ไทยเผชิญความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งมากขึ้น

ไทยเผชิญความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งมากขึ้น

รายงานความมั่งคั่งและการถือครองทรัพย์สินปี 2018 (CS Global Wealth Report 2018) ระบุว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำทางด้านความมั่งคั่งและการถือครองทรัพย์สินสูงที่สุดในโลก โดยข้อมูลล่าสุดถูกรวบรวมเรียบเรียงจากหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจของไทยแล้วนำไปวิเคราะห์และวิจัย ระบุว่า คนไทยเพียง 1% ถือครองทรัพย์สินและความมั่งคั่งถึง 66.9% และยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงสองปีที่ผ่านมา ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึง กรณีรายงานความมั่งคั่งและการถือครองทรัพย์สินปี 2018 ว่า มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำทางด้านความมั่งคั่งและการถือครองทรัพย์สินสูงที่สุดในโลก และยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงสองปีที่ผ่านมาอีก โดยสถาบันการเงินเครดิตสวิส ได้เคยออกรายงานความมั่งคั่งของโลก ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับ 3 ของโลก คนรวย ที่มีสัดส่วน 1% ของประชากร ครอบครองความมั่งคั่งสูงถึง 58% ของระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ข้อมูลของโครงสร้างเงินฝากในระบบสถาบันการเงินยังพบว่า คนรวย 0.1% หรือ 65,000 คน จากประชากรทั้งหมด 65 […]

ส่งออกไทยพลิกกลับมาบวกจากฐานต่ำปีก่อน แต่ไส้ในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ค่อยดี

ส่งออกไทยพลิกกลับมาบวกจากฐานต่ำปีก่อน แต่ไส้ในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ค่อยดี

BF Economic Research การส่งออกไทยเดือน ต.ค. มีมูลค่า 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 20,699.8 ล้านดอลลาร์ฯ) ขยายตัว 8.7% YoY (prev. -5.2% YoY) ในขณะที่การนาเข้ามีมูลค่า 22,038 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 20,212.6 ล้านดอลลาร์ฯ) ขยายตัว 11.2%YoY (prev. 9.9% YoY) ส่งผลให้การค้าขาดดุล -280 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. เกินดุล 487.2 ล้านดอลลาร์ฯ) รวม 10 เดือนของปี 2018 การส่งออก มีมูลค่า 211,488 ล้านดอลลาร์ฯ (เพิ่มขึ้น 8.2% AoA) การนำเข้ามีมูลค่า 208,929 ล้านดอลลาร์ฯ (เพิ่มขึ้น […]

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 เติบโต 3.3% YoY น้อยกว่าที่ตลาดคาด จากการท่องเที่ยวและการส่งออกเป็นหลัก

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 เติบโต 3.3% YoY น้อยกว่าที่ตลาดคาด จากการท่องเที่ยวและการส่งออกเป็นหลัก

BF Economic Research เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2018 เติบโต 3.3% YoY ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโต 4.6% YoY และน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 4.2% YoY (กองทุนบัวหลวงคาดไว้ที่ 4.0% YoY) โดยเป็นผลจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนในประเทศทั้งของภาครัฐและเอกชนยังขยายตัวได้ดี การส่งออกที่เติบโตน้อยลงจาก 12.3% YoY เป็น 2.6% YoY ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในช่วงครึ่งหลังของปี 2017 และการค้าโลกที่ชะลอตัวตามทิศทางการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออกสำคัญต่างเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว อาทิ ยานยนต์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง เป็นต้น อย่างไรก็ดี เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว (+65.9% YoY) มูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น 5.4% YoY ส่วนอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวในไตรมาส 3 คือภาคการท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ในหมวดการส่งออกบริการ โดยการท่องเที่ยวไทยในไตรมาส 3 ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ตในเดือนก.ค. […]

หุ้นไทยวันที่ 18 ต.ค. ปิดตลาด 1,682.91 จุด ลดลง 12.13 จุด

หุ้นไทยวันที่ 18 ต.ค. ปิดตลาด 1,682.91 จุด ลดลง 12.13 จุด

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (18 ต.ค. 2018) อยู่ที่ระดับ 1,682.91 จุด ลดลง 12.13 จุด หรือ 0.72% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,694.67 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,681.24 จุด มูลค่าการซื้อขาย 46,194.76 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1. BGC ปิดที่ 11.80 บาท เพิ่มขึ้น 1.60 บาท หรือ 15.69% มูลค่าการซื้อขาย 4,478.98 ลบ. 2. OSP ปิดที่ 25.50 บาท ลดลง 1.75 บาท หรือ 6.42% […]

หุ้นไทยวันที่ 19 ต.ค. ปิดตลาดลดลง 15 จุด

หุ้นไทยวันที่ 19 ต.ค. ปิดตลาดลดลง 15 จุด

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (19 ต.ค. 2018) อยู่ที่ระดับ 1,667.91 จุด ลดลง 15.00 จุด หรือ 0.89% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,681.92 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,664.09 จุด มูลค่าการซื้อขาย 62,259.86 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1. AOT ปิดที่ 61.00 บาท ลดลง 1.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,630.75 ลบ. 2. CPALL ปิดที่ 65.25 บาท ลดลง 1.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,275.97 ลบ. 3. […]

Fund Comment : ตลาดหุ้น กันยายน 2018

Fund Comment : ตลาดหุ้น กันยายน 2018

ภาพรวมตลาดหุ้น ดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือน ก.ย. ปรับตัวสูงขึ้น 2% จากเดือนก่อนหน้า ให้ผลตอบแทนดีกว่าเมื่อเทียบกับภูมิภาค สาเหตุหลักเพราะตลาดมีความคาดหวังเรื่องการเลือกตั้ง หลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า พ.ร.ป. การเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้การเลือกตั้งสามารถจัดขึ้นได้ภายใน 150 วันหลังจากที่กฎหมายเลือกตั้งมีผลบังคับใช้ในเดือน ธ.ค. 2018 หรือภายในเดือน พ.ค. 2019 รวมทั้งประเด็นเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่าเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ด้วยสถานะการเงินการคลังของประเทศไทยที่ดีกว่าโดยเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ซื้อหลักในตลาดหุ้นไทยยังคงเป็นนักลงทุนสถาบันในประเทศ โดยมีแรงซื้อผ่านกลุ่มหุ้นพลังงาน ตามราคาน้ำมัน WTI ที่ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 73.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากต้นเดือนที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กลุ่มไฟแนนซ์ขนาดเล็กที่ปรับตัวขึ้นหลังตลาดคลายความกังวลประเด็นเพดานดอกเบี้ยสูงสุด โดยตัวเลขอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ ธปท.เพิ่งประกาศในช่วงปลายเดือน ก.ย. สูงกว่าที่บริษัทไฟแนนซ์ขนาดเล็กส่วนใหญ่เรียกเก็บ ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศยังคงขายต่อเนื่องในระดับเดียวกันกับเดือนก่อนหน้าที่ 10,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย ณ ระดับนี้น่าจะยังไม่ใช่ระดับที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ ด้านปัจจัยนอกประเทศที่ยังคงกดดันตลาดหุ้นโดยรวมยังเป็นประเด็นสงครามการค้าที่เริ่มเห็นการตอบโต้ระหว่างกันมากขึ้น หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนด้วยอัตราภาษี 10% […]

ไทยคว้าอันดับ 2 ประเทศที่ธุรกรรมผ่านอาลีเพย์มากสุดช่วงวันชาติจีน

ไทยคว้าอันดับ 2 ประเทศที่ธุรกรรมผ่านอาลีเพย์มากสุดช่วงวันชาติจีน

หลังจากผ่านพ้นวันหยุดยาวที่เป็นสัปดาห์เฉลิมฉลองวันชาติจีน (Golden Week) ตั้งแต่วันที่ 1-7 ต.ค. อาลีเพย์ ได้ทำข้อมูลสถิติในช่วงวันหยุดยาวดังกล่าวไว้ เนื่องจากบริการของอาลีเพย์ตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ทำให้ยอดใช้จ่ายในต่างประเทศผ่านแอพอาลีเพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งจากข้อมูลสถิติชี้ว่า ประเทศไทยครองอันดับ 2 ของประเทศที่คนจีนทำธุรกรรมผ่านอาลีเพย์มากที่สุดในช่วงวันหยุดยาววันชาติจีนปีนี้ ซึ่งเป็นอันดับเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ปริมาณธุรกรรมผ่านอาลีเพย์ในประเทศไทย เป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่วนยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อครั้งในไทยอยู่ที่ 1,584 หยวน หรือ 7,500 บาท เพิ่มขึ้น 0.95 เท่าจากปีที่แล้ว คิดเป็นอันดับที่ 23 จากทั่วโลก โดยนักท่องเที่ยวจีนนิยมใช้บริการอาลีเพย์เพื่อซื้อสินค้าจาก ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลอดภาษี และร้านขายยา ขณะที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ครองอันดับ 3 ในบรรดาสนามบินทั้งหมดทั่วโลกในด้านปริมาณธุรกรรมผ่านอาลีเพย์ตามหลังท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง และท่าอากาศยานชางงีของสิงคโปร์ โดยปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้น 1.3 เท่าจากปีที่แล้ว […]

ก้าวที่ไวของสังคมไร้เงินสด เมื่อคนไทยพร้อม(จะ)เพย์

ก้าวที่ไวของสังคมไร้เงินสด เมื่อคนไทยพร้อม(จะ)เพย์

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ ปัจจุบันไม่ว่าเราจะเดินไปช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า ไปตามแผงลอย จนถึงการช้อปปิ้งผ่านแอปพลิเคชันบนหน้าจอมือถือของเราเอง ในทุกช่องทางต่างก็มีร้านค้าหลายแห่งที่พร้อมเปิดรับการชำระเงินทางอิเล็คทรอนิกส์กันหมดแล้ว ไม่ต้องเดินไปกดเงินสด หรือโอนที่ตู้เอทีเอ็มกันให้เสียเวลาอีกต่อไป แต่แค่สแกนคิวอาร์โค้ดมาตรฐานตามร้านค้า หรือแค่กดหมายเลขโทรศัพท์มือถือของพ่อค้า แม่ค้า ก็จ่ายเงินได้แล้ว และดูเหมือนคนไทยก็จะเริ่มคุ้นชินกับการใช้จ่ายแบบนี้ด้วย ในงาน BOT Symposium 2018 ซึ่งเป็นสัมมนาวิชาการประจำปีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้มีการมานำเสนองานวิจัยเรื่อง “เส้นทางสู่สังคมไร้เงินสด” โดยบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นผู้เขียนงานวิจัยเรื่องนี้ ประกอบด้วย อัจจนา ล่ำซำ ,จารีย์ ปิ่นทอง และชนกานต์ ฤทธินนท์ จากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ รวมถึง อณิยา ฉิมน้อย และภูริวัฒน์ ตราเกียรติกุล จาก ธปท. ตัวเลขที่ทางผู้เขียนงานวิจัยเรื่องนี้ได้นำเสนอน่าสนใจทีเดียว โดยระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาคนไทยใช้การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-เพย์เมนท์) เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า คือจาก 14 ครั้งต่อคนต่อปี […]

ใส่ใจสักนิด…กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ใส่ใจสักนิด…กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ใส่ใจสักนิด…กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดย  พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center เมื่อกล่าวถึง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)” เชื่อว่าพนักงานออฟฟิศหลายๆ คนคงรู้จักเป็นอย่างดีหรือไม่ก็น่าจะพอคุ้นหูกันมาบ้าง เพราะปัจจุบันหลายบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อสนับสนุนให้พนักงานมีเงินใช้ในวัยเกษียณ จึงเลือกใช้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาช่วยบริหารจัดการเงินให้ แต่ประเด็นคือ ยังมีพนักงานอยู่ส่วนหนึ่งที่ไม่เข้าใจประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทราบแต่ว่าทุกครั้งที่เงินเดือนออกจะถูกหักเอาไว้ก่อน คิดแล้วก็ตงิดๆ ในหัวใจ งินเดือนออกทั้งที อยากเอาไปใช้จ่ายเต็มๆ แต่โดนหักไปเสียก่อนทุกครั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น (คณะกรรมการกองทุนฯ) โดยเงินของกองทุนมาจาก “เงินที่ลูกจ้างจ่าย เรียกว่า เงินสะสม”  และ “เงินที่นายจ้างจ่าย เรียกว่า เงินสมทบ” เงินทั้งสองส่วนนี้จะถูกนำไปบริหารจัดการภายใต้กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพตามนโยบายลงทุนที่คณะกรรมการกองทุนฯ เลือก ซึ่งนโยบายการลงทุนที่คณะกรรมการกองทุนฯ เลือกให้ ส่วนใหญ่เน้นที่ความเสี่ยงต่ำ เพราะคณะกรรมการกองทุนฯ ห่วงใยในเงินลงทุนว่าจะรับความเสี่ยงมากเกินไป รวมถึงเกรงว่า พนักงานบางส่วนอาจไม่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการลงทุน แต่ปัจจุบันบริษัทหลายแห่งได้เปิดโอกาสให้ลูกจ้าง สามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้ด้วยตัวเอง […]

จับตายอดกู้บ้านหลังที่ 2 พุ่ง สวนทางมาตรฐานปล่อยสินเชื่อที่ต่ำลง

จับตายอดกู้บ้านหลังที่ 2 พุ่ง สวนทางมาตรฐานปล่อยสินเชื่อที่ต่ำลง

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเกี่ยวกับภาวะการเงินในอนาคตว่า ให้ติดตามการสะสมความเปราะบางในระบบการเงินที่อาจสะท้อนจากการประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินในอนาคตต่ำกว่าที่ควร โดยเฉพาะการแข่งขันปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ซึ่งส่งผลให้มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อลดลง สะท้อนจากสัดส่วนจำนวนบัญชีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ของธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) ที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ (loan-to-value: LTV) เกิน 90% ที่เพิ่มขึ้น และอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อรายได้ผู้กู้ (loan-to-income: LTI) ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไป มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นโดยมีมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อลดลงเช่นกัน ประกอบกับสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีทิศทางปรับสูงขึ้น ขณะที่ยังมีอุปทานคงค้างของอาคารชุดในบางพื้นที่ ด้านความเสี่ยงที่คณะกรรมการฯ อยากให้ติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ (1) พฤติกรรมการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนที่ยังไม่มีสัญญาณปรับลดลงชัดเจนประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน อีกทั้ง อัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับต่ำอาจส่งผลกระทบต่อฐานเงินออมในอนาคต และ (2) พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นอื่น ๆ ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานซึ่งอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ที่ยังให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกในอัตราสูง ทำให้สินทรัพย์ขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่องและเป็นแรงกดดันให้ต้องแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การออกตราสารหนี้ของภาคธุรกิจในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำค่อนข้างกระจุกตัวในธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มลงทุนในกิจการที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักและลงทุนกิจการในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น