บริษัทที่ปรึกษาแนะ 4 ขั้นตอนเพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม

บริษัทที่ปรึกษาแนะ 4 ขั้นตอนเพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม

ซีเอ็นบีซี นำเสนอรายงานว่า การลงทุนอย่างยั่งยืนเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของวาระระดับนานาชาติ ที่สร้างแรงกดดันไปยังภาคธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีกลยุทธ์ที่เหมาะสม Benjamin McCarron ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย รีเสิร์ช แอนด์ เอนเกจเมนท์ หรือ ARE ระบุว่า มีหลายขั้นตอนสำหรับธุรกิจในการทำให้แน่ใจว่าพิจารณากลยุทธ์และความสอดคล้องด้าน ESG หรือ การลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล แล้ว ขั้นแรก ธุรกิจต้องมีความตั้งใจอย่างยิ่งว่าจะจัดการทุกอย่างที่จำเป็นต้องจัดการ และต้องอยู่ในนโยบายภายใน หรือการลงทุนภายนอก ขั้นที่ 2 คือ ผู้นำจะต้องกำหนดระยะเวลาของแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ขั้นที่ 3 คือ ธุรกิจจะต้องปรับใช้ระบบการรายงานและมีการกำกับดูแลบรรษัทภิบาลในบริษัทที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าการรายงานจะเป็นไปตามนั้น และขั้นที่ 4 ธุรกิจต้องเริ่มต้นเดี๋ยวนี้ อย่าปล่อยให้สายเกินไป “มันคงไม่ใช่เรื่องดีในการให้คำมั่นจะทำให้ได้ภายในปี 2050 และคาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างจะเกิดขึ้นในปี 2049 พวกเขาต้องมีการวางแผน ที่มีความก้าวหน้าไปในระหว่างช่วงเวลานี้” เขา กล่าว การให้คำแนะนำนี้เกิดขึ้นพร้อมกับความสนใจในเรื่องการลงทุนโดยคำนึงถึง ESG […]

กองทุนความยั่งยืนในสายตาของไอเอ็มเอฟ

กองทุนความยั่งยืนในสายตาของไอเอ็มเอฟ

โดย…ทนง ขันทอง นักลงทุนทั่วไปมีความเห็นว่า การลงทุนในบริษัทที่ให้การสนับสนุนความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และบรรษัทภิบาลเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรจะทำ ส่วนทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)ได้ทำวิจัย และพบว่า การลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนให้ผลตอบแทนที่ดี หรือไม่แตกต่างจากกองทุนหุ้นทั่วๆ ไป รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF’s Global Financial Stability Report, October 2019) พบว่า ผลตอบแทนของกองทุนที่เน้นนโยบายความยั่งยืนสามารถเทียบเคียงกับกองทุนหุ้นทั่วไปได้ “เราไม่พบหลักฐานเฉพาะที่ว่า นักลงทุนที่เน้นความยั่งยืนจะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่า หรือมากกว่านักลงทุนโดยทั่วไปสำหรับการลงทุนที่คล้ายกัน” นาย Evan Papageorgiou ผู้เขียนรายงาน และมีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่าย Monetary and Capital Markets Department ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กล่าว รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ พบว่า นักลงทุนไม่ได้เสียโอกาสของการได้ผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนในกองทุนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) การลงทุนในรูปแบบ ESG จะเน้นให้ความสำคัญกับบริษัทที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ การเปิดโอกาสกว้างสำหรับพนักงานทุกคนโดยไม่คำนึงถึงชนชั้น วรรณะหรือผิวสี และการมีการทำระบบบัญชีที่โปร่งใส […]

ESG มากแค่ไหนถึงเพียงพอ: กรณีศึกษาจาก Facebook

ESG มากแค่ไหนถึงเพียงพอ: กรณีศึกษาจาก Facebook

โดย ชัยธัช เบน บุญญาปะมัย กองทุนบัวหลวง ในปัจจุบัน มีเงินทุนภายใต้การบริหารของนักลงทุนสถาบันที่ใช้แนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG (Environmental Social และ Governance) อยู่ราว 30 ล้านล้านดอลลาร์ฯ โดยเพิ่มขึ้นมากถึง 34% นับจากปี 2016 (อ้างอิงจาก Global Sustainable Investment Alliance) ขณะที่ ข้อมูลของ Morningstar พบว่า การลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกผ่านกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ และในช่วงนี้การลงทุนลักษณะดังกล่าวนับว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่กองทุนเหล่านี้ สะท้อนถึงผลเชิงบวกของบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ดี ขณะเดียวกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่านักลงทุนหันมาสนใจลงทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติ COVID-19 ซึ่งจากข้อมูลของ Morningstar นั้น ชี้ให้เห็นว่า กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ (Large Cap) ที่มีผลตอบแทนสูงสุด 10 […]

สภาเศรษฐกิจโลกเสนอ 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดขยะพลาสติก

สภาเศรษฐกิจโลกเสนอ 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดขยะพลาสติก

เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก เสนอรายงาน 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เพื่อลดขยะพลาสติก โดยชี้ว่า บรรจุภัณฑ์เป็นกลุ่มที่สร้างขยะพลาสติกมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งที่ผ่านมาแบรนด์ต่างๆ พยายามลงทุนในแนวทางใหม่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ โดยใช้ทางเลือกทดแทนพลาสติก หรือมีแนวคิดนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อสร้างความยั่งยืนมากขึ้น มูลนิธิ  Ellen MacArthur ออกมาสนับสนุนกลยุทธ์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ การกำจัด การนำกลับมาใช้ใหม่ และการหมุนเวียนวัสดุ พร้อมเสนอ 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ 1.การกำจัดโดยตรง เป็นแนวทางง่ายๆ ป้องกันขยะบรรจุภัณฑ์ โดยซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐฯ ยกเลิกใช้ฟิล์มพลาสติกที่ไม่จำเป็นกับผลิตภัณฑ์ เช่น กระป๋องหลายชิ้น ถ้วยโยเกิร์ต การ์ดอวยพร ไปจนถึง ผ้าปูเตียง ส่วนในอเมริกาเหนือ ห้างวอลล์มาร์ทก็หยุดใช้พลาสติกใสบรรจุตุ๊กตา และยกเลิกใช้ห่อหุ้มผักบางชนิด 2.การใช้นวัตกรรมใหม่ เพราะบางกรณีบรรจุภัณฑ์ก็ยังจำเป็น ซึ่งการออกแบบนวัตกรรมช่วยให้เกิดผลที่แตกต่างได้ เช่น คาร์ลสเบิร์กที่ทดแทนวงแหวนพลาสติที่ใช้กับเบียร์ที่ขายเป็นแพ็ค ด้วยการใช้กาวจุดทำให้กระป๋องติดกัน หรือ ICA Gruppen ในสวีเดน ใช้เลเซอร์แกะสลักฉลากบนผักและผลไม้สด แทนการใช้ฟิล์ม 3.การเติม กรณีที่จำกัดบรรจุภัณฑ์ไม่ได้ […]

เอกชนปิ๊งไอเดียพัฒนาเทคโนโลยีเปลี่ยนคาร์บอนฯ เป็นวัสดุก่อสร้าง ร่วมลดปล่อยก๊าซเป็นศูนย์

เอกชนปิ๊งไอเดียพัฒนาเทคโนโลยีเปลี่ยนคาร์บอนฯ เป็นวัสดุก่อสร้าง ร่วมลดปล่อยก๊าซเป็นศูนย์

เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก weforum.org เผยแพร่บทความ โดยมีใจความส่วนหนึ่งระบุว่า นับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น ซึ่งเรามีเป้าหมายต้องการลดการปล่อยก๊าซจนเข้าสู่ระดับสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และเพื่อให้ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ Mineral Carbonation International (MCi) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยี ได้มีการคิดค้นวิธีการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์มาเป็นวัสดุก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าอื่นๆ Sophia Hamblin Wang ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MCi กล่าวว่า บริษัทได้ออกแบบและสร้างเครื่องปฏิกรณ์คาร์บอน 3 ระบบ เพื่อเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้และก๊าซด้วยกระบวนการทางอุตสาหกรรม โดยหวังว่า จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีได้ 1 ล้านตัน ภายในปี 2040 มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ล้วนตกลงที่จะร่วมกันทำให้การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศที่มีขนาด 50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของโลก มีความตั้งใจร่วมกันที่จะทำให้สุทธิเป็นศูนย์ ดังนั้นจึงเป็นเวลาของเทคโนโลยี การพัฒนา และการเร่งความเร็วเพื่อทำให้ได้ ตลาดสำหรับการดักจับและใช้คาร์บอน คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ […]

พลิกวิกฤติ COVID-19 สู่การฟื้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หนุนธุรกิจใส่ใจ ESG มากขึ้น ตอนที่ 1/2

พลิกวิกฤติ COVID-19 สู่การฟื้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หนุนธุรกิจใส่ใจ ESG มากขึ้น ตอนที่ 1/2

โดย…ฐนิตา ตุมราศวิน กองทุนบัวหลวง มลพิษทางอากาศลดลง…อีกมุมหนึ่งของวิกฤติ COVID-19 เหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกในแบบที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน โดยปัจจุบันจำนวนยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นทะลุ กว่า 20 ล้านคน และยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลง ซึ่งการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาล หรือที่เรียกว่าล็อคดาวน์ โดยให้ประชาชนกักตัวอยู่ในบ้านเพื่อลดการติดต่อสัมผัสกัน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทห้างร้านต่างๆ รวมไปถึงสถาบันการศึกษาปิดทำการ ในขณะที่การเดินทางทั่วโลกก็หยุดชะงักจากการประกาศปิดพรมแดนระหว่างประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจหลายประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี ในอีกแง่มุมหนึ่ง COVID-19 นับเป็นเสมือนตัวเร่งให้เทรนด์การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง หรือกระแส Disruption เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาด อีกทั้งเห็นภาพชัดขึ้นในหลายอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม จากพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ชัดคือ ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนที่ไม่เคยสั่งก็ได้หันมาลองสั่งในช่วงที่ต้องมีการรักษาระยะห่างทางสังคม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ (Climate Change) เนื่องจาก หากมองย้อนไปในอดีตจะพบว่า เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใด ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มักจะปรับตัวลดลงเสมอ โดยจากข้อมูลของเว็บไซต์ Carbon Brief ระบุว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั่วโลกปล่อยก๊าซฯ […]

หุ้นกลุ่ม ESG เปลี่ยนมุมมองการลงทุน

หุ้นกลุ่ม ESG เปลี่ยนมุมมองการลงทุน

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM กองทุนบัวหลวง จากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ทำให้พิสูจน์ได้ว่า เหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่สามารถสร้างผลกระทบที่รุนแรงนั้นเกิดขึ้นได้จริง โดยปัจจุบันแม้ว่ายังไม่มีบทสรุปของโควิด-19 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมโลกตอนนี้ คือ การตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น  เพราะทุกคนตระหนักดีแล้วว่า หากเราไม่ใส่ใจดูแลเรื่องพวกนี้กันอย่างจริงจัง โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์คล้ายกันนี้ในอนาคตก็ยังเป็นไปได้เสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการเงิน เศรษฐกิจ และการเมือง โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ในสถานการณ์นี้เองทำให้บริษัทเอกชนต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เร่งจัดทำมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีมิติมากกว่าแค่ผู้ถือหุ้น โดยครอบคลุมไปถึงคู่ค้าทางธุรกิจ และลูกค้าด้วย จึงถือเป็นโอกาสในการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ และการยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล โดยส่งต่อคุณค่าของบริษัทให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่าง บางบริษัทที่จัดตั้งโรงงานหรือเปลี่ยนสายการผลิตเป็นหน้ากากอนามัย  หน้ากากเฟสชิว  หรือ ชุดหมี PPE  รวมถึงการดูแลสวัสดิการพนักงานด้านสุขภาพและความปลอดภัย  ซึ่งเป็นการให้น้ำหนักกับการประเมินความเสี่ยงในด้านสังคม (Social) กันมากขึ้น จากเดิมที่บริษัทมักเน้นเรื่องการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) เนื่องจากภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราได้รับผลกระทบอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน  อากาศที่เป็นพิษ  หรือฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง รวมถึงด้านธรรมาภิบาล (Good […]

ขยะ + ไอเดีย = Upcycling

ขยะ + ไอเดีย = Upcycling

โดย…อรุณี ศิลปการประดิษฐ กองทุนบัวหลวง  จากแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ที่เป็นการเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบระบบการผลิตทางตรง ที่เป็นการนำทรัพยากรมาใช้ เพื่อทำการผลิต และเมื่อหมดประโยชน์ก็ทิ้งไป มาเป็นระบบการวางแผนและออกแบบการผลิตเพื่อคืนสภาพให้กับวัสดุต่างๆ ในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์แทนการทิ้ง โดย เป็นการนำวัสดุเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่เป็นวงจรต่อเนื่องโดยไม่มีของเสีย ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เรามักคุ้นเคยกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติผ่านแนวความคิด 3R คือ Reuse : การใช้ซ้ำ Reduce: ลดการใช้Recycle: การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ในปัจจุบัน นอกจากแนวความคิดเรื่อง 3R ก็ยังมี Upcycling แนวความคิดใหม่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งคำว่า Upcycling มีการกล่าวถึงครั้งแรกโดย William McDonough and Michael Braungart ในหนังสือ  Cradle to Cradle: Remaking the Way We Make Things เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ ลดการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต หรือลดการใช้พลังงานที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดย […]

กองทุนบัวหลวงเผยมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นครึ่งปีหลัง ยังน่าสนใจ ขณะที่ช่วงโควิด-19 ทำให้เห็นการเร่งตัวขึ้นของการใช้ออนไลน์แพลตฟอร์ม และเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) เป็นการตอกย้ำธีมการลงทุนปีนี้ว่า มาถูกทาง

กองทุนบัวหลวงเผยมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นครึ่งปีหลัง ยังน่าสนใจ ขณะที่ช่วงโควิด-19 ทำให้เห็นการเร่งตัวขึ้นของการใช้ออนไลน์แพลตฟอร์ม และเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) เป็นการตอกย้ำธีมการลงทุนปีนี้ว่า มาถูกทาง

กองทุนบัวหลวงกล่าวถึงมุมมองการลงทุนครึ่งปีหลังว่า ตลาดหุ้นยังน่าสนใจ จากความคืบหน้าของการผลิตวัคซีนโควิด-19 รวมถึงปัจจัยดอกเบี้ยต่ำทั่วโลก สภาพคล่องที่ล้นระบบ และความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ช่วยหนุนให้นักลงทุนเข้าลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น แนะนำกระจายลงทุนในกองทุนต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนและกระจายความเสี่ยง การลงทุนของเราจึงเน้นการลงทุนที่สอดคล้องกับธีม “เครือข่ายครอบคลุมสร้างความแข็งแกร่ง บรรษัทแข็งแรงสร้างความยั่งยืน” ที่ประกาศตั้งแต่ต้นปี หลังพบว่า ทั่วโลกเร่งใช้แพลตฟอร์มธุรกิจออนไลน์และเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG) มากขึ้น ส่วนการลงทุนหุ้นไทย ให้น้ำหนักกลุ่มค้าปลีก-โรงพยาบาล-พลังงานไฟฟ้า

นโยบายการเงินของอีซีบีกับการแก้ปัญหาโลกร้อน

นโยบายการเงินของอีซีบีกับการแก้ปัญหาโลกร้อน

โดยทนง ขันทอง นโยบายการเงินแก้ปัญหาโลกร้อนได้หรือไม่? นางคริสติน ลาการ์ด ผู้ว่าการธนาคารกลางของยุโรป หรืออีซีบี ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อ The Financial Times ว่า อีซีบีจะดำเนินนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายสีเขียวที่ปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยในขณะนี้อีซีบีอยู่ในระหว่างการทำคิวอีในวงเงิน 2.8 ล้านล้านยูโร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของยุโรปที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากไวรัสโคโรนา ลาการ์ดเป็นผู้นำของธนาคารกลางคนแรกที่ออกมาแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า เธอจะบริหารนโยบายการเงินไปในทิศทางที่สนับสนุนการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (climate change) หรือภาวะโลกร้อน ในทางปฏิบัติ อีซีบีจะมีการพิจารณาโครงสร้างทางธุรกิจ หรือระบบปฏิบัติงานของบริษัทเพื่อดูว่ากิจการที่ทางอีซีบีจะพิมพ์เงินยูโรเข้าไปซื้อพันธบัตรผ่านการทำคิวอี ได้มาตรฐานในด้านสิ่งแวดล้อมมากเพียงใดในเรื่องการป้องกันภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) กลายเป็นหนึ่งในวาระโลกที่สำคัญที่สุด โดยทางองค์การสหประชาชาติได้วางเป้าหมายแล้วว่าการพัฒนาของโลกที่ยั่งยืน (sustainable development) ต้องไปควบคู่กับการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์โดยมนุษย์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่เป็นสาเหตุให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ถ้าควบคุมภาวะโลกร้อนไม่ได้ สิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งมนุษย์จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ องค์การสหประชาชาติได้ยกระดับเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นวาระหลักของปี 2030 หรือเป็นที่ทราบกันโดยทั่วกันว่า Agenda 2030 เรื่องโลกร้อนยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมากในหมู่นักวิชาการว่ามีจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของโลกตามยุค แนวร่วมเอ็นจีโอ หรือกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมได้สร้างแรงกดดันอีซีบีไม่ให้เข้าไปซื้อพันธบัตร (brown bond) ของบริษัทที่มีขบวนการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และหันมาให้การสนับสนุนซื้อพันธบัตร(green […]