GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง

GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง

BF Economic Research GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของเอกชนไทย ขยายตัว 4.6% YoY (vs prev 5.4% YoY) โดยสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการดำเนินโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย โดยเฉพาะในส่วนของวงเงิน ค่าซื้อสินค้าอุปโภคที่จำเป็นในไตรมาสนี้ การใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าคงทน โดยเฉพาะการใช้จ่ายในการซื้อยานพาหนะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง กลุ่มสินค้าไม่คงทนขยายตัวดีทั้งในหมวดอาหารและสินค้าไม่คงทนอื่นๆ แต่กลุ่มสินค้ากึ่งคงทนและบริการสุทธิชะลอลง รายจ่ายรัฐบาล ขยายตัว 3.3% YoY vs prev 1.4% YoY หนุนจากรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการของรัฐขยายตัว 5.6% YoY และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมขยายตัว 5.0 % YoY การลงทุน การลงทุนรวม ขยายตัว 3.2% YoY vs […]

ผลสำรวจผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนมองเศรษฐกิจไทยปีนี้โต 3-4%

ผลสำรวจผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนมองเศรษฐกิจไทยปีนี้โต 3-4%

น.ส. สุมิตรา ตั้งสมวรพงษ์ ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นำเสนอ “ผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน เกี่ยวกับมุมมองเศรษฐกิจ 6 เดือนแรกของปีนี้ โดยระบุว่า ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO) คาดว่าเศรษฐกิจไทย 6 เดือนแรกของปี 2019 จะเติบโตในระดับใกล้เคียงกับครึ่งหลังปี 2018 หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดย 74% ของ CEO คาดว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ จะเติบโต 3- 4% มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายภาครัฐ เป็นสำคัญ ส่วนสถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ขณะที่สถานการณ์การเมืองในประเทศและกำลังซื้อภายในประเทศจะเป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ 82% ของ CEO มองว่า ความคืบหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายใต้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย เช่นเดียวกับที่สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศปลดใบเหลืองการทำประมงที่ผิดกฎหมายและไร้ระเบียบที่ CEO ส่วนใหญ่คาดว่าจะส่งผลดีกับเศรษฐกิจไทย แต่นโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐ […]

ครม. ต่ออายุยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า อีก 6 เดือน

ครม. ต่ออายุยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า อีก 6 เดือน

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ต่ออายุมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา (วีซ่า) ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival : VOA) สำหรับคนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นเวลาไม่เกิน 15 วัน นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ครม. เห็นชอบให้ต่ออายุมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าจากปกติจะเก็บอัตราค่าธรรมเนียมประเภทนักท่องเที่ยวชนิดใช้ได้ครั้งเดียว จำนวน 2,000 บาทต่อคน โดยขยายระยะเวลายกเว้นออกไปอีก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ค.-31 ต.ค. 2019 จากเดิมมาตรการจะหมดอายุในวันที่ 30 เม.ย.นี้ การยกเว้นค่าธรรมเนียมที่ผ่านมาพบว่าตามด่านทั้ง 5 แห่ง คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ และ หาดใหญ่ ในช่วง 15 พ.ย.-31 มี.ค. ของปี […]

GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 3.7% ทั้งปี 4.1%

GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 3.7% ทั้งปี 4.1%

BF Economic Research GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว +3.7% YoY (prev. +3.3% YoY) หรือเมื่อเทียบรายไตรมาสขยายตัว +0.8% QoQ sa พลิกกลับมาบวกจากไตรมาสก่อนหน้าที่ -0.3% QoQ sa ทำให้ GDP ทั้งปี 2018 ขยายตัวที่ +4.1% จากปีก่อนที่ +3.9% และสูงเหนือค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ +3.1% ในด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชน (55% ของ GDP) ขยายตัว +5.3% YoY จากไตรมาก่อนที่ +5.2% YoY หนุนโดยการใช้สินเชื่อส่วนบุคคล การดำเนินมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อย และยอดขายรถยนต์ การลงทุน (25% ของ GDP) […]

ธปท. เปิดแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ปี 2019-2021

ธปท. เปิดแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ปี 2019-2021

ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดผยว่า แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 4 (ปี 2019-2021) มุ่งสร้างระบบนิเวศน์ หรือ Ecosystem ให้ระบบการชำระเงินดิจิทัล เป็นทางเลือกหลักของการชำระเงิน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและบริการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ราคาถูก และตรงความต้องการของผู้ใช้ทั้งประชาชน ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และโซเชียล คอมเมิร์ซ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มอี และธุรกิจขนาดใหญ่ ตลอดจนขยายการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ  โดย ธปท. จะร่วมกับสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการชำระเงิน และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันมาตรการต่างๆ ให้บรรลุผล สำหรับกรอบการพัฒนามี 5 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้ได้มาตรฐานพร้อมเชื่อมโยง  (2) การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการชำระเงิน โดยพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ (3) การส่งเสริมการเข้าถึงและใช้บริการชำระเงินโดยขยายการใช้ระบบการชำระเงินดิจิทัล และความรู้ความเข้าใจในทุกภาคส่วน (4) การกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้นกันพร้อมรับมือภัยไซเบอร์และคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม (5) การพัฒนาข้อมูลชำระเงิน โดยเชื่อมโยงข้อมูลการชำระเงินอย่างบูรณาการและพัฒนาการวิเคราะห์เชิงลึก […]

ก.ล.ต. เตรียมจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ก.ล.ต. เตรียมจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์จัดตั้ง “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” รองรับการยกเว้นภาษีการลงทุนตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมดังกล่าว ช่วยส่งเสริมการออมเงินเพื่อเกษียณอายุของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สืบเนื่องจากกรมสรรพากรอยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2018 และคาดว่าจะมีผลใช้บังคับกลางปี 2019 ซึ่งจะส่งผลให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมมีภาระภาษีตามไปด้วย ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหากลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงยังคงได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน กระทรวงการคลังจะเสนอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ “กองทุนรวม” ที่มีผู้ถือหน่วยเฉพาะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว ก.ล.ต. มีแผนที่จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อรองรับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีข้อกำหนด อาทิ ผู้ถือหน่วยต้องเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น ยกเว้นจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนขั้นต่ำที่กำหนดไว้อย่างน้อย 35 ราย ไม่เป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) การรับชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนสามารถใช้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินแทนเงินสดได้ อนึ่ง ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th/hearing ผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2033-9660 หรือทาง […]

GDP จีนและส่งออกไทยแย่ทั้งคู่

GDP จีนและส่งออกไทยแย่ทั้งคู่

BF Economic Research จีน: GDP ไตรมาส 4/2018 ขยายตัว +6.4% YoY (จาก +6.5% YoY ในไตรมาสก่อน) ทั้งปี 2018 ขยายตัว +6.6% YoY ปัจจัยที่มีผลให้ GDP จีนชะลอลงมาจากกลุ่มการผลิตและภาคบริการที่ชะลอลง ส่วนตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือน ธ.ค. นั้นภาคการผลิตออกมาสูงกว่าคาดส่วนการบริโภค ขณะที่การลงทุนขยายตัวต่ำกว่าที่คาด o    ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ธ.ค. ฟื้นตัวขึ้นเป็น +5.7% YoY จาก +5.4% YoY ในเดือนก่อน โดยผลผลิตในกลุ่มพลังงานไฟฟ้าได้เร่งตัวขึ้นแรง (+6.2% YoY vs. +3.6% เดือนก่อน) o    ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือน […]

หุ้นไทยวันทำการสุดท้ายของปี 2018 ปิดที่ 1,563.88 จุด

หุ้นไทยวันทำการสุดท้ายของปี 2018 ปิดที่ 1,563.88 จุด

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (28 ธ.ค. 2018) ซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของปี ที่ระดับ 1,563.88 จุด เพิ่มขึ้น 15.51 จุด หรือ +1% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,564.02 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,549.70 จุด มูลค่าการซื้อขาย 38,223.65 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.GULF ปิดที่ 81.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.75 บาท (+4.82%) มูลค่าการซื้อขาย 1,888.50 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 46.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท (+1.10%) มูลค่าการซื้อขาย 1,878.25 ลบ. […]

ธปท.เผยผลศึกษาข้อมูลการใช้ไฟฟ้าสะท้อนว่าคนซื้ออาคารชุดเพื่ออยู่อาศัยจริงสูง

ธปท.เผยผลศึกษาข้อมูลการใช้ไฟฟ้าสะท้อนว่าคนซื้ออาคารชุดเพื่ออยู่อาศัยจริงสูง

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เผยแพร่รายงานเรื่อง “การเข้าอยู่อาศัยห้องชุดคอนโดมิเนียมจากข้อมูลการใช้ไฟฟ้า” ซึ่งจัดทำโดย จิตติมา ดำมี และคุณทิพย์ ตรงธรรมกิจ โดยงานศึกษานี้ได้ใช้ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าของมิเตอร์รายเดือน มาจัดทำเป็นเครื่องชี้อัตราการอยู่อาศัย ได้ข้อสรุปว่า ข้อมูลไฟฟ้ามีศักยภาพนำมาใช้เป็นเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจ เพื่อประเมินภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้จริง และเมื่อใช้ข้อมูลไฟฟ้าผสมผสานกับเครื่องชี้อื่น ยิ่งช่วยให้การวิเคราะห์ถูกต้อง ครอบคลุม และรอบด้านมากขึ้น สำหรับประเด็นที่สรุปได้คือ ภาพรวมอุปสงค์การซื้ออาคารชุดเพื่ออยู่อาศัยจริงอยู่ในระดับสูง สะท้อนจากเครื่องชี้อัตราการอยู่อาศัยจากข้อมูลไฟฟ้าของอาคารชุดในพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ พบว่า มีผู้เข้าอยู่อาศัยสูงกว่า 70% แม้บางพื้นที่มีอัตราอยู่อาศัยต่ำ ขณะที่ห้องชุดใหม่ที่เปิดตั้งแต่ปี 2013-2017 มีทิศทางการอยู่อาศัยดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนห้องชุดที่เปิดก่อนปี 2012 แม้การอยู่อาศัยมีแนวโน้มลดลง แต่อัตราการอยู่อาศัยยังสูง อยู่ที่ 80-85% นอกจากนี้ผู้ใช้ไฟส่วนใหญ่ซื้อห้องชุดเพียงห้องเดียว สะท้อนได้ว่าผู้ใช้ไฟดังกล่าว ส่วนใหญ่มีอุปสงค์ในอาคารชุดเพื่อการอยู่อาศัยจริง และเมื่อพิจารณาร่วมกับเครื่องชี้อื่นที่ ธปท. ติดตามอยู่เป็นประจำ พบว่า ภาพรวมข้อมูลอุปทานคงค้าง และข้อมูลระยะเวลาขายหมดมีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับทิศทางการอยู่อาศัยที่ปรับดีขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ห้องชุดที่การเข้าอยู่อาศัยมีระดับต่ำหรือว่างเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เป็นห้องชุดราคาต่ำถึงปานกลางของผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง อาจเป็นเพราะซื้อเพื่อลงทุนหรือสะสมความมั่งคั่ง แต่จำนวนห้องกลุ่มนี้มีไม่มากนัก

ส่งออกไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 21,237 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -0.95% YoY (prev 8.7 % YoY)

ส่งออกไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 21,237 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -0.95% YoY (prev 8.7 % YoY)

BF Economic Research ส่งออกไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 21,237 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -0.95% YoY (prev 8.7 % YoY) หดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนก.พ. 2017 นำเข้าไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 22,415 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 22,038 ล้านดอลลาร์ฯ) ขยายตัว 14.66% YoY (prev. 11.20% YoY) ดุลการค้าเดือนพ.ย. ขาดดุล -1,177.8 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. -279.6 ล้านดอลลาร์ฯ) YTD (ตัวเลข 11 เดือน) ส่งออกไทยอยู่ที่ 232,725.0 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 7.29% AoA ส่วนนำเข้าไทยอยู่ที่ 231,343.9 ล้านดอลลาร์ฯขยายตัว […]