ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 17 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,170.20 จุด ลดลง 3.56 จุด (-0.30%) 

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 17 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,170.20 จุด ลดลง 3.56 จุด (-0.30%) 

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 17 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,170.20 จุด ลดลง 3.56 จุด (-0.30%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,165.46 จุด และสูงสุดที่ 1,178.51 จุด มูลค่าการซื้อขาย 35,904.16 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่  KBANK ปิดที่ 152.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.50 (+2.35%) มูลค่าการซื้อขาย 3,050.16 ล้านบาท PTT ปิดที่ 29.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 (+1.72%) มูลค่าการซื้อขาย 2,276.87 ล้านบาท ADVANC ปิดที่ 259.00 บาท ลดลง 8.00 (-3.00%) […]

นักลงทุนหน้าใหม่แห่ลงทุนตลาดทองคำ ETF หลังนโยบายการค้าทรัมป์ทำปั่นป่วน

นักลงทุนหน้าใหม่แห่ลงทุนตลาดทองคำ ETF หลังนโยบายการค้าทรัมป์ทำปั่นป่วน

นักลงทุนที่มองหาที่หลบภัยจากความผันผวนทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ กำลังหันไปลงทุนในกองทุน ETF ทองคำมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนม.ค. การดำเนินนโยบายที่สุดขั้ว ตั้งแต่การตั้งกำแพงภาษีการค้า ความต้องการที่จะผนวกเกาะกรีนแลนด์เป็นของสหรัฐฯ และแนวทางการทูตที่ไม่เหมือนใคร เพื่อพยายามยุติสงครามในยูเครน ล้วนผลักดันให้ราคาทองคำทำสถิติใหม่หลายครั้งติดต่อกัน โดยในช่วงแรก การไหลเข้าลงทุนในกองทุน ETF ทองคำ จะถูกขับเคลื่อนโดยนักลงทุนฝั่งยุโรปเป็นหลัก แต่บรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า ความปั่นป่วนด้านนโยบายในสหรัฐฯ เริ่มดึงดูดนักลงทุนชาวอเมริกัน ซึ่งปกติแล้วมักจะนิยมลงทุนในหุ้นมากกว่า โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (15 มี.ค.) ราคาทองคำทำสถิติใหม่ แตะที่ 3,004.86 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 14% ตั้งแต่ต้นปี 2025 หลังจากพุ่งไปแล้ว 27% ในปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากสภาทองคำโลก (WGC) ยังระบุว่า การถือครองทองคำในกองทุน ETF ที่จดทะเบียนในยุโรป ยังเพิ่มขึ้น 46.7 ตัน หรือ 3.6% รวมเป็น 1,334.3 […]

ผลสำรวจชี้ตลาดที่อยู่อาศัยของ UK ซบเซาที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2566

ผลสำรวจชี้ตลาดที่อยู่อาศัยของ UK ซบเซาที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2566

สถาบันผู้สำรวจอสังหาริมทรัพย์แห่งราชอาณาจักร (RICS) เปิดเผยผลสำรวจในวันนี้ (13 มี.ค.) บ่งชี้ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยของสหราชอาณาจักร (UK) ส่งสัญญาณชะลอตัวรุนแรงที่สุดในรอบกว่าหนึ่งปีในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากกระแสเร่งปิดดีลของผู้ซื้อเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีก่อนหมดเขตนั้นได้เริ่มซาลง ดุลราคาบ้านสุทธิ ซึ่งชี้วัดส่วนต่างระหว่างจำนวนนักสำรวจที่รายงานว่า ราคาบ้านเพิ่มขึ้นกับลดลง ร่วงลงมาอยู่ที่ +11 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว จากระดับ +21 ในเดือนม.ค. และลดจากจุดสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ +25 ในเดือนธ.ค. ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมดในโพลของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะชะลอตัวเพียงเล็กน้อย ตลาดที่อยู่อาศัยของ UK คึกคักขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จากความคาดหวังว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOK) จะปรับลดดอกเบี้ย ประกอบกับผู้ซื้อเร่งปิดดีลก่อนมาตรการลดหย่อนภาษี สำหรับบ้านราคาย่อมเยาและผู้ซื้อบ้านหลังแรกจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มี.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม กระแสดังกล่าวเริ่มซาลงเมื่อใกล้ถึงกำหนดเส้นตาย ไซมอน รูบินโซห์น หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ RICS ระบุว่า การชะลอตัวครั้งนี้เป็นผลจากการสิ้นสุดมาตรการทางภาษี รวมถึงความกังวลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากความไม่แน่นอนทั่วโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น นับตั้งแต่โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แม้กระนั้น หากมองข้ามผ่านช่วง […]

เวียดนามเตรียมเจรจารัฐบาลทรัมป์ หวังปรับความสัมพันธ์การค้า – ลดแรงกดดันภาษี

เวียดนามเตรียมเจรจารัฐบาลทรัมป์ หวังปรับความสัมพันธ์การค้า – ลดแรงกดดันภาษี

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า เจ้าหน้าที่การค้าระดับสูงของเวียดนาม เตรียมเดินทางไปยังสหรัฐฯ เพื่อโน้มน้าวทีมงานของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ว่า เวียดนามจริงจังกับการปรับความสัมพันธ์ทางการค้าใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการภาษี ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการส่งออกของประเทศ เหงียน ห่ง เดี่ยน (Nguyen Hong Dien) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เวียดนาม มีกำหนดพบกับฮาวเวิร์ด ลุตนิก (Howard Lutnick) รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รวมถึงตัวแทนการค้าสหรัฐฯ เพื่อเจรจาหารือเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าทวิภาคี โดยคาดว่า การหารือเกี่ยวกับข้อตกลงด้านพลังงาน การป้องกันการหลบเลี่ยงไม่เปิดเผยแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ และการเลี่ยงภาษีจะอยู่ในวาระการประชุมด้วย ข้อมูลจากสำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ระบุว่า ในปี 2024 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับเวียดนาม 123,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามกลายเป็นเป้าหมายสำคัญภายใต้วาระ “America First” ของทรัมป์ ที่ใช้มาตรการภาษีเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ เพื่อแก้ไขสิ่งที่สหรัฐฯ มองว่าเป็นนโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อตนเอง โดยสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับเวียดนามมากเป็นลำดับ 3 รองจากจีนและเม็กซิโก โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนเส้นทางการส่งออกของบริษัทจีนที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศอื่นเพื่อเลี่ยงภาษี นอกจากนี้ […]

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 12 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,160.06 จุด ลดลง 27.57 จุด (-2.32%) 

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 12 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,160.06 จุด ลดลง 27.57 จุด (-2.32%) 

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 12 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,160.06 จุด ลดลง 27.57 จุด (-2.32%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,158.17 จุด และสูงสุดที่ 1,186.57 จุด มูลค่าการซื้อขาย 46,281.66 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่  TRUE ปิดที่ 10.60 บาท ลดลง 0.40 (-3.64%) มูลค่าการซื้อขาย 2,553.15 ล้านบาท AOT ปิดที่ 39.75 บาท ลดลง 1.00 (-2.45%) มูลค่าการซื้อขาย 2,329.13 ล้านบาท PTT ปิดที่ 27.25 บาท ลดลง 0.75 (-2.68%) […]

‘ทรัมป์ คัมแบ็ก’ ทุบตลาด-ฉุดความมั่งคั่ง 5 ซีอีโอร่วงไปแล้ว 2.09 แสนล้านดอลล์

‘ทรัมป์ คัมแบ็ก’ ทุบตลาด-ฉุดความมั่งคั่ง 5 ซีอีโอร่วงไปแล้ว 2.09 แสนล้านดอลล์

ผ่านไปเพียงเดือนกว่า ๆ  หลังจากที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนั้น บรรดาซีอีโอบริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น อีลอน มัสก์ (Elon Musk), เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) และมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ได้เข้าร่วมในพิธี ขณะที่ หุ้นของบริษัทกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นสุดๆ ตั้งแต่ช่วงเลือกตั้ง จากความหวังด้านนโยบายของทรัมป์ แต่บรรยากาศช่วงฮันนีมูนได้หายไป หลังทรัมป์เปิดสงครามการค้า เดินหน้าประกาศขึ้นและระงับขึ้นภาษีหลายระลอก จนตลาดระส่ำ ส่งผลให้ 5 มหาเศรษฐี สูญความมั่งคั่งรวมกันไปแล้ว 209,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามข้อมูลจากดัชนีมหาเศรษฐีของบลูมเบิร์ก (Bloomberg Billionaires Index) ข้อมูลจากบลูมเบิร์ก เผยว่า ในช่วงเลือกตั้งจนถึงช่วงที่ทรัมป์รับตำแหน่งเป็นช่วงที่สร้างความมั่งคั่งให้กับมหาเศรษฐีและผู้บริหารบริษัทใหญ่มากที่สุด จะเห็นว่า ดัชนี S&P 500 […]

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 11 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,187.63 จุด เพิ่มขึ้น 10.19 จุด (+0.87%)

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 11 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,187.63 จุด เพิ่มขึ้น 10.19 จุด (+0.87%)

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 11 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,187.63 จุด เพิ่มขึ้น 10.19 จุด (+0.87%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,160.99 จุด และสูงสุดที่ 1,189.40 จุด มูลค่าการซื้อขาย 49,522.05 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่  PTT ปิดที่ 28.00 บาท ลดลง 0.25 (-0.88%) มูลค่าการซื้อขาย 3,602.55 ล้านบาท AOT ปิดที่ 40.75 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 (+5.16%) มูลค่าการซื้อขาย 3,209.81 ล้านบาท DELTA ปิดที่ 74.00 บาท ลดลง 2.50 (-3.27%) […]

ญี่ปุ่นหั่นคาดการณ์ศก. Q4/24 เหลือโต 2.2% หลังการบริโภคซบเซา

ญี่ปุ่นหั่นคาดการณ์ศก. Q4/24 เหลือโต 2.2% หลังการบริโภคซบเซา

สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นปรับลดประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลงมาอยู่ที่ 2.2% เมื่อเทียบรายปี ในไตรมาส 4/2024 ต่ำกว่าคาดการณ์เบื้องต้นที่ 2.8% เนื่องจากการบริโภคที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์และสต็อกสินค้าคงคลังที่ลดลงมากกว่าที่คาด เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งขยายตัวในอัตราช้ากว่ารายงานในข้อมูลเบื้องต้น อาจเป็นปัจจัยเพิ่มเติมที่ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมในการประชุมนโยบายทางการเงินในสัปดาห์หน้า ข้อมูลแยกต่างหาก แสดงให้เห็นว่า ครัวเรือนญี่ปุ่นใช้จ่ายน้อยกว่าที่คาดไว้ในเดือนม.ค. เนื่องจากผลกระทบของเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ตัวเลข GDP ที่ปรับลดลงสะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนในบางส่วนของเศรษฐกิจญี่ปุ่น แม้ว่าการเติบโตโดยรวมยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนอาจทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดย BOJ มีกำหนดประชุมนโยบายทางการเงินครั้งถัดไปในวันที่ 19 มี.ค. ทาโร่ ไซโตะ หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจของ NLI Research Institute กล่าวว่า “การใช้จ่ายของผู้บริโภคน่าจะยังคงอ่อนแอในไตรมาสนี้ เนื่องจากครัวเรือนต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ” อย่างไรก็ตาม “ข้อมูลนี้เพียงอย่างเดียว อาจไม่ทำให้ BOJ เปลี่ยนมุมมองว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป” ด้านนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า BOJ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนก.ค. เช่นเดียวกับการประมาณการเบื้องต้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้รับแรงหนุนจากการค้าและการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ […]

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 6 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,189.44 จุด ลดลง 17.41 จุด (-1.44%)

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 6 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,189.44 จุด ลดลง 17.41 จุด (-1.44%)

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 6 มี.ค. 2568 ปิดตลาดที่ 1,189.44 จุด ลดลง 17.41 จุด (-1.44%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,186.91 จุด และสูงสุดที่ 1,207.04 จุด มูลค่าการซื้อขาย 47,199.92 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่  DELTA ปิดที่ 77.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 (+2.65%) มูลค่าการซื้อขาย 3,135.83 ล้านบาท CPALL ปิดที่ 51.75 บาท ลดลง 0.75 (-1.43%) มูลค่าการซื้อขาย 2,199.94 ล้านบาท ADVANC ปิดที่ 274.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 (+0.74%) […]

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2025: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2025: ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลงเล็กน้อย นำโดยตลาดหุ้นในภูมิภาคยุโรปและหุ้นเทคโนโลยีในจีนที่ได้รับแรงกระตุ้นจากเทคโนโลยี AI ‘DeepSeek’ ในขณะที่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ด้วย Valuation ที่ค่อนข้างตึงตัว ความผันผวนจากความกังวลด้านเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายต่างๆ ของทรัมป์ โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นั้นแสดงความอ่อนแอลงเล็กน้อย เช่น ดัชนี PMI ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี ดัชนีความเชื่อมันผู้บริโภคที่ลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 และตัวเลข ISM Manufacturing ที่ออกมาลดลง ในขณะที่ ราคาต้นทุนยังสูงอยู่ สอดคล้องกับตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ที่ออกมาสูงกว่าตลาดคาด จึงสร้างความกังวลต่อความเสี่ยงจากภาวะ Stagflation ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จะส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนจากประเด็นสงครามการค้ามากยิ่งขึ้น และเป็นตัวสร้างแรงกดดันให้กับตลาดโลกต่อจากนี้ ในฝั่งตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามาอย่างสงครามการค้าที่เกิดขึ้น ในขณะที่ ปัจจัยภายในยังถูกกดดันจากความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมา ทำให้เห็นแรงเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง  โดยภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังสะท้อนความเสี่ยงในการเติบโตในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มการบริโภคในประเทศมีทิศทางที่ชะลอตัวลง และการลงทุนภาคธุรกิจมีความซบเซา ขณะที่ ปัจจัยสนับสนุนที่เป็นความหวัง คือ […]