BBLAM เสนอขาย IPO “BP3/22 (AI)” วันที่ 11-17 ก.พ.นี้
BBLAM เสนอขาย IPO ‘กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 3/22 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย’ หรือ BP3/22 (AI) ซึ่งเป็นเทอมฟันด์ อายุ 6 เดือน วันที่ 11-17 กุมภาพันธ์ 2565 นี้ ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท เป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่มองหาการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่เหมาะสม รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า BBLAM เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 3/22 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ BP3/22 (AI) ระหว่างวันที่ 11-17 กุมภาพันธ์ 2565 นี้ โดยเสนอขายในราคา 10 บาทต่อหน่วย และผู้ลงทุนจะต้องจองซื้อครั้งแรกขั้นต่ำ 500,000 […]
สหรัฐฯ พร้อมหนุนลงทุนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วง 5 ปีจากนี้
รัฐบาลบริหารของ Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาเผยแผนลงทุน 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 5 ปีหลังจากนี้ เพื่อสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหลายพันจุด สภาคองเกรสอนุมัติเงินลงทุนให้กับรัฐต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกฎหมายการปรับปรุงโสร้างพื้นฐานในเดือนพฤศจิกายน มูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ทำเนียบขาวต้องการให้คนอเมริกันเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะสนับสนุนเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อการลงทุนด้านรถยนต์ไฟฟ้า ทีมบริหารของสหรัฐฯ จะทำให้เกิดการลงทุน 615 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี 2022 ก่อน แต่หลายรัฐต้องส่งแผนฉบับแรกและทำให้รัฐบาลกลางอนุมัติก่อน Pete Buttigieg รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ ระบุว่า จะไม่สั่งว่ารัฐต่างๆ ต้องทำอย่างไร แต่เราจะทำให้แน่ใจว่าพวกเขาดำเนินการได้ตรงกับมาตรฐาน โดยสหรัฐฯ เผชิญกับ ความท้าทายด้านเครือข่ายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความแตกต่างกันในพื้นที่เมืองและชนบท ดังนั้นแต่ละรัฐจะต้องมีการปรับแต่งแผนของตัวเอง แล้วเข้ามานำเสนอแผนงานกับรัฐบาลกลาง ในปี 2030 Biden ต้องการให้ 50% ของรถยนต์ใหม่ทั้งหมดที่ขายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าหรือปลั๊กอินไฮบริด และมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟ้า 500,000 จุด แต่ไม่ได้บอกว่าจะยุติการขายรถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงภายในปี 2030 […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 10 ก.พ. 2565 ปิดตลาดที่ 1,703.00 จุด ลดลง 0.16 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 10 ก.พ. 2565 ปิดตลาดที่ 1,703.00 จุด ลดลง 0.16 จุด (-0.01%) ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,707.44 จุด และต่ำสุดที่ 1,696.73 จุด มูลค่าการซื้อขาย 112,335.48 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 166.50 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท (+2.46%) มูลค่าการซื้อขาย 14,844.02 ลบ. 2.BBL ปิดที่ 148.00 บาท เพิ่มขึ้น 3.00 บาท (+2.07%) มูลค่าการซื้อขาย 4,606.45 ลบ. 3.KCE ปิดที่ 62.00 […]
หลายประเทศเริ่มเปิดประเทศรับนักเดินทางเป็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงใหญ่ของแนวคิดที่มีต่อโรคระบาด
ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ออกมาประกาสแผนกลับมาเปิดประเทศหรือผ่อนคลายข้อบังคับในการเดินทางข้ามแดนมากขึ้น รวมถึงสถานทีที่ยังคงรักษากฎระเบียบที่เข้มงวดในการข้ามแดนช่วงที่มีโรคระบาดในโลกด้วย การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังผ่านช่วงที่มีการติดเชื้อทั่วโลกจนทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก ทำสถิติสูงสุดใหม่ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2022 โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 4 ล้านคน ภายในเวลาแค่วันเดียว อย่างไรก็ตาม หลายประเทศออกมาส่งสัญญาณว่า พวกเขาคงไม่สามารถรับค่าใช้จ่ายทางเศณษฐกิจได้อีกแล้ว จึงไม่ต้องการที่จะปิดประเทศต่อไป สำหรับไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน เริ่มแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งที่เปิดประเทศและปิดประเทศ ในช่วงปลายปี 2021 ทำให้ผู้คนต่างก็ตั้งคำถามถึงประโยชน์ของนโยบายการปิดพรมแดน ทั้งนี้ พบว่า มีมากกว่า 54% ของประชากรโลกที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว ตามข้อมูลที่เผยแพร่ใน Our World in Data ขณะที่การรักษาพยาบาลก็สามารถป้องกันและรักษาการติดเชื้อรุนแรงได้สำเร็จ และมีผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่มีมุมมองบวกอย่างระมัดระวังในตอนนี้ นำโดย ดร.Anthony Fauci ที่ปรึกษาทางการแพทย์ชั้นนำชาวอเมริกัน ที่ระบุว่า ระยะใหม่ของโรคระบาดอยู่ไม่ไกลแล้ว ตัวอย่างขงประเทศที่ประกาศเปิดประเทศครั้งใหญ่ เช่น ออสเตรเลีย ประกาศว่า […]
Market Summary SET Uncategorized
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 9 ก.พ. 2565 ปิดตลาดที่ 1,703.16 จุด เพิ่มขึ้น 18.93 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 9 ก.พ. 2565 ปิดตลาดที่ 1,703.16 จุด เพิ่มขึ้น 18.93 จุด (+1.12%) ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,708.03 จุด และต่ำสุดที่ 1,688.95 จุด มูลค่าการซื้อขาย 135,624.66 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 162.50 บาท เพิ่มขึ้น 8.00 บาท (+5.18%) มูลค่าการซื้อขาย 10,373.33 ลบ. 2.KCE ปิดที่ 64.75 บาท ลดลง 8.50 บาท (-11.60%) มูลค่าการซื้อขาย 6,125.07 ลบ. 3.PTT ปิดที่ 40.50 […]
ธนาคารกลางญี่ปุ่นมองนโยบาย zero-Covid ของจีนจะกระทบการเติบโตของโลก
ผู้ดำเนินนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นออกมาให้ความเห็นว่า นโยบายการควบคุมโควิดให้เป็นศูนย์ของจีน หรือที่เรียกว่า zero-Covid จะมีผลกระทบต่อการเติบโตของโลก เนื่องจากไปทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก และสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อให้ทั่วโลก นี่ถือเป็นการออกมาแสดงความเห็นสอดคล้องกับที่ Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกมาแสดงความคิดเห็นเมื่อเดือนมกราคม โดยชี้ว่าจีนควรทบทวนการใช้แนวทาง zero-Covid ใหม่ Toyoaki Nakamura คณะกรรมการบริหาร ธนาคารกลางญี่ปุ่น แสดงความคิดเห็นว่า เศรษฐกิจจีนถือเป็นตลาดและโรงงานของโลก ดังนั้นการใช้นโยบาย zero-Covid จึงมีความเสี่ยง ท่ามกลางการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนในวงกว้างขึ้นซึ่งอาจกระทบเศรษฐกิจโลก รวมถึงทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก และสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อ ขณะที่ความไม่แน่นอนที่บริษัทญี่ปุ่นจะส่งผ่านต้นทุนวัตถุดิบที่แพงขึ้นไปยังครัวเรือนได้เร็วแค่ไหน ก็เป็นอีกความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ Nakamura คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวต่อเนื่องได้จากผลกระทบการแพร่ระบาดและข้อจำกัดในด้านอุปทานที่ลดลง แต่เขามองว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะต้องคงนโยบายแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษเอาไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งเพียงพอที่จะเร่งเงินเฟ้อไปถึงเป้าหมาย 2% ได้ ที่มา : CNBC
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี
Economic Research กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2022 มีแนวโน้มสูงกว่าที่ประเมินไว้และอาจสูงกว่ากรอบเป้าหมายในช่วงแรกของปี จากการปรับขึ้นราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานและอาหารสดบางประเภท นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้น จากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจมากขึ้นหากราคาพลังงานและอาหารสดอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด หรือหากข้อจำกัดด้านการผลิตขยายวงกว้างขึ้นไปสู่สินค้าประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย แต่จะต้องติดตามราคาพลังงานโลก การปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการในประเทศ รวมทั้งแรงกดดันต่อค่าจ้างแรงงานอย่างใกล้ชิด สภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง โดยการกระจายสภาพคล่องยังแตกต่างกันบ้างในแต่ละภาคเศรษฐกิจ ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นสำคัญ สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ฯ ยังเคลื่อนไหวผันผวน จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักที่เร็วขึ้นและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดในประเทศ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด รวมทั้งผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ด้านนโยบายการคลัง กนง. เห็นว่ามาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมาตรการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องยังมีความสำคัญ ด้านการดำเนินนโยบายการเงิน กนง.มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ โดยปัจจัยที่ต้องติดตามต่อ ได้แก่ สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ราคาพลังงานโลก การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงความเพียงพอของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ […]
BBLAM Monthly Economic Review – มกราคม 2022 : ยูโรโซน ญี่ปุ่น อินเดีย
Economic Research เศรษฐกิจยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย ในเดือนมกราคม 2022 ประเด็นหลักหนีไม่พ้น อัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นสูง ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินเป็นหลัก ยูโรโซน สำหรับเศรษฐกิจยูโรโซน จะเห็นว่าตั้งแต่ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจยูโรโซนฟื้นตัวมาได้ค่อนข้างดี นับตั้งแต่เจอวิกฤติโควิด BBLAM คาดการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจยูโรโซนน่าจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง หลังจากฟื้นตัวค่อนข้างแรง แต่เมื่อยูโรโซนเผชิญกับการระบาดของโควิด ตั้งแต่สายพันธุ์เดลต้าต่อด้วยสายพันธุ์โอมิครอน ก็ทำให้เศรษฐกิจดูเหมือนจะสะดุดลงไปบ้างในไตรมาส 4 ปี 2021 สะท้อนได้จากตัวเลข PMI หรือดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่บ่งบอกถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเยอรมนี ที่นอกจากเผชิญปัญหาโควิดแล้ว ก็เจอปัญหาขาดแคลนชิปที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ปรับตัวลดลงด้วย ส่งผลให้เมื่อเทียบเยอรมนี กับประเทศอื่นๆ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปนแล้ว ดูเหมือนเศรษฐกิจเยอรมนีจะชะลอตัวลงไปมากกว่า เมื่อพิจารณาตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ล่าสุดที่ออกมา GDP เยอรมนี ออกมาอยู่ที่ -0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ทำให้ตลาดเริ่มมีความกังวลว่า เศรษฐกิจเยอรมนีอาจจะเผชิญกับภาวะ technical recession ได้ […]
Fund Comment
Fund Comment มกราคม 2565 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ม.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 1 bps ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวอายุ 2 ปีขึ้นไป ปรับเพิ่มขึ้นในช่วง 4 ถึง 24 bps ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Fed Funds Rate) และการลดขนาดงบดุล (QT) จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง รวมถึงตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และเงินเฟ้อขยายตัวเหนือเป้าหมาย 2% กดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ณ สิ้นเดือน ม.ค. อยู่ที่ 1.79% ปรับเพิ่มขึ้น 27 bps จากสิ้นเดือนก่อน ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี อยู่ที่ 2.13% ปรับเพิ่มขึ้น 24 bps ด้านปัจจัยในประเทศ […]