ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,339.03 จุด ลดลง 0.58 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,339.03 จุด ลดลง 0.58 จุด หรือ –0.04% โดยระหว่างวันสูงสุดที่ 1,351.59 จุด ต่ำสุดที่ 1,339.03 จุด มูลค่าการซื้อขาย 58,589.45 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1. ADVANC ปิดที่ 185.00 บาท ลดลง 2.00 บาท (-1.07%) มูลค่าการซื้อขาย 2,042.54 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 37.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท (+1.34%) มูลค่าการซื้อขาย 1,854.99 ลบ. 3.KBANK ปิดที่ 93.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท (+0.54%) มูลค่าการซื้อขาย 1,851.57 ลบ. 4.CBG ปิดที่ 104.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.50 บาท (+4.52%) มูลค่าการซื้อขาย 1,627.68 ลบ. 5.KCE ปิดที่ 22.80 บาท เพิ่มขึ้น 1.30 บาท (+6.05%) มูลค่าการซื้อขาย 1,622.86 ลบ.
อังกฤษขยายแพคเกจช่วยเหลือครอบคลุมธุรกิจสตาร์ทอัพ-บริษัทในต่างแดน
รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า รัฐบาลอังกฤษได้ขยายแพคเกจการช่วยเหลือสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงธุรกิจที่บริษัทแม่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ภายใต้แพคเกจนี้ บริษัทสตาร์ทอัพต้องให้ผู้ร่วมทุนของบริษัทยื่นขอเงินกู้แบบชั่วคราว (bridge financing ) กับรัฐบาล เงินทุนดังกล่าวบริหารงานโดย British Business Bank ในรูปแบบของเงินกู้แปลงสภาพที่กลายเป็นหุ้นในรอบการระดมทุนรอบต่อไปของบริษัทสตาร์ทอัพ โดยทฤษฎีที่ว่านี้จะช่วยให้รัฐบาลสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนในภายหลัง กองทุน 500 ล้านปอนด์ (614 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประกอบด้วยภาระผูกพัน 250 ล้านปอนด์ จากกระทรวงการคลังคลังซึ่งจับคู่กับการระดมทุนของภาคเอกชน โดยสตาร์ทอัพจะได้รับการสนับสนุนถึง 320 ล้านปอนด์และรัฐบาล กล่าวว่า ยินดีที่จะเพิ่มขนาดกองทุนหากจำเป็น Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อังกฤษ กล่าวว่า บริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทด้านนวัตกรรมของอังกฤษเป็นหนึ่งในจุดแข็งทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นเมื่อเราเริ่มฟื้นตัวกลับจากการระบาดของโควิด-19 บริษัทเหล่านี้จะช่วยผลักดันการฟื้นตัวและสร้างงานใหม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ หมายความว่า ผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจที่พยายามอย่างดีที่สุดและมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจจะได้รับประโยชน์จากกองทุนในอนาคต
การปรับแก้พอร์ตโฟลิโอด้วยตัวเอง
โดย…พิชญ ฉัตรพลรักษ์ กองทุนบัวหลวง ในตลาดการลงทุนของไทยเริ่มมีการโฆษณารับปรับเปลี่ยนพอร์ตโฟลิโอออกมา รวมถึงมีผู้นำเสนอการจัดสรรเงินลงทุนในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ดี การเปรียบเทียบข้อเสนอกันแบบตรงๆ ก็ดูจะพิจารณากันได้ลำบาก เนื่องจากแต่ละที่ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เลือกมาแตกต่างกัน น้ำหนักก็ต่างกัน หากลงทุนตามคำแนะนำในครั้งแรกและปล่อยไว้เฉยๆ โดยไม่ติดตามคงไม่ดีแน่ แต่ครั้นนักลงทุนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการเงินคิดจะติดตามปรับเปลี่ยนการลงทุนเอง ก็อาจสงสัยว่า จะเริ่มต้นอย่างไรดี จะคอยติดต่อที่ปรึกษาก็คงต้องพึ่งพาเขาอยู่ร่ำไป เหมือนยืมจมูกคนอื่นหายใจ มันก็ไม่สะดวกคล่องตัว ค่าใช้จ่ายถูกแพงก็ดูยาก บทความนี้จึงนำเสนอเกร็ดความรู้ในการเริ่มต้นลงมือจัดสรรเงินลงทุนและปรับเปลี่ยนพอร์ตโฟลิโอด้วยตนเองในเจ็ดขั้นตอน (Clements & Clough, 2019) และเพื่อเป็นบันไดเริ่มต้นในการก้าวขึ้นสู่นักลงทุนที่สามารถพึ่งพาตัวเองและเพิ่มความช่ำชองมากขึ้นต่อไป ก้าวแรก คือ ต้องเรียนรู้การลงทุนในอดีตของเราโดยการมองย้อนกลับไป เช่นในช่วงที่ตลาดหุ้นลง เราเคยขายสินทรัพย์ออกไปในราคาถูกบ้างหรือไม่ หากเคยแสดงว่าเรารับความเสี่ยงได้ไม่มาก ควรที่จะปรับลดน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้โดยไม่เกิดความตื่นตระหนก การขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ในอดีตมีจำนวนครั้งมากน้อยเพียงไร ถ้าไม่บ่อยครั้งแสดงว่านักลงทุนอาจต้องการใช้เงินสดบ้างหรือปรับส่วนผสมการลงทุนให้เป็นไปตามกลยุทธ์ในระยะยาว แต่หากมีการซื้อขายที่ถี่เกินไปอาจแปลว่าเราอาจเปลี่ยนใจอยู่บ่อยครั้งและเป็นสัญญาณเตือนว่าเรามีความไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการที่จะทำอะไรกันแน่ ก้าวที่ 2 กำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับความต้องการใช้เงินของตัวเองโดยการพิจารณาลักษณะของแต่ละประเภทของสินทรัพย์ (Asset Class) ตราสารทุนจะมีความผันผวนของอัตราผลตอบแทนในระยะสั้นแต่จะให้การงอกเงยของเงินลงทุนที่ดีในระยะยาวและชนะอัตราเงินเฟ้อได้ เงินฝากมีความเสี่ยงต่ำแต่อัตราผลตอบแทนหลังจากหักภาษีก็อาจจะน้อยกว่าเงินเฟ้อได้ ตราสารหนี้มีการจ่ายดอกเบี้ยที่สม่ำเสมอและราคาก็ไม่ผันผวนเท่าตราสารทุน แต่ก็สามารถเพิ่มอัตราผลตอบแทน (ตามมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น) จากตราสารหนี้พวก High Yield ตราสารหนี้ระยะยาว หรือหุ้นกู้ […]
กองทุนบัวหลวงเปิดขายต่อ BEQSSF และ BM70SSF สำหรับใช้สิทธิ SSF ปกติ เริ่ม 1 กรกฎาคม นี้ เป็นต้นไป ดันกองทุนเติบโตต่อเนื่อง
กองทุนบัวหลวงเปิดขายกองทุน BEQSSF และ BM70SSF ต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 นี้ เป็นต้นไป โดยเงินที่ลงทุนหลัง 30 มิถุนายน 2563 จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในรูปแบบ SSF ปกติ ซึ่งผู้ลงทุนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี และเมื่อรวมกับวงของเงินลงทุนเพื่อเกษียณอื่นๆ ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า กองทุนบัวหลวงจะเปิดขายกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นไทยเพื่อการออม (BEQSSF) และกองทุนผสมบัวหลวง 70/30 เพื่อการออม (BM70SSF) ในรูปแบบกองทุนรวมเพื่อการออม […]
หุ้นเทสลาพุ่ง 4,000% ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
โดย…ทนง ขันทอง ในปี 2010 บริษัท เทสลา ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าระดับไฮเอนด์ของอีลอน มัสก์ ระดมทุน 226 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านการทำไอพีโอด้วยราคา 17 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น มาวันนี้ หรือ 10 ปี ให้หลัง ราคาหุ้นของเทสล่าพุ่งทะลุ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มาร์เก็ตแคปของบริษัทไปอยู่ระดับ 180,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทสลากลายเป็นบริษัทรถยนต์ที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลก ด้วยพนักงาน 48,000 คน ตามหลังค่ายโตโยต้าเท่านั้น นักลงทุนที่ซื้อหุ้นไอพีโอของเทสล่าและถือยาวจะได้กำไรมากกว่า 4,000% มัสก์ กลายเป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของซิลิคอน วัลเลย์ และเป็นขวัญใจคนใหม่ของนักลงทุนในตลาดหุ้น ไม่แพ้ เจฟ เบซอส แห่งอเมซอน หรือมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก แห่งเฟซบุ๊ก หรือวอร์เรน บัฟเฟตต์ แห่ง Birkshire Hathaway […]
BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563
BF Economic Research COVID-19 เป็นจุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจโลกจากเดิมที่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวอันเป็นผลจากความตึงเครียดด้านการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risks) กลับกลายเป็นพลิกกลับมาหดตัวอย่างหนักเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสเป็นเหตุให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักในช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2020 สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เรามองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยกลับมาเดินเครื่องได้บ้าง แต่ไม่น่าจะกลับไปเดินเครื่องเต็มรูปแบบได้เท่ากับปี 2019 สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 นี้ COVID-19 ก็ยังคงเป็นความเสี่ยงหลักและเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก เรามองว่าเศรษฐกิจโลกปี 2020 จะหดตัวที่ –4.6% ก่อนที่จะฟื้นตัวจากฐานต่า มาอยู่ในกรอบ 4-6% ในปี 2021 รัฐบาลและธนาคารกลางจะเป็นผู้เล่นหลักในการประคองเศรษฐกิจผ่านการใช้เม็ดเงินทางการคลังและอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำสุดในประวัติการณ์และจะเป็นแบบนี้ต่อเนื่องไปถึงปี 2021 ซึ่งแม้ว่าเศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้น แต่สภาพคล่องอันล้นเหลืออาจจะเป็นปัจจัยบวกสำหรับการลงทุนในปี 2020-21 นี้
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,329.76 จุด ลดลง 0.58 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,329.76 จุด ลดลง 0.58 จุด หรือ –0.04% โดยระหว่างวันสูงสุดที่ 1,329.94 จุด ต่ำสุดที่ 1,312.59 จุด มูลค่าการซื้อขาย 48,903.24 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1. KBANK ปิดที่ 92.75 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท (+1.92%) มูลค่าการซื้อขาย 1,543.98 ลบ. 2.AOT ปิดที่ 59.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท (+0.42%) มูลค่าการซื้อขาย 1,338.47 ลบ. 3.PTT ปิดที่ 37.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท (+0.68%) มูลค่าการซื้อขาย 1,322.10 ลบ. 4.CPALL ปิดที่ 67.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท (+0.37%) มูลค่าการซื้อขาย 1,231.36 ลบ. 5.GPSC ปิดที่ 74.00 บาท ลดลง 0.75 บาท (-1.00%) มูลค่าการซื้อขาย […]
ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นร่วงแรง หลังคนงดซื้อของแพง ห่วงผลกระทบ โควิด-19 ทำเศรษฐกิจซบเซา
รายงานข่าวจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นร่วงลงในอัตราเลขสองหลักในเดือน พ.ค. นับเป็นการปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 และมาตรการล็อคดาวน์ที่ส่งผลอย่างมากต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมไปถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความต้องการที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น จนอาจทำให้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกยังคงติดอยู่ในภาวะถดถอยนานกว่าที่คาดการณ์ไว้และการฟื้นตัวจะซบเซามากขึ้น ข้อมูลกระทรวงการค้าของญี่ปุ่น ระบุว่า ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค. ลดลง 12.3% เทียบกับปีที่ผ่านมา โดยผลกระทบหลักมาจากยอดใช้จ่ายที่ลดลงอย่างมากในการใช้จ่ายสินค้าราคาแพง เช่น รถยนต์ เสื้อผ้า และสินค้าทั่วไป ขณะที่ ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ยอดค้าปลีกได้ปรับลดลงถึง 13.9% ซึ่งเป็นการปรับลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 1998 และแย่กว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในการสำรวจของรอยเตอร์สที่ประมาณการไว้ว่าจะลดลง 11.6% ผู้กำหนดนโยบายหวังว่า การฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจจะช่วยสนับสนุนการเติบโต ในขณะที่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์ทั่วโลกจะชะลอการฟื้นตัว
แบล็คร็อคผงาดเป็นสถาบันการเงินที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก
โดย…ทนง ขันทอง เมื่อพูดถึงสถาบันการเงินที่มีอิทธิพลต่อระบบการเงินโลกมากที่สุด คนส่วนมากอาจจะคิดถึงแบงก์ ไม่ว่าจะเป็นเจพี มอร์แกน เชส, โกลด์แมน แซคส์ หรือเอชเอสบีซี แต่นั่นเป็นอดีต ในปัจจุบันนี้ สถาบันการเงินที่เป็นที่ยอมรับว่า มีอิทธิพลต่อระบบการเงินโลกมากที่สุดไม่ใช่แบงก์ แต่เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวมแบล็คร็อค ที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารมากกว่า 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่นับทรัพย์สินอีก 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่แบล็คร็อคช่วยดูแลความเสี่ยงให้ลูกค้าผ่านซอฟต์แวร์อลาดินของตัวเอง อาจารย์ Wiliiam Birdthistle จาก Chicago-Kent College of Law ถึงกับบอกว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะคิดถึงแบล็คร็อค โดยไม่คิดถึงพวกเขาว่าเป็นแขนงที่ 4 ของรัฐบาล (นอกเหนือไปจากฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ) แบล็คร็อค กลายเป็นจุดสนใจของทุกคนเมื่อธนาคารกลางของสหรัฐฯ เรียกใช้บริการของบริษัทนี้ในการแก้ไขวิกฤติการทางการเงินท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยไม่มีการแข่งขันจากบริษัทอื่น ในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา แบล็คร็อคได้รับมอบหมายให้ช่วยบริหารมาตรการกอบกู้เศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่รู้จักกันในชื่อ Coronavirus Aid, Relief, […]
ดัชนีหุ้นไทย 26 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,330.34 จุด เพิ่มขึ้น 4.46 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 26 มิ.ย. 2563 ปิดตลาดที่ 1,330.34 จุด เพิ่มขึ้น 4.46 จุด หรือ0.34% โดยระหว่างวันสูงสุดที่ 1,344.04 จุด ต่ำสุดที่ 1,328.49 จุด มูลค่าการซื้อขาย 47,193.61 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1. GULF ปิดที่ 37.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,734.89 ลบ. 2.CPALL ปิดที่ 67.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,111.54 ลบ. 3.ADVANC ปิดที่ 186.00 บาท ลดลง -1.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,556.74 ลบ. 4.KBANK ปิดที่ 91.00 บาท ลดลง -1.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,449.13 ลบ. 5.AOT ปิดที่ 59.00 บาท ปิดไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 1,315.50 ลบ.