กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ลงทุนในหุ้นของกองทุนบัวหลวง

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ลงทุนในหุ้นของกองทุนบัวหลวง

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (BERMF) กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ (IN-RMF) กองทุนเปิดบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-SM-RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BSIRIRMF) กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF) กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-TOPTENRMF)   BBLAM’s 2019 INVESTMENT THEMES “รุ่งเรืองด้วยโครงสร้างพื้นฐาน บนสายพานของโลจิสติกส์” ตลาดหุ้นโลกในเดือนกรกฎาคมเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบ หลังจากการปรับตัวขึ้นในเดือนก่อนหน้าบนความคาดหวังต่อการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐและมุมมองเชิงบวกต่อการเจรจาการค้า โดยในเดือนกรกฎาคม ปัจจัยที่เข้ามาในตลาดค่อนข้างปะปนกัน โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอลงและยังเป็นการขยายตัวต่อเนื่องครบ 10 ปีเต็ม แต่ก็ยังไม่ได้แสดงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ติดลบ ทำให้เกิดความไม่แน่นนอนต่อการลดดอกเบี้ยในปลายเดือน ขณะที่ผู้ว่าการของ Fed สาขาต่างๆ ก็ยังออกมาให้ความเห็นในเชิงที่ Dovish และท้ายที่สุด Fed ก็ลดดอกเบี้ยลง 0.25bps ตามตลาดคาด ทว่าตลาดผิดหวังต่อถ้อยแถลงของ Fed ที่ส่งสัญญาณว่า เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนนโยบายในช่วงกลางวัฎจักร (mid-cycle adjustment) […]

อัตราเงินเฟ้อไทยชะลอลงจากราคาพลังงาน

อัตราเงินเฟ้อไทยชะลอลงจากราคาพลังงาน

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงมาที่ 0.52% YoY จาก 0.98% ในเดือน ก.ค. โดยแม้ราคาอาหารสดเพิ่มขึ้น (5.3% YoY) โดยเฉพาะข้าว ผักและผลไม้ แต่ถูกถ่วงจากราคาพลังงานที่ลดลง (-5.2% YoY) ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (อัตราเงินเฟ้อทั่วไปหักออกด้วยราคาอาหารสดและพลังงาน) คงที่ที่ระดับ 0.49% (เทียบกับ 0.41% ในเดือนก่อน) กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในช่วง 0.7-1.3% โดยได้ระบุว่าค่ากลางได้ต่ำกว่าการคาดการณ์ครั้งเดิมที่ 1.0% สำหรับอัตราเงินเฟ้อ YTD เฉลี่ยอยู่ที่ 0.87% YoY ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. ที่อยู่ในช่วง 1-4% Market Consensus สะท้อนว่ามีความเป็นไปได้ที่ดอกเบี้ยนโยบายอาจจะปรับลงอีกครั้งในไตรมาส 4 ปีนี้ แต่ถ้าหากพิจารณาในอดีตที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยนโยบายเคยลงไปต่ำสุดที่ 1.25% เมื่อตอนที่ GDP ติดลบ  

หุ้นไทยวันที่ 2 ก.ย. 62 ปิดตลาดที่ 1,654.11 จุด ลดลง 0.81 จุด

หุ้นไทยวันที่ 2 ก.ย. 62 ปิดตลาดที่ 1,654.11 จุด ลดลง 0.81 จุด

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 2 ก.ย. 2562 ปิดตลาดที่ 1,654.11 จุด ลดลง 0.81 จุด หรือ -0.05% ระหว่างวันสูงสุดที่ 1,658.66 จุด ต่ำสุดที่ 1,646.59 จุด มูลค่าการซื้อขาย 52,702.62 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.GULF ปิดที่ 158.50 บาท เพิ่มขึ้น 13.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,563.83 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 43.50 บาท ลดลง -0.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,125.85 ลบ. 3.AOT ปิดที่ 72.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 […]

ถอดกลยุทธ์เติมเต็มโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกกับ กองทุน B-IR-FOF

ถอดกลยุทธ์เติมเต็มโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกกับ กองทุน B-IR-FOF

กองทุนเปิดฟันด์ออฟฟันด์บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ หรือ B-IR-FOF เป็นฟันด์ออฟฟันด์กองแรกของกองทุนบัวหลวง เปิดขาย IPO วันที่ 27 สิงหาคม – 3 กันยายน 2562 ใครที่อยากรู้ว่ากองทุนนี้ลงทุนในอะไรบ้าง และทำไมจึงควรมีกองทุนนี้ติดไว้ในพอร์ต มาร่วมติดตามรายละเอียดได้จากคลิปวิดีโอนี้เลย

สรุปตัวเลขเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ค.

สรุปตัวเลขเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ค.

BF Economic Research ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 6% YoY (vs. 2.1% ในเดือน มิ.ย.) การขยายตัวส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนจากการปรับตัวที่ดีขึ้นของการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทน (2.6% เทียบกับ 0.4% ในเดือน มิ.ย.) และสินค้าคงทน (0.5% เทียบกับ -3.7% ในเดือน มิ.ย.) แนวโน้มภาพรวมยังชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก โดยปัจจัยสนับสนุนกำลังการซื้อยังอ่อนแอลง สอดคล้องกับรายได้ของเกษตรกรที่ชะลอลง การลงทุนภาคเอกชน Flat (-1% YoY เทียบกับ -6.0% ในเดือน มิ.ย.) ดัชนีถูกกดดันจากความอ่อนแอจากกิจกรรมในส่วนเครื่องชี้ภาคการก่อสร้าง เช่น พื้นที่ที่ได้รับการอนุญาตก่อสร้างและยอดขายวัสดุก่อสร้างที่หดตัว (-8.0% และ -1.3% ตามลำดับ) รวมถึงยอดขายเครื่องจักรในประเทศที่หดตัวลง (-5.8%) นักท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัว 7% YoY เป็น 3.3 ล้านคน เป็นผลหลักมาจากนักท่องเที่ยวจากจีน (6% […]

สภาผู้แทนฯ อินโดนีเซียอนุมัติเป้าหมายเศรษฐกิจปี 2020 เติบโต 5.3%

สภาผู้แทนฯ อินโดนีเซียอนุมัติเป้าหมายเศรษฐกิจปี 2020 เติบโต 5.3%

เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า สภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซีย ได้อนุมัติเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจัดทำไว้ว่า ปี 2020 มีเป้าหมายเศรษฐกิจเติบโต 5.3% โดยตัวเลขนี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับประมาณการร่างงบประมาณปี 2020 ของรัฐ สำหรับเป้าหมายนี้จะใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณปี 2020 รวมถึงการจัดทำตัวเลขการคาดการณ์เศรษฐกิจมหภาครายการอื่น ได้แก่ เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 3.1% อัตราแลกเปลี่ยน 13,900 – 14,400 รูเปียะห์ต่อดอลลาร์สหรัฐ และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 3 เดือน 5.4% แม้ว่ารัฐบาลจะมีมุมมองเชิงบวกในการผลักดันให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ Sri Mulyani Indrawati รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ออกมากล่าวว่า การเติบโตนี้อาจจะมีอุปสรรคจากการส่งออกที่ชะลอตัว ท่ามกลางสถานการณ์การค้าโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน โดยเฉพาะจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งถือเป็นตลาดสำคัญของการส่งออกผลิตภัณฑ์อินโดนีเซียทั้งคู่ Sri Mulyani ยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลต้องกระตุ้นการส่งออกด้วยการสนับสนุนแหล่งเงินทุนสำหรับส่งออก ผ่านโครงการบัญชีผลประโยชน์ของชาติ รวมทั้งการหาตลาดใหม่ๆ เพื่อไม่ให้การค้าขึ้นอยู่กับตลาดเดิมๆ เช่น จีน และสหรัฐ

กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ เอ็กซ์ตร้า (B-SENIOR-X)

กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ เอ็กซ์ตร้า (B-SENIOR-X)

วัตถุประสงค์การลงทุน กระจายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ตราสารหนี้ เช่น ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ภาคเอกชน ไม่น้อยกว่า 70% ของ NAV, ตราสารทุน ไม่เกิน 30% ของ NAV, หน่วยลงทุนของกองทุนรวม เช่น กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยทรัสตเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) เป็นต้น หน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการไม่เกิน 60% ของ NAV, เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก โดยมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 79% ของ NAV ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดภาระการบริหารเงินในวัยเกษียณ และต้องการโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม Bloomberg Code: BSENIORX TB Fund Size: 11,470 ล้านบาท (ณ วันที่ 21 […]

กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ (B-SENIOR)

กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ (B-SENIOR)

วัตถุประสงค์การลงทุน ลงทุนในประเทศ ได้แก่ ตราสารแห่งหนี้และเงินฝาก ไม่น้อยกว่า 70% ของ NAV ตราสารแห่งทุน ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 30% ของ NAV และหรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในประเทศ กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) เป็นต้น ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดภาระการบริหารเงินในวัยเกษียณ และต้องการโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม Bloomberg Code: BSENIOR TB Fund Size: 20,132 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 21 ส.ค. 2019) Morningstar Category: Conservative Allocation สรุปภาพรวมตลาดตราสารทุนไทยในเดือน ก.ค. – ส.ค. 2019 ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยในช่วงต้นเดือน ก.ค. เดินหน้าปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจาก มิ.ย. โดยดัชนี […]

ดัชนีหุ้นไทย 30 ส.ค. ปิดตลาด 1,654.92 จุด เพิ่มขึ้น 15.78 จุด

ดัชนีหุ้นไทย 30 ส.ค. ปิดตลาด 1,654.92 จุด เพิ่มขึ้น 15.78 จุด

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 30 ส.ค. 2562 ปิดตลาดที่ 1,654.92 จุด เพิ่มขึ้น 15.78 จุด หรือ 0.96% ระหว่างวันสูงสุดที่ 1,654.93 จุด ต่ำสุดที่ 1,643.04 จุด มูลค่าการซื้อขาย 63,135.87 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTT ปิดที่ 44.25 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท (+2.31%) มูลค่าการซื้อขาย 4,146.06 ลบ. 2.PTTEP ปิดที่ 124.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.50 บาท (+2.89%) มูลค่าการซื้อขาย 3,044.01 ลบ. 3.CPALL ปิดที่ 84.00 บาท […]

ธนาคารกลางทั่วโลกถือครองทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น

ธนาคารกลางทั่วโลกถือครองทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น

ไชน่าเดลี รายงานว่า จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธนาคารกลางต่างๆ กระจายการถือครองสินทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้น โดยมีธนาคารกลางหลายแห่งที่ถือครองทองคำเพิ่มขึ้นในทุนสำรองระหว่างประเทศที่มี พร้อมเลี่ยงการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางสถานการณ์สงครามการค้า สภาทองคำโลก รายงานตัวเลขออกมาเมื่อช่วงต้นเดือน ส.ค. ว่า ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ธนาคารกลางต่างๆ ซื้อทองคำถึง 374 เมตริกตัน มูลค่ารวม 15,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำสถิติสูงสุด Lukman Otunuga นักวิเคราะห์อาวุโส จาก FXTM ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กล่าวว่า ความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้า ความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ความไม่แน่นอนอันเกิดจากประเด็นการนำอังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (เบร็กซิท) รวมถึงประเภทความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์อื่นๆ เป็นแรงขับเคลื่อนให้นักลงทุนมองหาสินทรัพย์ที่มองว่ามีความปลอดภัย หรือเป็น safe haven ซึ่งทองคำ ก็ยังคงเป็นจุดหมายหลักๆ ของสินทรัพย์กลุ่มนี้ ทั้งนี้ จากรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ รายงานว่า ส่วนประกอบสำคัญของกลยุทธ์การบริหารทุนสำรองของโลกนั้น คือ การตัดสินใจที่เหมาะสม ในการกระจายการลงทุน โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความเสี่ยงและผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโอ […]