แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในอาเซียน
by…ชัยธัช เบน บุญญาปะมัย การเปลี่ยนผ่านพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่ม Middle Class จากข้อมูลของ IMF ระบุว่า ในปี 2018 เมื่อรวมขนาดเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าด้วยกันแล้ว จะทำให้อาเซียนมีขนาดเศรษฐกิจถึง 2.9 ล้านล้านดอลลาร์ หรือใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีน และสหรัฐอเมริกา เท่านั้น ในขณะที่ จำนวนแรงงานในอาเซียนก็มีมากถึง 350.5 ล้านคน และมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมด 650 ล้านคน เป็นประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ทำให้หลายประเทศในอาเซียนมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และกำลังยกระดับขึ้นเป็นประเทศกลุ่มรายได้ปานกลาง ขณะที่อีกหลายประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้ พลวัตตลาดผู้บริโภคอาเซียนกำลังมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในลักษณะเช่นเดียวกับที่เราเห็นในประเทศจีน โดยการบริโภคของกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง (Middle Class) ไม่ได้ขับเคลื่อนจากการการบริโภคสินค้าจำพวกอาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูป หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอีกต่อไป แต่กลายเป็นการใช้จ่ายกับสินค้า Lifestyle เช่น เครื่องสำอาง การรับประทานอาหารนอกบ้าน รถยนต์ และสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้นในราคา […]
สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ก.ย. 2562
BF Economic Research 1) การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา (+1.3% YoY vs. +1.0% ในเดือนที่แล้ว) เป็นการขยายตัวในทุกหมวด ยกเว้นการบริโภคสินค้าคงทน (-5.7% vs. -4.0% ในเดือนที่แล้ว) ถึงแม้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเริ่มส่งผลในช่วงปลายเดือน ก.ย. แต่ถูกกดดันจากกำลังซื้อที่อ่อนแอจาก อาทิ รายได้ที่เติบโตต่ำ และความเชื่อมั่นที่อ่อนแอ 2) การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง โดยหดตัว -3.9% YoY (vs. -6.3% ในเดือนที่แล้ว) เป็นการอ่อนแอในวงกว้างของดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ทั้งในหมวดการก่อสร้างและการลงทุน (เช่น ยอดขายเครื่องจักร -8.0% พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง -4.1% และยอดขายวัสดุก่อสร้าง -1.6%) 3) นักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวสูง 10.1% YoY มาอยู่ที่ 2.9 ล้านคน ส่วนหนึ่งจากฐานที่ต่ำและมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียม VOA โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัว (+31.6% […]
17 เป้าหมาย มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs)
by…วนาลี ตรีสัมพันธ์ Fund Management แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ได้หยิบยก 17 เป้าหมาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นประเด็นสำคัญในการวางทิศทางการดำเนินงาน โดยมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมสร้างสังคมที่เป็นสุข ลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดปัญหาความยากจน ส่งเสริมการเป็นเศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนมีการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลังจากเป้าหมายเดิมซึ่งมุ่งเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน (Millennium Development Goals – MDGs) สิ้นสุดลงเมื่อปี 2015 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายใหม่ที่ต้องการบรรลุในอีก 15 ปีข้างหน้า (2016-2030) จำนวน 17 ข้อ และ 179 จุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “no one should be left behind […]
อัตราว่างงานญี่ปุ่นเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากต่ำสุดในรอบ 30 ปี สะท้อนแรงงานตึงตัวหลังผู้สูงอายุเพิ่มเร็ว
รายงานข่าวบจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า อัตราว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากระดับการว่างงานต่ำสุดในรอบ 30 ปี ข้อมูลของรัฐบาลเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าตลาดแรงงานของญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับภาวะตึงตัว จากจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นเร็ว ประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น และจำนวนประชากรญี่ปุ่นที่ลดลงทำให้ตลาดแรงงานตึงตัว อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างยังคงอ่อนแอ และบริษัทต่างๆ ระมัดระวังในการส่งผ่านผลกำไรให้กับพนักงานมากขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ แรงกระตุ้นการขยายตัวในเศรษฐกิจที่ดูจะซบเซากระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค และอัตราเงินเฟ้ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ล่าสุดกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุน เปิดเผยข้อมูลเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นแตะระดับ 2.4% ในเดือน ก.ย. จากระดับ 2.2% ในเดือน ส.ค โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับภาวะตึงตัว อันเนื่องมาจากจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
BF Monthly Economic Review – ต.ค. 2562
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจโลกไม่ค่อยสู้ดี ได้รับแรงกดดันจากสงครามการค้าเป็นผลให้ IMF ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจลงสู่ 3.0% ในปี 2019 และ 3.4% ในปี 2020 อย่างไรก็ตามตลาดเข้าสู่โหมด Risk On จากสามปัจจัย คือ 1) จีนและสหรัฐฯสามารถบรรลุข้อตกลงได้บางส่วน 2) Fed เพิ่มสภาพคล่องในตลาดและตลาดมีความคาดหวังว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ย 3) ส่วน Brexit มีความคืบหน้า เศรษฐกิจจีน GDP ไตรมาส 3 ชะลอตัวลงเป็น 6.0% YoY ต่าสุดนับตั้งแต่ปี 1992 จาก 6.2% YoY ในเดือนก่อน หลักๆ มาจากการส่งออก ภาคการผลิต และการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจาก Trade Tension ขณะที่รัฐบาลยังใช้นโยบายลดความเสี่ยงในภาคการเงินเพื่อควบคุมระดับหนี้ในระบบที่สูง […]
BBASIC BCAP BKD BSIRICG Product Update
กองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทย (จ่ายปันผล)
กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล (BKD) กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน (BCAP) กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล (BSIRICG) กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC) BBLAM’s 2019 INVESTMENT THEMES “รุ่งเรืองด้วยโครงสร้างพื้นฐาน บนสายพานของโลจิสติกส์” ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงไทยยังคงผันผวน ท่ามกลางความเสี่ยงที่ก่อตัวมากขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่ดำเนินไป ได้ทำให้เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเริ่มส่งสัญญาณอ่อนแอลง และเริ่มส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ โดยล่าสุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของสหรัฐ หดตัวลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี และเศรษฐกิจจีนในไตรมาสสองเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 27 ไตรมาส ด้านเศรษฐกิจยุโรปยังคงฟื้นตัวช้า โดยถ้าหากเยอรมนีซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เศรษฐกิจติดลบต่อในไตรมาสสาม จะทำให้เกิดสถานการณ์ ‘Technical Recession’ รวมถึงความเสี่ยง Brexit ที่ยังคงไร้ทางออกที่ชัดเจน ด้วยความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ ธนาคารกลางหลักจึงพร้อมเพรียงกันดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ทั้งการหยุดการลดขนาดงบดุลของ Fed และการกลับมาทำ QE ของ ECB ทำให้สภาพคล่องทางการเงินโลกกลับมาขยายตัวอีกครั้ง ซึ่งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยคาดว่า อิทธิพลจากนโยบายการเงินในรอบนี้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในช่วงปลายปีถึงต้นปีหน้า สภาพคล่องทางการเงินโลกที่ล้นในปัจจุบันนี้ […]
B-INFRA BKA BKA2 BTK BTP Product Update
กองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทย (เน้นการเติบโต)
กองทุนเปิดบัวแก้ว (BKA) กองทุนเปิดบัวแก้ว 2 (BKA2) กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม (BTK) กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล (BTP) กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน (B-INFRA) BBLAM’s 2019 INVESTMENT THEMES “รุ่งเรืองด้วยโครงสร้างพื้นฐาน บนสายพานของโลจิสติกส์” ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงไทยยังคงผันผวน ท่ามกลางความเสี่ยงที่ก่อตัวมากขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่ดำเนินไป ได้ทำให้เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเริ่มส่งสัญญาณอ่อนแอลง และเริ่มส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ โดยล่าสุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของสหรัฐ หดตัวลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี และเศรษฐกิจจีนในไตรมาสสองเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 27 ไตรมาส ด้านเศรษฐกิจยุโรปยังคงฟื้นตัวช้า โดยถ้าหากเยอรมนีซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เศรษฐกิจติดลบต่อในไตรมาสสาม จะทำให้เกิดสถานการณ์ ‘Technical Recession’ รวมถึงความเสี่ยง Brexit ที่ยังคงไร้ทางออกที่ชัดเจน ด้วยความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ ธนาคารกลางหลักจึงพร้อมเพรียงกันดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ทั้งการหยุดการลดขนาดงบดุลของ Fed และการกลับมาทำ QE ของ ECB ทำให้สภาพคล่องทางการเงินโลกกลับมาขยายตัวอีกครั้ง ซึ่งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง […]