กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจญี่ปุ่นปี 2019 น่าจะชะลอลง

กองทุนบัวหลวงมองเศรษฐกิจญี่ปุ่นปี 2019 น่าจะชะลอลง

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าภาพตลาดแรงงานญี่ปุ่น และการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะถือว่าดูดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับในอดีต เห็นได้จากอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ค. 2018 ที่ลดลงไปถึง 2.2% ก่อนจะปรับขึ้นเล็กน้อยในเดือนล่าสุด (ต.ค. 2018) ที่ 2.4%  แต่การเติบโตของอัตราเงินเฟ้อกลับยังไม่สามารถขยายตัวจนแตะระดับเป้าหมายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่ 2.0% ได้ โดยล่าสุด อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ของญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.0% YoY ด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในไตรมาส 2/2018 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัว 3.0% QoQ saar ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบกว่า 2 ปี จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ก่อนจะกลับมาหดตัวอีกครั้งในไตรมาส 3 ที่ -2.5% QoQ saar จากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งแผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น และอากาศร้อนจัด ที่ส่งผลกระทบให้โรงงานจำนวนมากปิดทำการ […]

ญี่ปุ่นเปิดช่องต่างชาติทำงานง่ายขึ้น หวังลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ญี่ปุ่นเปิดช่องต่างชาติทำงานง่ายขึ้น หวังลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ในปี 2019 เป็นต้นไป ญี่ปุ่นจะผ่อนปรนข้อบังคับให้ต่างชาติสามารถทำงานได้ง่ายมากขึ้น เพื่อลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์ มองว่า การผ่อนคลายมาตรการให้ต่างชาติทำงานได้สะดวกขึ้นยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด เนื่องจากปัญหาที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญนั้นคือ แรงงานที่กำลังก้าวสู่แรงงานสูงวัย ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่งจะผ่านกฎหมายเปิดทางให้ชาวต่างชาติกว่า 300,000 คน สามารถเข้ามาพักอาศัยและทำงานในประเทศได้อย่างถูกกฎหมาย ใน 14 อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมก่อสร้าง ภาคการเกษตร งานพยาบาล คมนาคม และการท่องเที่ยว โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2019 แม้หลายภาคส่วนจะกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะตามมาต่อสังคมโดยรวมของญี่ปุ่นก็ตาม ปัจจุบันจะเห็นว่าแรงงานต่างชาติ แรงงานที่ไม่มีทักษะจะถูกรับเข้าไปทำงานภายใต้โครงการฝึกงาน ขณะที่แรงงานต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่ไม่ได้ยื่นเพื่อขออาศัยถาวร (Permanent Residency) จะสามารถทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้แต่มีระยะเวลากำหนดที่จำกัด และไม่มีครอบครัวเป็นผู้ติดตาม

ญี่ปุ่นปรับตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/2018 ลงจากประมาณการเบื้องต้น โดยการลงทุนภาคเอกชนถูกปรับลดลงมากที่สุด

ญี่ปุ่นปรับตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/2018 ลงจากประมาณการเบื้องต้น โดยการลงทุนภาคเอกชนถูกปรับลดลงมากที่สุด

BF Economic Research เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3/2018 ถูกปรับลดลงจากหดตัวที่ -1.2% QoQ saar (-0.3% QoQ) เป็น -2.5% QoQ saar (-0.6% QoQ) หลังจากขยายตัวสูงถึง +3.0% QoQ saar ในไตรมาส 2 โดยการปรับตัวเลขจีดีพีลงนี้เป็นผลมาจากการปรับลดลงของการลงทุนภาคเอกชนเป็นหลัก จาก -0.2% QoQ เป็น -2.8% QoQ อย่างไรก็ดี เรายังมองว่า การลงทุนที่ติดลบเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว เนื่องจากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้งในไตรมาส 4 เห็นได้จากตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 4.2% YoY สูงที่สุดในรอบ 1 ปีในเดือนต.ค. ที่ผ่านมา ในขณะที่ปี 2019 เราคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะมีโมเมนตัมการเติบโตต่อเนื่อง โดยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลของการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (Consumption Tax) ในเดือนต.ค. […]

เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3 หดตัว -1.2% QoQ saar จากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติ มองไตรมาส 4 กลับมาขยายตัว

เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3 หดตัว -1.2% QoQ saar จากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติ มองไตรมาส 4 กลับมาขยายตัว

BF Economic Research เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3/2018 พลิกกลับมาหดตัวที่ -1.2% QoQ saar (-0.3% QoQ) หลังจากขยายตัวสูงในไตรมาส 2 ถึง +3.0% QoQ saar จากผลของภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งแผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น และอากาศร้อนจัดเป็นประวัติการณ์ ที่กระทบการจับจ่ายใช้สอยซึ่งคิดเป็น 60% ของ GDP และการลงทุนในประเทศ ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนก็เป็นปัจจัยกดดันการส่งออกในไตรมาส 3 เรามองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 จะขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้ง เนื่องจากปัจจัยเชิงลบในไตรมาส 3 เป็นเพียงผลกระทบชั่วคราวเท่านั้น ภาพตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้นจะเป็นตัวหนุนการบริโภคในประเทศในไตรมาส 4 จนถึงปี 2019 บวกกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลของการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (Consumption Tax) ในเดือนต.ค. 2019 น่าจะทำให้ผลของการขึ้นภาษีไม่ร้ายแรงเท่ากับครั้งก่อนที่ปรับขึ้นในปี 2014

Nomura มองสังคมสูงวัยเป็นโอกาสลงทุนหุ่นยนต์-การดูแลสุขภาพ

Nomura มองสังคมสูงวัยเป็นโอกาสลงทุนหุ่นยนต์-การดูแลสุขภาพ

WATARU OGIHARA, CFA, Senior Managing Director and Chief Investment Officer, Global Equity Nomura Asset Management Co., Ltd. เปิดเผยในงานสัมมนา BUALUANG FUND INVESTMENT FORUM TOWARDS 2019 หัวข้อ “PREPARING FOR AGEING SOCIETY AND STRATEGIES FOR REITIREMENT” ว่า ขณะนี้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วที่สุด โดยจากข้อมูลพบว่า ประชากรอายุ 60 ปีของญี่ปุ่น 1 ใน 4 มีโอกาสมีอายุเกิน 100 ปี ขณะที่ประชากรอายุ 75 ปีในวันนี้มีประมาณ 15 ล้านคน […]

เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 1 หดตัวครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี

เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 1 หดตัวครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี

BF Economic Research Team เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัว -0.2% QoQ ในไตรมาส 1/2018 ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจต่างปรับลดการใช้จ่ายลง จีดีพีญี่ปุ่นในไตรมาส 1/2018 หดตัว -0.2% QoQ (-0.6% QoQ Annualized) ซึ่งเป็นการเติบโตแบบติดลบครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี เนื่องจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจต่างปรับลดการใช้จ่ายลง โดยการบริโภคภาคเอกชนที่มีสัดส่วนถึง 60% ของจีดีพีทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง จากที่ขยายตัว 0.2% QoQ ในไตรมาส 4/2017 เนื่องจากการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าสมาร์ทโฟนและรถยนต์ลดลง ขณะที่ตัวเลขการส่งออกขยายตัวเพียง 0.6% QoQ ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ 2.2% QoQ

ญี่ปุ่นพร้อมปกป้องอุตฯเหล็ก จับตาสหรัฐจ่อขึ้นภาษีนำเข้าสัปดาห์หน้า

ญี่ปุ่นพร้อมปกป้องอุตฯเหล็ก จับตาสหรัฐจ่อขึ้นภาษีนำเข้าสัปดาห์หน้า

รัฐบาลญี่ปุ่นออกมากล่าวปกป้องอุตสาหกรรมการส่งออกเหล็กและอลูมิเนียม หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐประกาศว่า สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กอัตรา 25% และอลูมิเนียม 10%ในสัปดาห์หน้า เพื่อการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ นายฮิโรชิเกะ เซโกะ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น กล่าวในการแถลงข่าวว่า “เราไม่คิดว่าการนำเข้าหล็กจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรนั้น จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐ” ด้านนายโทชิมิตสึ โมเตกิ รัฐมนตรีฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจและการคลังของญี่ปุ่นกล่าวว่า “ญี่ปุ่นจะจับตาอย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่านโยบายดังกล่าวของสหรัฐจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจญี่ปุ่นอย่างไร” เขามองว่าสาเหตุที่ทำให้สหรัฐตัดสินใจอย่างนั้นน่าจะเกิดจากการที่สหรัฐขาดดุลการค้ากับจีน มากกว่าประเด็นในเรื่องของญี่ปุ่น

ยอดผลิตรถยนต์ลด กดผลผลิตภาคอุตฯญี่ปุ่น ม.ค. ร่วง 6.6%

ยอดผลิตรถยนต์ลด กดผลผลิตภาคอุตฯญี่ปุ่น ม.ค. ร่วง 6.6%

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเปิดเผยวันนี้ว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมกราคมที่ผ่านมาลดลง 6.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 2.9% ในเดือนก่อนหน้า หลังยอดการผลิตรถยนต์ลดลง ขณะที่ดัชนีภาคส่งออกในเดือนเดียวกันลดลง 5.6% มาอยู่ที่ 98.3 จุด และดัชนีสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 0.6% มาอยู่ที่ 108.8 จุด ทั้งนี้ ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงดังกล่าวทำให้กระทรวงฯลดประมาณแนวโน้มผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลงจากเดิมที่คาดว่า การขยายตัวจะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นการขยายตัวจะดำเนินไปในอัตราที่ชะลอลง

รมว.คลังญี่ปุ่นย้ำ BOJ ต้องใช้นโยบายการเงินกระตุ้นศก.ต่อไป

รมว.คลังญี่ปุ่นย้ำ BOJ ต้องใช้นโยบายการเงินกระตุ้นศก.ต่อไป

รายงานข่าวระบุนายทาโร่ อาโสะ รัฐมนตรีกระทรวงคลังญี่ปุ่นได้ชี้แจงต่อรัฐสภาญี่ปุ่นในวันนี้ว่า เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะต้องดำเนินนโยบายการเงินตามกรอบในปัจจุบันต่อไป ซึ่งเป็นจุดยืนที่สอดคล้องกลับ นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ ที่ได้แถลงต่อรัฐสภาญี่ปุ่นไปเมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า BOJ ยังไม่ควรประกาศแผนการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในขณะนี้ เพราะจะทำให้ตลาดเกิดความสับสน นอกจากนี้ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น กล่าวว่า เขาต้องการปรับขึ้นภาษีการขายทั่วประเทศสู่ระดับ 10% จากปัจจุบันที่ระดับ 8% ในเดือนต.ค. 2562 ตามกำหนดการที่กระทรวงการคลังวางไว้

เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังฟื้นตัวในระดับปานกลาง

เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังฟื้นตัวในระดับปานกลาง

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือนก.พ. โดยระบุว่า องค์ประกอบหลักทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการบริโภคภาคเอกชน ผลิตผลและการลงทุนทางธุรกิจ “เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวขึ้นในระดับปานกลาง” สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นระบุในรายงาน หลังจากได้ปรับเพิ่มการประเมินเศรษฐกิจเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนไปเมื่อเดือนที่แล้ว รายงานของสำนักงานฯระบุว่า การบริโภคภาคเอกชนกระเตื้องขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายด้านการลงทุนและการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่างก็เพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง รายงานเศรษฐกิจประจำเดือนของรัฐบาลได้ช่วยสนับสนุนมุมมองด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่นว่ากำลังอยู่ในภาวะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจอาจเผชิญกับความไม่แน่นอน ทั้งจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาวและความผันผวนในตลาดหุ้นและตลาดการเงิน