กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี (B-INNOTECH) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INNOTECHRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี (B-INNOTECH) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INNOTECHRMF)

HIGHLIGHT ตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และการใช้วัคซีน แต่ยังมีปัจจัยลบเรื่องแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นแรงกดดันตลาดหุ้น การลงทุนที่ส่งผลบวกต่อกองทุน ได้แก่ การ Overweight ในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ การลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่น Alphabet และการลงทุนในกลุ่มท่องเที่ยวออนไลน์ ผู้จัดการกองทุนเริ่มเห็นสัญญาณว่าหุ้นเทคโนโลยีบางตัวราคาแพงเกินไป ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นดังกล่าว และนักลงทุนเริ่มหันมาสนใจหุ้นวัฏจักร (Cyclical) มากขึ้น โดยผู้จัดการกองทุนจะเลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเม็ดเงินเหล่านี้ นอกจากนี้ผู้จัดการกองทุนสนใจในหุ้นเทคโนโลยีขนาดกลางและเล็ก ภาพรวมตลาด ปัจจัยบวกในตลาดหุ้นทั่วโลกมาจากการเริ่มใช้วัคซีนอย่างแพร่หลาย และความหวังในการเปิดประเทศเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปลายเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา มีแรงกดดันตลาดหุ้นจากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ ทำให้ตลาดหุ้นเริ่มมีความผันผวน ตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และการใช้วัคซีน แต่ยังมีปัจจัยลบเรื่องแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นแรงกดดันตลาดหุ้น ในช่วงที่ผ่านมามีแรงขายในหุ้นกลุ่ม Growth ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในปีที่แล้ว และเข้าสู่กลุ่ม Cyclical เพราะมองว่าน่าจะได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ และการที่ภาคการบริโภคฟื้นตัว พอร์ตการลงทุน การลงทุนที่ส่งผลบวกต่อกองทุน ได้แก่ การ Overweight […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 26 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,574.86 จุด เพิ่มขึ้น 3.82 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 26 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,574.86 จุด เพิ่มขึ้น 3.82 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 26 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,574.86 จุด เพิ่มขึ้น 3.82 จุด หรือ 0.24% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,580.74 จุด และต่ำสุดที่ 1,566.89 จุด มูลค่าการซื้อขาย 74,487.28 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.ACE ปิดที่ 4.08 บาท เพิ่มขึ้น 0.34 บาท (+9.09%) มูลค่าการซื้อขาย 2,642.89 ลบ. 2.OR ปิดที่ 32.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท (+2.34%) มูลค่าการซื้อขาย 2,440.50 ลบ. 3.BANPU ปิดที่ 12.40 […]

ค่าขนส่งทางเรือพุ่งหลังเกิดปัญหาเรือเกยตื้นขวางคลองสุเอซกระทบการค้าทั่วโลก

ค่าขนส่งทางเรือพุ่งหลังเกิดปัญหาเรือเกยตื้นขวางคลองสุเอซกระทบการค้าทั่วโลก

เดอะ สเตรทไทม์ส รายงานว่า ค่าขนส่งทางเรือพุ่งขึ้นในช่วงที่มีปัญหาเรือเกยตื้นกีดขวางคลองสุเอซ ซึ่งสร้างความเสียหายให้การค้าทางทะเลทั่วโลก และทำให้การเดินทางระยะไกลอ้อมแอฟริกากลายป็นทางเลือกเดียวในระยะสั้น ทั้งนี้ บริษัทกู้เรือ เผยว่า เกิดปัญหาเรือขนส่งขนาดใหญ่ขวางทางในคลองสุเอซ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะจัดการได้ ซึ่งปัญหานี้ทำให้เรือทุกลำต้องหยุดการเข้ามาในคลองสุเอซตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่านมา เรือซึ่งมีความยาวประมาณ 400 เมตร กำลังปิดกั้นการเดินทางทั้ง 2 ฟากในเส้นทางขนส่งทางเรือที่มีการใช้งานแน่นขนัดที่สุด สำหรับการขนส่งน้ำมันและเชื้อเพลิงกลั่น เมล็ดพืช รวมถึงการค้าอื่นๆ ที่เชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับยุโรป อย่างไรก็ตามเรือขุดก็กำลังทำงานกันอย่างหนักหน่วงเพื่อที่จะกำจัดทรายหลายพันตันออกจากหัวเรือลำที่กำลังขวางกั้นคลองอยู่ การปิดกั้นคลองที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ส่งผลกระทบกับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่กำลังเผชิญความตึงเครียดเพิ่มขึ้นจากการที่อี-คอมเมิร์ซเติบโตในช่วงที่มีการแพร่ระบาด เนื่องจากประมาณ 12% ของการค้าทั่วโลก ต้องขนส่งผ่านคลองสุเอซนี้ ถือเป็นช่องทางเชิงกลยุทธ์ที่มีความสำคัญต่อโลก มีเรือหลายลำที่กำลังรอคิวในการผ่านเส้นทางนี้ ซึ่งยิ่งมีจำนวนเรือรอคิวมากเท่าไหร่ในคลอง ก็ยิ่งส่งผลต่อต้นทุนการขนส่ง ซึ่งในเวลานี้อัตราการขนส่งทางเรือก็พุ่งทะยานขึ้นอยู่แล้ว ต้นทุนการขนส่งทางเรือ สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต จากจีนไปยังยุโรป เพิ่มขึ้นเป็น 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ เพิ่มเกือบ 4 เท่าตัวจากปีที่แล้ว ขณะที่สินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติคลองสุเอซครั้งนี้ […]

เศรษฐกิจจีนจะเป็นผู้นำการฟื้นตัวของเอเชีย

เศรษฐกิจจีนจะเป็นผู้นำการฟื้นตัวของเอเชีย

โดย…ทนง ขันทอง รายงานล่าสุดของธนาคารโลก (East Asia and Pacific Economic Update, 26 มีนาคม 2021) ระบุว่า เศรษฐกิจของจีน ซึ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโต 8.1% ในปี 2021 นี้จะช่วยผลักดันให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกลับมาขยายตัว 7.4% แม้ว่าหลายๆ ประเทศยังคงมีอุปสรรคการฟื้นตัวจากปัญหาของไวรัสโคโรนา จีนและเวียดนามเป็น 2 ประเทศที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องการบริหารจัดการปัญหาไวรัส ทำให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยได้ โดยจีนจะมีอัตราการเติบโต 8.1% ในปีนี้ เทียบกับ 2.3% ในปี 2020 ส่วนเวียดนามจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 6.6% ในปีนี้เทียบกับ 2.9% ในปีที่ผ่านมา ธนาคารโลก กล่าวในรายงานว่า ความท้าทายทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละประเทศมีความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาไวรัสโคโรนาอย่างไร มีความสามารถที่จะฉกฉวยโอกาสของการฟื้นตัวของการค้าระหว่างประเทศมากน้อยเพียงใด และท้ายที่สุดรัฐบาลมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงใด ทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินในการดูแลเศรษฐกิจให้กลับมามีการขยายตัวตามศักยภาพที่แท้จริง สำหรับประเทศไทย ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว 3.4% เทียบกับการหดตัว […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 25 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,571.04 จุด เพิ่มขึ้น 0.21 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 25 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,571.04 จุด เพิ่มขึ้น 0.21 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 25 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,571.04 จุด เพิ่มขึ้น 0.21 จุด หรือ 0.01% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,580.17จุด และต่ำสุดที่ 1,571.04 จุด มูลค่าการซื้อขาย 93,972.10 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.OR ปิดที่ 32.00 บาท ลดลง -1.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,972.11 ลบ. 2.GPSC ปิดที่ 76.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,519.63 ลบ. 3.EA ปิดที่ 61.25 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 […]

รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมจ่ายเงินสนับสนุนให้นายจ้างในโครงการสนับสนุนค่าแรง 30 มี.ค.นี้

รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมจ่ายเงินสนับสนุนให้นายจ้างในโครงการสนับสนุนค่าแรง 30 มี.ค.นี้

เดอะ สเตรทไทม์ส รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. นี้ จะมีนายจ้างมากกว่า 150,000 ราย ที่ได้รับเงินรวมกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ภายใต้มาตรการสนับสนุนค่าแรงโครงการสนับสนุนงาน (JSS) โดยการจ่ายเงินนี้จะเป็นประโยชน์กับพนักงานในประเทศมากกว่า 2 ล้านคน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังและหน่วยงานรายได้ในประเทศของสิงคโปร์ ระบุในแถลงการณ์ร่วมว่า นายจ้างที่จ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนกลางสำหรับพนักงานของตัวเองในเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2020 ตามกำหนดเวลา ในการจ่ายเงินงวดเดือน มี.ค. นี้ นายจ้างจะได้รับการสนับสนุนมากถึง 50% สำหรับการจ่ายเงินเดือน 4,600 ดอลลาร์สิงคโปร์แรกที่จ่ายไปในเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2020 นายจ้างในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก เช่น การบิน อวกาศ และการท่องเที่ยว จะได้รับการสนับสนุน 50% ส่วนในภาคบริการอาหาร ค้าปลีก ศิลปะและบันเทิง การขนส่งทางบก และทางน้ำ รวมถึงนอกพื้นที่ชายฝั่งจะได้รับการสนับสนุน 30% นายจ้างในอุตสาหกรรมก่อสร้างจะได้รับการสนับสนุน […]

เงินคริปโตกับความเสี่ยงของการถูกลงดาบ

เงินคริปโตกับความเสี่ยงของการถูกลงดาบ

โดย…ทนง ขันทอง มีบุคคลที่สำคัญ 2 คนออกมาแสดงความเห็นในเชิงลบกับเงินคริปโตที่กำลังบูมมากในตลาด ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันมากขึ้นว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุน คนแรกคือนาย Agustin Carstens ผู้จัดการทั่วไปของ Bank for International Settlements ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นที่รู้กันว่าเป็นธนาคารกลางของธนาคารกลางทั่วโลก อีกคนหนึ่งคือนาย Ray Dalio ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates ซึ่งเป็นเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยทรัพย์สินภายใต้การบริหาร 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นาย Carstens มองว่า เงินคริปโตถูกใช้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย และสมควรที่จะต้องถูกควบคุมให้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น เขา บอกว่า เงินคริปโตถูกใช้เพื่อการอาร์บิทราจ หรือการเลี่ยงกฎหมาย ในขณะที่กฎหมายป้องกันการฟอกเงิน และกฎหมายที่สกัดการไฟแนนซ์การก่อการร้ายไม่ได้อยู่ในสารบบของเงินไซเบอร์ บิตคอยน์ ซึ่งเป็นคริปโตหลักของตลาดคริปโตทำราคาสูงขึ้น 80% ตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดที่ทำเอาไว้ที่ 61,000 ดอลลาร์สหรัฐ บิตคอยน์อ่อนค่าลงไปแล้วประมาณ 12% ท่ามกลางความผันผวน และการเก็งกำไรอย่างเข้มข้น Carstens […]

เมื่อบิทคอยน์ คือ ผู้ท้าชิงตำแหน่งสกุลเงินหลักของโลก

เมื่อบิทคอยน์ คือ ผู้ท้าชิงตำแหน่งสกุลเงินหลักของโลก

โดย ณัฐพล ปรีชาวุฒิ กองทุนบัวหลวง เมื่ออุบัติการณ์ COVID-19 เริ่มต้นในปีก่อน สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ยังคงมีบทบาทเป็น Safe Haven ที่สำคัญอีกครั้งเหมือนในหลายปีที่ผ่านมา โดยถึงแม้จะเริ่มมีคนเริ่มคลางแคลงถึงเสถียรภาพของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบัน คือ มหาอำนาจของโลก แต่ดอลลาร์สหรัฐก็ยังทำหน้าที่เป็นสกุลเงินหลักของการค้าโลกและยังเป็นเงินตราที่ใช้เป็นทุนสำรองของธนาคารกลางโลกส่วนใหญ่ ก่อนหน้าที่ดอลลาร์สหรัฐ จะทำหน้าที่ดังกล่าวในปัจจุบัน ในอดีตมีเพียง 5 สกุลเงินที่เคยทำหน้าที่เป็น Reserve Currency ของโลก โดยต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14 ที่เริ่มต้นด้วยสกุลเงินของประเทศโปรตุเกสและต่อด้วยสเปน เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร โดยแต่ละสมัยกินเวลาเฉลี่ยราว 94 ปี ซึ่งหากเรานับการครองสมัยของดอลลาร์สหรัฐจนถึงปัจจุบันนั้นกินเวลานานกว่า 100 ปีแล้ว จึงเป็นเหตุให้หลายคนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่าดอลลาร์สหรัฐ จะทำหน้าที่เป็น Reserve Currency ได้นานอีกเท่าใหร่ โดยก่อนหน้านี้ ก็มีผู้ท้าชิง อาทิ เงินยูโร ที่เริ่มใช้ในปี 1999 แต่ก็ไม่สามารถได้รับความเชื่อมั่นที่เพียงพอในระดับโลก เนื่องจากประสิทธิภาพของการบริหารในรูปแบบหลายรัฐของยูโรโซนยังไม่มีมากนัก หรือแม้กระทั่งผู้ท้าชิงอย่างเงินหยวนของจีนในช่วงหลายปีให้หลัง […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 24 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,570.83 จุด เพิ่มขึ้น 6.58 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 24 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,570.83 จุด เพิ่มขึ้น 6.58 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 24 มี.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,570.83 จุด เพิ่มขึ้น 6.58 จุด หรือ 0.42%  ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,570.84 จุด และต่ำสุดที่ 1,555.72 จุด มูลค่าการซื้อขาย 85,436.91 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.OR ปิดที่ 33.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท (+2.33%) มูลค่าการซื้อขาย 4,935.87 ลบ. 2.SCC ปิดที่ 396.00 บาท เพิ่มขึ้น 10.00 บาท (+2.59%) มูลค่าการซื้อขาย 3,164.44 ลบ. 3.SAWAD ปิดที่ 86.75 […]

อินเดียอาจใช้เวลานานขึ้น 3 ปี เพื่อจะขึ้นแท่นเศรษฐกิจที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก

อินเดียอาจใช้เวลานานขึ้น 3 ปี เพื่อจะขึ้นแท่นเศรษฐกิจที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า อินเดียจะแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นแท่นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐฯ และจีนภายในปี 2031 รายงานล่าสุดจากแผนกวาณิชธนกิจของแบงก์ ออฟ อเมริกา (BofA) ระบุว่า ภาวะโควิด-19 ส่งผลที่หนักต่อเศรษฐกิจซึ่งทำให้โอกาสที่อินเดียจะแซงขึ้นมาอยู่อันดับ 3 ของโลกได้นั้น ดูไกลออกไปจากเป้าหมายเดิมที่คาดไว้ประมาณ 3 ปี Indranil Sen Gupta และ Aastha Gudwani นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทหลักทรัพย์ BofA เขียนไว้ในรายงานว่า ตอนนี้เราคาดว่าอินเดียจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกภายในปี 2031 หรือปีงบประมาณ 2032 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าเกิดโควิด-19 ภายในปี 2028 อินเดียประสบวิกฤติเศรษฐกิจ เนื่องจากปีที่ผ่านมาประเทศต้องล็อคดาวน์เป็นเวลานานเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ส่งผลให้การจ้างงานหลายล้านคนหายไป และหลายตำแหน่งงานที่หายไปอย่างถาวร ในขณะที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงได้รับการปรับเปลี่ยน หน่วยงานจัดอันดับเอสแอนด์พี กล่าวว่า อินเดียต้องเผชิญกับการสูญเสียที่ถาวรของผลผลิตทางเศรษฐกิจประมาณ 10% เมื่อเทียบกับก่อนเกิดการระบาด