Fed เปลี่ยนมาดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดแล้ว…ลงทุนอะไรดี
โดย…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ AFPTTM เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ปีนี้นักลงทุนคงจะได้เห็นทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งในภาวะแบบนี้นักลงทุนบางคนคงจะสงสัยว่า เราจะลงทุนอะไรดีให้เข้ากับทิศทางนี้ วันนี้ BBLAM เตรียมคำตอบดีๆ เอาไว้ให้แล้ว เมื่อปลายปี 2021 นาย Jerome Powell ประธาน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศเอาไว้ชัดเจนตั้งแต่ปลายปี 2021 ว่า Fed จะทยอยลดการเข้าซื้อสินทรัพย์สภาพคล่องในระบบตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณที่ดำเนินการอยู่ หรือที่เรียกว่า QE Tapering โดยจากเดิมตั้งใจจะลดเข้าซื้อเดือนละ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ก็จะเพิ่มเป็นลดลงเดือนละ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งก็จะส่งผลให้การทำ QE สิ้นสุดลงในเดือนมีนาคม 2022 และหลังจากที่สิ้นสุดแล้ว Fed ก็จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2022 ซึ่งก็ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า Fed น่าจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022 ที่ทำ QE จบนั่นเอง […]
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25%
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% และระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) สำหรับแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ยังคงชี้ว่า เฟด จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวจนถึงสิ้นปี 2023 เป็นอย่างน้อย แต่ความเห็นของคณะกรรมการมีท่าทีที่ Hawkish มากขึ้น โดยคณะกรรมการ 7 ท่านจากทั้งหมด 18 ท่านที่มองว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในปี 2023 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือน ธ.ค. ที่มีคณะกรรมการ 5 จากทั้งหมด 17 ท่าน (นาย […]
Fed คงดอกเบี้ยที่ 0-0.25% ปรับ outlook ของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแต่จะยังคง Dovish ไปอีกนาน
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% และระบุว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) แนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ชี้ว่า Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย ซึ่งไม่แตกต่างจาก Dot Plot ครั้งก่อนในเดือน ก.ย. ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ Fed ยังคงระบุว่า จะเข้าซื้อที่อัตราปัจจุบัน USD120bn ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) เดือนละ USD80bn […]
Fed มีมติปรับดอกเบี้ย 1.75-2.0% Dot Plot สะท้อนทั้งปีปรับ 4 ครั้ง
BF Economic Research คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 1.75-2.0% (จากที่ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้นในครั้งก่อนเมื่อเดือน มี.ค.) ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด ขณะที่ FOMC มีมติปรับขึ้น Fed Fund Rate 0.25% แต่กลับปรับขึ้น IOER 0.2% เป็นผลให้ IOER ขยับขึ้น 1.95% ต่ำกว่า Fed Fund Rate 0.05% พร้อมกันนี้ FOMC ได้กล่าวว่า ได้เริ่มการลดงบดุลตามแผนที่ได้เคยระบุไว้ในเดือน มิ.ย. 2017 ในการประชุมดังกล่าวได้เผยประมาณการเศรษฐกิจ (GDP, Unemployment, และ Inflation) ส่วนใหญ่เป็นการปรับประมาณการเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ให้ระยะกลาง-ยาว เท่าเดิม (สะท้อนว่า Fed มองว่า […]
เฟดศึกษาใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งในภาคการเงิน
ซีเอ็นบีซี ระบุว่า แรนดัล ควาเรส รองประธานฝ่ายกำกับดูแลภาคธนาคารของคณะกรรมการบริหารธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการศึกษาใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง (แมชชีน เลิร์นนิ่ง) ในอุตสาหกรรมการเงิน เพื่อเปลี่นแปลงแนวทางการกำกับดูแลต่างๆ ให้เหมาะสมกับกรอบการกำกับดูแลที่วางไว้อยู่ ทั้งนี้ เฟดลงทุนไปมากสำหรับ การใช้เครื่องมือแมชชีน เลิร์นนิ่งเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค เนื่องจากต้องการให้แน่ใจว่าในตลาดมีการปฏิบัติตามแนวทางการปกป้องดูแลที่มีอยู่ ขณะเดียวกันเฟดก็ยังต้องการใช้เครื่องมือนี้เพื่อตอบสนองผู้บริโภคในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรืออัลกอรึธึ่มประเมินความเสี่ยงและตัดสินใจด้านเครดิต
เฟด เผย หนี้ครัวเรือนสหรัฐฯ Q4/17 พุ่ง 193 พันล้านดอลล์
สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟดเขตนิวยอร์กเปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนในสหรัฐฯไตรมาส 4 ปี 2017 เพิ่มขึ้น 193 พันล้านดอลลาร์ มาอยู่ที่ 13.15 ล้านล้านดอลลาร์ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยหนี้ครัวเรือนกลุ่มสินเชื่อจำนองอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสดังกล่าว เพิ่มขึ้น 139 พันล้านดอลลาร์ เป็น 8.88 ล้านล้านดอลลาร์ และหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเป็นอันดับสอง เพิ่มขึ้น 26 พันล้านดอลลาร์ เป็น 834 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ในรายงานดังกล่าวระบุว่า หนี้ครัวเรือนในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันจากสินเชื่อจำนอง เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา สินเชื่อยานยนต์ และบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น
เฟดสาขานิวยอร์ก มองเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ม.ค.ปรับลดลง
ผลการสำรวจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก ระบุว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐได้ปรับตัวลงในเดือนที่แล้ว หลังจากที่ดีดตัวขึ้นในช่วงสิ้นปีที่แล้ว ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า ค่าเฉลี่ยตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคในช่วง 1 ปีข้างหน้าได้ลดลงสู่ระดับ 2.71% ในเดือนม.ค. จากระดับ 2.82% ในเดือนธ.ค. ส่วนค่าเฉลี่ยตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในช่วง 3 ปีข้างหน้า ลดลงสู่ 2.79% ในเดือนม.ค. จาก 2.89% ในเดือนธ.ค. ขณะที่ค่าเฉลี่ยตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อระยะ 1 ปี และ 3 ปีได้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายเดือนในเดือนธ.ค. เฟดเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อดังกล่าว ก่อนที่จะมีการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อในสัปดาห์นี้
เฟดมองพื้นฐานศก.สหรัฐฯยังแกร่ง เชื่อหุ้นลงแค่ปรับฐาน
“ถึงตอนนี้ ตลาดปรับฐานไม่ใช่เรื่องต้องกังวล เพราะราคาหุ้นที่ลดลงนั้นไม่ได้สะท้อนถึงแนวโน้มเศรษฐกิจแต่อย่างใด”ประธาน เฟดเขตนิวยอร์กกล่าว สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า William Dudley ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟดเขตนิวยอร์กกล่าวว่า ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงแข็งแกร่ง และแรงเทขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯไม่ได้สะท้อนถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯแต่อย่างใด การเทขายเป็นเพียงการปรับฐานเพื่อสะท้อนถึงความกังวลที่มีต่อทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นเท่านั้น Dudley กล่าวขณะให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์กทีวี “เป็นที่เห็นได้ชัด ตลาดกำลังปรับฐานลงตามปัจจัยที่ว่า เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ค่อนข้างเร็ว และนั่นหมายถึงความจำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย โดยธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มหยุดการคงดอกเบี้ยนโยบาย หรือ เริ่มที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายบ้างแล้ว” เขากล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันภาวะการลงทุนในตลาดหุ้น