สงครามการค้ารุนแรงจริงหรือ
Trade War and Its Repercussions, สงครามการค้ารุนแรงจริงหรือ นับตั้งแต่ประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่ง เราได้เห็นการทยอยใช้มาตรการกีดกันทางการค้า (แสดงดังตาราง) ผ่านการขึ้นภาษีนำเข้าในกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องซักผ้า และแผง Solar Cell ซึ่งต่อมาก็ได้ขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าในกลุ่มวัตถุดิบ ซึ่งได้แก่เหล็กและอลูมิเนียม มีผลให้นักลงทุนรู้สึกกังวลใจต่อความไม่แน่นอนในเชิงนโยบาย ซึ่งจากการวิเคราะห์เบื้องต้น เราคิดว่า (1) ผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มสินค้าที่ได้รับการปรับขึ้นภาษีนำเข้าน่าจะอยู่ในวงจำกัด (2) เช่นเดียวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ (3) แต่บางประเทศอาจจะเผชิญความเสี่ยงต่อความผันผวนของค่าเงินได้ ผลกระทบโดยตรงอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากประธานาธิบดีกำหนดข้อยกเว้นทางภาษีให้กับคู่ค้าหลักได้แก่ ประเทศกลุ่ม NAFTA (แคนาดาและเม็กซิโก) และขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการเจรจากับออสเตรเลีย ขณะที่ EU ได้ออกมาแสดงท่าทีตอบโต้ว่าสหภาพยุโรปควรได้รับการยกเว้นด้านภาษีนำเข้านี้ด้วย ดังนั้นหากคู่ค้าหลักได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าผลกระทบจะไม่เกิดกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ สำหรับกลุ่มประเทศคู่ค้าอื่นๆ ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า น่าจะร้องเรียนกับ WTO และใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้า ด้านประเทศกลุ่ม NAFTA อาจจะได้รับส่วนแบ่งการส่งออกมากขึ้น ขณะที่ประเทศอื่นๆ (เช่นบราซิลที่มีสัดส่วนการส่งออกเหล็กไป สหรัฐฯราว 14% ของการส่งออกรวม) อาจจะส่งออกได้น้อยลงและต้องเบนเข็มไปตลาดอื่นแทน ด้านสินค้าประเภทอลูมิเนียมนั้น ประเทศผู้ส่งออกหลักส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกับเหล็ก […]
หุ้นไทยพุ่งเกือบ 25 จุด ปิดตลาดที่ 1,800.32 จุด
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (12 มี.ค. 61) ที่ระดับ 1,800.32 จุด เพิ่มขึ้น 24.95 จุด หรือ 1.41% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,800.33 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,784.39 จุด ขณะที่มูลค่าการซื้อขาย ณ เวลา 17.20น. อยู่ที่ 64,137.28 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTT ปิดที่ 558.00 บาท เพิ่มขึ้น 24.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 8,199.95 ลบ. 2.EA ปิดที่ 42.50 บาท ลดลง -3.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,356.87 […]
จีนคุมเข้มลงทุนธุรกิจประกันภัย หวั่นกระทบภาคการเงิน
คณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของจีน (China Insurance Regulatory Commission: CIRC) ได้ออกกฎระเบียบว่าด้วยการลงทุนในบริษัทประกัน โดยจะให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงในภาคการเงิน นายเหอ เสี่ยวเฟิง ผู้อำนวยการ CIRC เปิดเผยว่า กฎระเบียบใหม่นี้จะมีการตรวจสอบนักลงทุนอย่างเข้มงวดมากขึ้น ทั้งด้านคุณสมบัติ ประวัติความเป็นมา และประวัติทางธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาที่เกิดจากนักลงทุนที่ขาดประสิทธิภาพ นอกจากนี้ กฎระเบียบใหม่ยังจะแบ่งประเภทของผู้ถือหุ้น อันประกอบด้วย นักลงทุนการเงิน นักลงทุนเชิงกลยุทธ์ และนักลงทุนที่อยู่ในการกำกับดูแล อีกทั้งกำหนดหลักปฏิบัติโดยแยกตามความเสี่ยง ธุรกรรมที่เชื่อมโยงกัน และการเปิดเผยข้อมูล ภายใต้กฎระเบียบใหม่นี้ ผู้ถือหุ้นหนึ่งรายสามารถถือหุ้นสูงสุดได้เพียง 1 ใน 3 ของทั้งหมด จากเดิมที่ 51%
สหรัฐส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดในโลก
สำนักข่าวซินหัวรายงาน สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศแห่งกรุงสต็อกโฮล์ม (Stockholm International Peace Research Institute: SIPRI) เปิดเผยว่า สหรัฐอเมริกายังคงรั้งตำแหน่งประเทศที่มีการส่งออกอาวุธมากที่สุดตลอด 5 ปีที่ผ่านมา โดยได้ส่งออกอาวุธในสัดส่วน 34% ของยอดส่งออกอาวุธทั้งหมดทั่วโลก จากการศึกษาภาพรวมการซื้อขายอาวุธทั่วโลกของ SIPRI พบว่า สหรัฐส่งออกอาวุธเพิ่มขึ้น 25% ในช่วงปี 2013-2017 เมื่อเทียบกับปี 2008-2012 Aude Fleurant ผู้อำนวยการโครงการวิจัยด้านการใช้จ่ายทางอาวุธและการทหารของ (SIPRI Arms and Military Expenditure Program) กล่าวว่า “ยอดส่งออกอาวุธของสหรัฐในช่วงปี 2013–2017 พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1990 จากข้อตกลงที่มีการลงนามตั้งแต่สมัยรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีอารัค โอบามา โดยข้อตกลงเหล่านั้นได้นำไปสู่การลงนามในข้อตกลงเพิ่มเติมในปี 2017 ซึ่งทำให้สหรัฐสามารถรักษาตำแหน่งผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกไว้ได้ในปีต่อๆมา” รายงานระบุว่า สหรัฐส่งออกอาวุธมากกว่ารัสเซียถึง 58% ในช่วงปี 2013–2017 ซึ่งทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีการส่งออกอาวุธมากเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐในช่วงเวลาดังกล่าว SIPRI […]
Personal Finance Retirement age
อาชีพของคนไทยหลังเกษียณ (ตอนจบ)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center แบบที่ 2 เป็นเรื่องความชำนาญเฉพาะด้าน ที่สามารถนำมาหารายได้ให้กับตัวเองในวัยเกษียณได้ โดยเพิ่มเติมเรื่องมุมมองธุรกิจประกอบ จะทำให้กิจกรรมหารายได้หลังเกษียณเราสนุก และเป็นจริงมากขึ้น เช่น … สังคมปัจจุบันครอบครัวมีขนาดเล็กลงไม่ค่อยทำอาหารเอง ใช้วิธีซื้อ แต่คนรุ่นก่อน กลุ่ม Gen X ทำกับข้าวเก่ง กินข้าวบ้านมากกว่าไปกินข้างนอก คนรุ่นใหม่เค้าก็อยากกินข้าวบ้านอร่อยๆ แต่ทำไม่เป็น ก็เป็นช่องทางให้วัยเกษียณปัจจุบันสามารถทำอาหารขายในหมู่บ้านได้ ถ้าในบริเวณที่พักของเรา มีคนทำงานบริษัทที่ไม่ค่อยอยู่บ้านช่วงกลางวัน ก็ทำขายเสาร์อาทิตย์ในวันที่เขาอยู่บ้าน หรือทำเป็นข้าวกล่อง ผูกปิ่นโต ส่งทุกเย็น มีรายการอาหารกำหนดไว้เลย วันละ 3-4 อย่าง ให้เลือก แล้วก็ส่งในหมู่บ้าน คิดราคาไม่แพง ถ้าเรามีฝีมือ ทำอร่อย สะอาด ก็จะหาลูกค้าได้ไม่ยาก คนไทยชอบของอร่อย ลองดูอาหารที่คนยุคนี้เค้านิยมซะหน่อย เน้นสุขภาพ กินหวานน้อยลง กินมันน้อยลง อาหารที่ถูกจริต จะทำให้ขายง่ายขึ้น […]
อาชีพของคนไทยหลังเกษียณ (ตอนที่1)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center อายุของการเกษียณในสังคมไทย โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุ 60ปี ซึ่งด้วยวิทยาการทางการแพทย์ คนวัย 60 ยังคงแข็งแรง สมองยังคงสดใส ความจำยังดี และเป็นผู้มีไฟ อยากทำงาน แม้จะด้วยข้อจำกัดของระบบที่มีการกำหนดตัวเลขเกษียณชัดเจน เช่น 60ปี บางเดี๋ยวนี้องค์กรจำนวนมากก็มีการต่ออายุผู้เกษียณออกไป เนื่องจากยังคงเสียดายประสบการณ์และความรู้ของบุคคลเหล่านั้น แต่ก็จะเป็นลักษณะ case by case และก็มีองค์กรอีกมากที่มีผู้มีความรู้ความสามารถ แต่จำเป็นต้องให้เกษียณเพื่อเปิดโอกาศให้คนรุ่นถัดไปได้ขยับขึ้นตามความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เกษียณที่ยังมีไฟ ก็ยังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่สามารถทำได้ มีประโยชน์กับประเทศ กับสังคม รวมถึงยังมีความสามารถในการหารายได้ ประกอบอาชีพ โดยอาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมา ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับอาชีพที่ทำมาตลอดหรือไม่ก็ตาม อาชีพที่แนะนำไว้หารายได้สำหรับคนวัยเกษียณ อาจแบ่งได้เป็น 3 แบบ แบบที่ 1 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านวิชาชีพ งานที่เคยทำ ชัดเจน ง่ายๆ เราทำงานมาทั้งชีวิต ย่อมมีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ ในวัยที่ยังพอมีแรง […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่จบ)
ในปีที่แล้ว ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนประกาศว่า ถึงเวลาแล้วที่จีนจะก้าวไปยังจุดศูนย์กลางของเวทีโลก มีหลายวิธีที่จีนจะเป็นมหาอำนาจของโลก ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนโลกาภิวัฒน์ การเพิ่มความช่วยเหลือให้ประเทศต่างๆ และการพัฒนาเทคโนโลยี่ชั้นสูง แต่ยังมีก้าวย่างที่สำคัญอีกอย่างสำหรับจีนที่จะไปอยู่จุดศูนย์กลางของโลกคือจีนต้องเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโลก การที่จะไปถึงจุดนั้นได้จีนต้องผลักดันให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลหลักของโลก ตลาดระยะเวลากว่า 70 ปีที่ผ่านมา เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสกุลหลักของโลก ประมาณ 2 ใน 3 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ $6.9 ล้านล้านของทั้งโลกอยู่ในรูปของเงินสกุลดอลลาร์ เงินหยวนเริ่มมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้นในปี 2016 หลังจากที่ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศบรรจุเงินหยวนเข้าไปในตระกร้าเงินไอเอ็มเอฟ ซึ่งมีดอลลาร์ ยูโร ปอนด์ และเยนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาส 3 ของปี 2017 เงินหยวนมีสัดส่วนเพียง1%ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆถือรวมกันทั้งหมด แต่ความเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้น ทางธนาคารกลางของเยอรมันประกาศว่าจะเอาเงินหยวนเข้าไปในพอร์ตของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของตัวเอง ธนาคารกลางของฝรั่งเศสก็มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินหยวน ส่วนธนาคารกลางของยุโรปได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่าได้ใช้เงิน $611 ล้านเพื่อเปลี่ยนดอลลาร์รีเสิร์ฟเป็นพันธบัตรหยวนของรัฐบาลจีน ในขณะที่นโยบาย America First ของประธานาธิบดีทรัมป์จะทำให้บทบาทของสหรัฐลดลงในเวทีโลก หลายคนเชื่อว่าบทบาทของจีนจะเพิ่มสูงขึ้น นาย Barry Eichengreen […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่11)
Angus Maddison นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของอังกฤษ มีชื่อเสียงขึ้นมา เพราะว่าเขาได้ศึกษาผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของโลก (gross domestic product) โดยย้อนการศึกษาของจีดีพีโลกกลับไปถึงศตวรรษที่1 การศึกษาของแมดดิสันทำให้เราเห็นภาพว่าทั้งจีนและอินเดียมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกมากที่สุดอย่างน้อยตั้งแต่ศตวรรษที่1 เรื่อยมาจนถึงปีคศ. 1600 ก่อนที่อิทธิพลทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศค่อยๆเสื่อมลง ซึ่งตรงกับยุคแรกเริ่มของการล่าอาณานิยมของโลกตะวันตกพอดี จีนและอินเดียตกขบวนรถไฟของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีจุดเริ่มที่อังกฤษก่อนที่จะแพร่เข้าไปในยุโรป ทำให้ยุโรปก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกแทนจีนและอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 นี้ เราเริ่มเห็นจีนและอินเดียกำลังทวงความเป็นมหาอำนาจของโลกทางเศรษฐกิจแทนสหรัฐและยุโรป จากการคำนวนของแมดดิสันพบว่า ในปีคศ 1000 จีนและอินเดียมีจีดีพีรวมกันเท่ากับ 50.5% ของจีดีพีของโลก มาถึงปีคศ.1600 เศรษฐกิจของจีนและอินเดีย รวมกันมีสัดส่วนเท่ากับ 51.4% ของโลก โดยจีนมีสัดส่วนจีดีพี 29% และอินเดียมีสัดส่วนจีดีพี 22.4%ของโลก ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เศรษฐกิจของจีนเทียบเท่า 1 ใน 3 ของโลก ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐยังคงตั้งไข่อยู่ อีก 200 ปีต่อมา ในขณะที่จีนได้สร้างชาติใหม่ภายใต้ประธานเหมา […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่10)
ในเวทีที่ประชุมของ World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนยอมหลีกทางให้ทรัมป์ เพราะว่าสีขโมยซีนไปเรียบร้อยในการประชุม WEF ในปีที่แล้ว โดยสียอมลงทุนไปเมืองดาวอสเพื่อประกาศว่า จีนพร้อมที่จะเป็นผู้นำที่จะปกป้องการค้าเสรีโลก โดยที่ทุกๆประเทศควรที่จะได้รับส่วนแบ่งของผลประโยชน์ของการค้าเสรี และการเจริญเติบโตที่เหมือนกัน สีสื่อข้อความที่ตรงข้ามกับทรัมป์ที่ประกาศนโยบายAmerica First และดำเนินนโยบายการค้าในรูปแบบการกีดกัน (protectionism) เนื่องจากว่าสหรัฐกำลังเพลี้ยงพล้ำจีนอย่างหนักในเรื่องการค้า และเศรษฐกิจ สาเหตุเป็นเพราะว่าสหรัฐมุ่งเน้นการบริโภคที่เกินตัวมากเกินไป ในขณะที่จีนเน้นเศรษฐกิจพื้นฐานของการผลิตที่แท้จริง ในปีนี้ สีส่งนาย Liu He หรือมือขวาของเขาด้านเศรษฐกิจให้มาเป็นหัวหน้าคณะที่มาประชุมที่เมืองดาวอส เพื่อประชันกับทรัมป์แทน นายหลิวจบจากมหาวิยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ ปัจจุบันตำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของ Office of the Central Leading Group on Financial and Economic Affairs และเป็นรองผู้อำนวยการ National Development and Reform Commission เขามาร่วมประชุมที่เวทีดาวอสตั้งแต่ปี […]
Fund Comment
มุมมองตลาดตราสารหนี้: นโยบายการเงินปท.หลักเข้มงวดเร็วกว่าคาด
นับตั้งแต่ต้นปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศหลักๆ ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 3-4 ปี ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นไปสูงกว่า 2.90% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ขณะเดียวกันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษรุ่นอายุ 10 ปี ก็ขึ้นไปสูงกว่า 1.60% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี สาเหตุหลักๆ โดยรวมมาจากความสำเร็จจากการผลักดันกฎหมายปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้คาดว่ารัฐบาลสหรัฐต้องออกพันธบัตรเพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชยรายได้จากการลดภาษี ประกอบกับแนวโน้มนโนบายการเงินของประเทศหลักที่จะไปในทิศทางเข้มงวดขึ้น รวมทั้งจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯที่ออกมาสูงกว่าคาด ทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4 ครั้งในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะปรับขึ้นเพียง 3 ครั้ง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่ได้พุ่งขึ้นแรงเหมือนประเทศหลักข้างต้น เนื่องด้วยยังมีสภาพคล่องในประเทศค่อนข้างมาก ความต้องการซื้อ (demand) พันธบัตรของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยังสูง ส่งผลให้นับจากต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี ปรับลดลง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุคงเหลือ 10 ปีปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1 […]