Oxfam คาดการณ์มีนับล้านคนทั่วโลกฐานะตกไปอยู่ในระดับความยากจนสูงสุด
Oxfam องค์กรการกุศล เผยแพร่สถิติใหม่ที่จัดทำออกมา โดยชี้ว่า มีมหาเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นทุกๆ 30 ชั่วโมง ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด แล้วก็มีคนกว่าล้านคนที่สถานะปรับลดลงไปสู่ความยากจนระดับสูงสุดในอัตราเดียวกันในปี 2022 ทั้งนี้ องค์กรการกุศล เผยแพร่ข้อมูลในเวทีประชุมสภาเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยชี้ว่า ณ เดือนมีนาคม 2022 ทั่วโลกมีมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นมากกว่า 573 คน เมื่อเทียบกับปี 2020 ในช่วงที่การแพร่ระบาดเริ่มต้น ซึ่งก็เท่ากับทุกๆ 30 ชั่วโมงจะมีมหาเศรษฐีใหม่เกิดขึ้น 1 คน ขณะเดียวกัน ในรายงานคาดการณ์ว่า มีคน 263 ล้านคนทั่วโลก ที่กำลังตกอยู่ในสถานะยากจนสูงสุดในปี 2022 เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ความไม่เท่าเทียมในโลกที่เพิ่มขึ้น และราคาอาหารที่สูงขึ้น ซึ่งก็เป็นความเลวร้ายที่ตามมาจากสงครามในยูเครน นั่นหมายความว่าในทุกๆ 33 ชั่วโมง มีคนที่สถานะปรับลดลงไปสู่กลุ่มที่มีความยากจนสูงสุด 1 ล้านคนนั่นเอง Oxfam ชี้ว่า มหาเศรษฐีสะสมความมั่งคั่งรวมกัน 12.7 […]
ESG Morning Brief Sustainability
อุณหภูมิโลกมีโอกาสผ่านจุดชี้ชะตาสำคัญร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสได้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า
ผลการศึกษาใหม่ที่พยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จัดทำโดย U.K. Met Office ชี้ว่า มีโอกาส 50% ที่ภายใน 5 ปีข้างหน้า โลกเราจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับเกณฑ์ความร้อนสำคัญของโลก ที่ได้มีการตั้งเป้าหมายกันไว้ว่า จะพยายามทำให้โลกไม่ร้อนขึ้นเกินระดับนี้ เมื่อปี 2015 นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ เคยกล่าวว่า มีโอกาส 0% ที่อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับอุณหภูมิในยุคก่อนอุตสาหกรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ว่าแนวโน้มที่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นระดับนี้ กลับเพิ่มขึ้นเป็น 10% ระหว่างปี 2017-2021 และล่าสุดก็ไต่ระดับขึ้นมาเข้าใกล้ 50% สำหรับปี 2022-2026 ความเป็นไปได้นี้เกิดขึ้นเพียงไม่นาน หลังจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (IPCC) ออกมาเตือนว่า เราต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ IPCC เรียกร้องให้มีการลดใช้พลังงานฟอสซิลเพื่อควบคุมความร้อนของโลก โดยปัจจุบันโลกเราร้อนขึ้นมา 1.1 […]
สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะทำให้ไวรัส 4,000 สายพันธุ์แพร่ระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ภายในปี 2070
การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการแพร่กระจายไวรัส 4,000 สายพันธุ์ ระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ภายในปี 2070 จากข้อมูลผลศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ออกมา พบว่า ปัญหาโลกร้อนจะเป็นตัวผลักดันที่ทำให้มีไวรัสกว่า 4,000 สายพันธุ์ แพร่ระบาดระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่มนุษย์ด้วย ภายในปี 2070 นี้ ปัญหาโลกร้อนจะทำให้สัตว์ต่างๆ อพยพจากพื้นที่ที่มีสภาพอากาศร้อนขึ้น และบังคับให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน ส่งผลให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นตามมา ไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาด ก็มีสาเหตุหนึ่งมาจากแนวโน้มว่าจะเกิดจากการแพร่เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งมาจากค้างคาวเกือกม้าในเอเชียสู่มนุษย์ อย่างไรก็ตาม Greg Albery นักวิจัยที่ Wissenschaftskolleg zu Berlin ซึ่งเป็นผู้ร่วมการศึกษาครั้งนี้ ชี้ว่า การเพิ่มขึ้นของไวรัส 4,000 สายพันธุ์ ที่เกิดจากไวรัสข้ามสายพันธุ์ระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกันนั้น ไม่ได้หมายความว่า จะมีการระบาดใหญ่แบบโควิด-19 อีก 4,000 ครั้ง เพียงแต่มีโอกาสที่จะส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์และอาจจะส่งผลมาถึงมนุษย์ด้วย ซึ่งก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นข่าวร้ายสำหรับสุขภาพของระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบนี้ ทั้งนี้ ค้างคาวก็เป็นสัตว์ที่จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัส เพราะพวกมันบิน โดยพบว่า 90% […]
ยุโรปกำลังเจอความท้าทายจากการขาดแร่ธาตุเพื่อเป้าหมายลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2050
สหภาพยุโรป กำลังได้รับความเสียหายจากการขาดแคลนลิเธียม ธาตุหายาก และโลหะอื่นๆ ที่มีความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน แต่การรีไซเคิลจะช่วยอุดช่องว่างได้ตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไปเท่านั้น ประเด็นการขาดแคลนแร่ธาตุที่จำเป็นของสหภาพยุโรปนี้ยิ่งมีความรุนแรงขึ้น หลังจากสหภาพยุโรปพยายามพึ่งพารัสเซียน้อยลงด้านพลังงาน ตามผลการศึกษาของ Eurometaux ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่มอุตสาหกรรม “การเปลี่ยนผ่านพลังงานโลกกำลังเกิดรวดเร็วขึ้นกว่าโครงการขุดทองแดง โคบอลต์ ลิเธียม นิกเกิล และแร่ธาตุหายาก ซึ่งล้วนทำให้เกิดความเสี่ยงด้านอุปสงค์หยุดชะงักระหว่างนี้ไปจนถึงปี 2035 สหภาพยุโรปวางเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งจำเป็นต้องใช้โลหะและแร่ธาตุเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและกังหันลม ผลการศึกษาชี้ว่า สหภาพยุโรปจำเป็นต้องใช้ลิเธียมเพิ่มขึ้น 35 เท่า และแร่ธาตุหายาก 7-26 เท่า ภายในปี 2050 เพื่อใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และมอเตอร์ ซึ่งยุโรปต้องเร่งตัดสินใจเร่งด่วนว่าจะปิดช่องว่างด้านอุปทานนี้ยังไง ทั้งนี้ จีนและอินโดนีเซียใช้พลังงานถ่านหินในการผลิตโลหะ ซึ่งจะครองการเติบโตของกำลังการผลิตการหลั่นโลหะแบตเตอรี่และแร่ธาตุหายาก ในขณะที่ยุโรปยังพึ่งพาอลูมิเนียม นิกเกิล และทองแดง จากรัสเซียอยู่ การรีไซเคิลจะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนได้ แต่ทำได้ตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไป เท่านั้น เมื่อมีวัตถุดิบเหลือจากยานพาหนะที่ถูกทิ้งหรืออุปกรณ์อื่น เช่น กังหันลม […]
ปี 2021 เป็นปีที่ดีต่อเนื่องของการติดตั้งพลังงานลม
สภาพลังงานลมโลก (Global Wind Energy Council : GWEC) ออกรายงานฉบับใหม่มาว่า ในปี 2021 เป็นปีที่ดีต่อเนื่องปีที่ 2 ของกลุ่มพลังงานลม แต่ในเรื่องการติดตั้งยังจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคตข้างหน้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ รายงานฉบับนี้ ระบุว่า ปี 2021 มีการติดตั้งพลังงานลมกำลังการผลิตรวม 93.6 กิกะวัตต์ ต่ำกว่าในปี 2020 ซึ่งอยู่ที่ 95.3 กิกะวัตต์ ขณะที่กำลังผลิตสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 837 กิกะวัตต์ โดยกำลังการผลิตหมายถึงกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่สามารถผลิตได้ ไม่ได้บ่งบอกถึงความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ต้องผลิต ทั้งนี้ พลังงานลมนอกชายฝั่ง ติดตั้งไปทั้งหมด 21.1 กิกะวัตต์ ในปี 2021 ซึ่งถือเป็นปีที่ดีที่สุด ส่วนการติดตั้งพลังงานลมบนบกอยู่ที่ 72.5 กิกะวัตต์ ในปี 2021 เทียบกับ 88.4 กิกะวัตต์ ในปี 2020 […]
สตาร์ทอัพที่ Google สนับสนุน เปิดตัวเครื่องมือติดตามการปล่อยคาร์บอน
Normative บริษัทสตาร์ทอัพสวีเดนที่มี Google เป็นผู้สนับสนุน เปิดตัวเครื่องมือติดตามการปล่อยคาร์บอนในเวอร์ชันใช้งานแบบไม่มีค่าใช้จ่าย หลังจากบริษัทต่างๆ ทั่วโลกพยายามที่จะหาวิธีวัดว่าตัวเองจัดการกับรอยเท้าด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง เครื่องมือคำนวณคาร์บอนนี้ถูกออกแบบมาสำหรับธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็ก โดยมีพื้นฐานมาจากสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้หลังจากใส่ข้อมูลบางส่วนลงไปในแบบฟอร์มแล้ว อย่างไรก็ตาม Normative มีการจัดทำเครื่องมือนี้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อขายให้ธุรกิจขนาดใหญ่ด้วย การเผาไม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่นำไปสู่วิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศ โดยโลกเราตั้งเป้าหมายที่จะเป็นอิสระจากการพึ่งพาแหล่งพลังงานอย่างน้ำมันและก๊าซมากขึ้นในทศวรรษข้างหน้า ขณะที่ผู้นำและซีอีโอระดับโลกต่างก็ออกมาโน้มน้าวให้พวกเรามุ่งมั่นกับสิ่งที่เรียกว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs คิดเป็น 95% ของธุรกิจทั่วโลก ตามข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) โดยธุรกิจเหล่านี้ส่วนมากจะมีบทบาทในการเชื่อมโยงกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรขนาดใหญ่ Kristian Ronn ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Normative กล่าวว่า เราต้องทำตั้งแต่ตอนนี้ เรื่องสภาพภูมิอากาศไม่สามารถรอให้เราพร้อมได้ ดังนั้นเราต้องการวัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและทำให้ทุกคนเข้าถึงการร่วมแข่งขันในการไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ได้ ทั้งนี้ มีผู้ร่วมงานจำนวนหลายสิบคนจาก Google.org ซึ่งเป็นหน่วยงานการกุศลของ Google ที่เข้ามาช่วยเหลือในการสร้างเครื่องคำนวณการปล่อยคาร์บอนสำหรับใช้งานฟรีนี้ โดยมีทั้งวิศวกรซอฟต์แวร์ นักออกแบบที่คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UX) และผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาสนับสนุน Normative เต็มเวลา ในช่วงเวลา 6 เดือน ขณะเดียวกัน Google ยังเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่เข้าลงทุนในบริษัท […]
เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนทำให้ต้นทุนเพิ่ม แต่ผู้บริโภคก็ต้องเต็มใจจ่ายให้สิ่งนี้
Willie Walsh ผู้อำนวยการ สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ประเด็นเรื่องความยั่งยืนทางเชื้อเพลิงการบินเป็นความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับปริมาณการใช้นงานมากกว่าสายการบินต้องการที่จะใช้ยังไง และผู้บริโภคจะต้องเต็มใจที่จะจ่ายต้นทุนที่เพิ่มขึ้นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ทั้งนี้ พบว่า ภาคการบินมีการใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืนไป 100 ล้านลิตร ในปี 2021 ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมดที่อุตสาหกรรมนี้ต้องการ เมื่อมองไปข้างหน้าสายการบินมีการสั่งเชื้อเพลิง 14,000 ล้านลิตรจากเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน ซึ่งความท้าทายก็คือสายการบินจะซื้อผลิตภัณฑ์นี้ได้หรือไม่ Walsh กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับราคาเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนก็คือ มีราคาแพงกว่าราคาน้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่น 2 เท่าครึ่ง แต่เมื่อมีปัจจัยเรื่องต้นทุนคาร์บอนเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ทำให้ต้องมองหาเชื้อเพลิงนี้แม้จะมีราคาแพงกว่าเกิน 2 เท่าตัว IATA คาดการณ์ว่า จะเห็นการผลิตเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนแตะระดับ 7,900 ล้านลิตร ภายในปี 2025 ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการได้เพียง 2% ของความต้องการเชื้อเพลิงทั้งหมดเท่านั้น อย่างไรก็ตามกลางศตวรรษ (ปี 2050) สมาคมฯ คาดการณ์ว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดไปเป็น 449,000 ล้านลิตร หรือ 65% […]
Bill Gates ย้ำธุรกิจต้องเข้าร่วมต่อสู้กับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน
Bill Gate ออกมาเน้นย้ำว่า เป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับธุรกิจที่จะต้องยกระดับการมีส่วนร่วมต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เขา กล่าวผ่านออนไลน์ในโอกาสร่วมงานประชุมว่า การสนับสนุนและการลงทุนของภาคเอกชนจะทำให้เทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมใช้งานได้กว้างขวางขึ้น โดยการพัฒนาในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจับอากาศโดยตรง และพลังงานสะอาดในเชื้อเพลิงของเครื่องบินนั้นมีอยู่แล้ว แต่ธุรกิจต้องช่วยสร้าง รวมทั้งเข้าไปเป็นลูกค้าของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เพื่อทำให้มีราคาที่เข้าถึงได้มากขึ้น Gate ซึ่งจัดตั้งบริษัท Breakthrough Energy ลงทุนในเทคโนโลยีที่ยั่งยืน กล่าวว่า ในที่สุดแล้วสิ่งเหล่านี้ก็จะมาสู่เศรษฐกิจ ดังนั้นเราต้องทำให้สิ่งเหล่านี้ไปได้ไกลมากขึ้นในเชิงเศรษฐกิจ โดยการจับคู่เทคโนโลยีใหม่กับบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีทักษะในการสร้างสิ่งต่างๆ ในวงกว้าง เป็นเรื่องเร่งด่วน ที่มา : CNBC
กองทุนด้านสภาพภูมิอากาศของ Bill Gates วางแผนลงทุน 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเทคโนโลยีสะอาด
Breakthrough Energy Catalyst (BEC) ซึ่งเป็นกองทุนของเอกชนและสาธารณะที่ได้รับการสนับสนุนจาก Bill Gates มหาเศรษฐีเจ้าของ Microsoft รายงานว่ามีแผนจะลงทุนไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโครงการเทคโนโลยีสะอาดทั่วสหรัฐฯ อังกฤษ และสหภาพยุโรป ทั้งนี้ BEC เป็นกองทุนที่อยู่ภายใต้กลุ่ม Breakthrough Energy Group ที่ก่อตั้งโดย Gates ในปี 2015 ระดมทุนไปแล้วกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากภาคธุรกิจและองค์กรการกุศล แต่ Jonah Goldman กรรมการผู้จัดการ BEC กล่าวกับ Financial Times ว่า กองทุนนี้มีแผนที่จะลงทุน 10 เท่า หรือ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Goldman กล่าวว่า กองทุนนี้มีแผนใช้โครงสร้างทางการเงินที่มีนวัตกรรมและข้อตกลงเป็นพันธมิตร โดยเราเป็นแหล่งให้เงินทุนในระยะสุดท้าย ดังนั้นเราจึงเป็นเงินทุนที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด ซึ่งเรากำลังพยายามแสดงให้เห็นว่าเส้นทางเทคโนโลยีไหนจะมีประสิทธิภาพที่สุด […]
Japan Morning Brief Sustainability
โรงไฟฟ้าถ่านหินญี่ปุ่นเดินหน้าผสมแอมโมเนียในการผลิต เพื่อเป้าหมายลดปล่อยคาร์บอน
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ญี่ปุ่นเพิ่มความพยายามขยายอายุการใช้โรงงานไฟฟ้าถ่านหินออกไปผ่านโครงการเพิ่มแอมโมเนียคาร์บอนต่ำเข้าไปเป็นส่วนผสมของเชื้อเพลิง โดยมีเป้าหมายเพื่อความมั่นคงในการจัดหาพลังงานและการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ประเทศอันดับ 5 ของโลกในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างญี่ปุ่น ตั้งใจใช้แอมโมเนียเป็นเชื้อเพลิงเพื่อไปถึงเป้าหมายปี 2050 ที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ และเพื่อบรรเทาแรงกดดันจากอังกฤษกับประเทศอื่นๆ ในประเด็นการเลิกใช้ถ่านหิน ในการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของโลก COP26 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นแล้วในเมืองกลาสโลว์ โดยญี่ปุ่นให้คำมั่นว่าจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่ญี่ปุ่นพึ่งพาพลังงานถ่านหินและก๊าซมากขึ้น ตั้งแต่ปี 2011 ที่เกิดภัยพิบัติกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ทำให้อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์เผชิญวิกฤติ ญี่ปุ่นมีความหวังอย่างสูงว่าจะบุกเบิกเส้นทางใหม่เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานถ่านหินได้ ซึ่งหากทำได้ก็จะสามารถนำไปปรับใช้ได้ในประเทศอื่นๆ ด้วย เมื่อช่วงต้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา JERA ซึ่งเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้แอมโมเนียส่วนน้อยในการผสมเข้าไปในสถานีไฟฟ้า Hekinan 4.1 กิกะวัตต์ ในเมืองไอจิ ซึ่งเมืองนี้อยู่ตอนกลางของญี่ปุ่น เป็นที่ตั้งของบริษัท Toyota Motor Corp แอมโมเนียส่วนใหญ่จะทำจากไฮโดรเจนที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติและไนโตรเจนจากอากาศ ซึ่งจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เวลาเผาไหม้ แต่ในกระบวนการผลิตก็อาจสร้างมลภาวะได้ถ้าใช้ร่วมกับเชื้อเพลิงฟอสซิล โครงการของโรงไฟฟ้า Hekinan มีเป้าหมายจะใช้แอมโมเนีย 20% ต่อการผลิตไฟฟ้า 1 […]