B-INNOTECH B-INNOTECHRMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี (B-INNOTECH) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INNOTECHRMF)
HIGHLIGHT ตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และการใช้วัคซีน แต่ยังมีปัจจัยลบเรื่องแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นแรงกดดันตลาดหุ้น การลงทุนที่ส่งผลบวกต่อกองทุน ได้แก่ การ Overweight ในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ การลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่น Alphabet และการลงทุนในกลุ่มท่องเที่ยวออนไลน์ ผู้จัดการกองทุนเริ่มเห็นสัญญาณว่าหุ้นเทคโนโลยีบางตัวราคาแพงเกินไป ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นดังกล่าว และนักลงทุนเริ่มหันมาสนใจหุ้นวัฏจักร (Cyclical) มากขึ้น โดยผู้จัดการกองทุนจะเลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเม็ดเงินเหล่านี้ นอกจากนี้ผู้จัดการกองทุนสนใจในหุ้นเทคโนโลยีขนาดกลางและเล็ก ภาพรวมตลาด ปัจจัยบวกในตลาดหุ้นทั่วโลกมาจากการเริ่มใช้วัคซีนอย่างแพร่หลาย และความหวังในการเปิดประเทศเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปลายเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา มีแรงกดดันตลาดหุ้นจากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ทำให้ตลาดหุ้นเริ่มมีความผันผวน ตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และการใช้วัคซีน แต่ยังมีปัจจัยลบเรื่องแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นแรงกดดันตลาดหุ้น ในช่วงที่ผ่านมามีแรงขายในหุ้นกลุ่ม Growth ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในปีที่แล้ว และเข้าสู่กลุ่ม Cyclical เพราะมองว่าน่าจะได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ และการที่ภาคการบริโภคฟื้นตัว พอร์ตการลงทุน การลงทุนที่ส่งผลบวกต่อกองทุน ได้แก่ การ Overweight […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 26 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,574.86 จุด เพิ่มขึ้น 3.82 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 26 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,574.86 จุด เพิ่มขึ้น 3.82 จุด หรือ 0.24% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,580.74 จุด และต่ำสุดที่ 1,566.89 จุด มูลค่าการซื้อขาย 74,487.28 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.ACE ปิดที่ 4.08 บาท เพิ่มขึ้น 0.34 บาท (+9.09%) มูลค่าการซื้อขาย 2,642.89 ลบ. 2.OR ปิดที่ 32.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท (+2.34%) มูลค่าการซื้อขาย 2,440.50 ลบ. 3.BANPU ปิดที่ 12.40 […]
ค่าขนส่งทางเรือพุ่งหลังเกิดปัญหาเรือเกยตื้นขวางคลองสุเอซกระทบการค้าทั่วโลก
เดอะ สเตรทไทม์ส รายงานว่า ค่าขนส่งทางเรือพุ่งขึ้นในช่วงที่มีปัญหาเรือเกยตื้นกีดขวางคลองสุเอซ ซึ่งสร้างความเสียหายให้การค้าทางทะเลทั่วโลก และทำให้การเดินทางระยะไกลอ้อมแอฟริกากลายป็นทางเลือกเดียวในระยะสั้น ทั้งนี้ บริษัทกู้เรือ เผยว่า เกิดปัญหาเรือขนส่งขนาดใหญ่ขวางทางในคลองสุเอซ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะจัดการได้ ซึ่งปัญหานี้ทำให้เรือทุกลำต้องหยุดการเข้ามาในคลองสุเอซตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่านมา เรือซึ่งมีความยาวประมาณ 400 เมตร กำลังปิดกั้นการเดินทางทั้ง 2 ฟากในเส้นทางขนส่งทางเรือที่มีการใช้งานแน่นขนัดที่สุด สำหรับการขนส่งน้ำมันและเชื้อเพลิงกลั่น เมล็ดพืช รวมถึงการค้าอื่นๆ ที่เชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับยุโรป อย่างไรก็ตามเรือขุดก็กำลังทำงานกันอย่างหนักหน่วงเพื่อที่จะกำจัดทรายหลายพันตันออกจากหัวเรือลำที่กำลังขวางกั้นคลองอยู่ การปิดกั้นคลองที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ส่งผลกระทบกับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่กำลังเผชิญความตึงเครียดเพิ่มขึ้นจากการที่อี-คอมเมิร์ซเติบโตในช่วงที่มีการแพร่ระบาด เนื่องจากประมาณ 12% ของการค้าทั่วโลก ต้องขนส่งผ่านคลองสุเอซนี้ ถือเป็นช่องทางเชิงกลยุทธ์ที่มีความสำคัญต่อโลก มีเรือหลายลำที่กำลังรอคิวในการผ่านเส้นทางนี้ ซึ่งยิ่งมีจำนวนเรือรอคิวมากเท่าไหร่ในคลอง ก็ยิ่งส่งผลต่อต้นทุนการขนส่ง ซึ่งในเวลานี้อัตราการขนส่งทางเรือก็พุ่งทะยานขึ้นอยู่แล้ว ต้นทุนการขนส่งทางเรือ สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต จากจีนไปยังยุโรป เพิ่มขึ้นเป็น 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ เพิ่มเกือบ 4 เท่าตัวจากปีที่แล้ว ขณะที่สินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติคลองสุเอซครั้งนี้ […]
เศรษฐกิจจีนจะเป็นผู้นำการฟื้นตัวของเอเชีย
โดย…ทนง ขันทอง รายงานล่าสุดของธนาคารโลก (East Asia and Pacific Economic Update, 26 มีนาคม 2021) ระบุว่า เศรษฐกิจของจีน ซึ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโต 8.1% ในปี 2021 นี้จะช่วยผลักดันให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกลับมาขยายตัว 7.4% แม้ว่าหลายๆ ประเทศยังคงมีอุปสรรคการฟื้นตัวจากปัญหาของไวรัสโคโรนา จีนและเวียดนามเป็น 2 ประเทศที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องการบริหารจัดการปัญหาไวรัส ทำให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยได้ โดยจีนจะมีอัตราการเติบโต 8.1% ในปีนี้ เทียบกับ 2.3% ในปี 2020 ส่วนเวียดนามจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 6.6% ในปีนี้เทียบกับ 2.9% ในปีที่ผ่านมา ธนาคารโลก กล่าวในรายงานว่า ความท้าทายทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละประเทศมีความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาไวรัสโคโรนาอย่างไร มีความสามารถที่จะฉกฉวยโอกาสของการฟื้นตัวของการค้าระหว่างประเทศมากน้อยเพียงใด และท้ายที่สุดรัฐบาลมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงใด ทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินในการดูแลเศรษฐกิจให้กลับมามีการขยายตัวตามศักยภาพที่แท้จริง สำหรับประเทศไทย ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว 3.4% เทียบกับการหดตัว […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 25 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,571.04 จุด เพิ่มขึ้น 0.21 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 25 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,571.04 จุด เพิ่มขึ้น 0.21 จุด หรือ 0.01% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,580.17จุด และต่ำสุดที่ 1,571.04 จุด มูลค่าการซื้อขาย 93,972.10 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.OR ปิดที่ 32.00 บาท ลดลง -1.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,972.11 ลบ. 2.GPSC ปิดที่ 76.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,519.63 ลบ. 3.EA ปิดที่ 61.25 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 […]
รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมจ่ายเงินสนับสนุนให้นายจ้างในโครงการสนับสนุนค่าแรง 30 มี.ค.นี้
เดอะ สเตรทไทม์ส รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. นี้ จะมีนายจ้างมากกว่า 150,000 ราย ที่ได้รับเงินรวมกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ภายใต้มาตรการสนับสนุนค่าแรงโครงการสนับสนุนงาน (JSS) โดยการจ่ายเงินนี้จะเป็นประโยชน์กับพนักงานในประเทศมากกว่า 2 ล้านคน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังและหน่วยงานรายได้ในประเทศของสิงคโปร์ ระบุในแถลงการณ์ร่วมว่า นายจ้างที่จ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนกลางสำหรับพนักงานของตัวเองในเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2020 ตามกำหนดเวลา ในการจ่ายเงินงวดเดือน มี.ค. นี้ นายจ้างจะได้รับการสนับสนุนมากถึง 50% สำหรับการจ่ายเงินเดือน 4,600 ดอลลาร์สิงคโปร์แรกที่จ่ายไปในเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2020 นายจ้างในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก เช่น การบิน อวกาศ และการท่องเที่ยว จะได้รับการสนับสนุน 50% ส่วนในภาคบริการอาหาร ค้าปลีก ศิลปะและบันเทิง การขนส่งทางบก และทางน้ำ รวมถึงนอกพื้นที่ชายฝั่งจะได้รับการสนับสนุน 30% นายจ้างในอุตสาหกรรมก่อสร้างจะได้รับการสนับสนุน […]
เงินคริปโตกับความเสี่ยงของการถูกลงดาบ
โดย…ทนง ขันทอง มีบุคคลที่สำคัญ 2 คนออกมาแสดงความเห็นในเชิงลบกับเงินคริปโตที่กำลังบูมมากในตลาด ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันมากขึ้นว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุน คนแรกคือนาย Agustin Carstens ผู้จัดการทั่วไปของ Bank for International Settlements ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นที่รู้กันว่าเป็นธนาคารกลางของธนาคารกลางทั่วโลก อีกคนหนึ่งคือนาย Ray Dalio ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates ซึ่งเป็นเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยทรัพย์สินภายใต้การบริหาร 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นาย Carstens มองว่า เงินคริปโตถูกใช้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย และสมควรที่จะต้องถูกควบคุมให้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น เขา บอกว่า เงินคริปโตถูกใช้เพื่อการอาร์บิทราจ หรือการเลี่ยงกฎหมาย ในขณะที่กฎหมายป้องกันการฟอกเงิน และกฎหมายที่สกัดการไฟแนนซ์การก่อการร้ายไม่ได้อยู่ในสารบบของเงินไซเบอร์ บิตคอยน์ ซึ่งเป็นคริปโตหลักของตลาดคริปโตทำราคาสูงขึ้น 80% ตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดที่ทำเอาไว้ที่ 61,000 ดอลลาร์สหรัฐ บิตคอยน์อ่อนค่าลงไปแล้วประมาณ 12% ท่ามกลางความผันผวน และการเก็งกำไรอย่างเข้มข้น Carstens […]
เมื่อบิทคอยน์ คือ ผู้ท้าชิงตำแหน่งสกุลเงินหลักของโลก
โดย ณัฐพล ปรีชาวุฒิ กองทุนบัวหลวง เมื่ออุบัติการณ์ COVID-19 เริ่มต้นในปีก่อน สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ยังคงมีบทบาทเป็น Safe Haven ที่สำคัญอีกครั้งเหมือนในหลายปีที่ผ่านมา โดยถึงแม้จะเริ่มมีคนเริ่มคลางแคลงถึงเสถียรภาพของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบัน คือ มหาอำนาจของโลก แต่ดอลลาร์สหรัฐก็ยังทำหน้าที่เป็นสกุลเงินหลักของการค้าโลกและยังเป็นเงินตราที่ใช้เป็นทุนสำรองของธนาคารกลางโลกส่วนใหญ่ ก่อนหน้าที่ดอลลาร์สหรัฐ จะทำหน้าที่ดังกล่าวในปัจจุบัน ในอดีตมีเพียง 5 สกุลเงินที่เคยทำหน้าที่เป็น Reserve Currency ของโลก โดยต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14 ที่เริ่มต้นด้วยสกุลเงินของประเทศโปรตุเกสและต่อด้วยสเปน เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร โดยแต่ละสมัยกินเวลาเฉลี่ยราว 94 ปี ซึ่งหากเรานับการครองสมัยของดอลลาร์สหรัฐจนถึงปัจจุบันนั้นกินเวลานานกว่า 100 ปีแล้ว จึงเป็นเหตุให้หลายคนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่าดอลลาร์สหรัฐ จะทำหน้าที่เป็น Reserve Currency ได้นานอีกเท่าใหร่ โดยก่อนหน้านี้ ก็มีผู้ท้าชิง อาทิ เงินยูโร ที่เริ่มใช้ในปี 1999 แต่ก็ไม่สามารถได้รับความเชื่อมั่นที่เพียงพอในระดับโลก เนื่องจากประสิทธิภาพของการบริหารในรูปแบบหลายรัฐของยูโรโซนยังไม่มีมากนัก หรือแม้กระทั่งผู้ท้าชิงอย่างเงินหยวนของจีนในช่วงหลายปีให้หลัง […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 24 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,570.83 จุด เพิ่มขึ้น 6.58 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 24 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,570.83 จุด เพิ่มขึ้น 6.58 จุด หรือ 0.42% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,570.84 จุด และต่ำสุดที่ 1,555.72 จุด มูลค่าการซื้อขาย 85,436.91 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.OR ปิดที่ 33.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท (+2.33%) มูลค่าการซื้อขาย 4,935.87 ลบ. 2.SCC ปิดที่ 396.00 บาท เพิ่มขึ้น 10.00 บาท (+2.59%) มูลค่าการซื้อขาย 3,164.44 ลบ. 3.SAWAD ปิดที่ 86.75 […]
อินเดียอาจใช้เวลานานขึ้น 3 ปี เพื่อจะขึ้นแท่นเศรษฐกิจที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก
รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า อินเดียจะแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นแท่นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐฯ และจีนภายในปี 2031 รายงานล่าสุดจากแผนกวาณิชธนกิจของแบงก์ ออฟ อเมริกา (BofA) ระบุว่า ภาวะโควิด-19 ส่งผลที่หนักต่อเศรษฐกิจซึ่งทำให้โอกาสที่อินเดียจะแซงขึ้นมาอยู่อันดับ 3 ของโลกได้นั้น ดูไกลออกไปจากเป้าหมายเดิมที่คาดไว้ประมาณ 3 ปี Indranil Sen Gupta และ Aastha Gudwani นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทหลักทรัพย์ BofA เขียนไว้ในรายงานว่า ตอนนี้เราคาดว่าอินเดียจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกภายในปี 2031 หรือปีงบประมาณ 2032 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าเกิดโควิด-19 ภายในปี 2028 อินเดียประสบวิกฤติเศรษฐกิจ เนื่องจากปีที่ผ่านมาประเทศต้องล็อคดาวน์เป็นเวลานานเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ส่งผลให้การจ้างงานหลายล้านคนหายไป และหลายตำแหน่งงานที่หายไปอย่างถาวร ในขณะที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงได้รับการปรับเปลี่ยน หน่วยงานจัดอันดับเอสแอนด์พี กล่าวว่า อินเดียต้องเผชิญกับการสูญเสียที่ถาวรของผลผลิตทางเศรษฐกิจประมาณ 10% เมื่อเทียบกับก่อนเกิดการระบาด