BBLAM ESG Corner: ถอดบทเรียนจากโควิด-19 เพื่อเร่งขีดความสามารถของ ESG
โดย ณัฐพล ปรีชาวุฒิ BBLAM เมื่อเรามองย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แทบจะไม่มีใครเลยที่วิถีชีวิตไม่ได้ผ่านการปรับเปลี่ยนไป เพราะวิกฤตการณ์นั้นได้บังคับให้พวกเราต้องปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายต่างๆ ซึ่งส่วนมากเหมือนจะปรับตัวกันได้ดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การทำงานที่บ้าน (Work from Home) การประชุมงานกันผ่านวีดีโอคอล หรือแม้แต่การทำอาหารรับประทานกันเองที่บ้านแทนการออกไปร้านอาหารนอกบ้าน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ Climate Change ถือเป็นวิกฤตระดับโลกที่ต้องการการแก้ไขที่เร่งด่วนเช่นเดียวกัน แต่ดูเหมือนว่า มนุษย์อย่างเราดูจะตอบสนองไม่เร็วเท่าที่ควร ดังนั้น เราจึงควรถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโควิด-19 นำมาประยุกต์เพื่อเร่งกระบวนการการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศผ่านกระบวนการ ESG ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในที่นี้ เราได้ถอดบทเรียน 3 ข้อที่องค์กรแต่ละแห่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้และกระตุ้นกระบวนการส่งเสริม ESG ได้ดียิ่งขึ้น บทเรียนข้อแรก เราพบว่า การแก้ปัญหาของสังคมมนุษย์ต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเร็วกว่าที่หลายคนคิด โดยหลายองค์กรสามารถปรับวิธีการทำงานจากการทำงานที่ออฟฟิศมาเป็นการทำงานที่บ้านได้ภายในไม่กี่วัน หรือแม้กระทั่งเราได้เห็นการคิดค้นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส โดยใช้เวลาน้อยที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมา ถึงแม้เราจะเริ่มเห็นความตระหนักที่เพิ่มขึ้นต่อคุณค่าของความยั่งยืนผ่านองค์กรที่เข้าร่วมโครงการการลดการปล่อยคาร์บอนที่มากขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาทิ บริษัท Shell ที่ล่าสุดได้ประกาศการเร่งตัวเข้าสู่บริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero เช่นเดียวกับบริษัท […]
โลกหนี้ท่วมหลังวิกฤตโควิด
ระดับหนี้สินภาครัฐที่สูงเป็นประวัติการณ์ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่แบ่งแยกระบบการค้าโลก และความเป็นไปได้ ซึ่งยังคงมีอยู่ต่อเนื่องของผลิตภาพที่อ่อนแอและเพิ่มมากขึ้น อาจจะบังคับให้โลกยอมรับต่ออนาคตที่เติบโตช้า ซึ่งหยุดยั้งการเจริญเติบโตและการพัฒนาในบางประเทศ แม้กระทั่งก่อนที่ปัญหาดังกล่าวจะเริ่มต้นขึ้น มุมมองที่จริงจังของเศรษฐกิจโลกหลังการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด ซึ่งปรากฏขึ้นจากงานวิจัย จากการรวบรวมขึ้นโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแคนซัส ซิตี้ และได้ถกอภิปรายกันที่นี่ เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยงานประชุมอภิปรายครั้งนี้ สำรวจประเด็นปัญหาหลายอย่าง เช่น มุมมองต่อนวัตกรรมทางเทคโนโลยี หนี้สาธารณะ และสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในช่วงที่รัสเซียรุกรานยูเครน และความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนได้กัดกร่อนข้อตกลงที่เห็นชอบร่วมกันทั่วโลกที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งในอดีต ซึ่งตามทฤษฎีระบุว่า เพื่อให้มีการกระตุ้นการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการได้อย่างอิสระ นายปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวในการให้สัมภาษณ์กลุ่มย่อยของการประชุมเฟด ว่า “ขณะนี้หลายประเทศอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เปราะบาง พวกเขาได้ใช้ทรัพยากรทางการคลังไปจำนวนมาก เพื่อจัดการกับโรคระบาดครั้งใหญ่ จากนั้นคุณจะมีแรงขับเคลื่อนนโยบาย การแตกกระจายของภูมิเศรษฐศาสตร์ ความตึงเครียดทางการค้า การแยกตัวระหว่างชาติตะวันตกและจีน” “ถ้าเรามาอยู่ในจุดที่บางส่วนของโลกยังติดอยู่กับปัญหาที่ไม่สามารถไล่ตามทัน และมีประชากรจำนวนมหาศาล สิ่งนั้นจะก่อให้เกิดแรงกดดันด้านประชากรศาสตร์ที่มหึมา และแรงกดดันของการอพยพ” นายกูรินชาส์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะวางตัวเข้าสู่แนวโน้มที่ราว 3% ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงจากเดิมมาก จากอัตราเติบโตที่อยู่เหนือกว่า […]
เกาหลีใต้ยกเลิกมาตรการกักตัว 7 วัน สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 เดือน มิ.ย.นี้
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ปรับลดระดับสถานการณ์เตือนภัยโควิด-19 ภายในประเทศ และประกาศว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวไม่จำเป็นต้องกักตัวเป็นเวลา 7 วัน ตามมาตรการภาคบังคับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป นับเป็นการผ่อนคลายข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกครั้งหนึ่งของเกาหลีใต้ ประธานาธิบดียุน ซอกยอลของเกาหลีใต้ ได้ปรับลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์เตือนภัยโควิด-19 จากระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดมาเป็นระดับ 3 ระหว่างการประชุมกับคณะรัฐบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดผ่านทางโทรทัศน์สู่สาธารณะ พร้อมเสริมว่า ตนมีความยินดีที่ผู้คนจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงเวลา 3 ปี 4 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ทางการเกาหลีใต้จะยกเลิกข้อบังคับที่กำหนดให้ประชาชนทุกคนสวมหน้ากากอนามัยในสถานพยาบาลและเภสัชกรรมด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ยุนกล่าวว่า รัฐบาลจะยังคงจัดสรรเงินสนับสนุนสำหรับการตรวจหาเชื้อและการรักษาโรคโควิด-19 ต่อไปอีกสักพัก แม้ว่า รัฐบาลเกาหลีใต้จะยกเลิกมาตรการกักตัวดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังคงแนะนำให้ผู้ที่ติดเชื้อทำการกักตัวด้วยตัวเองต่อเป็นเวลา 5 วัน ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวนี้ของรัฐบาลเกาหลีใต้สอดคล้องกับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศยุติสถานการณ์ฉุกเฉินโควิดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ใช้มาตรการดังกล่าวตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 ที่มา: รอยเตอร์
WHO เผยยอดตายโควิดลดลง 95% นับตั้งแต่เข้าสู่ปี 2023
องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงในวันพุธ (26 เม.ย.) ว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ลดลงถึง 95% นับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2023 อย่างไรก็ตาม หน่วยงานสาธารณสุขของสหประชาชาติแห่งนี้ เตือนว่า ไวรัสมรณะนี้จะยังคงอยู่แบบยาวๆ และประเทศต่างๆ จำเป็นต้องเรียนรู้แนวทางบริหารจัดการกับผลกระทบที่ไม่ใช่กรณีฉุกเฉินของมัน ซึ่งพบเห็นได้ในปัจจุบัน ในนั้น รวมถึงอาการหลังติดเชื้อโควิด-19 หรือที่เรียกว่า ลองโควิด ที่มา: เอเอฟพี
WHO ปรับคำแนะนำวัคซีน โควิด-19 แนะกลุ่มเปราะบางควรฉีดทุก 6 – 12 เดือน
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ได้ปรับคำแนะนำในการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อรับมือกับช่วงของการแพร่ระบาดระยะใหม่ โดยระบุว่า เด็กหรือผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น แต่ผู้สูงวัยหรือกลุ่มเปราะบาง ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุก 6 – 12 เดือนหลังการฉีดวัคซีนเข็มล่าสุด การปรับคำแนะนำในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในครั้งนี้ มีขึ้นขณะที่ประเทศต่างๆ กำหนดวิธีการเข้ารับวัคซีนแตกต่างกัน โดยประเทศที่มีรายได้สูง เช่น สหราชอาณาจักร และแคนาดา ได้เสนอให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางเข้ารับวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ ครบ 6 เดือนหลังการฉีดวัคซีนเข็มล่าสุด ดับเบิลยูเอชโอ ระบุให้ประชาชนกลุ่มเปราะบาง ซึ่งได้แก่ ผู้สูงวัย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงอื่นๆ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นทุก 6 หรือ 12 เดือน หลังการฉีดเข็มล่าสุด โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในขณะที่ เด็กหรือผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงมีความจำเป็นในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ต่ำ และเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ พิจารณาถึงปัจจัย เช่น […]
อย.สหรัฐฯ เล็งปรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เหลือเข็มเดียวต่อปี
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 23 มกราคมว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ (เอฟดีเอ) เสนอที่จะปรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้เหลือเพียงเข็มเดียวต่อปีเท่านั้น สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง โดยจะใช้วัคซีนโควิด-19 สูตรใหม่ (Bivalent) ในการฉีดรายปี ซึ่งเป็นรูปแบบการฉีดวัคซีนเดียวกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อหวังที่จะทำให้แผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ง่ายยิ่งขึ้น เอฟดีเอเรียกร้องให้คณะกรรมการที่ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกพิจารณาการฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 2 เข็มต่อปี แก่เด็กเล็ก ผู้สูงวัย และบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง พร้อมกับเสนอให้มีการปรับปรุงวัคซีนโควิด-19 ให้ตรงกับสายพันธุ์ต่างๆ คล้ายกับการที่วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะปรับเปลี่ยนสูตรสายพันธุ์ใหม่ทุกปี โดยข้อเสนอดังกล่าวถูกระบุอยู่ในเอกสารสรุป ก่อนที่คณะกรรมการที่ปรึกษาจะมีการประชุมกันในวันที่ 24 มกราคมนี้ ตามเวลาในสหรัฐ เอฟดีเอ หวังว่าการปรับแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นแบบรายปีจะช่วยลดความซับซ้อนในการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และลดข้อผิดพลาดของหน่วยงานที่ให้บริการการฉีดวัคซีน โดยหวังว่ามาตรการทั้งหมดจะส่งผลให้อัตราการเข้ารับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น หากที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาภายนอกมีมติเห็นชอบแนวทางการฉีดวัคซีนรูปแบบใหม่ดังกล่าว วัคซีนสูตรใหม่ (Bivalent) ของบริษัทโมเดอร์นาและไฟเซอร์ที่มีความสามารถในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนและสายพันธุ์ดั้งเดิม จะเป็นวัคซีนโควิดหลักที่ใช้กันทั่วไป ไม่เพียงแค่ใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นเท่านั้น ที่มา: รอยเตอร์
จีนประกาศผ่อนคลายกฎสกัดโควิดครั้งใหญ่ที่สุด ส่งสัญญาณเตรียมพร้อมประชาชน ‘อยู่ร่วมกับไวรัส’
จีนประกาศในวันพุธ (7 ธ.ค.) ผ่อนคลายกฎระเบียบมุ่งเข้มงวดสกัดโรคโควิดทั่วประเทศที่จุดชนวนการประท้วงใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้ รวมทั้งขัดขวางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแดนมังกร ซึ่งส่งผลพวงต่อเนื่องกระทบต่อทั่วโลก ถือเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนที่สุดว่า ปักกิ่งกำลังเตรียมพร้อมประชาชนอยู่ร่วมกับไวรัส ภายใต้แนวทางใหม่ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา จะมีการลดความถี่และขอบเขตการตรวจโควิดแบบพีซีอาร์ รวมทั้งจำกัดมาตรการล็อกดาวน์ให้เหลือแค่ขนาดพื้นที่น้อยที่สุดเท่าที่มีเหตุผลความจำเป็นจริงๆ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ต้องยกเลิกการล็อกดาวน์หลังจากพื้นที่ดังกล่าวไม่พบผู้ติดเชื้อติดต่อกัน 5 วัน สำหรับผู้ป่วยโควิดที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง สามารถกักตัวที่บ้านเองได้ และประชาชนไม่จำเป็นต้องแสดงรหัสสุขภาพสีเขียวบนมือถือเพื่อเข้าสู่อาคารหรือพื้นที่สาธารณะอีกต่อไป ยกเว้นสถานพักฟื้นผู้สูงวัย สถานพยาบาล โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนมัธยม คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (เอ็นเอชซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แถลงการเปลี่ยนแปลงนี้ เมื่อวันพุธ (7) เสริมว่า จะเร่งฉีดวัคซีนผู้สูงวัย ซึ่งที่ผ่านมาถูกมองว่า เป็นอุปสรรคสำคัญขัดขวางการผ่อนคลายนโยบายโควิดเป็นศูนย์ ทั้งนี้ ปักกิ่งประกาศว่า กฎระเบียบใหม่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการป้องกันและควบคุมโรคระบาดปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เอ็นเอชซีประกาศล่าสุด สอดรับกับความเคลื่อนไหวของเมืองใหญ่จำนวนมากที่ทยอยผ่อนกฎสกัดโควิดในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ภายหลังเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านมาตรการควบคุมโรคระบาดทั่วประเทศเมื่อเดือนที่แล้วที่ลุกลามกลายเป็นการเรียกร้องเสรีภาพทางการเมืองและบางคนถึงขั้นเรียกร้องให้สีลาออก และถือเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับจากที่สีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2012 ข่าวการเปลี่ยนแปลงสำคัญครั้งนี้กลายเป็นประเด็นที่มีผู้เข้าชมสูงสุดบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมเว่ยปั๋ว โดยผู้ใช้จำนวนมากหวังว่า จีนจะกลับคืนสู่สถานการณ์ปกติ หลังจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหลายพื้นที่ต้องผ่านมาตรการล็อกดาวน์อันยาวเหยียดกินเวลาหลายสัปดาห์มาหลายรอบ และทำให้คนหลายสิบล้านนอกจากเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่แล้ว ยังมีปัญหาสภาพจิตใจอีกด้วย […]
WHO เผยชาวยุโรปไม่ต่ำกว่า 17 ล้านคนเจอภาวะ ‘ลองโควิด’
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยผลการศึกษาใหม่เมื่อวันอังคาร (13 ก.ย.) ระบุว่า มีชาวยุโรปไม่ต่ำกว่า 17 ล้านคนที่หายป่วยจากโควิด-19 แล้ว แต่ยังคงเผชิญกับอาการไม่พึงประสงค์ที่หลงเหลืออยู่ หรือที่เรียกกันว่า “ลองโควิด” (Long Covid) ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีแรกที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ระบาด คือ 2020-2021 ผู้ป่วยในยุโรปราว 10-20% พบว่า ตัวเองมีอาการผิดปกติหลงเหลืออย่างน้อย 3 เดือนหลังจากที่หายป่วย เช่น อ่อนเพลียง่าย สมองล้า หรือหายใจลำบาก เป็นต้น ผลการศึกษายังพบว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็น “ลองโควิด” มากกว่าผู้ชายประมาณ 1 เท่าตัว และในกลุ่มผู้หญิงที่ป่วยโควิดรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล พบว่า 1 ใน 3 คนเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ที่มา: ซีเอ็นบีซี
พิษมาตรการโควิดกดท่องเที่ยวจีนซึม การเติบโตเศรษฐกิจจีนระส่ำหลังคนเก็บตัวอยู่บ้าน
กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศจีนปิดฉากวันหยุดยาวล่าสุด ด้วยรายได้ที่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 อยู่มาก กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเทียวของจีน รายงานรายได้การท่องเที่ยวในประเทศเมื่อช่วงวันหยุดยาว 3 วันที่ผ่านมา ซึ่งเป็นงานเทศกาลไหว้พระจันทร์ ระหว่างวันที่ 10-12 กันยายน อยู่ที่ 2.86 หมื่นล้านหยวน (ราว 1.5 แสนล้านบาท) หรือคิดเป็น 60.6% ของรายได้ที่ทำได้ในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนโควิด-19 จะระบาด นอกจากนั้นแล้ว รายได้จากการท่องเที่ยวในปีนี้ยังต่ำกว่ารายได้ในปี 2564 อยู่ 22.8% ยอดการท่องเที่ยวอยู่ที่ 73.4 ล้านเที่ยว ซึ่งต่ำกว่าปีก่อนหน้า 17% และคิดเป็นการฟื้นตัวมาที่ 72.6% ของช่วงก่อนโควิด-19 ในปี 2562 ลู่ ถิ่ง นักเศรษฐศาสตร์ จากโนมูระ ระบุว่าตัวเลขการท่องเที่ยวในวันหยุดที่ผ่านมาลดลงมากกว่าช่วงวันหยุดเมื่อต้นเดือนมิถุนายน โดยกล่าวว่า กิจกรรมทางธุรกิจที่ย่ำแย่นั้นมาจากมาตรการควบคุมด้านโควิด-19 เป็นหลัก จากการที่ภาครัฐแนะนำให้ชาวจีนอยู่แต่ในพื้นที่ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมแบบกลุ่ม และเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็นในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ และวันชาติจีน […]
ภาคเอกชนญี่ปุ่น ‘ปิดออฟฟิศ-หยุดผลิต-ห้ามคุย’ สู้โควิด หลังสัปดาห์เดียวติดกว่า 1.4 ล้านราย
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า บรรดาบริษัทเอกชนในประเทศญี่ปุ่นต่างดำเนินมาตรการต่างๆ เท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็น การปิดสำนักงานหรือหยุดการผลิตชั่วคราว หรือห้ามพนักงานห้ามคุยกันในช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน เพื่อต่อสู้กับคลื่นระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งใหญ่ ที่ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเพียงสัปดาห์เดียว ญี่ปุ่นมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่พุ่งขึ้นมากกว่า 1.4 ล้านราย ขณะที่ในวันพุธ (3 ส.ค.) ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ในหนึ่งวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เกือบ 250,000 ราย ผลจากการแผลงฤทธิ์ของไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย บีเอ.4 และ บีเอ.5 ที่ครองโลกอยู่ในเวลานี้ถาโถมเข้ามากระหน่ำญี่ปุ่น ส่งผลให้ภาคธุรกิจญี่ปุ่นต้องประสบภาวะดิสรัปชั่น เมื่อสัปดาห์ก่อน ค่ายผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ อย่าง โตโยต้า มอเตอร์ และ ไดฮัทสุ มอเตอร์ ได้หยุดการผลิต เนื่องจากพนักงานติดเชื้อโควิด ขณะที่บริษัท เคเอฟซี โฮลดิ้งส์ ญี่ปุ่น ได้ปิดร้านบางสาขาและปรับโยกกำลังพนักงาน ส่วนบริษัทไปรษณีย์ญี่ปุ่นก็ได้ปิดศูนย์ไปรษณีย์ที่มีกว่า 200 แห่งลงชั่วคราวเช่นกันในการต่อสู้กับโควิด คัตสึยูกิ […]