BF Monthly Economic Review – มิ.ย. 2563

BF Monthly Economic Review – มิ.ย. 2563

  BF Economic Research สรุปภาพเศรษฐกิจและการลงทุนเดือน มิ.ย. และมุมมองเดือน ก.ค. ช่วงเดือน มิ.ย. หลายประเทศเริ่มคลาย Lockdown จากโควิด-19 แล้ว เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นของภาพเศรษฐกิจหลายที่ เครื่องชี้รายเดือน เครื่องชี้ที่ถี่กว่ารายเดือน เริ่มเห็นกิจกรรมกลับเข้ามาแล้ว เช่น การกลับออกไปทานข้าวข้างนอก การไปท่องเที่ยวพื้นที่ใกล้เคียง ถือเป็นบรรยากาศที่ดี สำหรับ 3 ประเด็นหลัก เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนช่วงครึ่งปีหลัง มีดังนี้ 1.ประมาณการเศรษฐกิจโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)   2.การใช้นโยบายการเงินของประเทศต่างๆ เพื่อดัดความชันของ Yield Curve ให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของธนาคารกลางแต่ละประเทศนั้นๆ 3.การเลือกตั้งสหรัฐฯ 

ธนาคารโลกเผยผลกระทบที่สำคัญของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย ความเปราะบางของครัวเรือน และผู้ประกอบการ

ธนาคารโลกเผยผลกระทบที่สำคัญของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย ความเปราะบางของครัวเรือน และผู้ประกอบการ

ธนาคารโลก หรือ World Bank จัดทำรายงานเรื่องผลกระทบที่สำคัญของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย ความเปราะบางของครัวเรือน และผู้ประกอบการ โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด-19 อาจหดตัวกว่าร้อยละ 5 ในปี 2563 และน่าจะใช้เวลามากกว่าสองปีกว่าที่จะกลับไปสู่ระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ก่อนที่จะประสบปัญหาโควิด-19 ทั้งนี้ จากรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยของธนาคารโลกฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในวันนี้พบว่า การระบาดของเชื้อโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในไตรมาสที่สองของปี 2563 โดยมีคนตกงานกระจายไปทั่ว และกระทบต่อครัวเรือนชนชั้นกลาง และครัวเรือนที่ยากจน แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการชะลอการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในสามเดือนที่ผ่านมา แต่ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจนั้นรุนแรง ภาคการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 15 ของ GDP ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ประเทศไทยเกือบจะห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 การส่งออกน่าจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 6.3 ในปี 2563 ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงรายไตรมาสที่แรงที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากความต้องการสินค้าไทยในต่างประเทศยังคงอ่อนแอ อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะลดลงร้อยละ 3.2 เนื่องจากมาตรการห้ามการเดินทางและรายได้ที่ลดลงซึ่งจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยเฉพาะในไตรมาสที่สองของปี 2563 จากการที่ประเทศไทยเริ่มผ่อนปรนการห้ามเดินทาง จะทำให้การบริโภคภายในประเทศที่เดิมมีความเข้มแข็งอยู่แล้วและเป็นเครื่องจักรผลักดันเศรษฐกิจเริ่มจะฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่สองของปี 2563 […]

แบงก์ชาติฟิลิปปินส์ส่งสัญญาณยังมีพื้นที่บริหารจัดการด้านนโยบายการเงินอีกมาก

แบงก์ชาติฟิลิปปินส์ส่งสัญญาณยังมีพื้นที่บริหารจัดการด้านนโยบายการเงินอีกมาก

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังคงมีพื้นที่เหลือเฟือสำหรับการบริหารจัดการรับมือกับเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังเผชิญกับการชะลอตัวท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 Benjamin Diokno ผู้ว่าการธนาคารกลางบอกกับ “Street Signs” ของซีเอ็นบีซี เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังมีพื้นที่ในการบริหารจัดการด้านนโยบายทางการเงินอีกมาก ซึ่งนั่นทำให้เราแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในแดนลบ ความคิดเห็นของเขาเกิดขึ้นภายหลังการตัดสินใจของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าสุดลง 0.50% เป็น 2.25% ซึ่งเป็นการปรับลดที่เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจโดยรอยเตอร์ส เขา กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นหลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลง ขณะที่การคำนวณจากธนาคารกลางที่แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจทั้งปีนี้ และยาวไปอีก 3 ปีข้างหน้า ธนาคารจึงได้ดำเนิการกระตุ้น ด้วยการดำเนินมาตรการล่วงหน้า

Asset Allocation จำเป็นแค่ไหน

Asset Allocation จำเป็นแค่ไหน

โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center การจัดสรรการลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท หรือ Asset Allocation เป็นการกระจายความเสี่ยงและจัดสรรสัดส่วนการลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเป้าหมายผลตอบแทนของแต่ละคน ปัจจุบันผู้มีเงินออมจำนวนมากได้ทำ Asset Allocation กันอยู่แล้ว แต่อาจไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น เก็บเงินไว้ที่ธนาคาร ซื้อหุ้นกู้ ซื้อกองทุนรวม ซื้อทองคำ หรือแม้แต่เล่นหุ้นเอง การแบ่งเงินไปฝาก/ ลงทุนที่หลากหลาย ก็นับว่าเป็น Asset Allocation อยู่แล้ว แต่ผู้ลงทุนควรพิจารณาว่า Asset Allocation ที่มีอยู่นั้นเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของตนเองหรือไม่ ทั้งนี้ เวลาดูทรัพย์สินลงทุน เราไม่ควรดูแค่กองทุนรวม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) อย่างเดียว ควรต้องพิจารณาเงินลงทุนทั้งหมดไปพร้อมๆ กัน แต่ต้องอิงตามเป้าหมายด้วย ทุกคนควรทำ Asset Allocation ใช่หรือไม่? คำตอบคือ […]

ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค.

ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค.

BF Economic Research ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค. ระบุ เศรษฐกิจไทยหดตัวต่อเนื่อง โดยรายละเอียดสำคัญมีดังนี้ธปท. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน พ.ค. ระบุ เศรษฐกิจไทยหดตัวต่อเนื่อง โดยรายละเอียดสำคัญมีดังนี้ • นักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัว -100% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง: โดยเป็นผลมาจากการปิดน่านฟ้าและได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว • ส่งออกไทย (ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์) ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่16,278.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,948.2 ล้านดอลลาร์ฯหรือ -22.50%YoY (vs. prev.2.12% YoY) ถ้าไม่รวมทองจะอยู่ที่ -27.86% YoY (vs. prev.-10.31% YoY) มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่ 13,584.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 16,485.9 ล้านดอลลาร์ฯ […]

ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นปรับตัวลงแรงในไตรมาส 2/2020 ตามคาด สะท้อนผลกระทบของ COVID-19

ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นปรับตัวลงแรงในไตรมาส 2/2020 ตามคาด สะท้อนผลกระทบของ COVID-19

BF Economic Research ดัชนี Tankan ที่สะท้อนความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ โดยการสำรวจรายไตรมาสของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงไตรมาส 2/2020 บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงอย่างมากแตะระดับ -34 จากระดับ -8 ในไตรมาส 1/2020 ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ -31 และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 สอดคล้องกับดัชนีของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงจากระดับ -8 และ -15 เป็น -36 และ -45 ตามลำดับ โดยเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดภาวะชะงักงัน การส่งออก และการผลิตลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในเดือนเม.ย. และพ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นอยู่ภายใต้ภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมไปถึงความต้องการสินค้าในตลาดที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้หลายบริษัทต้องลดกำลังการผลิตลง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ดัชนี Tankan ของบริษัทขนาดใหญ่ลดลงจากระดับ -17 เป็น -72 เนื่องจากตลาดส่งออกหลัก คือสหรัฐฯ และยุโรปซึ่งได้รับผลกระทบจาก COVID-19 […]

ฮ่องกงจะสูญเสียความเป็นศูนย์กลางการเงิน?

ฮ่องกงจะสูญเสียความเป็นศูนย์กลางการเงิน?

โดย…ทนง ขันทอง ฮ่องกงจะสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางการเงินได้หรือไม่ หลังจากสภาประชาชนแห่งชาติของจีนผ่านกฎหมายความมั่นคงฮ่องกงในวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ลงนามให้มีผลบังคับใช้ทันที ผู้นำของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และนาโต้ ดาหน้าออกมาแสดงความเห็นคัดค้านกฎหมายความมั่นคงฮ่องกง โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายความมั่นคงจะทำลายพื้นฐานสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยตามหลักการ 1 ประเทศ 2 ระบบ เพราะว่าฮ่องกงยังมีเวลาปกครองตัวเอง 50 ปี ตามข้อตกลงที่จีนมีกับอังกฤษในการส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงในปี 1997 หลังอังกฤษครอบครองอาณานิคมฮ่องกงมาเป็นเวลา 99 ปี นายไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาประกาศว่าจะยกเลิกสิทธิพิเศษทางการค้าที่ให้กับฮ่องกงตามกฎหมาย United States- Hong Kong Policy Act of 1994 ในช่วงที่มีการชุมนุมประท้วงก่อเหตุรุนแรงที่ฮ่องกงก่อนหน้านี้เพื่อต่อต้านกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน รัฐบาลจีนออกอาการกร้าวว่าจะจัดการกับผู้ชุมนุมประท้วงอย่างเด็ดขาด เพราะมองว่าการประท้วงถูกต่างชาติแทรกแซง และมีจุดมุ่งหมายแอบแฝงของมหาอำนาจตะวันตกที่ต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของปักกิ่งที่กำลังเผชิญหน้ากับสหรัฐฯ ในเกมภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลก แต่จีนก็ไม่ได้ทำอะไรมาก คงปล่อยให้เจ้าหน้าที่ฮ่องกงจัดการกับม็อบ เนื่องจากฮ่องกงไม่มีกฎหมายความมั่นคง การเอาผิดแกนนำผู้ชุมนุมประท้วงจึงไม่สามารถกระทำได้ อย่างมากแค่คุมตัวชั่วคราว […]