กองทุนบัวหลวง มอบเงิน 1.2 แสนบาท สนับสนุนโครงการ Care the Wild ร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน จ.มหาสารคาม

กองทุนบัวหลวง มอบเงิน 1.2 แสนบาท สนับสนุนโครงการ Care the Wild ร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน จ.มหาสารคาม

ภารกิจลดโลกร้อน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เหลือศูนย์ กลายเป็นวาระที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืน    กองทุนบัวหลวงเองก็เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ล่าสุด กองทุนบัวหลวง มอบเงิน 1.2 แสนบาท สนับสนุนโครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง Plant & Protect” โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน จ.มหาสารคาม ทั้งมุ่งหวังเพิ่มรายได้ให้ชุมชนเพื่อให้พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น อันเป็น Collaboration Platform ของภาคธุรกิจ ภาครัฐและภาคสังคม ด้วยการระดมทุนเพื่อสร้างพื้นที่ป่า สร้างสมดุลระบบนิเวศ ทำงานร่วมกับ “ธรรมชาติ” เพื่อให้การพัฒนาของมนุษย์ อยู่บนเส้นทางเดียวกับความสมดุลย์ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนปฏิบัติงานของโครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากทั้งองค์กรภาครัฐ ธุรกิจเพื่อสังคม และองค์กรเพื่อสังคมในการกำหนดพื้นที่ปลูกต้นไม้ ล่าสุด คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ อันประกอบด้วย คณะผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพัฒนาสังคมและด้านวิชาการ ผู้แทนด้านความยั่งยืนและวิจัยพัฒนาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ส่วนกลางและภูมิภาค พร้อมด้วยผู้นำชุมชน ร่วมดำเนินการ เพื่อเตรียมการปลูกต้นไม้ในช่วงฤดูปลูก (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564)  รวม […]

ก้าวเริ่มต้นบนเส้นทางสู่ Net Zero Carbon Emission

ก้าวเริ่มต้นบนเส้นทางสู่ Net Zero Carbon Emission

โดย…เศรณี นาคธน กองทุนบัวหลวง โลกในปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบไปยังทุกภาคส่วน ด้วยปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ โดย The Global Risk Report 2021 ที่จัดทำโดย World Economic Forum ระบุว่า ความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากการทำลายของน้ำมือมนุษย์และการจัดการด้านสภาพอากาศที่ล้มเหลว นับเป็นความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากที่สุดภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ ส่งผลให้ประชาคมโลกต้องตระหนักถึงการรักษาสภาพแวดล้อม พยายามหาแหล่งพลังงานแบบใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อทดแทนแหล่งพลังงานฟอสซิล ความพยายามและความร่วมมือของประชาคมโลกที่ดูเป็นรูปธรรมที่สุด ได้แก่ ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมมากกว่า 55 ประเทศจะร่วมมือกันยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส หรือ 1.5 องศาเซลเซียส ถ้าเป็นไปได้ โดยครอบคลุมการดำเนินการในด้านต่างๆ เช่น การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ การให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านการเงิน และลงทุนทางด้านดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า เส้นทางของการเข้าสู่ Net […]

บริษัทที่ปรึกษาแนะ 4 ขั้นตอนเพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม

บริษัทที่ปรึกษาแนะ 4 ขั้นตอนเพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม

ซีเอ็นบีซี นำเสนอรายงานว่า การลงทุนอย่างยั่งยืนเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของวาระระดับนานาชาติ ที่สร้างแรงกดดันไปยังภาคธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีกลยุทธ์ที่เหมาะสม Benjamin McCarron ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย รีเสิร์ช แอนด์ เอนเกจเมนท์ หรือ ARE ระบุว่า มีหลายขั้นตอนสำหรับธุรกิจในการทำให้แน่ใจว่าพิจารณากลยุทธ์และความสอดคล้องด้าน ESG หรือ การลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล แล้ว ขั้นแรก ธุรกิจต้องมีความตั้งใจอย่างยิ่งว่าจะจัดการทุกอย่างที่จำเป็นต้องจัดการ และต้องอยู่ในนโยบายภายใน หรือการลงทุนภายนอก ขั้นที่ 2 คือ ผู้นำจะต้องกำหนดระยะเวลาของแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ขั้นที่ 3 คือ ธุรกิจจะต้องปรับใช้ระบบการรายงานและมีการกำกับดูแลบรรษัทภิบาลในบริษัทที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าการรายงานจะเป็นไปตามนั้น และขั้นที่ 4 ธุรกิจต้องเริ่มต้นเดี๋ยวนี้ อย่าปล่อยให้สายเกินไป “มันคงไม่ใช่เรื่องดีในการให้คำมั่นจะทำให้ได้ภายในปี 2050 และคาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างจะเกิดขึ้นในปี 2049 พวกเขาต้องมีการวางแผน ที่มีความก้าวหน้าไปในระหว่างช่วงเวลานี้” เขา กล่าว การให้คำแนะนำนี้เกิดขึ้นพร้อมกับความสนใจในเรื่องการลงทุนโดยคำนึงถึง ESG […]

กองทุนความยั่งยืนในสายตาของไอเอ็มเอฟ

กองทุนความยั่งยืนในสายตาของไอเอ็มเอฟ

โดย…ทนง ขันทอง นักลงทุนทั่วไปมีความเห็นว่า การลงทุนในบริษัทที่ให้การสนับสนุนความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และบรรษัทภิบาลเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรจะทำ ส่วนทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)ได้ทำวิจัย และพบว่า การลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนให้ผลตอบแทนที่ดี หรือไม่แตกต่างจากกองทุนหุ้นทั่วๆ ไป รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF’s Global Financial Stability Report, October 2019) พบว่า ผลตอบแทนของกองทุนที่เน้นนโยบายความยั่งยืนสามารถเทียบเคียงกับกองทุนหุ้นทั่วไปได้ “เราไม่พบหลักฐานเฉพาะที่ว่า นักลงทุนที่เน้นความยั่งยืนจะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่า หรือมากกว่านักลงทุนโดยทั่วไปสำหรับการลงทุนที่คล้ายกัน” นาย Evan Papageorgiou ผู้เขียนรายงาน และมีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่าย Monetary and Capital Markets Department ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กล่าว รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ พบว่า นักลงทุนไม่ได้เสียโอกาสของการได้ผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนในกองทุนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) การลงทุนในรูปแบบ ESG จะเน้นให้ความสำคัญกับบริษัทที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ การเปิดโอกาสกว้างสำหรับพนักงานทุกคนโดยไม่คำนึงถึงชนชั้น วรรณะหรือผิวสี และการมีการทำระบบบัญชีที่โปร่งใส […]

ESG มากแค่ไหนถึงเพียงพอ: กรณีศึกษาจาก Facebook

ESG มากแค่ไหนถึงเพียงพอ: กรณีศึกษาจาก Facebook

โดย ชัยธัช เบน บุญญาปะมัย กองทุนบัวหลวง ในปัจจุบัน มีเงินทุนภายใต้การบริหารของนักลงทุนสถาบันที่ใช้แนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG (Environmental Social และ Governance) อยู่ราว 30 ล้านล้านดอลลาร์ฯ โดยเพิ่มขึ้นมากถึง 34% นับจากปี 2016 (อ้างอิงจาก Global Sustainable Investment Alliance) ขณะที่ ข้อมูลของ Morningstar พบว่า การลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกผ่านกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ และในช่วงนี้การลงทุนลักษณะดังกล่าวนับว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่กองทุนเหล่านี้ สะท้อนถึงผลเชิงบวกของบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ดี ขณะเดียวกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่านักลงทุนหันมาสนใจลงทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติ COVID-19 ซึ่งจากข้อมูลของ Morningstar นั้น ชี้ให้เห็นว่า กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ (Large Cap) ที่มีผลตอบแทนสูงสุด 10 […]

สภาเศรษฐกิจโลกเสนอ 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดขยะพลาสติก

สภาเศรษฐกิจโลกเสนอ 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดขยะพลาสติก

เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก เสนอรายงาน 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เพื่อลดขยะพลาสติก โดยชี้ว่า บรรจุภัณฑ์เป็นกลุ่มที่สร้างขยะพลาสติกมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งที่ผ่านมาแบรนด์ต่างๆ พยายามลงทุนในแนวทางใหม่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ โดยใช้ทางเลือกทดแทนพลาสติก หรือมีแนวคิดนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อสร้างความยั่งยืนมากขึ้น มูลนิธิ  Ellen MacArthur ออกมาสนับสนุนกลยุทธ์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ การกำจัด การนำกลับมาใช้ใหม่ และการหมุนเวียนวัสดุ พร้อมเสนอ 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ 1.การกำจัดโดยตรง เป็นแนวทางง่ายๆ ป้องกันขยะบรรจุภัณฑ์ โดยซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐฯ ยกเลิกใช้ฟิล์มพลาสติกที่ไม่จำเป็นกับผลิตภัณฑ์ เช่น กระป๋องหลายชิ้น ถ้วยโยเกิร์ต การ์ดอวยพร ไปจนถึง ผ้าปูเตียง ส่วนในอเมริกาเหนือ ห้างวอลล์มาร์ทก็หยุดใช้พลาสติกใสบรรจุตุ๊กตา และยกเลิกใช้ห่อหุ้มผักบางชนิด 2.การใช้นวัตกรรมใหม่ เพราะบางกรณีบรรจุภัณฑ์ก็ยังจำเป็น ซึ่งการออกแบบนวัตกรรมช่วยให้เกิดผลที่แตกต่างได้ เช่น คาร์ลสเบิร์กที่ทดแทนวงแหวนพลาสติที่ใช้กับเบียร์ที่ขายเป็นแพ็ค ด้วยการใช้กาวจุดทำให้กระป๋องติดกัน หรือ ICA Gruppen ในสวีเดน ใช้เลเซอร์แกะสลักฉลากบนผักและผลไม้สด แทนการใช้ฟิล์ม 3.การเติม กรณีที่จำกัดบรรจุภัณฑ์ไม่ได้ […]

เอกชนปิ๊งไอเดียพัฒนาเทคโนโลยีเปลี่ยนคาร์บอนฯ เป็นวัสดุก่อสร้าง ร่วมลดปล่อยก๊าซเป็นศูนย์

เอกชนปิ๊งไอเดียพัฒนาเทคโนโลยีเปลี่ยนคาร์บอนฯ เป็นวัสดุก่อสร้าง ร่วมลดปล่อยก๊าซเป็นศูนย์

เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก weforum.org เผยแพร่บทความ โดยมีใจความส่วนหนึ่งระบุว่า นับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น ซึ่งเรามีเป้าหมายต้องการลดการปล่อยก๊าซจนเข้าสู่ระดับสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และเพื่อให้ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ Mineral Carbonation International (MCi) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยี ได้มีการคิดค้นวิธีการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์มาเป็นวัสดุก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าอื่นๆ Sophia Hamblin Wang ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MCi กล่าวว่า บริษัทได้ออกแบบและสร้างเครื่องปฏิกรณ์คาร์บอน 3 ระบบ เพื่อเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้และก๊าซด้วยกระบวนการทางอุตสาหกรรม โดยหวังว่า จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีได้ 1 ล้านตัน ภายในปี 2040 มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ล้วนตกลงที่จะร่วมกันทำให้การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศที่มีขนาด 50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของโลก มีความตั้งใจร่วมกันที่จะทำให้สุทธิเป็นศูนย์ ดังนั้นจึงเป็นเวลาของเทคโนโลยี การพัฒนา และการเร่งความเร็วเพื่อทำให้ได้ ตลาดสำหรับการดักจับและใช้คาร์บอน คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ […]

พลิกวิกฤติ COVID-19 สู่การฟื้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หนุนธุรกิจใส่ใจ ESG มากขึ้น ตอนที่ 1/2

พลิกวิกฤติ COVID-19 สู่การฟื้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หนุนธุรกิจใส่ใจ ESG มากขึ้น ตอนที่ 1/2

โดย…ฐนิตา ตุมราศวิน กองทุนบัวหลวง มลพิษทางอากาศลดลง…อีกมุมหนึ่งของวิกฤติ COVID-19 เหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกในแบบที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน โดยปัจจุบันจำนวนยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นทะลุ กว่า 20 ล้านคน และยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลง ซึ่งการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาล หรือที่เรียกว่าล็อคดาวน์ โดยให้ประชาชนกักตัวอยู่ในบ้านเพื่อลดการติดต่อสัมผัสกัน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทห้างร้านต่างๆ รวมไปถึงสถาบันการศึกษาปิดทำการ ในขณะที่การเดินทางทั่วโลกก็หยุดชะงักจากการประกาศปิดพรมแดนระหว่างประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจหลายประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี ในอีกแง่มุมหนึ่ง COVID-19 นับเป็นเสมือนตัวเร่งให้เทรนด์การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง หรือกระแส Disruption เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาด อีกทั้งเห็นภาพชัดขึ้นในหลายอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม จากพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ชัดคือ ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนที่ไม่เคยสั่งก็ได้หันมาลองสั่งในช่วงที่ต้องมีการรักษาระยะห่างทางสังคม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ (Climate Change) เนื่องจาก หากมองย้อนไปในอดีตจะพบว่า เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใด ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มักจะปรับตัวลดลงเสมอ โดยจากข้อมูลของเว็บไซต์ Carbon Brief ระบุว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั่วโลกปล่อยก๊าซฯ […]

หุ้นกลุ่ม ESG เปลี่ยนมุมมองการลงทุน

หุ้นกลุ่ม ESG เปลี่ยนมุมมองการลงทุน

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM กองทุนบัวหลวง จากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ทำให้พิสูจน์ได้ว่า เหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่สามารถสร้างผลกระทบที่รุนแรงนั้นเกิดขึ้นได้จริง โดยปัจจุบันแม้ว่ายังไม่มีบทสรุปของโควิด-19 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมโลกตอนนี้ คือ การตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น  เพราะทุกคนตระหนักดีแล้วว่า หากเราไม่ใส่ใจดูแลเรื่องพวกนี้กันอย่างจริงจัง โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์คล้ายกันนี้ในอนาคตก็ยังเป็นไปได้เสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการเงิน เศรษฐกิจ และการเมือง โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ในสถานการณ์นี้เองทำให้บริษัทเอกชนต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เร่งจัดทำมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีมิติมากกว่าแค่ผู้ถือหุ้น โดยครอบคลุมไปถึงคู่ค้าทางธุรกิจ และลูกค้าด้วย จึงถือเป็นโอกาสในการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ และการยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล โดยส่งต่อคุณค่าของบริษัทให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่าง บางบริษัทที่จัดตั้งโรงงานหรือเปลี่ยนสายการผลิตเป็นหน้ากากอนามัย  หน้ากากเฟสชิว  หรือ ชุดหมี PPE  รวมถึงการดูแลสวัสดิการพนักงานด้านสุขภาพและความปลอดภัย  ซึ่งเป็นการให้น้ำหนักกับการประเมินความเสี่ยงในด้านสังคม (Social) กันมากขึ้น จากเดิมที่บริษัทมักเน้นเรื่องการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เนื่องจากภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราได้รับผลกระทบอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน  อากาศที่เป็นพิษ  หรือฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง รวมถึงด้านธรรมาภิบาล (Good […]

ขยะ + ไอเดีย = Upcycling

ขยะ + ไอเดีย = Upcycling

โดย…อรุณี ศิลปการประดิษฐ กองทุนบัวหลวง  จากแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ที่เป็นการเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบระบบการผลิตทางตรง ที่เป็นการนำทรัพยากรมาใช้ เพื่อทำการผลิต และเมื่อหมดประโยชน์ก็ทิ้งไป มาเป็นระบบการวางแผนและออกแบบการผลิตเพื่อคืนสภาพให้กับวัสดุต่างๆ ในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์แทนการทิ้ง โดย เป็นการนำวัสดุเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่เป็นวงจรต่อเนื่องโดยไม่มีของเสีย ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เรามักคุ้นเคยกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติผ่านแนวความคิด 3R คือ Reuse : การใช้ซ้ำ Reduce: ลดการใช้Recycle: การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ในปัจจุบัน นอกจากแนวความคิดเรื่อง 3R ก็ยังมี Upcycling แนวความคิดใหม่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งคำว่า Upcycling มีการกล่าวถึงครั้งแรกโดย William McDonough and Michael Braungart ในหนังสือ  Cradle to Cradle: Remaking the Way We Make Things เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ ลดการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต หรือลดการใช้พลังงานที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดย […]