Economic Update: Japan: BoJ คงนโยบายการเงินตามคาด สวนทาง Fed และธนาคารกลางอื่นทั่วโลก
ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ Bank of Japan (BoJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) ในการประชุมวันนี้ ทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ Yield Curve Control ท่ามกลางเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเยนอ่อนค่าแรงทะลุ 140 เยนต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ แต่ยิ่งทำให้นโยบายการเงินของญี่ปุ่นสวนทางกับธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลกที่ต่างพากันใช้นโยบายคุมเข้มมากขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเร่งตัวขึ้นจากราคาพลังงานและอาหารที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว สำหรับในเดือนส.ค. เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดและเป็นเงินเฟ้อเป้าหมายของ BoJ เร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 31 ปีที่ 2.8% YoY จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ราคาไฟฟ้า และอาหารแปรรูป ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นเป็น 3.0% YoY จาก 2.6% ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ในแถลงการณ์หลังการประชุม นาย Haruhiko Kuroda […]
เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวต่ำกว่าคาดในไตรมาส 2/2022 แต่ Domestic Demand ยังเติบโตได้ดี
GDP อินเดียในไตรมาส 2/2022 หรือไตรมาสแรกของปีงบประมาณขยายตัว 13.5% YoY จากที่ขยายตัว 4.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้อานิสงส์จากฐานที่ต่ำในช่วงการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta ระหว่างเม.ย.-พ.ค. 2021 แต่ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 15.2% การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวถึง 25.9% YoY ขณะที่การลงทุนปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ Domestic Demand เติบโตได้ดีในไตรมาส 2/2022 ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสุทธิยังสะท้อนภาพอ่อนแออยู่ โดยแม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ แต่การนำเข้าขยายตัวในอัตราที่สูงกว่า ส่งผลให้ดุลการค้ามีสัดส่วนมากขึ้นและเป็นตัวฉุดรั้ง GDP (เพิ่มขึ้นเป็น -8.1% ต่อ GDP จากเดิม -5% ในไตรมาสก่อนหน้า) เมื่อเทียบรายไตรมาสชะลอตัวลง -9.6% QoQ ซึ่งมากกว่าอัตราเฉลี่ยที่ไตรมาส 2 จะชะลอตัวลงจากไตรมาส 1 ประมาณ -7% […]
BF Monthly Economic Review Economic Review Economic Update
BBLAM Monthly Economic Review–ยูโรโซนเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น พร้อมจับตารูปี อ่อนค่า หลังเงินทุนต่างชาติไหลออก
สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวิน ทีม Economic Research BBLAM อัปเดตเศรษฐกิจยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย ในเดือนมิ.ย.-ก.ค. 2022 เริ่มกันที่ยูโรโซน ล่าสุดภาพเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง โดยเมื่อดูที่ดัชนี PMI ของยูโรโซนในเดือนมิ.ย. จะเห็นว่าเริ่มหักหัวลง และปัจจุบัน เริ่มมองว่ามีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจยูโรโซนจะชะลอตัว ถึงขั้นเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยเฉพาะในช่วงปลายปีนี้หลังเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว โดยเหตุผลหลักมาจากการที่ยุโรปอาจเผชิญกับภาวะขาดแคลนก๊าซธรรมชาติรุนแรง หากไม่สามารถสะสมสต็อกให้เพียงพอกับความต้องการในช่วงฤดูหนาวได้ทัน เนื่องจากเมื่อเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในช่วงกลาง คือ รัสเซียได้ลดการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านท่อ Nordstream 1 มายังยุโรปลดลง จนเหลือแค่ 40% ของ Capacity ทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่า เกิดจากปัญหาเชิงเทคนิค ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็คงจะทำให้ยุโรปต้องพบกับสถาณการณ์ที่ยากลำบากในฤดูหนาวนี้ ขณะที่ ด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมิ.ย. ก็ปรับตัวลดลงไปที่ -23.6 ใกล้ๆ กับในช่วงที่เกิดการระบาดของ […]
Fed ขึ้นดอกเบี้ยแรงสุดนับตั้งแต่ปี 1994
Economic Ressearch Fed front-loaded 75 bps policy rate raise in June meeting Key Event การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของ Fed หรือ FOMC ประจำเดือน มิ.ย. มีมติ 10:1 ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 75 bps สู่กรอบ 1.5-1.75% โดยมีคณะกรรมการ 1 ท่านคือ Esther George หรือประธาน Fed สาขา Kansas City เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50 bps หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้ FOMC ตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงในรอบนี้เนื่องด้วยเครื่องชี้ความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อที่จัดทำโดย University of Michigan ปรับตัวแรงเป็นไปในลักษณะเดียวกับเครื่องชี้อื่นๆ ที่จัดทำโดย Fed เป็นผลให้ประเด็นด้านเงินเฟ้อกลายเป็นความกังวลหลักของคณะกรรมการทุกท่าน […]
Economic Review Economic Update
BBLAM Monthly Economic Review – เงินเฟ้อและนโยบายการเงิน ยังเป็นประเด็นใหญ่ของยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย
สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวิน ทีม Economic Research BBLAM อัปเดตเศรษฐกิจยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย โดยในเดือนมิถุนายน 2022 ยังคงเป็นเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งนโยบายการเงินที่ต่อเนื่องมาจากเดือนพฤษภาคม เริ่มที่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเลยนับตั้งแต่ปี 2011 และอัตราเงินเฟ้อก็ไม่เคยพุ่งขึ้นแตะเป้าหมายที่ 2% เลย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ล่าสุดเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม ก็ปรับขึ้นไปแตะระดับ 8.1% สูงกว่าเป้าหมายถึง 4 เท่า ดังนั้นในการประชุม ECB ล่าสุดเดือนมิถุยายน จึงมีการส่งสัญญาณชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ว่า ECB จะยุติการเข้าซื้อพันธบัตรตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2022 เป็นต้นไป สำหรับการประชุม ECB วันที่ 21 กรกฎาคม 2022 ทาง ECB จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก […]
ECB ส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึ้นตั้งแต่เดือนก.ค. พร้อมปรับมุมมองเงินเฟ้อในระยะกลางสูงเกินเป้าหมาย 2%
Economic Research ในการประชุมเดือน มิ.ย. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติยุติการเข้าซื้อสินทรัพย์ (Asset Purchase Program: APP) หรือ QE วันที่ 1 ก.ค. นี้ และ ระบุว่าจะปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25bps ในการประชุมเดือนก.ค. ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสูงอย่างมาก อย่างไรก็ดี ECB กล่าวว่าจะยังคงทำการ Reinvestment ในพันธบัตรที่ครบกำหนดอายุที่ได้ซื้อผ่านมาตรการ APP ยาวนานตราบเท่าที่จำเป็น และสำหรับพันธบัตรที่เข้าซื้อผ่านโครงการพิเศษช่วง COVID-19 อย่าง PEPP ที่ยุติไปแล้วเมื่อเดือน มี.ค. ก็จะยังคงทำการ Reinvestment ไปจนถึงอย่างน้อยสิ้นปี 2024 ด้านประมาณการเศรษฐกิจ ECB ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อขึ้นอย่างมากจากเมื่อเดือนมี.ค. โดยคาดเงินเฟ้อทั่วไปจะขยายตัว 6.8% ในปีนี้ จากเดิม 5.1% และจะชะลอตัวลงเป็น 3.5% […]
BBLAM Monthly Economic Review – ส่องสัญญาณบวกเศรษฐกิจจีน
สรุปความสัมภาษณ์ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist BBLAM ภาพเศรษฐกิจในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2022 นี้ BBLAM จะขอนำเสนอเรื่องจีน ส่วนสหรัฐฯ นั้น ถ้าจะให้มีภาพที่ชัดเจนอาจจะต้องรอไปอีกในรอบการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ รอบกลางเดือนมิถุนายน 2022 ในตอนนี้เราเริ่มเห็นสัญญาณบางอย่างในจีน เริ่มจะมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เราฉายภาพแรกด้วย China is back ซึ่งมีเรื่องของการกลับมาเปิดเมือง (Reopening) เห็นเรื่องการผ่อนคลายด้านนโยบายเกี่ยวกับบริษัทเทคโนโลยี (Policy & Tech Easing) รวมทั้งจุดที่แย่ที่สุดของจีนน่าจะจบลงแล้ว (Bottoming Out) เริ่มที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ตั้งแต่ปี 2018-ปัจจุบัน สิ่งที่เห็นคือ ดัชนีหุ้นจีนวิ่งค่อนข้าง sideway คือปรับขึ้นลงเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าตัดภาพดูแต่ละปี จะเห็นภาพตั้งแต่ปี 2017-2020 จีนเจอเหตุการณ์มากมาย เริ่มด้วยปี 2017- ต้นปี 2018 ที่ดัชนีปรับขึ้นมาเนื่องจากกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่เฟื่องฟู ต่อด้วยปี […]
ธนาคารกลางอินเดียขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 50bps ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด เพื่อชะลอความร้อนแรงของเงินเฟ้อ
Economic Research ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (Repo Rate) ขึ้น 50bps สู่ระดับ 4.90% ในการ ประชุมเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 2 ในระยะเวลาราว 1 เดือน เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 พ.ค. RBI ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นจาก 4.0% เป็น 4.40% ในการประชุมนอกรอบ และเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีหลังจากการปรับลดในเดือนพ.ค. 2020 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติ COVID-19 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของอินเดียอยู่เหนือกรอบบนเป้าหมายเงินเฟ้อของ RBI ที่ 6% เป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกันแล้ว โดยผู้ว่า RBI กล่าวว่า ราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง […]
กนง. เสียงแตกแต่ยังคงดอกเบี้ยที่ 0.5%
Economic Research คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 8 มิ.ย. มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยกรรมการเสียงข้างน้อย 3 เสียงเห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง และมีโอกาสฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ จากอุปสงค์ในประเทศ และแรงส่งจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้เดิม จากการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน และการส่งผ่านต้นทุนที่มากและนานกว่าคาด มองไปข้างหน้า การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะมีความจำเป็นลดลง และเพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจในระยะต่อไป จะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องตามคาด กรรมการส่วนใหญ่ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ โดยจะติดตามพัฒนาการของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด แต่ในการประชุมครั้งนี้ มีกรรมการ 3 ท่านเห็นว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีความชัดเจนเพียงพอที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวในปี 2022 ที่ 3.3% (ประมาณการเดิมที่ 3.2%) […]
อัตราเงินเฟ้อไทยพุ่งสูงขึ้นในรอบ 13 ปี
Economic Research ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนพ.ค. อยู่ที่ 106.62 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.10% YoY (vs prev 4.8%) และเพิ่มขึ้น 1.40% MoM (vs prev 0.3%) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ 5.19 % ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือน พ.ค. อยู่ที่ 102.74 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.28% YoY (vs prev 2.0%) และเพิ่มขึ้น 0.17% MoM (vs prev 0.14%) ส่งผลให้ CORE CPI เฉลี่ย 5 […]