IMF มองนโยบาย zero-Covid policy เป็นภาระกับจีนมากกว่าเป็นประโยชน์

IMF มองนโยบาย zero-Covid policy เป็นภาระกับจีนมากกว่าเป็นประโยชน์

Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย zero-Covid policy ถือเป็นภาระที่กำลังกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในประเทศจีนเองและโลกโดยรวม เธอ กล่าวว่า กลยุทธ์การกักกันโรค แม้จะประสบความสำเร็จในขั้นต้น แต่ตอนนี้เป็นความเสี่ยงมากกว่าผลประโยชน์ที่ได้ สำหรับ zero-Covid policy หมายถึงความพยายามที่จะกำจัดไวรัสให้หมดไปด้วยมาตรการด้านสุขภาพ เช่น ล็อคดาวน์ การทดสอบเชื้อจำนวนมาก และการกักตัวสำหรับผู้ที่ข้ามแดน ข้อจำกัดที่เกิดขุึ้นจากนโยบายนี้เป็นภาระต่อเศรษฐกิจมากกว่าผลดี ทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เฉพาะกับจีน แต่จีนเป็นแหล่งอุปทานของส่วนอื่นของโลกด้วย Georgieva กล่าวว่า โอมิครอนกำลังสอนเราว่า เชื้อโควิดที่แพร่ระบาดได้สูงอาจควบคุม เพื่อไม่ให้มีผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจได้ยาก ทั้งนี้ จีนเริ่มกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้งหลังจากเศรษฐกิจเริ่มเติบโตช้าลง โดยเมื่อวันพุธที่ 19 มกราคม 2022 ธนาคารกลางจีนเพิ่งลดดอกเบี้ยอ้างอิงกู้ยืม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการปล่อยกู้องค์กรและครัวเรือนลดลง ที่มา : CNBC

IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปีนี้ลงเล็กน้อยเป็น 5.9% ขณะที่แสดงความกังวลต่อ Downside Risks ของเศรษฐกิจที่ีเพิ่มขึ้น

IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปีนี้ลงเล็กน้อยเป็น 5.9% ขณะที่แสดงความกังวลต่อ Downside Risks ของเศรษฐกิจที่ีเพิ่มขึ้น

BF Economic Research IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปีนี้ลงเล็กน้อยเป็น 5.9% ขณะที่แสดงความกังวลต่อ Downside Risks ของเศรษฐกิที่เพิ่มขึ้น ส่วนเงินเฟ้อ IMF มองจะเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดในไตรมาส 4 และชะลอลงหลังจากนั้น  ในรอบการประมาณการเดือนต.ค. IMF ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปี 2021F ลงเล็กน้อยเป็น 5.9% จากที่คาด 6.0% ในเดือน ก.ค. โดยฟื้นตัวขึ้นจากที่หดตัว -3.1% ในปี 2020 จากการระบาดของไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ Delta ปัญหา Supply Disruptions เงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น รวมถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มอาหารและพลังงาน นอกจากนี้ ได้ระบุถึงการเข้าถึงวัคซีนที่ยังคงมีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมากระหว่างกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ดี IMF คงคาดการณ์ GDP ปี 2022F […]

IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 6% ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1980 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการในเดือน ม.ค. ที่ 5.5%

IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 6% ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1980 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการในเดือน ม.ค. ที่ 5.5%

BF Economic Research IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 6% ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1980 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการในเดือน ม.ค. ที่ 5.5% (ทั้งนี้ COVID-19 เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ GDP โลกปี 2020 หดตัว -3.3% ซึ่งเป็นอัตราหดตัวต่ำสุดตั้งแต่สมัย Great Depression)  สหรัฐฯและจีนซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่สามารถเร่งการฟื้นตัวได้อย่างก้าวกระโดด IMF มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐคาดว่าจะขยายตัว 6.4% ในปีนี้ (จากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 5.1%)  จากที่หดตัว -3.5% ในปีที่แล้ว ส่วนเศรษฐกิจของจีนคาดว่าจะขยายตัว 8.4% ในปีนี้เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 8.1% Growth Contribution ของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มาจากนโยบายสนับสนุนทั้งจากรัฐบาลและ Fed, IMF กล่าวว่า “มาตรการกระตุ้นทางการคลังมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ที่ได้อนุมัติไปเมื่อเดือนมี.ค. จะทำให้มี […]

ไอเอ็มเอฟปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกขึ้นในปี 2021 คาดขยายตัว 5.5%

ไอเอ็มเอฟปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกขึ้นในปี 2021 คาดขยายตัว 5.5%

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2021 ขยายตัว 5.5% ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ขยายตัว 5.2% และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกปี 2022 จะขยายตัว 4.2% Gita Gopinath หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ไอเอ็มเอฟ ระบุในบล็อกโพสต์ว่า ทิศทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ว่าวัคซีนจะสามารถตอบสนองกับการกลายพันธุ์ของไวรัสและยุติการแพร่ระบาดได้หรือไม่ รวมไปถึงนโยบายต่างๆ ที่จะสามารถช่วยสนับสนุนให้กระบวนการต่างๆ มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ไอเอ็มเอฟ เตือนว่าเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนอย่างมาก และแนวโน้มของแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน ท่ามกลางการแพร่ระบาดรอบใหม่ และการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัว 5.1% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3.1% โดยได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผ่านการอนุมัติของสภาคองเกรส ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการขยายตัวมากขึ้น […]

IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจอย่างละนิดละหน่อย แต่มองว่าจะโตช้าไปอีกนาน และออกตัวว่าประมาณการอาจจะไม่ตรงเนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงอีกมาก

IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจอย่างละนิดละหน่อย แต่มองว่าจะโตช้าไปอีกนาน และออกตัวว่าประมาณการอาจจะไม่ตรงเนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงอีกมาก

BF Economic Research IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกปี 2020 มาที่ -4.4% ดีขึ้นเล็กน้อยกว่าประมาณการครั้งก่อน (-4.9%) เนื่องด้วย GDP ในไตรมาส 2/2020 ของกลุ่ม DM ออกมาไม่แย่เท่าที่คาด เนื่องจากหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายล็อคดาวน์ในช่วง เดือนพ.ค.-มิ.ย. ซึ่งถือว่าค่อนข้างเร็ว ขณะที่เครื่องชี้รายเดือนตั้งแต่เดือนก.ค.-ส.ค.ส่งสัญญาณที่ดีขึ้น กระนั้น IMF ได้ปรับประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2021 มาที่ 5.2% ชะลอลงเล็กน้อยกว่าประมาณการเดือนมิ.ย.ที่ 5.4% เนื่องด้วยมองว่าในปีหน้าก็จะยังมี Social Distancing หรือมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอยู่ อันจะส่งผลต่อการจ้างงาน และการผลิตในบางกลุ่มธุรกิจ  ทำให้ GDP โลกปี 2021 จะเติบโตเพียง 0.6%  เมื่อเทียบกับปี 2019 หรือเท่ากับว่า GDP ปี 2021 จะกลับมาใกล้เคียงกับก่อน COVID-19 สำหรับประมาณการเศรษฐกิจระยะกลาง […]

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลง -0.2ppt เป็น 3.3% YoY

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลง -0.2ppt เป็น 3.3% YoY

BF Economic Research กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลง -0.2ppt เป็น 3.3% YoY จากประมาณการครั้งก่อนในเดือน ม.ค. ซึ่งนับเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2009 และปรับลดประมาณการปริมาณการค้าโลกปีนี้ลง -0.6ppt เป็น 3.4% YoY จากประมาณการครั้งก่อน IMF มองเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีและคาดจะเร่งตัวขึ้นเป็น 3.6% YoY ในปี 2020 จากปัจจัยบวกทั้งการชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่จะเริ่มฟื้นตัวจากแรงหนุนของนโยบายภาครัฐ และตลาดแรงงานสหรัฐฯที่ยังแข็งแกร่ง แต่ก็ได้เตือนถึงความเสี่ยงที่ยังคงอยู่ ทั้งการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่อาจล้มเหลว และการแยกตัวออกของอังกฤษจาก EU แบบไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) IMF ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงจากเศรษฐกิจยูโรโซนที่อ่อนแอเป็นสำคัญ (-0.3ppt เป็น 1.3% YoY) โดยปรับลดลงมากในเยอรมนี (-0.5ppt เป็น 0.8% YoY) ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแอและการปรับเปลี่ยนมาตรฐานไอเสียรถยนต์ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต […]

ธนาคารโลก เพิ่มทุน 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หวังแก้ปัญหาความยากจน

ธนาคารโลก เพิ่มทุน 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หวังแก้ปัญหาความยากจน

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ธนาคารโลก (World Bank) ได้ประกาศแผนเพิ่มเงินทุนในวงเงิน 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อวานนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนทั่วโลก แผนการดังกล่าวได้รับการเห็นชอบจากคณะผู้อภิปรายร่วม ซึ่งมีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รวมอยู่ด้วย แผนเพิ่มเงินทุนนี้ประกอบด้วยเงินทุนที่ต้องชำระเบื้องต้น (paid-in capital) 7.5 พันล้านดอลลาร์แก่ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (IBRD) ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของธนาคารโลก และอีก 5.5 พันล้านดอลลาร์แก่บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) ซึ่งเป็นบรรรษัทด้านการลงทุนในเครือ โดยญี่ปุ่นจะให้ทุนสนับสนุนแผนการดังกล่าวประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์จากทั้งหมด ส่วนสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ที่ให้เงินสนับสนุนมากที่สุดของธนาคารโลก ได้แสดงความเห็นชอบต่อแผนการดังกล่าว แลกกับการปฏิรูปกิจการเงินกู้ นอกจากนี้ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาระหว่าง IMF กับธนาคารโลก ยังได้ตกลงที่จะแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นใน IBRD เพื่อเปิดทางให้ประเทศกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ด้วย จีน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสาม จะมีสิทธิ์ลงคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 5.71% จากเดิม 4.45% ขณะที่สหรัฐอเมริกาจะมีสิทธิ์ลดลงเป็น 15.87% จากเดิม 15.98% และญี่ปุ่นเหลือ 6.83% […]

IMF เตือนปัจจัยเสี่ยงต่อระบบการเงินโลกเพิ่ม หลังสินทรัพย์เสี่ยงพุ่ง

IMF เตือนปัจจัยเสี่ยงต่อระบบการเงินโลกเพิ่ม หลังสินทรัพย์เสี่ยงพุ่ง

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกรายงาน “Global Financial Stability Report” เตือนว่า ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินทั่วโลกนั้น กำลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินทรัพย์เสี่ยงพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง ซึ่งคล้ายกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤตการเงินโลก รายงานดังกล่าวของ IMF ที่เผยแพร่ล่าสุดระบุว่า ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพด้านการเงินทั่วโลกนั้น ได้เพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พร้อมระบุว่า ความเปราะบางด้านการเงินซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเกินไปและความผันผวนในตลาดนั้น อาจจะส่งผลให้ระบบการเงินโลกตกอยู่ในความเสี่ยงต่อไปในวันข้างหน้า และจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเช่นกัน นอกจากนี้ IMF ระบุว่า ราคาสินทรัพย์ประเภทต่างๆกำลังเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ โดยราคาหุ้นทั่วโลกอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ ขณะที่มูลค่าตราสารหนี้ภาคเอกชนปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ความต้องการกู้ยืมอยู่ในระดับที่สูงเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการจากบริษัทที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำ การออกรายงานเตือนของ IMF มีขึ้นระหว่างที่รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจาก 189 ประเทศที่เป็นสมาชิกของ IMF กำลังประชุมประจำปีร่วมกันที่กรุงวอชิงตัน