B-CHINAARMF B-INNOTECHRMF B-INNOTECHSSF B-SIPRMF B-SIPSSF BF Knowledge Center Retirement
BF Knowledge Tips: ต้องลงทุนยังไง ถ้าอยากมีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 30,000 บาท
โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® สำหรับใครที่อยากจะเก็บเงิน อยากจะลงทุนเก็บไว้สำหรับใช้หลังเกษียณ แต่ไม่รู้ว่าจะต้องลงทุนเท่าไหร่ ใช้เวลานานแค่ไหน และต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ เพราะนับวันเงินเฟ้อยิ่งสูงทะลุทะลวงขึ้นไปทุกที ก็อย่าได้ตกอกตกใจกันไปค่ะ หากปัจจุบัน อายุเราอยู่ที่ 30 ปี คาดว่า หลังเกษียณใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท น่าจะพอใช้ (ถ้าใครอยากเพิ่มมากกว่านี้ ก็คำนวณตัวเลขเพิ่มได้ค่ะ) ก็มาลองคำนวณกันว่า ต้องมีเงินก้อนเท่าไหร่ ซึ่งมูลค่าเงินปัจจุบัน 30,000 บาทในวันนี้ อีก 30 ปี จะต้องใช้เงินเท่ากับ 73,705.27 บาท ถ้าคำนวณเป็นเงินก้อนใหญ่ที่ต้องมีตอนอายุ 60 ปี เท่ากับว่า ณ วันนั้น เราจะต้องมีเงินก้อนจำนวน 26,553,897.20 บาท จึงจะเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายหลังเกษียณไปอีก 30 ปี เรียกง่ายๆ ว่ามีเงินใช้เดือนละ 30,000 บาท ด้วยมูลค่าปัจจุบัน ไปจนถึงอายุ 90 […]
BF Knowledge Center Retirement
ทางออกของคนเกษียณยุคโควิด-19
โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ทำไม ต้องเกษียณปีนี้ด้วย!!! แย่แล้ว เงินที่สะสมมาทั้งหมด หดหายไปไหน? ทำยังไงดี ดูแล้วไม่น่าจะพอใช้? มีทางออกมั้ยกับคนสิ้นสุดรายได้ในปีนี้??? คำถามยอดฮิต สำหรับคนเกษียณปี 2020 ยุคโควิด–19 เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเจอะเจอ ทั้งๆ ที่ปีนี้ควรเป็นปีแห่งความสุข เป็นปีที่มีอิสรภาพทางการเงิน แต่กลับต้องมากลุ้ม กังวลใจ ห่วงทั้งรายได้ในปัจจุบัน ห่วงลูกหลานทั้งเรื่องงานเรื่องเงิน และยิ่งห่วงมากกว่านั้นคือเงินที่สะสมมาทั้งชีวิตจะเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณมั้ย จะพอใช้จ่ายไปได้อีกกี่ปี ที่ผ่านมาก็ไม่ค่อยมั่นใจมากนัก และยิ่งเจอเหตุการณ์แบบนี้ความมั่นใจในการใช้ชีวิตหลังเกษียณยิ่งน้อยลงไปกันใหญ่ คำแนะนำสำหรับผู้เกษียณปีนี้ และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาที่ส่งผลให้เงินสะสมลดน้อยลงไปอย่าตกใจ เพราะหากสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เงินที่สะสมไว้ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จะค่อยๆ ฟื้นตัว เนื่องจากตลาดหุ้นค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น อย่ารีบขายคืน หากยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเหล่านี้ สำหรับใครที่เกษียณปีนี้ และสามารถขายคืนหน่วยลงทุนจากกองทุนได้ แนะนำให้ขายแค่พอใช้ ส่วนที่เหลือให้ถือลงทุนต่อเพื่อรอสถานการณ์คลี่คลาย หรือใครอยากปรับสัดส่วนการลงทุนใหม่ในช่วงนี้ แนะนำให้ดูสัดส่วนการลงทุนเดิมที่เราลงทุนไว้ ว่ามีสัดส่วนการลงทุนในอะไร […]
BF Knowledge Center Retirement
อายุเท่าไหร่ถึงต้องเริ่มใส่ใจวางแผนเกษียณ
อายุเท่าไหร่ถึงต้องเริ่มใส่ใจวางแผนเกษียณ โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center เรื่องเกษียณ เป็นเรื่องที่ดูไกลตัวมากสำหรับคนที่เพิ่งออกจากรั้วมหาลัย และก้าวเข้าสู่รั้วมนุษย์เงินเดือน ยิ่งตอนได้รับเงินเดือนใหม่ๆ น้อยคนนักที่จะคิดถึงการลงทุนหรือการเก็บออมสำหรับเกษียณ มีแต่จะเตรียมซื้อรถ ซื้อทัวร์ กว่าจะฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าที่ผ่านมาใช้จ่ายเงินหมดไปกับสิ่งต่างๆ จนเลขในบัญชีแทบไม่เหลือ จะเหลืออยู่ก็คงเป็นเงินที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมเท่านั้น ใครโชคดีหน่อยก็มีเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่บ้าง น้อยคนนักที่จะสะสมเงินสำหรับการเกษียณอย่างจริงจัง พอตั้งสติได้จะเริ่มเก็บตังค์เข้าหน่อย สุขภาพก็เริ่มแย่ ต้องใช้เงินรักษาพยาบาลอีก สุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องยึดหลักธรรมทางศาสนา อยู่แบบประมาณตน เหลือแค่ไหนก็แค่นั้น คงพอประทังชีวิตหลังเกษียณไปได้ เมื่อก่อนไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไม่มีใครวางแผนเกษียณ แต่เดี๋ยวนี้บอกได้เลยว่าถ้าไม่วางแผนไว้ก่อนความลำบากจะมาเยือนอย่างแน่นอน เพราะคนไทยเป็นผู้โชคดีที่แก่ก่อนรวย แถมคนส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาลูกหลาน สำหรับคนไทยในยุคใหม่ก็อยู่เป็นโสดกันเยอะ ดังนั้น หากไม่มีลูกหลานที่จะพึ่งพาได้ และไม่อยากลำบาก คงต้องพึ่งตัวเองแล้ว ลองหันกลับมาคิดดูว่า ตอนนี้อายุเท่าไหร่ (ส่วนใหญ่จะเริ่มฉุกคิดกันได้ก็อยู่ที่หลักสี่ หรือไม่ก็ใก้ลแซยิดซะแล้ว) ดังนั้น ถ้าอยู่แถวหลักสี่ช่วงที่รถไม่ติดมาก ลองสำรวจดูว่าบริษัทที่เราทำงานอยู่ให้เราทำถึงอายุเท่าไหร่ ถ้าแค่ 55 […]
BF Knowledge Center Retirement RMF
ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน RMF ตอนที่ 1
ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน RMF ตอนที่ 1 โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ปัจจุบันการลดหย่อนภาษีสามารถทำได้ผ่านเครื่องมือการลงทุนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนประกันชีวิต การลงทุนซื้อบ้าน การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) ซึ่งหลายคนคงเคยได้ยินชื่อกองทุน RMF กันมาบ้าง แต่ยังไม่ตัดสินใจลงทุน เพราะทราบมาว่าเมื่อลงทุนแล้วต้องถือครองนานจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ ด้วยเงื่อนไขการลงทุนที่ต้องถือครองนานจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ทำให้นักลงทุนลังเลที่จะลงทุนในกองทุนรวม RMF แต่อีกมุมหนึ่งก็อยากแนะนำนักลงทุนว่า ในชีวิตของเราทุกคนล้วนที่เป้าหมายที่แตกต่างกันไป แต่เป้าหมายสำคัญที่ทุกคนควรต้องมีคือ “เกษียณสุข” โดยเป็นเป้าหมายใหญ่ที่ใช้เงินค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้องวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ และมีวินัยในการออม/ลงทุนที่เข้มข้น ซึ่งสอดคล้องกับเงื่อนไขการลงทุนกองทุนรวม RMF ที่ไม่ให้ขายคืนก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายที่แท้จริงคือ ลงทุนเพื่อเก็บไว้กินใช้ยามเกษียณ การลงทุนในกองทุนรวม RMF จึงเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ […]
BF Knowledge Center Retirement RMF
RMF อายุน้อยยิ่งต้องลงทุน
RMF อายุน้อยยิ่งต้องลงทุน โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center เมื่อกล่าวถึงกองทุนรวมลดหย่อนภาษี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF : Long Term Equity Fund) เพราะเงื่อนไขการลงทุนไม่ซับซ้อนยุ่งยาก อยากลดหย่อนภาษีในปีไหนก็ลงทุนเพื่อนำสิทธิมาใช้ในปีนั้น ในขณะที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) มักถูกมองข้ามไปเสมอ โดยเฉพาะจากผู้ลงทุนที่อายุยังน้อยและวัยเริ่มต้นทำงาน ด้วยความเชื่อที่ว่า “การลงทุนในกองทุนรวม RMF เป็นเรื่องของคนแก่ใกล้เกษียณ ถ้าเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อยจะต้องมีภาระผูกพันไปยันเกษียณตอนอายุ 55 ปีโน่นนน…” หากจะลงทุนควรไปเริ่มต้นช่วงอายุ 50 ปี เงินจะได้ไม่ต้องรอนาน สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ลงทุนไม่เลือกลงทุนในกองทุน RMF ก็คงเป็นเพราะเงื่อนไขการลงทุนที่ฟังๆ ดูแล้วรู้สึกว่า ยุ่ง-ยาก-เยอะแยะ ซึ่งโดยทั่วไปก็อาจจะคิดเช่นนั้นได้ แต่หากเราลองพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนรวม RMF ที่ต้องการให้เรามีเงินก้อนที่เพียงพอเพื่อไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ ประกอบกับข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ ที่บอกว่า […]
BF Knowledge Center Retirement Thailand Wealth
ใส่ใจสักนิด…กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ใส่ใจสักนิด…กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center เมื่อกล่าวถึง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)” เชื่อว่าพนักงานออฟฟิศหลายๆ คนคงรู้จักเป็นอย่างดีหรือไม่ก็น่าจะพอคุ้นหูกันมาบ้าง เพราะปัจจุบันหลายบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อสนับสนุนให้พนักงานมีเงินใช้ในวัยเกษียณ จึงเลือกใช้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาช่วยบริหารจัดการเงินให้ แต่ประเด็นคือ ยังมีพนักงานอยู่ส่วนหนึ่งที่ไม่เข้าใจประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทราบแต่ว่าทุกครั้งที่เงินเดือนออกจะถูกหักเอาไว้ก่อน คิดแล้วก็ตงิดๆ ในหัวใจ งินเดือนออกทั้งที อยากเอาไปใช้จ่ายเต็มๆ แต่โดนหักไปเสียก่อนทุกครั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น (คณะกรรมการกองทุนฯ) โดยเงินของกองทุนมาจาก “เงินที่ลูกจ้างจ่าย เรียกว่า เงินสะสม” และ “เงินที่นายจ้างจ่าย เรียกว่า เงินสมทบ” เงินทั้งสองส่วนนี้จะถูกนำไปบริหารจัดการภายใต้กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพตามนโยบายลงทุนที่คณะกรรมการกองทุนฯ เลือก ซึ่งนโยบายการลงทุนที่คณะกรรมการกองทุนฯ เลือกให้ ส่วนใหญ่เน้นที่ความเสี่ยงต่ำ เพราะคณะกรรมการกองทุนฯ ห่วงใยในเงินลงทุนว่าจะรับความเสี่ยงมากเกินไป รวมถึงเกรงว่า พนักงานบางส่วนอาจไม่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการลงทุน แต่ปัจจุบันบริษัทหลายแห่งได้เปิดโอกาสให้ลูกจ้าง สามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้ด้วยตัวเอง […]
อาชีพของคนไทยหลังเกษียณ (ตอนที่1)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center อายุของการเกษียณในสังคมไทย โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุ 60ปี ซึ่งด้วยวิทยาการทางการแพทย์ คนวัย 60 ยังคงแข็งแรง สมองยังคงสดใส ความจำยังดี และเป็นผู้มีไฟ อยากทำงาน แม้จะด้วยข้อจำกัดของระบบที่มีการกำหนดตัวเลขเกษียณชัดเจน เช่น 60ปี บางเดี๋ยวนี้องค์กรจำนวนมากก็มีการต่ออายุผู้เกษียณออกไป เนื่องจากยังคงเสียดายประสบการณ์และความรู้ของบุคคลเหล่านั้น แต่ก็จะเป็นลักษณะ case by case และก็มีองค์กรอีกมากที่มีผู้มีความรู้ความสามารถ แต่จำเป็นต้องให้เกษียณเพื่อเปิดโอกาศให้คนรุ่นถัดไปได้ขยับขึ้นตามความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เกษียณที่ยังมีไฟ ก็ยังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่สามารถทำได้ มีประโยชน์กับประเทศ กับสังคม รวมถึงยังมีความสามารถในการหารายได้ ประกอบอาชีพ โดยอาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมา ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับอาชีพที่ทำมาตลอดหรือไม่ก็ตาม อาชีพที่แนะนำไว้หารายได้สำหรับคนวัยเกษียณ อาจแบ่งได้เป็น 3 แบบ แบบที่ 1 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านวิชาชีพ งานที่เคยทำ ชัดเจน ง่ายๆ เราทำงานมาทั้งชีวิต ย่อมมีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ ในวัยที่ยังพอมีแรง […]
ทำความรู้จักช่วงวัยหลังเกษียณ (ตอนจบ)
By… เสกสรร โตวิวัฒน์, CFP BF Knowledge Center ช่วงวัยเกษียณจริง อายุ 70-79 ปี ช่วงวัยนี้ความสามารถในการหารายได้จะลดลงจนเกือบหมด ค่าใช้จ่ายสันทนาการจะลดลง แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตามปัญหาสุขภาพที่มีมากขึ้น โรคภัยที่มีอยู่จะแสดงอาการชัดเจนขึ้น และความสามารถต่างๆ ในการใช้ชีวิตจะลดลง ความแตกต่างด้านการใช้ชีวิตจะใกล้เคียงกันไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างเกษียณ หรืออาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ การทำกิจกรรมต่างๆ สำหรับวัยนี้ควรลดระดับลง ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเองให้มาก ควบคุมการบริโภค เน้นการรักษาสุขภาพมากขึ้น ช่วยเหลือตนเองในกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถ หากิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับตนเอง เช่น ใช้ชีวิตกับสังคมเพื่อนในหมู่บ้านเพื่อคลายเหงา เป็นต้น ช่วงสุดท้ายวัยเกษียณ อายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยชราภาพจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต จัดเป็นวัยพักผ่อนอย่างแท้จริง ซึ่งปัญหาสุขภาพจะแสดงออกอย่างชัดเจน ปัญหาด้านสุขภาพและสมอง การจดจำต่างๆ ลดลงอย่างเด่นชัด การทำกิจกรรมต่างๆ ต้องอาศัยผู้อื่นช่วยเหลือเป็นส่วนใหญ่ การใช้จ่ายด้านการเงินจะเป็นเรื่องสุขภาพเกือบทั้งหมด สำหรับผู้ชราภาพมากๆ จำเป็นต้องมีผู้คอยดูแล หากมีครอบครัวลูกหลานช่วยเหลือจะลดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายไปได้มาก การเตรียมพร้อมด้านการเงินช่วงสุดท้ายนี้จึงจะต้องเตรียมไว้สำหรับเรื่องสุขภาพเป็นหลัก แม้ว่าการวางแผนชีวิตตั้งแต่เริ่มเกษียณไปจนถึงช่วงสุดท้ายตั้งแต่วันนี้จะเป็นการกำหนดสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันห่างไกล […]
Investment Personal Finance Retirement Senior
ทำความรู้จักช่วงวัยหลังเกษียณ (ตอนที่ 1)
By… เสกสรร โตวิวัฒน์, CFP BF Knowledge Center หากเราจะแบ่งช่วงอายุในวัยเกษียณแบบคร่าวๆ โดยใช้ระยะเวลาและความสามารถในการใช้ชีวิตเป็นเครื่องกำหนดเบื้องต้นก็แบ่งได้เช่น ช่วงเริ่มต้นเกษียณ อายุ 60-69 ปี ช่วงวัยเกษียณจริง อายุ 70-79 ปี และช่วงสุดท้ายวัยเกษียณ อายุ 80 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ช่วงอายุต่างๆ เป็นเพียงตัวเลขกำหนดคร่าวๆ ขึ้นเป็นตัวอย่างเพื่อประเมินกิจกรรมการใช้ชีวิต โดยการประเมินแต่ละช่วงอายุจะขึ้นกับสุขภาพ อายุขัยของบรรพบุรุษในครอบครัว และผลพวงจากการการดำรงชีพที่สั่งสมมาของแต่ละคนเป็นสำคัญ ช่วงเริ่มต้นเกษียณ อายุ 60-69 ปี ในช่วงวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนช่วงก่อนเกษียณ เป็นวัยที่ยังคงมีพลัง เชื่อในความสามารถของตนเองในการทำสิ่งต่างๆ เหมือนก่อนเกษียณ ในวัยนี้ ผู้ประกอบกิจการส่วนตัวหรือผู้มีอาชีพอิสระ อาจจะมีความแตกต่างในการใช้ชีวิตก่อนและหลังเกษียณน้อย เพราะยังทำงานไปเรื่อยๆ ได้ แม้จะลดระยะเวลาการทำงานลง แต่ ข้าราชการ พนักงาน กับ ลูกจ้าง จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการใช้ชีวิตค่อนข้างมาก จากที่ต้องทำงานเต็มเวลา อาจจะกลายเป็นคนว่างงาน […]
การลงทุนที่เหมาะสมสำหรับวัยเกษียณ
By… เสกสรร โตวิวัฒน์, CFP BF Knowledge Center การออมการลงทุนในวัยนี้ จำเป็นต้องจัดสรรเงินด้วยความระมัดระวัง แบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ ต้องไม่ลงทุนเกินความเสี่ยงที่รับได้ และสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ พอร์ตการออมการลงทุนของคนวัยเกษียณ มีหลักการสำคัญที่ใช้ได้ทั่วไป คือ ควรเป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับต่ำหรือปานกลางถึงต่ำ เพื่อบรรเทาปัญหาหากพอร์ตการลงทุนเกิดความเสียหาย การลงทุนสำหรับวัยหลังเกษียณ ควรมีเป้าหมายให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ เพื่อรักษามูลค่าของเงินในกระเป๋าไม่ให้เสื่อมค่าลง รวมถึงให้จัดสรรไปลงทุนในรูปแบบที่ได้รับผลตอบแทนแบบสม่ำเสมอจากการลงทุนเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ลดการดึงเงินต้นออกมาใช้ให้มากที่สุด เช่น เงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้ต่างๆ เช่นหุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล กองทุนตราสารหนี้ที่จ่ายเงินคืนระหว่างการลงทุน กองทุนหุ้นที่จ่ายปันผล กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ เป็นต้น พอร์ตเงินออมส่วนใหญ่ควรเน้นที่การซื้อกองทุนตราสารหนี้ ซื้อหุ้นกู้ พันธบัตร หรือฝากธนาคาร เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำ ส่วนการลงทุนในหุ้น กองทุนหุ้น ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า สามารถทำได้โดยแบ่งส่วนในพอร์ตให้ชัดเจนออกมาจากพอร์ตการออมความเสี่ยงต่ำ ว่านี่คือส่วนที่ต้องการผลตอบแทนสูงขึ้น ตัวอย่างสัดส่วนการลงทุนที่แนะนำสำหรับวัยเกษียณ เช่น เงินฝาก หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล […]