IMF เพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 66 สหราชอาณาจักรเป็นประเทศเดียวที่จะเผชิญภาวะถดถอยปีนี้
IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกปีนี้ หลังการบริโภคและปัจจัยภายในของหลาย ๆ ประเทศออกมาดีเกิน เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป นอกจากนี้ยังมีแรงสนับสนุนจากการเปิดประเทศของจีน และราคาน้ำมันและพลังงานเริ่มปรับตัวลง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF คาดว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะขยายตัว 2.9% ซึ่งเป็นมุมมองเชิงบวกมากขึ้นจากคาดการณ์เดิมเมื่อเดือนตุลาคม ที่ประเมินว่า GDP โลกจะขยายตัว 2.7% อย่างไรก็ตาม ยังเป็นการเติบโตที่ชะลอตัวจากปี 2565 ที่อยู่ที่ 3.4% พร้อมคำเตือนว่าโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ ส่วนปี 2567 IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.1% แต่ก็ยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ในเดือนตุลาคมปีก่อน สาเหตุจากผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางในหลาย ๆ ประเทศที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ความต้องการชะลอตัวลง ปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส์ (Pierre-Olivier Gourinchas) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF กล่าวว่า ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้บรรเทาลงแล้ว และธนาคารกลางหลายๆ ประเทศเริ่มเห็นความสำเร็จในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แต่ก็ยังมีงานอีกมากให้ต้องจัดการเพื่อควบคุมค่าครองชีพ รวมถึงความท้าทายจากภายนอก เช่น […]
IMF คาดการเติบโตทั่วโลกชะลอตัวถึงจุดต่ำสุดปลายปี 66 สหรัฐฯ ถดถอยเล็กน้อย
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 ว่า Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า ปี 2566 จะเป็นอีกปีที่ยากลำบากสำหรับเศรษฐกิจโลก และอัตราเงินเฟ้อยังคงสูง แต่ไม่ได้คาดหวังว่าจะมีการลดอันดับเครดิตต่อเนื่องอีกในปีเหมือนเช่นปีที่แล้ว ยกเว้นการพัฒนาที่ไม่คาดคิด โดยไม่คาดว่าจะปรับลดคาดการณ์การเติบโต 2.7% ในปี 2566 “การเติบโตยังคงชะลอตัวในปี 2566 ภาพที่เป็นบวกมากขึ้นคือความยืดหยุ่นของตลาดแรงงาน ตราบใดที่คนยังมีงานทำ แม้ว่าเงินเฟ้อจะสูง ผู้คนก็ใช้จ่าย และนั่นก็ช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น” Georgieva กล่าวว่า IMF คาดว่าการชะลอตัวของการเติบโตทั่วโลกจะถึงจุดต่ำสุดและพลิกกลับในช่วงสิ้นปี 2566 และเข้าสู่ 2567 Georgieva กล่าวว่า มีความหวังอย่างมากว่าจีน ซึ่งก่อนหน้านี้มีส่วนในการเติบโตทั่วโลกประมาณ 35-40% แต่มีผลงานที่ น่าผิดหวังในปีที่แล้ว จะมีส่วนช่วยในการเติบโตทั่วโลกอีกครั้ง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นช่วงกลางปี 2566 แต่นั่นขึ้นอยู่กับว่าจีนไม่เปลี่ยนแนวทางและยึดมั่นในแผนการกลับคืนนโยบายปลอดโควิด ขณะที่ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีแนวโน้มที่จะเห็นการลงจอดอย่างนุ่มนวล […]
IMF เตือนเศรษฐกิจ 1 ใน 3 ของโลก มีหวังเผชิญกับภาวะ ‘ถดถอย’ ในปี 2023
คริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการผู้จัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เอ่ยเตือนเมื่อวันอาทิตย์ (1 ม.ค.) ว่า เศรษฐกิจโลกราวๆ 1 ใน 3 จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ในปี 2023 และพิษเศรษฐกิจปีนี้จะ “หนักหนาสาหัส” กว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (อียู) และจีน ซึ่งเป็น 3 ตัวจักรใหญ่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกยังอยู่ ในภาวะชะลอตัว จอร์เจียวา ให้สัมภาษณ์ในรายการ “เฟซ เดอะ เนชั่น” ทางเครือข่ายสถานี โทรทัศน์ ซีบีเอส ว่า “เราคาดว่าระบบเศรษฐกิจโลกราว 1 ใน 3 จะเข้าสู่ภาวะถดถอย แม้แต่ประเทศที่เศรษฐกิจยังไม่ถดถอย แต่ประชากรหลายร้อยล้านคนก็จะรู้สึกเหมือนได้รับผลกระทบ” ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนตุลาคม ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2023 ไปแล้ว โดยพิจารณาจากปัจจัยลบ เช่น […]
IMF เผยปี 64 “หนี้ทั่วโลก” ลดลงมากสุดรอบ 70 ปี แต่ยังสูงกว่าก่อนช่วงโควิด แตะ 235 ล้านล้านดอลล์
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2565 ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า หนี้สาธารณะและหนี้เอกชนทั่วโลกลดลงมากที่สุดในรอบ 70 ปีในปี 2564 หลังจากแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 แต่โดยรวมแล้วยังคงอยู่เหนือระดับก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 Global Debt Monitor ฉบับแรก IMF กล่าวว่า หนี้สาธารณะและเอกชนโดยรวมลดลง 10% เป็น 247% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลกในปี 2564 จากจุดสูงสุดที่ 257% ในปี 2563 ซึ่งเปรียบเทียบกับประมาณ 195% ของ GDP ในปี 2550 ก่อนเกิดวิกฤติการเงินโลก ในแง่เงินดอลลาร์ หนี้ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะในอัตราที่ช้าลงมาก โดยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 235 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว Vitor Gaspar ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการคลัง […]
IMF มองศก.อาเซียนโตเด่น
คริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการจัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ส่งสัญญาณว่า ประเทศในเอเชียมีความเสี่ยงต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเรียกร้องให้หน่วยงานกำหนดนโยบายในแต่ละประเทศเสริมสร้างกันชนสำหรับแรงกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกัน นายมาซัตสึกุ อาซาคาวะ ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของเอเชียตื่นตัวต่อสัญญาณกระแสเงินทุนไหลออกแบบฉับพลัน จากผลพวงของกรณีที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง “เราเห็นความเสี่ยงจากการคุมเข้มนโยบายการเงินในเชิงรุกของสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออกแบบฉับพลัน หรือเงินอ่อนค่าอย่างหนัก” นายอาซาคาวะ กล่าวผ่านระบบทางไกลต่อที่ประชุมอาเซียน+3 ณ ประเทศสิงคโปร์ จอร์เจียวา กล่าวต่อว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จะเป็นกลุ่มที่มีความสดใสมากที่สุดในเศรษฐกิจโลก โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจคาดว่าจะอยู่ที่ 5% ในปีนี้ และลดลงเล็กน้อยในปี 2566 อย่างไรก็ตาม จอร์เจียวายังเตือนว่า แนวโน้มยังมีความไม่แน่นอน และถูกกดดันด้วยความเสี่ยง เช่น ผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครน การเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก และการเติบโตในจีนที่ชะลอตัวลง “อีกปัจจัยที่สร้างความท้าทายไปทั่วโลก คือ เงินเฟ้อ แม้คาดการณ์ว่า […]
‘ไอเอ็มเอฟ’ เตือน ศก.โลกมืดมนกว่าคาด เตรียมเผชิญความท้าทายเพิ่มขึ้น กลุ่มจี 20 ส่งสัญญาณอ่อนแอ
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาเตือนเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะมืดมนกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยอ้างอิงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ที่ยังคงแย่ลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยในเดือนที่ผ่านมา ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกปี 2023 ลงจาก 2.9% เป็น 2.7% ขณะที่ การจัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี 20 จะมีขึ้นที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในสัปดาห์นี้ ไอเอ็มเอฟ ระบุว่า ดัชนีชี้วัดที่มีความถี่สูงเมื่อเร็วๆ นี้ ยืนยันว่า แนวโน้มเศรษฐกิจมีทิศทางที่มืดมนลงกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป โดยดัชนีพีเอ็มไอชี้ว่า กิจกรรมภาคการผลิตและการบริการส่งสัญญาณอ่อนแอในเขตเศรษฐกิจหลักส่วนใหญ่ของกลุ่มจี 20 ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัว สวนทางกับอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง “ตัวเลขการเติบโตของกลุ่มจี 20 ได้เปลี่ยนขั้วจากอาณาเขตของการขยายตัวในช่วงต้นปีไปสู่ระดับที่ส่งสัญญาณถดถอย” ไอเอ็มเอฟ กล่าว พร้อมเสริมว่า “ความแตกแยกในระดับโลกจะยิ่งทำให้เกิดการบรรจบกันของความเสี่ยงขาลง” อีกทั้งยังระบุว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเผชิญความท้าทายอีกหลายประการในอนาคต และว่า สภาวะทางนโยบายในปัจจุบันมีความไม่แน่นอนอย่างผิดปกติ ไอเอ็มเอฟ […]
IMF มองเศรษฐกิจเอเชียมีโอกาสโตต่อเนื่อง
เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เด่นสุด แม้โลกเผชิญภาวะถดถอย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มองว่าเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจทั่วโลกโดยรวมมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้าก็ตาม เอเชียเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เห็นทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ด้วยความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การที่ธนาคารกลางหลายประเทศประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสกัดกั้นปัญหาเงินเฟ้อ สงครามในยูเครน หลังจากรัสเซียเข้ารุกรานในเดือนกุมภาพันธ์ และสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในประเทศจีน เนื่องจากการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เข้มขึ้น ทำให้การฟื้นตัวของชาติในเอเชียชะงักลง อย่างไรก็ตาม ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจฉบับล่าสุด (Asia Sails Into Headwinds From Rate Hikes, War, and China Slowdown) IMF ประเมินว่า เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวอยู่ IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จะขยายตัว 4% ในปีนี้ และ 4.3% ในปี 2566 […]
IMF แนะธนาคารในเอเชียเข้มนโยบายการเงิน หลังเสี่ยงหนี้ท่วม
กฤษณะ ศรีนิวาสัน ผู้อำนวยการ แผนกเอเชียและแปซิฟิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) กล่าวว่า นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางเอเชียส่วนใหญ่ยังต้องรัดกุมและเข้มงวดต่อไป เนื่องจาก เงินเฟ้อสูงเกินเป้าหมาย และสกุลเงินอ่อนค่าลง จากแรงหนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา สกุลเงินเอเชียจำนวนมากอ่อนค่าลง “ค่อนข้างมาก” เพราะค่าเงินสหรัฐฯ ตึงตัว นำไปสู่ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้น ผลักดันให้ต้นทุนการนำเข้าสำหรับประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้น กฤษณะ ประเมินว่า เงินเฟ้อจะถึงจุดสูงสุดภายในสิ้นปี 2565 และการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยนเงินจำนวนมาก จะเป็นฉนวนให้อัตราเงินเฟ้อสูงและอยู่นานขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ทั่วโลกขยับอัตราดอกเบี้ยอย่างเข้มข้น เราจึงต้องการให้ยกระดับนโยบายการเงินเอเชียให้เข้มงวดเร็วขึ้น “ปัจจัยเรื่องค่าเงินและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางการเงินในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งมีหนี้สินสูง และขณะนี้ เอเชียเป็นลูกหนี้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว และหลายประเทศมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาหนี้สิน” ด้าน Sanjaya Panth รองผู้อำนวยการ แผนกเอเชียและแปซิฟิกของ IMF เปิดเผยกับรอยเตอร์ วานนี้ (13 ตุลาคม 2565) ว่า หนี้ที่เพิ่มขึ้นของเอเชียส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในประเทศจีน แต่ยังเห็นได้ในประเทศเศรษฐกิจอื่นๆ “เราไม่สามารถตัดเรื่องความตึงเครียดในบางตลาดออกได้ แต่สถานะการเงินที่ค่อนข้างแข็งแกร่งในบางประเทศทำให้เราสบายใจ […]
ไอเอ็มเอฟชี้โลกเลี่ยงภาวะศก.ถดถอยได้โดยใช้นโยบายการคลังที่เหมาะสม
นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (3 ต.ค.) ว่า โลกสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ ถ้านโยบายการคลังของรัฐบาลต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับนโยบายการเงินที่เข้มงวด นางจอร์เจียวา ระบุว่า ในบริบทของการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดนั้น รัฐบาลต่าง ๆ ไม่สามารถนิ่งเฉยกับนโยบายการคลังได้ เพราะวิกฤตค่าครองชีพกำลังส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนของสังคมอย่างรุนแรง นางจอร์เจียวา ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า “เราต้องการให้ธนาคารกลางดำเนินการอย่างเด็ดขาด เพราะเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงมาก ซึ่งไม่ดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเป็นเรื่องแย่มากสำหรับคนยากจน เงินเฟ้อคือภาษีของคนยากจน” นางจอร์เจียวา ระบุเสริมว่า นโยบายการคลังที่ช่วยเหลือทุกคนด้วยการลดราคาพลังงาน และการให้เงินอุดหนุนนั้น ขัดต่อวัตถุประสงค์ของนโยบายการเงิน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า รัฐบาลทั่วโลกได้เข้าช่วยเหลือประชาชนของตนเอง ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อด้านอาหารที่สูงขึ้นและการขาดแคลน หลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจ ที่มา: รอยเตอร์
IMF ชี้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง Q3/65 คาดบางประเทศเข้าสู่ “ภาวะถดถอย” ในปี 2566
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ว่า เจอร์รี ไรซ์ โฆษกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ยังมีความเสี่ยงด้านลบครอบงำแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และบางประเทศคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 แต่ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่า จะเกิดภาวะถดถอยทั่วโลกในวงกว้างหรือไม่ โดยมีข้อมูลจำนวนมากที่สะท้อนว่า เศรษฐกิจโลกยังคงอ่อนแอในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และสภาวะตลาดการเงินที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเดือนกรกฎาคมปรับลดการเติบโตทั่วโลกเป็น 3.2% ในปี 2565 และ 2.9% ในปี 2566 โดยจะเปิดเผยแนวโน้มใหม่ในเดือนหน้า “ชัดเจนว่าสิ่งที่เรามองว่าเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์และหลายเดือนที่ผ่านมาเท่านั้น การล็อกดาวน์จากโควิด-19 อย่างต่อเนื่องและปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์กำลังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในจีน ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นมีผลกระทบต่อหลายประเทศ ความเสี่ยงด้านลบยังคงครอบงำแนวโน้มด้วยความไม่แน่นอนจำนวนมหาศาลที่ต้องนำมาพิจารณา คาดว่าบางประเทศจะเผชิญกับภาวะถดถอยในปี 2566″ ทั้งนี้ แม้ว่าบางประเทศจะไม่อยู่ในภาวะถดถอยในทางเทคนิค แต่ก็รู้สึกเหมือนเป็นภาวะถดถอยสำหรับผู้คนจำนวนมากทั่วโลก โดยไรซ์ตั้งข้อสังเกตว่า ในแอฟริกาเพียงประเทศเดียว ความหิวโหยเพิ่มสูงขึ้นถึง 1 ใน 3 ในช่วง 2 […]