เฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อ แม้เสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย

เฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อ แม้เสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย

ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 7 ในปีนี้ ด้วยอัตรา 0.5% ตามการคาดการณ์ของตลาด พร้อมส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มถึงปีหน้าเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้มีความเสี่ยงที่ประเทศจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็ตาม ธนาคารกลางฯ คาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นไปจุดสูงสุดที่ 5.1% ในปี 2566 ซึ่งมากกว่าที่นักลงทุนและตลาดคาดการณ์ไว้ และค่อนข้างไม่เห็นด้วย หากอัตราดอกเบี้ยจะขยับถึงระดับนั้น โดยก่อนหน้านี้ ตลาดมองว่าดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะแตะระดับสูงสุดที่ 4.6% ด้านเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางฯ ส่วนใหญ่ก็ประเมินว่า ดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะสูงถึงระดับดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่เพียง 2 คนจาก 19 คนเท่านั้นที่คาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 5.0% ในปีหน้า อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางฯ ได้ส่งสัญญาณว่าการขึ้นดอกเบี้ยยังมีความจำเป็นอยู่ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งสูงสุดในรอบ 40 ปี ธนาคารกลางฯ ระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในกรอบเป้าหมาย มีความเหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินที่เข้มงวด ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับ 2% ตามที่ธนาคารฯ กำหนดไว้ […]

BBLAM Monthly Economic Review : Fed ไม่รีบ แต่ Fed ไม่หยุด

BBLAM Monthly Economic Review : Fed ไม่รีบ แต่ Fed ไม่หยุด

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ หรือ FOMC ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 75 bps สู่กรอบ 3.75-4.0% เช่นเดียวกับ การประชุมครั้งก่อนๆ ที่ประธาน Fed มักจะมีคำเด็ดไว้ให้นักข่าวใช้เล่นเป็นประเด็นให้ตีความ ซึ่งคำเด็ดในการประชุมครั้งนี้ คือ “Cumulative Tightening” แปลเป็นไทยได้ว่า “ตึงตัวสะสม” โดย Fed ได้นำคำนี้มาใช้ในบริบทที่ว่า คณะกรรมการของ FOMC จะพิจารณาว่า นโยบายการเงินที่เพิ่มระดับของความคุมเข้มมาเรื่อยๆ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงปัจจุบัน จะไปส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเงินอย่างไร การที่ตัวเลขเศรษฐกิจยังดีมากในตอนนี้ ไม่ได้หมายความว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถรองรับกับ “ดอกเบี้ยที่ขึ้นรัวๆ ได้” เพียงแต่ตัวเลขเศรษฐกิจ มีความหนืดหรือภาษาทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Lagging […]

BBLAM Monthly Economic Review: เมื่อ Fed ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ 

BBLAM Monthly Economic Review: เมื่อ Fed ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ 

โดย  ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา  Chief Economist, BBLAM การประชุมนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ส่งสัญญาณหนักหน่วงว่า มื้อนี้ ต้องเอาเงินเฟ้อลงให้ได้ แม้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสู่ขิตก็ยอมแลก เล่นเอาหลายๆ ประเทศอกสั่นขวัญแขวนค่ะ เพราะไม่ว่า Fed จะสามารถพิชิตภารกิจนี้ได้ไหม แต่ที่แน่ๆ การที่ Fed ดีดนิ้วหนึ่งครั้ง เท่ากับ น็อครอบธนาคารกลางอื่นไปแล้วสามรอบ ก็ Fed ขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 75 ตัง ทั้งที่ประเทศอื่นปรับขึ้นครั้งละ 25 ตัง และเมื่อ Fed มีความมุ่งมั่นเช่นนี้ ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ก็ดีดนำประเทศชาติบ้านอื่นให้ส่วนต่างระหว่างกันกว้างขึ้นไปอีก น็อครอบประเทศอื่นไปหลายรอบสนามเลย เดือดร้อนญี่ปุ่น ต้องออกมาตรการมาป้องกันค่าเงินเยนที่อ่อนสุดโต่ง และเมื่อมีคนหนึ่งทำ อีกคนต้องทำตาม นั่นคือ เวียดนาม และประเทศกลุ่ม […]

BBLAM Economic Update: เมื่อ Fed น็อครอบดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ

BBLAM Economic Update: เมื่อ Fed น็อครอบดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ

โดย ดร.มิ่งขวัญ  ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM การประชุมนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ส่งสัญญาณหนักหน่วงว่า มื้อนี้ ต้องเอาเงินเฟ้อลงให้ได้ แม้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสู่ขิตก็ยอมแลก เล่นเอาหลายๆ ประเทศอกสั่นขวัญแขวนค่ะ เพราะไม่ว่า Fed จะสามารถพิชิตภารกิจนี้ได้ไหม แต่ที่แน่ๆ การที่ Fed ดีดนิ้วหนึ่งครั้ง เท่ากับ น็อครอบธนาคารกลางอื่นไปแล้วสามรอบ ก็ Fed ขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 75 ตัง ทั้งที่ประเทศอื่นปรับขึ้นครั้งละ 25 ตัง และเมื่อ Fed มีความมุ่งมั่นเช่นนี้ ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ก็ดีดนำประเทศชาติบ้านอื่นให้ส่วนต่างระหว่างกันกว้างขึ้นไปอีก น็อครอบประเทศอื่นไปหลายรอบสนามเลย เดือดร้อนญี่ปุ่น ต้องออกมาตรการมาป้องกันค่าเงินเยนที่อ่อนสุดโต่ง และเมื่อมีคนหนึ่งทำ อีกคนต้องทำตาม นั่นคือ เวียดนาม และประเทศกลุ่ม […]

เฟดขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ อีก 0.75% เป็นรอบที่ 3 ลั่นใช้นโยบายนี้จนสิ้นปีหน้า ส่งผลกระแทกใส่ ‘เอเชีย’ แรง

เฟดขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ อีก 0.75% เป็นรอบที่ 3 ลั่นใช้นโยบายนี้จนสิ้นปีหน้า ส่งผลกระแทกใส่ ‘เอเชีย’ แรง

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% ในวันพุธ (21 ก.ย.) เป็นรอบที่ 3 ต่อเนื่องกัน ขณะที่ประธานพาวเวล ลั่นพร้อมใช้ยาแรงต่อเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้อาจต้องแลกด้วยภาวะการเติบโตชะลอตัวและอัตราว่างงานพุ่งขึ้นก็ตาม ความเคลื่อนไหวคราวนี้นอกจากทำวอลล์สตรีทร่วงแรง ยังฉุดตลาดหุ้นเอเชียดิ่งตาม และค่าเงินสกุลต่างๆ อ่อนลงต่อเนื่องเมื่อเทียบดอลลาร์ คณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เอฟโอเอ็มซี) ประกาศในวันพุธภายหลังการประชุม 2 วัน ขยับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเฟด ฟันด์ส เรต ไปอีก 0.75% เป็นการเพิ่มอย่างแรงขนาดนี้รอบที่ 3 ต่อเนื่องกัน และถือเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 5 สำหรับปีนี้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นตัวนี้อยู่ที่ระดับ 3.0-3.25% ไม่เพียงเท่านั้น เฟดยังแถลงคาดการณ์ด้วยว่า ควรขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก ทั้งนี้ เฟดแสดงความกังวลกับอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งพุ่งสูงสุดในรอบ 40 ปี จนกดดันอย่างแรงใส่ครอบครัวและธุรกิจอเมริกัน รวมทั้งกลายเป็นภาระทางการเมืองสำหรับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่จะต้องเผชิญศึกเลือกตั้งกลางเทอมต้นเดือนพฤศจิกายนที่จะถึง เจอโรม พาวเวล ประธานของเฟด […]

Economic Update: Japan: BoJ คงนโยบายการเงินตามคาด สวนทาง Fed และธนาคารกลางอื่นทั่วโลก

Economic Update: Japan: BoJ คงนโยบายการเงินตามคาด สวนทาง Fed และธนาคารกลางอื่นทั่วโลก

ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ Bank of Japan (BoJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) ในการประชุมวันนี้ ทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ Yield Curve Control ท่ามกลางเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเยนอ่อนค่าแรงทะลุ 140 เยนต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ แต่ยิ่งทำให้นโยบายการเงินของญี่ปุ่นสวนทางกับธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลกที่ต่างพากันใช้นโยบายคุมเข้มมากขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเร่งตัวขึ้นจากราคาพลังงานและอาหารที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว สำหรับในเดือนส.ค. เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดและเป็นเงินเฟ้อเป้าหมายของ BoJ เร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 31 ปีที่ 2.8% YoY จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ราคาไฟฟ้า และอาหารแปรรูป ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นเป็น 3.0% YoY จาก 2.6% ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ในแถลงการณ์หลังการประชุม นาย Haruhiko Kuroda […]

BBLAM Economic Note: เมื่อ Fed พร้อมแลกทุกอย่างเพื่อจัดการเงินเฟ้อ นักลงทุนจะหลบพายุจากพ่อพาวเวรได้อย่างไร   

BBLAM Economic Note: เมื่อ Fed พร้อมแลกทุกอย่างเพื่อจัดการเงินเฟ้อ นักลงทุนจะหลบพายุจากพ่อพาวเวรได้อย่างไร   

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM  ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ (12: 0) ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75 bps เป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ขยับขึ้นมาที่ 3.0-3.25% ในการประชุมเดือนก.ย. เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับ 75 bps สามครั้งติดต่อกันแล้ว และเป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายขยับมาสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2008 โดยในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการต่างเห็นพ้องกันว่า จะต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งถัดๆ ไปอีก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ประธาน Fed ได้ให้สัมภาษณ์ในช่วง Press Conference ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการเปิดเผย Dot Plot และข้อมูลประมาณการทางเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติมด้วย โดย Dot Plot ในรอบนี้ได้สะท้อนว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะวิ่งไปถึง 4.4% สิ้นปีนี้ (สูงกว่าประมาณการครั้งก่อนที่ 3.4%) และอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะวิ่งขึ้นไปต่อในปีหน้าที่ 4.6% ด้านประมาณการทางเศรษฐกิจนั้นถูกปรับลงมาโดย Fed มองว่าปีนี้ […]

ฟันด์โฟลว์จ่อทิ้ง ‘ตลาดเกิดใหม่’ หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง

ฟันด์โฟลว์จ่อทิ้ง ‘ตลาดเกิดใหม่’ หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง

“นักวิเคราะห์” ชี้หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง อาจเร่งกองทุนต่างชาติแห่ถอนลงทุนจากตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ของเอเชียเร็วขึ้น “เวิลด์แบงก์” แนะจีนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม นักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่า หากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่อีกครั้ง ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย.นี้ อาจเป็นตัวเร่งให้กองทุนต่างชาติแห่ถอนการลงทุนออกจากตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ของเอเชียรวดเร็วขึ้น ซึ่งซ้ำเติมตลาดกลุ่มนี้ให้ย่ำแย่ลงอีก จากเดิมที่ได้รับผลกระทบอยู่แล้วจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 ก.ย. โดยหากเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมครั้งนี้ ก็จะส่งผลให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ทั้งในเดือน มิ.ย.และ ก.ค. ด้านบลูมเบิร์ก อินเทลลิเจนซ์ ระบุว่า นักลงทุนต่างชาติถอนการลงทุนออกจากตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ยกเว้นจีน ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 […]

BBLAM Economic Note: หาเรื่องลงไม่เนียนเลย…บ่องตง

BBLAM Economic Note: หาเรื่องลงไม่เนียนเลย…บ่องตง

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ขยับมาที่ 8.3% YoY (0.1%MoM) โดยจุดสนใจของตลาดอยู่ที่ Core Inflation ขยับมาที่ 0.6%MoM เป็นเหตุให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก ขณะที่โบรกเกอร์ (นำโดย Nomura) ส่งเสียงว่า 75 ตัง เอาไม่อยู่แล้ว ขึ้นไปเลย 1 บาท ขออนุญาตให้ข้อสังเกตดังนี้ค่ะ อัตราเงินเฟ้อที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุให้เป็นเป้าหมาย คือ เงินเฟ้อที่เรียกว่า Core PCE ไม่ใช่เจ้าอัตราเงินเฟ้อที่ประกาศไปเมื่อคืน เจ้า Core PCE ใช้วิธีคิดที่ต่างกันกับเงินเฟ้อเมื่อคืนค่ะ   Core PCE (กราฟเขียว) ที่เป็น KPI ของ Fed […]

นักเศรษฐศาสตร์ต่างชาติ คาดเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือน ก.ย.

นักเศรษฐศาสตร์ต่างชาติ คาดเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือน ก.ย.

นักเศรษฐศาสตร์รอยเตอร์ ชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ในเดือนกันยายน ท่ามกลางคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อจะพุ่งถึงจุดสูงสุด เพราะกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเมื่อเดือนที่แล้ว ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้กองทุนฟิวเจอร์สของเฟดปรับราคาให้แคบลงอยู่พื้นฐานที่ 0.50% ในเดือน ก.ย. หลังจากที่เคลื่อนไหวในเดือนมิ.ย.และ ก.ค.อยู่ที่ 0.75%  ในผลสำรวจของรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 19 – 20 ส.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครึ่งเปอร์เซ็นต์ในเดือนหน้า ซึ่งจะนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยหลักที่ระดับ 2.75-3.00% เมื่อเดือนที่แล้ว นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ กล่าวว่า ในการประชุมที่แจ็กสันโฮล วันที่ 26 – 27 ส.ค. อาจพิจารณาชะลอการเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย น่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม นายพาวเวล จะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในวันที่ 26 ส.ค.เวลา 10.00 […]