BF Knowledge Center Personal Finance
สิทธิควรรู้ของคุณแม่มือใหม่
สิทธิควรรู้ของคุณแม่มือใหม่ โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center คุณแม่มือใหม่ ได้รับสิทธิประโยชน์หลายทาง ซึ่งควรตรวจสอบสิทธิ และใช้สิทธิที่ตนมีให้ครบเพื่อความครอบคลุม และไม่เป็นการเสียสิทธิ ซึ่งสิทธิที่ได้รับจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อยคุณแม่มือใหม่ ได้รับสิทธิประโยชน์หลายทาง ซึ่งควรตรวจสอบสิทธิ และใช้สิทธิที่ตนมีให้ครบเพื่อความครอบคลุม และไม่เป็นการเสียสิทธิ ซึ่งสิทธิที่ได้รับจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อย หากคุณแม่เป็นพนักงานบริษัท สิทธิแรกที่พึงได้รับคือสิทธิประกันสังคมตาม มาตรา 33 โดยคุณแม่สามารถเช็คสิทธิได้เลยว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่ว่า มีการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร หรือไม่ ถ้าใช่คุณก็จะได้รับสิทธินั้นในทันที โดยประกันสังคมจะจ่ายค่าคลอดในอัตราเหมาให้กับเรา (ผู้ประกันตน) ในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังได้รับเงินสงเคราะห์จากการหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างตามจริงสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท (ยกตัวอย่างเงินเดือน 15,000 บาท […]
BF Knowledge Center Personal Finance Wealth
กลไกกองทุนรวมไว้ใจได้แค่ไหน
กลไกกองทุนรวมไว้ใจได้แค่ไหน โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center กองทุนรวมเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งมีทั้งผู้ที่เคยลงทุนและไม่เคยลงทุนมาก่อน การจัดตั้งและเสนอขายกองทุนรวมจึงถูกควบคุมดูแล จากสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้กองทุนที่ออกแบบมามีความชัดเจน เข้าใจง่าย ให้ทราบว่าเงินของผู้ลงทุนจะถูกนำไปทำอะไร นโยบายการลงทุนเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง คนลงทุนก็รู้ว่าเงินของตนเองจะถูกทำไปทำอะไร ในแต่ละวันก็มีกลไกตรวจสอบ และดูแลสิทธิและผลประโยชน์ตามสัดส่วนให้กับผู้ลงทุนอย่างดี แต่หลายคนก็สงสัยว่าการเอาเงินของเราไปให้กองทุนรวมบริหารไว้ใจได้แค่ไหน และปลอดภัยจริงหรือเปล่า ตรงนี้จะอธิบายให้ครอบคลุมทั้ง 2 ด้าน คือปลอดภัย และไม่ปลอดภัย คำว่าปลอดภัยในที่นี้ หมายถึง เป็นรูปแบบการลงทุนที่ปลอดภัย ไว้ใจได้ มีกลไกและกระบวนการทำงานที่ไว้ใจได้ น่าเชื่อถือได้ สำหรับประชาชน อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่ากองทุนรวมเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนทั่วไป ดังนั้นจึงมีการควบคุมดูแล ออกแบบให้มีความชัดเจน มีกลไกมาตรฐาน เริ่มตั้งแต่จัดตั้งกองทุนเลย ไม่ใช่ว่าใครก็จัดตั้งกองทุนรวมได้ คนที่จะจัดตั้งกองทุนรวมได้ ต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เท่านั้น หรือเรียกย่อๆ ว่า บลจ. ซึ่งบลจ. แต่ละแห่งก็ต้องได้รับใบอนุญาตจาก สำนักงาน […]
BF Knowledge Center Personal Finance
กองทุนรวมดีอย่างไรทำไมน่าลงทุน
กองทุนรวมดีอย่างไรทำไมน่าลงทุน โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ปัจจุบันกองทุนรวมในประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างมาก มีขนาดทรัพย์สินกว่า 5 ล้านล้านบาท และเชื่อว่าจะยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง เพราะกองทุนรวมสามารถตอบโจทย์ความต้องการโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้จากธนาคาร ซึ่งอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่ต่ำมาก จึงทำให้การฝากเงินเพื่อหวังดอกผลลดลงเรื่อยๆ ดังนั้น เราจึงเริ่มเห็นเงินฝากย้ายมากองทุนรวมเพิ่มมากขึ้น โดยกองทุนรวมนับเป็นอีกทางเลือกนึง ที่ให้ผลตอบแทนที่กี โดยกองทุนรวมมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อว่าจะยังเติบโตต่อไปได้อีก อยากให้คิดภาพตามแบบนี้ว่ากองทุนรวม ไม่ใช่การฝากเงิน แต่เป็นการลงทุน ที่ผู้ลงทุนไม่ต้องทำเอง ไม่ต้องซื้อหุ้นเอง หรือซื้อพันธบัตรเอง แต่ให้ผู้เชี่ยญชาญอย่างผู้จัดการกองทุนทำให้ ที่สำคัญไม่ต้องใช้เงินมากมายในการลงทุนอย่างที่ใครหลายๆคนคิด เพียงแค่หลักร้อยหลักพันก็เริ่มต้นลงทุนได้แล้ว ถ้าถามถึงผลตอบแทนในการลงทุนจะดีกว่าเงินฝากมากขนาดไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับประเภทของกองทุนนั้น โดยกองทุนรวมเป็นเหมือนตัวกลางพาคนไปลงทุนในช่องทางต่างๆ ซึ่งผลตอบแทน ความเสี่ยงก็จะขึ้นกับสิ่งที่ไปลงทุน เช่น ลงทุนกองทุนหุ้น ก็เหมือนให้ผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้นให้ หุ้นขึ้นเยอะ เลือกหุ้นได้ดี ซื้อขายถูกจังหวะ ก็จะได้ผลตอบแทนดี แต่ หุ้นมีขึ้นมีลง มีโอกาสกำไรก็ได้ ขาดทุนก็ได้ ขณะที่กองทุนตราสารหนี้ ก็จะไม่ลงทุนในหุ้นเลย จะลงทุนในเงินฝากธนาคาร […]
BF Knowledge Center Personal Finance Wealth
สภาพคล่องสำคัญอย่างไรกับชีวิต
กดเพื่อรับชมวิดีโอ สภาพคล่องสำคัญอย่างไรกับชีวิต โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center สภาพคล่องคืออะไร ใครหลายคนอาจสงสัย ที่จริงแล้วสภาพคล่อง ก็คือ ความสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ให้เป็นเงินสดได้โดยไม่เสียมูลค่ามาก หรือจะพูดง่ายๆ คือ สิ่งที่เราต้องการแปลงเป็นเงินสดได้ง่ายๆ แล้วนำมาใช้ได้ทันทีที่ต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลารอคอยนาน อย่างเช่น เงินสด หรือเงินฝากในธนาคารที่สามารถถอนได้ทันที หรือจะเป็นกองทุนรวม หุ้นรายตัว ที่สามารถขายคืนได้ทุกวันทำการ ยิ่งได้เงินเร็ว ยิ่งมีสภาพคล่องสูง คำถามคือต้องมีสภาพคล่องเท่าไหร่จึงจะเพียงพอ แต่ละคนมีสภาพคล่องมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของตนเอง หรือของครอบครัว เช่น คนโสด ไม่มีภาระ อาจต้องการสภาพคล่องไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่จะมีไว้เป็นจำนวนเท่าของค่าใช้จ่าย เช่น 3 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน ใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท ก็ควรมีสภาพคล่อง 60,000 บาท คนโสด เหมือนกัน แต่ต้องดูแลคุณพ่อคุณแม่สูงอายุ […]
BF Knowledge Center Personal Finance
เกษียณก่อนได้ ไม่ต้องรอ 55
โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ปัจจุบันคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่อยากรวยเร็วๆ รวมถึงต้องการที่จะเกษียณอายุการทำงานเร็วๆ คือต้องการเกษียณก่อนอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี โดยมีสาเหตุหลักคือ “ต้องการอิสรภาพในการใช้ชีวิต” เพราะคนส่วนใหญ่ที่อยากเกษียณเร็วก็คือ “มนุษย์เงินเดือน” ที่แต่ละวันหมดเวลาไปกับการทำงานในออฟฟิศ ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด ไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ตามใจต้องการ เวลาเข้า-ออก ในการทำงานใกล้เคียงกัน ต้องใช้ชีวิตเบียดเสียด รีบเร่ง ทั้งรีบนอน รีบตื่น รีบกิน รีบออกจากบ้าน ฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนบั่นทอนกำลังใจ และทำให้มนุษย์เงินเดือนโหยหาอิสรภาพ จึงเป็นที่มาของความพยายามสร้างความมั่งคั่งคือ ทำให้ตัวเองรวยเร็วๆ เพราะเชื่อว่าการมีเงินจะสามารถไถ่อิสรภาพให้พ้นจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน ความคิดเรื่องเกษียณอายุก่อนกำหนดจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลตัว เพราะหากถามย้อนกลับไปยังทุกคนก็เชื่อว่า “ถ้าเลือกได้… เราก็อยากมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน” ทางออกสำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไปจึงหนีไม่พ้นการสุ่มตัวเลขทุกๆ 15 วัน เผื่อว่าฝันนั้นจะเป็นจริง แต่จนแล้วจนเล่าก็ได้แต่ฝัน ทั้งนี้ อย่าลืมว่าการเกษียณอายุก่อนกำหนดเป็นสิ่งที่เราเลือกเองได้ว่าจะให้เกิดขึ้นตอนไหน? การวางแผนทางการเงินจึงเป็นทางเลือกที่ดี โดยข้อแนะนำเพื่อการเกษียณอายุก่อนกำหนดมีดังนี้ […]
การมองไปข้างหน้าสำคัญอย่างไรกับการลงทุน
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP ® ปัจจุบันมีเครื่องมือประมวลผลต่างๆ ที่ช่วยให้วิเคราะห์หุ้นได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น มีตัวช่วยในการวิเคราะห์ราคาซื้อขายที่เหมาะสม โดยอ้างอิงข้อมูลจากงบการเงิน ราคาในอดีต รวมถึงการวิเคราะห์และคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ต่างๆ ทำให้ตัดสินใจซื้อขายง่ายขึ้น เร็วขึ้น แต่สิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการคัดเลือกหุ้น หรือกองทุน นั่นคือการมองไปข้างหน้า มองอนาคตของกิจการว่าจะเดินไปทางใด เป็นสิ่งที่เครื่องมือและเทคโนโลยียังไม่สามารถทำได้ การใช้ข้อมูลในอดีต งบการเงิน และสถิติต่างๆ เป็นตัวช่วยอ้างอิงความสำเร็จในอดีต ที่เชื่อว่ายังมีอิทธิพลต่ออนาคตของหุ้นนั้นๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าอดีตจะเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต กิจการที่แข้มแข็งในอดีต ไม่ได้แปลว่าอนาคตจะดีไปได้ตลอด ว่าไปแล้ว คำว่ายั่งยืน ไม่มีจริง เราจึงต้องตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง เราจึงต้องหากิจการที่จะอยู่รอดและมีผลกำไรที่ดีในอนาคต รู้จักปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก ตามทันเทคโนโลยี และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคเป็นสำคัญ เพราะนั่นคือกุญแกสำคัญว่าธุรกิจนั้นจะดำรงอยู่ และเติบโตต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ อย่างไร สำหรับกระบวนการลงทุนของกองทุนบัวหลวง เรามองเช่นนี้มาตั้งแต่ต้น ทำมาตลอดและไม่เปลี่ยนแปลง โดยเรามองไปข้างหน้า เพื่อแสวงหาโอกาสของผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ดูว่าปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าจะมีเมกะเทรนด์ อะไรเกิดขึ้น มี theme อะไร และคัดสรรหาธุรกิจกิจการที่ได้ประโยชน์หรือรู้จักใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนที่เกิดขึ้นเหล่านั้น แล้วเข้าไปลงทุนเพื่อหวังการเติบโตอย่างเป็นกอบเป็นกำในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับเมกะเทรนด์ เพราะนี่คือสิ่งใหม่ๆ […]
BF Knowledge Center Personal Finance Wealth
กองทุนหุ้นกับการซื้อราคา par 10 บาท
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP ปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ในแวดวงกองทุนรวมอยู่ 2 ประเด็น นั่นคือ ความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลก และกองทุนออกใหม่ตามเทรนด์ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น กองทุนหุ้นกิจการโดดเด่นในอนาคต กองทุนหุ้นเทคโนโลยี หุ้น AI หรือกองทุนที่เลือกสรรหุ้นในกิจการที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของประชากรในเอเซีย เมื่อทั้ง 2 ประเด็นเกิดขึ้นพร้อมกัน ก็เกิดคำถามและความกังวลเกิดขึ้นตามมา หากสนใจกองทุนออกใหม่เหล่านั้น ควรจะซื้อที่ราคา IPO 10 บาทเลย หรือรอวันที่ราคาตกลงต่ำกว่า 10 บาทก่อนค่อยซื้อ เพราะตลาดผันผวนเหลือเกิน ที่ผ่านมา กองทุนออกใหม่โดยเฉพาะกองทุนหุ้น มักจะมีราคาต่ำกว่า 10 บาท ให้ได้เห็นกันเสมอ อย่างแรกที่อยากทำความเข้าใจ คือ การซื้อ IPO 10 บาท นั่นคือการเริ่มต้นลงทุนกับกองทุนนั้นๆ ตั้งแต่วันแรกและเมื่อมีการคำนวณราคา NAV แต่ละวัน ราคา NAV ก็จะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามราคาและสัดส่วนของหุ้นและสินทรัพย์ในพอร์ต ถ้าคาดหวังว่าจะซื้อที่ราคา 10 […]
เริ่มต้นลงทุน จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center เดี๋ยวนี้คนไทยเปิดกว้างและยอมรับเรื่องการจัดสรรเงินออมและบริหารเงินลงทุนมากขึ้น จากเดิมที่หลายๆ คนเลือกแต่การฝากเงินกับธนาคารเพราะเป็นทางเลือกเดียวที่รู้จัก คุ้นเคยเมื่อเดินเข้าธนาคาร แต่ในวันนี้เมื่อธนาคารมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ มาเสนอขายจึงเริ่มสนใจ และพบว่านอกจากเงินฝากธนาคารแล้ว ยังมีช่องทางการลงทุนอีกมากมาย ที่ไม่เคยรู้มาก่อน เงินฝากแคมเปญพิเศษ กองทุนรวม ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ ตั๋วแลกเงน หุ้นกู้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ บริการเปิดพอร์ตซื้อขายหุ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ปัจจุบันสามารถหาได้จากสาขาธนาคารทุกสาขาในเมืองไทย มีทางเลือกมากมาย แต่ทำไมหลายคนยังไม่เริ่มลงทุน ทั้งที่รู้ว่ามันดีกว่าการฝากเงินทั้งหมดไว้ที่บัญชีธนาคารเพียงอย่างเดียว ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน นี่คือคำตอบของคนส่วนใหญ่ การเริ่มต้นลงทุนก็ไม่ต่างกับการที่คุณจะเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง มันขึ้นกับวิธีการ เช่น จะลดน้ำหนัก บางคนเริ่มทันที คุมอาหาร อดข้าวเย็น ทำอยู่ 3วันแล้วก็ทนไม่ไหว กลับมากินเหมือนเดิม บางคนศึกษาหาข้อมูลเลือกเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย หาวิธีที่ดีที่สุดที่เขาว่ากัน ค้นในเว็บไซต์ หาอยู่นานไม่ได้เริ่มสักทีเพราะตัดสินใจเลือกสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดไม่ได้ การลงทุนที่ได้ประโยชน์มากที่สุด ก็คือ การลงทุนที่เกิดจากการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง มีการประเมินความต้องการของตนเอง กำหนดวัตถุประสงค์ แบ่งเป็นระยะสั้น กลาง […]
Ageing Society Personal Finance Uncategorized
เกษียณสุข ทำอย่างไร (ตอนจบ)
By…สุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา กองทุนบัวหลวง ในตอนที่ผ่านมา เราได้นำเสนอการ “เตรียมพร้อม” เพื่อเกษียณสุขไปแล้ว 2 ข้อ นั่นก็คือ 1.เตรียมใจ และ 2.เตรียมกาย ดังนั้นครั้งนี้ก็จะมาขอนำเสนอการเตรียมพร้อมในเรื่องที่เหลือ ซึ่งมีดังนี้ 3. เตรียมเงิน การเตรียมเงินนั้น นอกจากจะสำรองเงินสะสมเอาไว้แล้ว ยังต้องเตรียมรูปแบบการใช้จ่ายไว้ด้วย ตัวดิฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่เริ่มเตรียมพร้อมในด้านนี้ไว้เหมือนกัน แม้ว่าระยะเวลาที่เกษียณอาจจะอีกยาว ซึ่งแหล่งที่มาของมนุษย์เงินเดือนอย่างดิฉันคงหนีไม่พ้นเงินเดือนเป็นหลัก โดยเงินที่ได้มาแต่ละเดือนจากอาชีพเป็นผู้จัดการกองทุนให้ท่านผู้อ่านนั้น ดิฉันมีหลักคิดส่วนตัวที่ไม่อิงหลักวิชาการง่ายๆ เลยค่ะ คือ “เก็บก่อนใช้” เก็บก่อนใช้ ต้องทำยังไงหรือคะ ง่ายๆ เลย ดิฉันแบ่งเงินเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ก. เงินออม ข. เงินจ่ายภาระหนี้เช่น บัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายในบ้าน ฯลฯ ค. เงินสำรองกรณีฉุกเฉิน และ ง. ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน กิน เที่ยว […]
Ageing Society Personal Finance
เกษียณสุข ทำอย่างไร (ตอนที่ 1)
By…สุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา กองทุนบัวหลวง ความคิดในครั้งแรกที่เขียนบทความเกี่ยวกับวัยเกษียณ ดิฉันรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว หากเทียบกับอายุปัจจุบันของดิฉันและจะเขียนได้ดีและมีประโยชน์ไหม แต่พอได้มีเวลาทบทวนหัวข้อใหม่อีกครั้ง ก็พบว่าหัวข้อนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมากและสิ่งที่ดิฉันวางแผนและทำในปัจจุบัน แท้จริงแล้วมันก็เป็นการเตรียมพร้อมรับวัยเกษียณแบบกลายๆ นี่เอง ประกอบกับได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ของดิฉันเองซึ่งก็อยู่ในวัยเกษียณเช่นเดียวกัน จึงรวบรวมสิ่งต่างๆ เพื่อมาแบ่งปันรูปแบบการเตรียมพร้อมและใช้ชีวิตอย่างมีสุขในยามเกษียณ ซึ่งอาจจะพูดได้ว่าไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับ Lifestyle ของแต่ละบุคคล ซึ่งคงต้องไปปรับใช้ให้เหมาะสม สังคมไทยทุกวันนี้ คนหนุ่มสาวมักจะแต่งงานช้าลง แต่งงานน้อยลง ทำให้มีลูกช้าลงไปด้วย ในขณะที่อีกหลายครอบครัวยุคใหม่ก็ไม่ต้องการมีลูก การที่จะมาหวังพึ่งพาให้ลูกหลานเลี้ยงดูยามแก่เฒ่าจึงเรื่องยากกว่าเมื่ออดีต ชะดีชะร้ายยามเกษียณแล้ว ลูกๆ อาจจะยังต้องพึ่งพาเราอยู่ด้วยซ้ำ สภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ว่าปริมาณประชากรไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในปี 2025 จะมีสัดส่วนเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของประชากรไทยเทียบกับปี 2000 ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 9.4 ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) โดยสมบูรณ์แบบนั่นเอง มาถึงตรงนี้บางคนอาจจะสงสัยนิยามของ “สังคมผู้สูงอายุ” ว่าเป็นอย่างไร ตามนิยามของสหประชาชาติ เมื่อประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ10 […]