BF Knowledge Center Money Tips
BBLAM Knowledge Tips: กองทุนแบบไหนที่ใช่ กับโจทย์ในใจที่มี
โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® BBLAM ยุคนี้ใครๆ ก็ลงทุนในกองทุน ซึ่งกองทุนเองก็มีหลากหลายนโยบาย หลากหลายรูปแบบ แต่นโยบายไหน รูปแบบไหนล่ะที่เหมาะกับเรา หรือตอบโจทย์ในใจเราที่มีอยู่มากมาย ก็ต้องมาเลือกสรรกันให้ดีค่ะ เพราะด้วยหลากหลายนโยบาย หลากหลายความเสี่ยง การลงทุนในกองทุนรวมจึงเป็นเครื่องมือชั้นดีสำหรับเป้าหมายที่มีอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเตรียมพร้อมรับวัยเกษียณ เก็บเงินไว้ให้ลูก เก็บเงินเรียนต่อ หรือเก็บไว้เพื่อไปเที่ยว สำหรับเป้าหมายสำคัญ ระยะเวลาการลงทุนสั้นๆ เช่น ต้องเก็บเงินเพื่อไว้ดาวน์บ้านเร็วๆ นี้ การลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน หรือการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ ก็น่าจะเหมาะกับเป้าหมายนี้ แต่ถ้าใครมีเป้าหมายระยะปานกลาง สามารถรับความเสี่ยงกับเป้าหมายนี้ได้เพิ่มมากขึ้นอีกสักหน่อย ก็อาจจะเลือกการลงทุนในกองทุนผสม หรือหากต้องการจัดพอร์ตการลงทุนก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนหุ้น ไม่ว่าจะเป็น หุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศ ผสมผสานเข้ามาในพอร์ตการลงทุนได้ทั้งนั้น แต่สัดส่วนที่ลงทุนในหุ้นก็ต้องกำหนดให้ดีๆ เพราะถ้าเป้าหมายสำคัญ แต่มีระยะเวลาลงทุนเพียง 3-7 ปี ก็อาจเลือกสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30% แต่ถ้าใครที่รับความเสี่ยงได้สูง ก็สามารถปรับเพิ่มการลงทุนในหุ้นได้ถึง 50% ส่วนใครที่มีเป้าหมายระยะยาว แต่สำคัญมากๆ อย่างเช่น เป้าหมายเกษียณ ซึ่งไม่อยากพลาด […]
BF Knowledge Center Money Tips
BBLAM Knowledge Tips: เมื่อกองทุนตราสารหนี้กำลังจะกลับมาน่าสนใจ
โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BBLAM กองทุนตราสารหนี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ลดทอนความน่าสนใจไปเยอะครับ เริ่มจากช่วงวิกฤตโควิดหลายๆ ประเทศประกาศลดอัตราอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว เพื่อพยุงเศรษฐกิจให้รอด ทำให้ต่อมาอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้พันธบัตร เงินฝากทั่วโลกลดลง ผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ก็ลดลงตาม บางช่วงผลตอบแทนกองทุนเพื่อบริหารสภาพคล่องที่ใกล้เคียงเงินฝาก ผลตอบแทนลดลงจนพอๆ กับอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ ทำให้นักลงทุนไม่สนใจกองทุนตราสารหนี้ หรือกองทุนผสมที่มีสัดส่วนตราสารหนี้สูง ประกอบกับกองทุนหุ้นพุ่งขึ้นสูงในช่วงหลังประกาศการค้นพบวัคซีน ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนให้ย้ายเงินลงทุนออกจากตราสารหนี้กันไปเป็นจำนวนมาก พอสถานการณ์โควิดคลี่คลาย เกิดปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูง ธนาคารกลางต่างๆ เร่งประกาศขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ทำให้ตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือยาวๆ ราคาตกลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการขาดทุน ความน่าสนใจของกองทุนตราสารหนี้ก็ยิ่งลดลงไปอีก โดยเฉพาะกองทุนตราสารหนี้ที่มีระยะกลางถึงระยะยาว รวมถึงแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจะยังไม่มีทีท่าจะหยุดลงง่ายๆ ทำให้ความน่าสนใจของกองทุนตราสารหนี้ยังคงไม่กลับมา อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี กองทุนตราสารหนี้ประเภทกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนเพื่อบริหารสภาพคล่อง อย่างบัวหลวงธนทวี และบัวหลวงตราสารหนี้ภาครัฐ เริ่มกลับมาให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และมีสัญญาณที่ดีสำหรับกองทุนบัวหลวงตราสารหนี้ หรือ BFIXED ที่อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ยาวกว่ากองทุนทั้ง 2 ซึ่งจะกลับมาให้ผลตอบแทนดีขึ้นเมื่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเริ่มนิ่ง ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณกลางปีหน้า เมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มนิ่ง ราคา NAV […]
ESG ESG Corner Money Tips Sustainability
BBLAM ESG Corner: Sustainability-Linked Bond ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (SLBs)
โดย ณัฐกร พีรสุขประเสริฐ BBLAM ในตลาดตราสารหนี้ หลายๆ คน คงคุ้นเคยกับคำว่า พันธบัตรสีเขียว (Green Bonds) ซึ่งจำกัดวัตถุประสงค์ของการระดมทุนเพื่อการลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบัน มีตราสารหนี้รูปแบบใหม่เรียกว่า ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน หรือ Sustainability-Linked Bonds (SLBs) ซึ่งไม่ได้จำกัดวัตถุประสงค์ของการระดมทุนเหมือนกับ Green Bonds แต่กลับเปิดโอกาสให้ผู้ระดมทุนสามารถนำเงินลงทุนไปลงทุนกับโครงการใดๆ ก็ได้ เพียงแต่คุณลักษณะบางประการของตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน อาทิ Coupon Rate จะเชื่อมโยงกับศักยภาพในการดำเนินงานของบริษัทด้านความยั่งยืน ซึ่งจะถูกประเมินด้วยตัวชี้วัด (KPIs) เป้าหมายด้านความยั่งยืน (SPTs) และกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยบริษัทที่ระดมทุนด้วยการออกขาย SLBs ครั้งแรกของโลกคือ บริษัท ENEL ซึ่งเป็นบริษัทด้านพลังงานสะอาดในภูมิภาคยุโรป ทำการออกขาย SLBs ในเดือนกันยายน ปี 2019 Sustainability-Linked Bond (SLBs) คือ เครื่องมือทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ใช้สำหรับการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ […]
BBLAM House View: Telecom Industry Outlook Through Service Provider’s Lens
โดย สรณกร เตชะยัน BBLAM ในปัจจุบัน แทบปฏิเสธไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม สามารถนับเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิต สภาวะเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ เป็นวงกว้าง แต่อุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากเป็นบริการพื้นฐานที่จำเป็น โดยในปี 2564 อุตสาหกรรมนี้ต้องเจอกับความท้าทายจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง แต่รายได้รวมของอุตสาหกรรมอยู่ที่ 320,000 ล้านบาท ยังเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2 จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวม 96 ล้านราย ขยายตัวร้อยละ 6 จากปีก่อน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของอุตสาหกรรมนี้ยังมีความท้าทายจากหลายปัจจัย ซึ่งจำกัดการเติบโตของธุรกิจ ปัจจัยแรก คือ สภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่ผู้ให้บริการแต่ละรายยังคงเน้นการแข่งขันด้านราคา เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและขยายส่วนแบ่งการตลาด โดยนำเสนอ Package การใช้ข้อมูลแบบไม่จำกัด (Unlimited Data Plan) ในอัตราค่าบริการต่ำ ทั้งในตลาดผู้ใช้บริการแบบรายเดือน (Post-Paid) และเติมเงิน (Pre-Paid) อีกทั้งตลาดอินเตอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง ผู้ให้บริการยังคงเสนอ Package ระดับราคาต่ำ […]
B-CHINAARMF B-FUTURESSF B-INNOTECHRMF BCARERMF Money Tips RMF SSF
RMF-SSF จะ Gen ไหนก็ลงทุนได้ ประหยัดภาษี ช่วยลดภาระในอนาคต
กองทุนรวมประหยัดภาษีอย่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) มีความน่าสนใจอย่างไร แล้วเจนไหนบ้างที่ควรเริ่มต้นลงทุนในกองทุนประเภทนี้ วันนี้ คุณนุสรณ์ เนตรนวลศรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ทีม Business Distribution และคุณศุภสิทธิ์ สิทธิเสาวภาคย์ เจ้าหน้าที่ ทีม Business Distribution มีคำตอบดีๆ มาให้ ถาม : กองทุน SSF-RMF สามารถเป็นเครื่องมือประหยัดภาษีได้ แต่มีความแตกต่างจากเครื่องมือลดหย่อนภาษีประเภทอื่นอย่างไรบ้าง ตอบ : หากเป็นค่าลดหย่อนจะเป็นสิทธิที่เราเลือกใช้สิทธินี้หรือไม่ใช้ก็ได้ เช่น ชิมชอปใช้ จะใช้สิทธินี้หรือไม่ใช้สิทธินี้ก็ได้ แต่ถ้าเป็นกองทุนรวมเพื่อประหยัดภาษี มีเรื่องการลดภาระในอนาคตได้ด้วย หลายคนหลงลืมไป คิดว่าจะซื้อปีนี้เพื่อลดหย่อนปีนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้คิดว่าระยะยาวแล้ว เงินที่เราลงทุนมาประหยัดภาษี ยังต่อเนื่องและงอกเงยอีกเมื่อครบ 10 ปี หรือครบอายุ 55 ปีแล้ว สำหรับกองทุนรวมเพื่อประหยัดภาษี เริ่มมีตั้งแต่ปี 2545 โดยเริ่มแรกเรามีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก่อน […]
ออมเงินในช่วง COVID-19
โดย…กรวิภา วรรณแสวง กองทุนบัวหลวง สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีของปีนี้ เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น ด้วยความไม่แน่นอนและสถานการณ์ที่ยากต่อการคาดเดาว่าจะจบลงเมื่อไหร่ หรือข่าวดีเรื่องการคิดค้นวัคซีนจะสำเร็จเมื่อไหร่ ซึ่งขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่างชาติได้อยู่ในช่วงระหว่างการทดลองวัคซีนกับมนุษย์ แต่สำหรับในประเทศไทยเอง การคิดค้นวัคซีนผ่านการทดลองกับสัตว์แล้ว ก่อนที่จะเดินหน้าทดลองในมนุษย์ตามลำดับต่อไป การแพร่ระบาดโรค COVID-19 นี้ไม่ได้แค่สร้างความวิตกกังวลด้านสุขภาพร่างกายเท่านั้น แต่มีผลกระทบต่อเนื่องไปยังสุขภาพทางการเงินด้วย จากการสร้างมาตรการและมาตรฐานวิถีการดำเนินชีวิตในแบบใหม่ New normal ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อยู่บ้านทำกิจกรรมต่างๆ และทำงานจากที่บ้านมากขึ้น พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป สั่งซื้อสินค้าและบริการจากออนไลน์มากขึ้น ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้ผลประกอบการลดลง พนักงานออฟฟิศบางแห่งโดนลดเงินเดือนลดลง มีความรู้สึกเสี่ยงมากขึ้น ชีวิตไม่มั่นคงเหมือนแต่ก่อน และภายใต้สถานการณ์ที่ไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อไหร่ ทำให้หลายท่านต้องเริ่มคิดทบทวน ควมคุมและระมัดระวังการใช้จ่ายให้มากขึ้น มองเห็นความสำคัญของการออมเงินและการมีเงินสำรองไว้เผื่อสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคต การเก็บออมท่ามกลางภาวะดอกเบี้ยต่ำในปัจจุบัน อาจเลือกการฝากเงินกับบัญชีเงินฝากปลอดภาษีที่รัฐบาลส่งเสริมการออมเงินของประชาชน ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีเงินฝากประจำ หรือนำไปลงทุนในกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF กองทุนรวมเพื่อการออม SSF เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว หรืออีกวิธีที่ช่วยในการออมเงิน คือ […]
การปรับแก้พอร์ตโฟลิโอด้วยตัวเอง
โดย…พิชญ ฉัตรพลรักษ์ กองทุนบัวหลวง ในตลาดการลงทุนของไทยเริ่มมีการโฆษณารับปรับเปลี่ยนพอร์ตโฟลิโอออกมา รวมถึงมีผู้นำเสนอการจัดสรรเงินลงทุนในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ดี การเปรียบเทียบข้อเสนอกันแบบตรงๆ ก็ดูจะพิจารณากันได้ลำบาก เนื่องจากแต่ละที่ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เลือกมาแตกต่างกัน น้ำหนักก็ต่างกัน หากลงทุนตามคำแนะนำในครั้งแรกและปล่อยไว้เฉยๆ โดยไม่ติดตามคงไม่ดีแน่ แต่ครั้นนักลงทุนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการเงินคิดจะติดตามปรับเปลี่ยนการลงทุนเอง ก็อาจสงสัยว่า จะเริ่มต้นอย่างไรดี จะคอยติดต่อที่ปรึกษาก็คงต้องพึ่งพาเขาอยู่ร่ำไป เหมือนยืมจมูกคนอื่นหายใจ มันก็ไม่สะดวกคล่องตัว ค่าใช้จ่ายถูกแพงก็ดูยาก บทความนี้จึงนำเสนอเกร็ดความรู้ในการเริ่มต้นลงมือจัดสรรเงินลงทุนและปรับเปลี่ยนพอร์ตโฟลิโอด้วยตนเองใน 7 ขั้นตอน (Clements & Clough, 2019) และเพื่อเป็นบันไดเริ่มต้นในการก้าวขึ้นสู่นักลงทุนที่สามารถพึ่งพาตัวเองและเพิ่มความช่ำชองมากขึ้นต่อไป ก้าวแรก คือ ต้องเรียนรู้การลงทุนในอดีตของเราโดยการมองย้อนกลับไป เช่นในช่วงที่ตลาดหุ้นลง เราเคยขายสินทรัพย์ออกไปในราคาถูกบ้างหรือไม่ หากเคยแสดงว่าเรารับความเสี่ยงได้ไม่มาก ควรที่จะปรับลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้โดยไม่เกิดความตื่นตระหนก การขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ในอดีตมีจำนวนครั้งมากน้อยเพียงไร ถ้าไม่บ่อยครั้งแสดงว่านักลงทุนอาจต้องการใช้เงินสดบ้างหรือปรับส่วนผสมการลงทุนให้เป็นไปตามกลยุทธ์ในระยะยาว แต่หากมีการซื้อขายที่ถี่เกินไปอาจแปลว่าเราอาจเปลี่ยนใจอยู่บ่อยครั้งและเป็นสัญญาณเตือนว่าเรามีความไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการที่จะทำอะไรกันแน่ ก้าวที่ 2 กำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับความต้องการใช้เงินของตัวเองโดยการพิจารณาลักษณะของแต่ละประเภทของสินทรัพย์ (Asset Class) ตราสารทุนจะมีความผันผวนของอัตราผลตอบแทนในระยะสั้นแต่จะให้การงอกเงยของเงินลงทุนที่ดีในระยะยาวและชนะอัตราเงินเฟ้อได้ เงินฝากมีความเสี่ยงต่ำแต่อัตราผลตอบแทนหลังจากหักภาษีก็อาจจะน้อยกว่าเงินเฟ้อได้ ตราสารหนี้มีการจ่ายดอกเบี้ยที่สม่ำเสมอและราคาก็ไม่ผันผวนเท่าตราสารทุน แต่ก็สามารถเพิ่มอัตราผลตอบแทน (ตามมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น) จากตราสารหนี้พวก High Yield […]
B-FUTURESSF B-INCOMESSF BEQSSF BM70SSF Money Tips RMF SSF
ลงทุนระยะยาว เลือกที่ใช่ สไตล์ที่ชอบ กับกองทุนบัวหลวง
คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ Head of Business Distribution บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (กองทุนบัวหลวง) Q : พฤติกรรมการออมและลงทุนของคนไทย ตอนนี้เป็นอย่างไร? A : พฤติกรรมการออมและการลงทุนของคนไทยก็ถือว่าเปลี่ยนแปลงไปเยอะ ปัจจุบันคนไทยสนใจเรื่องการออมและการลงทุนมาก เราสังเกตได้จากจำนวนผู้ลงทุนในกองทุนรวมช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมาก วันนี้ก็อยู่ในหลายล้านบัญชี แตกต่างจากเมื่อก่อน เวลาเราจะพูดถึงการลงทุน คนจะไม่ค่อยสนใจ หรืออาจจะไม่ได้รับรู้ และช่วงของคนที่ลงทุน อายุก็ขยายตัว เช่น ตอนนี้เด็กๆ อายุ 20 ปีกว่า ก็เริ่มลงทุนแล้วหรือคนที่อายุมากหน่อย 60-70 ปี ก็ลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนผ่านกองทุนรวมมีมาก อีกอย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ก็คือ วันนี้ผู้ลงทุนสนใจถึงเรื่องการลงทุนเพื่อเป้าหมายของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายเพื่อเกษียณอายุ เป้าหมายเพื่อมีเงินออมในระยะยาวของตัวเองมากขึ้น สมัยก่อนคนจะเดินเข้ามาถามว่า “กองทุนไหนดี” แต่วันนี้ คนหลายๆ คนจะเข้ามาถามว่า […]
การปรับแก้พอร์ตโฟลิโอด้วยตัวเอง
โดย…พิชญ ฉัตรพลรักษ์ กองทุนบัวหลวง ในตลาดการลงทุนของไทยเริ่มมีการโฆษณารับปรับเปลี่ยนพอร์ตโฟลิโอออกมา รวมถึงมีผู้นำเสนอการจัดสรรเงินลงทุนในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ดี การเปรียบเทียบข้อเสนอกันแบบตรงๆ ก็ดูจะพิจารณากันได้ลำบาก เนื่องจากแต่ละที่ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เลือกมาแตกต่างกัน น้ำหนักก็ต่างกัน หากลงทุนตามคำแนะนำในครั้งแรกและปล่อยไว้เฉยๆ โดยไม่ติดตามคงไม่ดีแน่ แต่ครั้นนักลงทุนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการเงินคิดจะติดตามปรับเปลี่ยนการลงทุนเอง ก็อาจสงสัยว่า จะเริ่มต้นอย่างไรดี จะคอยติดต่อที่ปรึกษาก็คงต้องพึ่งพาเขาอยู่ร่ำไป เหมือนยืมจมูกคนอื่นหายใจ มันก็ไม่สะดวกคล่องตัว ค่าใช้จ่ายถูกแพงก็ดูยาก บทความนี้จึงนำเสนอเกร็ดความรู้ในการเริ่มต้นลงมือจัดสรรเงินลงทุนและปรับเปลี่ยนพอร์ตโฟลิโอด้วยตนเองในเจ็ดขั้นตอน (Clements & Clough, 2019) และเพื่อเป็นบันไดเริ่มต้นในการก้าวขึ้นสู่นักลงทุนที่สามารถพึ่งพาตัวเองและเพิ่มความช่ำชองมากขึ้นต่อไป ก้าวแรก คือ ต้องเรียนรู้การลงทุนในอดีตของเราโดยการมองย้อนกลับไป เช่นในช่วงที่ตลาดหุ้นลง เราเคยขายสินทรัพย์ออกไปในราคาถูกบ้างหรือไม่ หากเคยแสดงว่าเรารับความเสี่ยงได้ไม่มาก ควรที่จะปรับลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้โดยไม่เกิดความตื่นตระหนก การขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ในอดีตมีจำนวนครั้งมากน้อยเพียงไร ถ้าไม่บ่อยครั้งแสดงว่านักลงทุนอาจต้องการใช้เงินสดบ้างหรือปรับส่วนผสมการลงทุนให้เป็นไปตามกลยุทธ์ในระยะยาว แต่หากมีการซื้อขายที่ถี่เกินไปอาจแปลว่าเราอาจเปลี่ยนใจอยู่บ่อยครั้งและเป็นสัญญาณเตือนว่าเรามีความไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการที่จะทำอะไรกันแน่ ก้าวที่ 2 กำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับความต้องการใช้เงินของตัวเองโดยการพิจารณาลักษณะของแต่ละประเภทของสินทรัพย์ (Asset Class) ตราสารทุนจะมีความผันผวนของอัตราผลตอบแทนในระยะสั้นแต่จะให้การงอกเงยของเงินลงทุนที่ดีในระยะยาวและชนะอัตราเงินเฟ้อได้ เงินฝากมีความเสี่ยงต่ำแต่อัตราผลตอบแทนหลังจากหักภาษีก็อาจจะน้อยกว่าเงินเฟ้อได้ ตราสารหนี้มีการจ่ายดอกเบี้ยที่สม่ำเสมอและราคาก็ไม่ผันผวนเท่าตราสารทุน แต่ก็สามารถเพิ่มอัตราผลตอบแทน (ตามมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น) จากตราสารหนี้พวก High Yield ตราสารหนี้ระยะยาว หรือหุ้นกู้ […]
การออมสำคัญอย่างไร
โดย…กรวิภา วรรณแสวง กองทุนบัวหลวง เงินออมของที่เก็บออมไว้เพื่อใช้ส่วนตัว หรือการออมเพื่อวางแผนการเกษียณ ไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือไม่ว่าในรูปแบบการออมใดก็ตาม ไม่ได้สำคัญแค่ชีวิตส่วนตัวของทุกท่านเท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศด้วย ตัวอย่างเช่น การออมในบัญชีเงินฝากธนาคาร ทางธนาคารที่รับฝากเงินจะนำเงินของเราไปปล่อยกู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อนำไปขยายธุรกิจ เพื่อผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโต การขยายธุรกิจ ยังช่วยสร้างรายได้แก่เจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น จากธุรกิจก่อสร้างสู่ธุรกิจเครื่องมืออุปกรณ์ ผู้ผลิตเหล่านั้นจะสามารถขยายธุรกิจตัวเองต่อไปได้อีก และธุรกิจที่ขยายใหญ่ขึ้น ช่วยสร้างงานมากขึ้น รายได้ของลูกจ้างจะไหลไปสู่กิจการในชุมชนผ่านการจับจ่ายใช้สอย รายได้ของลูกจ้างยังไหลเข้าสู่ธนาคารจากการออมของลูกจ้างแต่ละราย ธนาคารก็จะใช้เงินจำนวนนี้เพื่อไปปล่อยกู้ต่อ ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจต่อไป ปฏิเสธไม่ได้ว่า เงินออมจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เราผ่านพ้นวิกฤติการเงินในชีวิตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นเพื่อเตรียมตัวหากเกิดกรณีฉุกเฉินต้องการใช้เงินอย่างเร่งด่วน จึงควรมีเงินสำรองไว้อย่างน้อย 6 เท่าของรายได้ประจำต่อเดือน ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ในกรณีที่คุณเป็นเสาหลักของครอบครัว หรือมีความเสี่ยงด้านความมั่งคงทางรายได้ อาจต้องเตรียมเงินสำรองสูงมากกว่านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี เคยลองจินตนาการถึงการใช้ชีวิตในช่วงวัยเกษียณหรือไม่ อาจจะดูไกลตัวสำหรับผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา หรือเพิ่งก้าวเข้าสู่วัยทำงาน แต่หากเราเริ่มมองไปข้างหน้า จะเห็นว่า ปัจจุบันที่เราทำงานหารายได้และเก็บออมเงินอยู่ในตอนนี้ ก็เป็นเพื่อการออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณนั่นเอง อีกทั้งในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีการแพทย์พัฒนา ช่วยให้คนในยุคปัจจุบันอายุยืนยาวขึ้น ยิ่งต้องมีเงินออมในจำนวนที่วางแผนแล้วว่า […]