญ และทิศทางเศรษฐกิจปี 2020 1. การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่กำลังดำเนินไปช่วยผ่อนคลายความกังวลของตลาดในระยะสั้น ปัจจุบันสหรัฐฯ และจีน กำลังอยู่ในช่วงการเจรจาข้อตกลงทางการค้าในระยะที่ 1 ซึ่งก่อนหน้านี้คาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงดังกล่าวในการประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปก ที่มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงกลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากชิลีได้ประกาศยกเลิกการจัดประชุมในครั้งนี้ไป ทำให้กำหนดเวลาสำหรับการลงนามมีความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศมีแนวโน้มที่จะลงนามก่อนวันที่ 15 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นวันที่สหรัฐฯ ระบุว่า จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นเป็น 15.0% แม้สถานการณ์ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน แต่ตลาดเริ่มคลายความกังวลลง เนื่องจากอย่างน้อยความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนก็ไม่มีท่าทีทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงนี้ กระนั้น จากประสบการณ์ในช่วงปลายปี 2018 ถึงครึ่งปีแรกของปี 2019 ทำให้เรายังไม่ตัดความเป็นไปได้ที่การเจรจาการค้าสามารถเปลี่ยนแปลงทิศทางได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร (CEO Survey) โดย UBS นั้น ผู้บริหารส่วนใหญ่เชื่อว่า ผลการเจรจาอาจไม่ราบรื่นนัก […]