ยูเอ็นเผยประชากรอินเดียแซงจีนกลางปีนี้

ยูเอ็นเผยประชากรอินเดียแซงจีนกลางปีนี้

ข้อมูลจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ชี้อินเดียกำลังจะกลายเป็นประเทศประชากรมากที่สุดในโลกแซงหน้าจีน ด้วยจำนวนที่มากกว่าเกือบ 3 ล้านคนในกลางปีนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงาน เมื่อวันพุธ (19 เม.ย.) กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอฟพีเอ) เผยแพร่รายงาน “สภาวะประชากรโลก 2566” ประเมินจำนวนประชากรอินเดียที่ 1.4286 พันล้านคน เทียบกับจีนที่มีประชากร 1.4257 พันล้านคน ส่วนสหรัฐฯ เป็นอันดับสาม จำนวนน้อยกว่ามาก ประมาณ 340 ล้านคน รายงานดังกล่าวใช้ข้อมูลที่มีในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรใช้ข้อมูลก่อนหน้านี้ จากยูเอ็นคาดการณ์ว่า อินเดียจะมีประชากรแซงหน้าจีนในเดือนนี้ แต่รายงานล่าสุดจากยูเอ็นไม่ได้ระบุวันว่าจะแซงได้เมื่อใด เจ้าหน้าที่ด้านประชากรของยูเอ็น กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะระบุวันให้ชัดเจน เนื่องจากความไม่แน่นอนของข้อมูลจากอินเดียและจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออินเดียทำสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดในปี 2554 และมีกำหนดทำครั้งต่อไปในปี 2564 แต่ต้องล่าช้าไปเพราะโควิด-19 ระบาด นักวิจารณ์ กล่าวว่า รัฐบาลจงใจเลื่อนการสำมะโนประชากรเพื่อปกปิดข้อมูลสำคัญ เช่น การว่างงาน ก่อนการเลือกตั้งระดับชาติจะมีขึ้นในปีหน้า  […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอินเดียมิดแคปเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INDIAMRMF) Q1/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอินเดียมิดแคปเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INDIAMRMF) Q1/2023

“ตลาดหุ้นอินเดียได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2023 มีเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนในประเทศ 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากปี 2022 ทั้งปีมีเงินไหลเข้าจากนักลงทุนในประเทศกว่า 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ นักลงทุนต่างชาติเป็นเงินไหลออกสุทธิ ตั้งแต่ต้นปีไหลออกกว่า 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพราะมีการขายทำกำไรจากที่ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2022” “ปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นอินเดียอยู่ที่นักลงทุนในประเทศที่มีอัตราการออมสูงขึ้นจากช่วงโควิด ปีที่แล้วอัตราการออมอยู่ที่ 30.2% (เพิ่มจากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ 28.8%) และยังมีสัดส่วนการออมในกองทุนรวมอยู่ไม่มากนัก” • ตลาดหุ้นอินเดียได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2023 มีเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนในประเทศ 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากปี 2022 ทั้งปีมีเงินไหลเข้าจากนักลงทุนในประเทศกว่า 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ นักลงทุนต่างชาติเป็นเงินไหลออกสุทธิ ตั้งแต่ต้นปีไหลออกกว่า 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพราะมีการขายทากาไรจากที่ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2022• Valuation ของตลาดหุ้นอินเดียเริ่มกลับมาสู่ในระดับค่าเฉลี่ยระยะยาวอีกครั้ง โดย Price / […]

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA) Q1/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA) Q1/2023

“ตลาดหุ้นอินเดียได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2023 มีเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนในประเทศ 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากที่ปี 2022 ทั้งปีมีเงินไหลเข้าจากนักลงทุนในประเทศกว่า 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ)” “กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน จะลงทุนอย่างผสมผสานกัน ระหว่างหุ้นขนาดใหญ่ (ประมาณ 70%) ขนาดกลางและเล็ก (ประมาณ 30%) โดยมองว่า หุ้นขนาดใหญ่เป็นผู้นำของตลาดในปัจจุบัน และหุ้นขนาดกลางและเล็ก มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำในอนาคต ซึ่งต้องใช้กลยุทธ์การคัดเลือกหุ้นรายตัว (Bottom Up)” ภาพรวมตลาดหุ้น• ตลาดหุ้นอินเดียได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2023 มีเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนในประเทศ 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากปี 2022 ทั้งปีมีเงินไหลเข้าจากนักลงทุนในประเทศกว่า 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ นักลงทุนต่างชาติเป็นเงินไหลออกสุทธิ ตั้งแต่ต้นปีไหลออกกว่า 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ• Valuation ของตลาดหุ้นอินเดียเริ่มกลับมาสู่ในระดับค่าเฉลี่ยระยะยาวอีกครั้ง โดย Price / Earnings (P/E) […]

“อินเดีย” กลับคืนอันดับ 5 ตลาดหุ้นโลก มูลค่า 3.15 ล้านล้านดอลล์ แซงหน้าฝรั่งเศส

“อินเดีย” กลับคืนอันดับ 5 ตลาดหุ้นโลก มูลค่า 3.15 ล้านล้านดอลล์ แซงหน้าฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า อินเดียกลับมาอยู่ในอันดับที่ 5 ของตลาดตราสารทุนชั้นนำของโลกตามมูลค่า หลังจากฝรั่งเศสขึ้นแซงในช่วงสั้นๆ ระหว่างเกิดการเทขายหุ้นของบริษัทในเครือ Adani Group จากการที่ Hindenburg Research กล่าวหาว่า Adani Group ใช้แหล่งหลบภาษีและการปั่นหุ้นอย่างไม่เหมาะสม แม้กลุ่มบริษัทได้ปฏิเสธการกระทำผิดกฎหมายใดๆ โดยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของอินเดียอยู่ที่ 3.15 ล้านล้านดอลลาร์ในวันศุกร์ (10 ก.พ.2566) ขึ้นแซงหน้าฝรั่งเศส โดยที่อังกฤษรั้งอันดับ 7 ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยบลูมเบิร์ก ซึ่งแสดงมูลค่ารวมของบริษัทที่มีรายชื่อหลักในแต่ละประเทศ แนวโน้มการเติบโตของรายได้ช่วยฟื้นความน่าสนใจของตลาดหุ้นของประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งมีผลประกอบการดีกว่าบริษัทอื่นทั่วโลกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ถึงกระนั้นมูลค่ารวมของตลาดอินเดียก็ต่ำกว่าวันที่ 24 มกราคม ประมาณ 6% ซึ่งเป็นวันก่อนที่การขายหุ้น Adani จะเริ่มขึ้น ในขณะที่ขั้นตอนของกลุ่มเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ช่วยให้หุ้นของบริษัทได้รับมูลค่ากลับคืนมา แต่ยังคงต่ำกว่าก่อนที่มูลค่าตลาดลดลง 120,000 ล้านดอลลาร์ หลังจากถอนเงินทุนจากตลาดหุ้นอินเดียตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิในช่วง 2 […]

Net Zero กับการเดิมพันของอินเดียในปี 2070

Net Zero กับการเดิมพันของอินเดียในปี 2070

Net Zero กับการเดิมพันของอินเดียภายในปี 2070 แม้จะเป็นเส้นทางที่ยาวไกล แต่เมื่อพิจารณาสิ่งที่อินเดียทำก็เป็นเค้าลางที่ดีในการบรรลุเป้าหมายตามที่เคยให้คำมั่นในการประชุม COP 26 อินเดีย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากจีนและสหรัฐอเมริกา อยู่ภายใต้แรงกดดันให้ประกาศแผนการที่จะกลายเป็นคาร์บอนเป็นกลาง ก่อนหน้ารอยเตอร์รายงาน อินเดีย ปฏิเสธตั้งเป้าหมาย Net zero ชี้ว่าไม่ใช่ทางออกในการแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่เส้นทางในการลดก๊าซเรือนกระจกนั้นสำคัญกว่า ประเทศร่ำรวยต้องตระหนัก รับผิดชอบถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมในอดีต และปกป้องผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่เปราะบางจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ประชากรอินเดียคิดเป็น 17% ของคนทั้งโลก และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนในสัดส่วน 5% บนเวทีโลกที่อินเดียถูกจับตาก็คือท่าทีต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อินเดียวางแนวทางของตัวเองในเรื่องนี้อย่างไร ในฐานะที่เป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อับดับ 6 ของโลก เเละปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 3 ของโลก แต่นั้นอาจไม่ใช่คำตอบเดียว เพราะที่ผ่านมาหลายคนคงเคยได้ยินข่าวว่า อินเดียเผชิญวิกฤตมลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาเรื้อรังของอินเดีย คนอินเดียตายจากมลพิษ 1.6 ล้านคน วารสารการแพทย์เดอะแลนซิต (The Lancet) เคยเปิดเผยผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าชาวอินเดียต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไปมากกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2019 เพราะได้รับมลพิษเข้าสู่ร่างกาย ตัวเลขดังกล่าวแบ่งเป็นผู้เสียชีวิตจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศมากถึง 1.6 […]

BBLAM Monthly Economic Review: มุมมองเศรษฐกิจ ยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย ปี 2023

BBLAM Monthly Economic Review: มุมมองเศรษฐกิจ ยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย ปี 2023

โดย ฐนิตา ตุมราศวิน ทีม Economic Research, BBLAM ยูโรโซน นับตั้งแต่ต้นปี 2022 GDP ของยูโรโซนที่ประกาศออกมาแล้ว 3 ไตรมาส เป็นภาพของการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จน ECB มีการปรับประมาณการในปีนี้ขึ้น กองทุนบัวหลวงเองก็มองว่าปีนี้ น่าจะโตประมาณ 3.2% จากตอนแรกที่เราคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 2% ปลายๆ แม้ว่าจะเผชิญกับวิกฤติราคาพลังงานนับตั้งแต่ที่รัสเซียบุกเข้าไปในยูเครนเมื่อเดือนก.พ. และรัสเซียเองก็ลดการส่งก๊าซธรรมชาติลงอย่างต่อเนื่อง จนราคาก๊าซปรับตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นถึง 10% แต่สิ่งที่เข้ามาช่วยให้เศรษฐกิจไม่ได้แย่ลงไปมากตามที่เคยคาด มาจากการกลับมาของการท่องเที่ยวในช่วงหน้า High Season ช่วงไตรมาส 2 ต่อไตรมาส 3 เป็นหลัก ที่จะเห็นว่าการบริโภค โดยเฉพาะในภาคบริการขยายตัวได้ดี แต่สำหรับในไตรมาส 4 เราคาดว่า GDP น่าจะเริ่มติดลบเมื่อเทียบรายไตรมาส สำหรับนโยบายการเงินในปีนี้ เพื่อที่จะกดเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงนี้ลง ECB จึงต้องขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง […]

จับตา “อินเดีย” อาจขึ้นแท่น “ประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 โลก” ภายในปี 2573 แซงหน้าญี่ปุ่น-เยอรมนี

จับตา “อินเดีย” อาจขึ้นแท่น “ประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 โลก” ภายในปี 2573 แซงหน้าญี่ปุ่น-เยอรมนี

สำนักข่าว CNBC รายงานเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ว่า ข้อมูลของ S&P Global และ Morgan Stanley ระบุว่าอินเดียกำลังจะแซงหน้าญี่ปุ่นและเยอรมนี ก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก  โดยการคาดการณ์ของ S&P ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ว่า การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศประจำปี (GDP) ของอินเดียจะเฉลี่ยอยู่ที่ 6.3% จนถึงปี 2573 ในทำนองเดียวกัน Morgan Stanley ประมาณการว่า GDP ของอินเดียมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า จากระดับปัจจุบันภายในปี 2574 นักวิเคราะห์ของ Morgan Stanley นำโดย Ridham Desai และ Girish Acchipalia ระบุว่า “อินเดียมีเงื่อนไขสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยต่างประเทศ การลงทุนด้านการผลิต การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลขั้นสูงของประเทศ […]

BBLAM Monthly Economic Review ตอน ยูโรโซน ญี่ปุ่น อินเดีย…ท่ามกลางข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง

BBLAM Monthly Economic Review ตอน ยูโรโซน ญี่ปุ่น อินเดีย…ท่ามกลางข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง

สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวินทีม Economic ResearchBBLAM ยูโรโซน ในช่วงเดือนที่ผ่านมา Sentiment เชิงลบยังคงกดดันตลาดยูโรโซนอยู่ต่อเนื่อง และเมื่อมองไปข้างหน้าในไตรมาส 4/2022 ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ อาจทำให้เกิด Downside risk ได้อีกมาก โดยหลักๆ คือ สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ช่วงนี้กลับมามีท่าทีแข็งกร้าวกันมากขึ้น รวมถึงการตอบโต้ของฝั่งตะวันตกที่เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการคว่ำบาตรกับรัสเซีย ทั้งนี้ อีกหนึ่งความผันผวนที่เข้ามากระทบดัชนีหุ้นยุโรปเมื่อช่วงปลายเดือนก.ย. ที่ผ่านมา คือ การที่รัฐบาลอังกฤษประกาศมาตรการลดภาษี ซึ่งเป็นการลดครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่า จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านไปทั้งในตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดเงินที่ผันผวนอย่างมากในช่วงสัปดาห์นั้น โดยปอนด์อ่อนค่าแรง จนเกือบจะแตะระดับ 1 ปอนด์ต่อ 1 ดอลลาร์ฯ ส่งผลให้หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษออกมากล่าวว่า จะไม่ยื่นเสนอแผนนี้เข้าสภาแล้ว เนื่องจากเผชิญแรงต้านทั้งจากพรรคฝ่ายค้าน และส.ส. ภายในพรรคเอง […]

อินเดียขึ้นแซงสหราชอาณาจักร เป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 5 ของโลก

อินเดียขึ้นแซงสหราชอาณาจักร เป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 5 ของโลก

อินเดียแซงหน้าสหราชอาณาจักร (UK) กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก เพราะ UK เจอภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจหนัก ทางกลับกันอินเดียเติบโตมากกว่า 7% ในปี 2565 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าว รายงานว่า อินเดียแซงหน้าสหราชอาณาจักร (United Kingdom: UK) กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ตามตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยอินเดียอยู่หลังสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเยอรมนี (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าวบลูมเบิร์ก) ทั้งนี้ เศรษฐกิจอินเดียโค่นล้มสหราชอาณาจักรจากตำแหน่งในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2564 ซึ่งทศวรรษที่ผ่านมา อินเดียอยู่ในอันดับที่ 11 ในกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ในขณะที่สหราชอาณาจักรอยู่ในอันดับที่ 5 การเปลี่ยนแปลงในการจัดอันดับเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สหราชอาณาจักรกำลังจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยมีรายงานว่าการจัดอันดับของสหราชอาณาจักรตกต่ำ เนื่องจากค่าครองชีพในประเทศที่พุ่งสูงขึ้น เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 สหราชอาณาจักรประเทศมีอัตราเงินเฟ้อ ราคาผู้บริโภคเป็นตัวเลขสองหลัก (10.1%) […]

เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวต่ำกว่าคาดในไตรมาส 2/2022 แต่ Domestic Demand ยังเติบโตได้ดี

เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวต่ำกว่าคาดในไตรมาส 2/2022 แต่ Domestic Demand ยังเติบโตได้ดี

GDP อินเดียในไตรมาส 2/2022 หรือไตรมาสแรกของปีงบประมาณขยายตัว 13.5% YoY จากที่ขยายตัว 4.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้อานิสงส์จากฐานที่ต่ำในช่วงการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta ระหว่างเม.ย.-พ.ค. 2021 แต่ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 15.2% การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวถึง 25.9% YoY ขณะที่การลงทุนปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ Domestic Demand เติบโตได้ดีในไตรมาส 2/2022 ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสุทธิยังสะท้อนภาพอ่อนแออยู่ โดยแม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ แต่การนำเข้าขยายตัวในอัตราที่สูงกว่า ส่งผลให้ดุลการค้ามีสัดส่วนมากขึ้นและเป็นตัวฉุดรั้ง GDP (เพิ่มขึ้นเป็น -8.1% ต่อ GDP จากเดิม -5% ในไตรมาสก่อนหน้า)   เมื่อเทียบรายไตรมาสชะลอตัวลง -9.6% QoQ ซึ่งมากกว่าอัตราเฉลี่ยที่ไตรมาส 2 จะชะลอตัวลงจากไตรมาส 1 ประมาณ -7% […]