อัพเดทเครื่องชี้สหรัฐฯ (GDP, Nonfarm Payrolls) และไทย (Inflation, MPC)
BF Economic Research สหรัฐฯ เศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาส 1 ขยายตัว 6.4% QoQ, saar ( +0.4% YoY) เร่งตัวขึ้นจาก 4.3% ในไตรมาสก่อน (-2.4% YoY) ในรายองค์ประกอบ การบริโภคเอกชนขยายตัว 10.7% เกือบสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1960s (เป็นรองเพียงไตรมาส 3/2020 ที่ขยายตัวสูง 41.0%) จากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐที่มีการแจกเช็คเงินสด 2 รอบ (ปลายเดือน ธ.ค. 2020 และกลางเดือน มี.ค. 2021) การแจกจ่ายวัคซีนที่รวดเร็วหนุนการผ่อนปรน Lockdown รวมทั้งตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป การใช้จ่ายภาครัฐพลิกกลับมาขยายตัว 6.3% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2002 จากการเบิกจ่ายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการใช้จ่ายหมวดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร (Non-defense) ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1963 การลงทุนยังขยายตัวได้ดีแม้ชะลอลงจากไตรมาสก่อน นำโดยการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 10.8% […]
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอินเดียมิดแคปเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INDIAMRMF)
Highlight ตลาดหุ้นอินเดีย ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงกลางไตรมาสที่ 1/2021 ดัชนีปรับตัวขึ้น เงินไหลเข้าตลาดอินเดียมากเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่ เม.ย. 2020 ถึง มี.ค. 2021 (FY2021) มีเงินไหลเข้าประมาณ 37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาส 1/2021 ผลตอบแทนดัชนี Nifty เพิ่มขึ้น 5.19% ขณะที่ MidCap Index เพิ่มขึ้น 13.81% กองทุนหลักมีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นอินเดียที่เป็น Mid-Small Cap บริษัทกลุ่มนี้มีความหลากหลายในการดำเนินธุรกิจ ตลาดโลกมองอินเดียเป็นศูนย์กลางการผลิตนอกเหนือจากจีน ซึ่งภาครัฐให้การสนับสนุนในด้านภาษีและนโยบายอื่นๆ บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้ประโยชน์เป็นบริษัทขนาดกลาง โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าครัวเรือน ยาและเคมีภัณฑ์ ปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นอินเดีย มีหลายปัจจัย ได้แก่ นโยบายการเงินการคลังที่พร้อมจะกระตุ้นเศรษฐกิจ การแจกจ่ายวัคซีนที่เร่งตัวขึ้นรวมถึงการที่ผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันเองด้วย และกำไรของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มดีซึ่งจะรับอานิสงส์จากดีมานด์โลกที่เพิ่มขึ้น ภาพรวมตลาด การระบาดของโควิด-19 ระลอกสองในอินเดียเริ่มตั้งแต่กลาง มี.ค. 2021 และรุนแรงขึ้นจนปลาย เม.ย. […]
กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA)
Highlight ตลาดหุ้นอินเดีย ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงกลางไตรมาสที่ 1/2021 ดัชนีปรับตัวขึ้น เงินไหลเข้าตลาดอินเดียมากเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่ เม.ย. 2020 ถึง มี.ค. 2021 (FY2021) มีเงินไหลเข้าประมาณ 37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาส 1/2021 ผลตอบแทนดัชนี Nifty เพิ่มขึ้น 5.19% ขณะที่ MidCap Index เพิ่มขึ้น 13.81% กองทุนลงทุนมากกว่าดัชนีในกลุ่ม Industrials สถาบันการเงินและการแพทย์ มีมุมมองเชิงบวกกับบริษัทประกัน และเชื่อว่าธนาคารจะฟื้นตัวได้ดี ไม่กังวลเรื่องหนี้เสีย เพราะธนาคารมีการตั้งสำรองที่ดีตั้งแต่โควิดรอบแรก ผลการดำเนินงานที่ดีของกองทุนส่วนหนึ่งมาจากการเลือกหุ้นใน Mid-Small Cap เพราะช่วงที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนดีกว่า Large Cap ปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นอินเดีย มีหลายปัจจัย ได้แก่ นโยบายการเงินการคลังที่พร้อมจะกระตุ้นเศรษฐกิจ การแจกจ่ายวัคซีนที่เร่งตัวขึ้นรวมถึงการที่ผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันเองด้วย และกำไรของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มดีซึ่งจะรับอานิสงส์จากดีมานด์โลกที่เพิ่มขึ้น ภาพรวมตลาด การระบาดของโควิด-19 ระลอกสองในอินเดียเริ่มตั้งแต่กลาง มี.ค. […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 7 พ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,585.03 จุด เพิ่มขึ้น 13.12 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 7 พ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,585.03 จุด เพิ่มขึ้น 13.12 จุด หรือ 0.83% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,589.21 จุด และต่ำสุดที่ 1,577.19 จุด มูลค่าการซื้อขาย 93,877.50 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.DMT ปิดที่ 15.90 บาท ลดลง 0.10 บาท (-0.62%) มูลค่าการซื้อขาย 7,334.98 ลบ. 2.DELTA ปิดที่ 402.00 บาท เพิ่มขึ้น 35.00 บาท (+9.54%) มูลค่าการซื้อขาย 4,191.61 ลบ. 3.KBANK ปิดที่ 125.00 […]
อินโดนีเซียคาดเปิดบาหลีปลาย ก.ค. นี้ ต้อนรับต่างชาติตามแผนจับคู่เดินทาง
อินโดนีเซียคาดการณ์พร้อมเปิดเกาะบาหลีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติปลายเดือน ก.ค. นี้ ภายใต้โครงการ Travel Corridor เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย โดยเน้นแผนระยะแรกของการเปิดประเทศท่องเที่ยวแบบจับคู่เดินทาง 3B Travel Bubble ได้แก่ 3 เกาะสำคัญนำร่อง บาหลี บาตัม บินตัน กับ 6 ประเทศที่ควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน สิงคโปร์ ยูเครน และโปแลนด์ ซานเดียก้า อูโน่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย กล่าวว่า แผนดังกล่าวถูกเสนอให้คณะรัฐมนตรี หลังเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่รัฐบาลได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือน ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา และสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะบาหลี ที่ปัจจุบันมีประชากรได้รับวัคซีนไปแล้วกว่า 700,000 ราย โดยเรากำลังเร่งฉีดวัคซีนให้ประชากรอีกราว 3 ล้านคนหรือ 70% ของจำนวนประชากรบนเกาะบาหลีทั้งหมด 4.4 […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 6 พ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,571.91 จุด เพิ่มขึ้น 22.69 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 6 พ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,571.91 จุด เพิ่มขึ้น 22.69 จุด หรือ 1.46% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,575.37 จุด และต่ำสุดที่ 1,551.42 จุด มูลค่าการซื้อขาย 91,321.21 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.DELTA ปิดที่ 367.00 บาท เพิ่มขึ้น 52.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,627.26 ลบ. 2.STA ปิดที่ 47.00 บาท ลดลง -2.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,324.64 ลบ. 3.KBANK ปิดที่ 127.00 บาท เพิ่มขึ้น […]
บุคกิ้งเผยความต้องการท่องเที่ยวในสหรัฐฯ และอังกฤษเริ่มฟื้นตัว หลังกระจายวัคซีนได้ดี
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า บุคกิ้ง โฮลดิงส์ มองเห็นความต้องการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวในสหรัฐฯ และอังกฤษ เป็นผลจากมีประชาชนจำนวนมากขึ้นที่วางแผนวันหยุด หลังจากที่พวกเขาได้รับวัคซีนเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามเอเชียยังคงตามหลังในเรื่องนี้เนื่องจากวิกฤติด้านสุขภาพที่แย่ลง บุคกิ้ง ชี้ว่า อาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่การท่องเที่ยวระหว่างประเทศจะฟื้นตัวเต็มที่ เนื่องจากรัฐบาลต่างๆ อาจจะระมัดระวังกรเปิดพรมแดนสำหรับนักท่องเที่ยว Glenn Fogel ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บุคกิ้ง กล่าวว่า ขณะที่การกระจายวัคซีนยังคงชะลอตัวในหลายพื้นที่ของโลก แต่อิสราเอล อังกฤษ และสหรัฐฯ ได้ประโยชน์จากความสำเร็จในการกระจายวัคซีน โดยในประเทศเหล่านี้ ได้เห็นแนวโน้มการจองที่ได้รับแรงสนับสนุนจากการกระจายวัคซีน ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อคความต้องการท่องเที่ยว บุคกิ้ง ระบุว่า ความต้องการจองห้องพักในประเทศในรัสเซียและออสเตรเลียมีการเติบโตที่แข็งแกร่ง ขณะที่การจองตั๋วเครื่องบินเพิ่มขึ้น 49% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการเติบโตที่แข็งแกร่งของแบรนด์ในเครือไพรซ์ไลน์ บุคกิ้งดอทคอม และอโกด้า ความต้องการเดินทางในยุโรปดีขึ้น โดยบริษัทนำเที่ยวเริ่มเห็นแนวโน้มตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ได้รับแรงขับเคลื่อนมาจากการผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทางใหม่ ส่วนในเอเชีย ยอดการจองห้องพักลดลงในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยได้รับผลกระทบจากกระบวนการกระจายวัคซีนที่ล่าช้า และรัฐบาลมีมาตรการจำกัดที่เข้มงวดขึ้น จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น […]
Fund Comment เมษายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน เม.ย. 2564 ปรับตัวลดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุไม่เกิน 5 ปี เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุมากกว่า 5 ปี ปรับตัวลดลง 4-19 bps. ปัจจัยหลักยังคงเคลื่อนไหวตามแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ที่มีการปรับตัวลดลงเป็นเดือนแรกในปีนี้ หลังจากที่ความคาดหวังของอัตราเงินเฟ้อ (5 years forward breakeven inflation) มีแนวโน้มทรงตัวที่ระดับ 2.00-2.15% สะท้อนว่านักลงทุนเริ่มผ่อนคลายความกังวลด้านการปรับเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ และเห็นว่าอัตราผลตอบแทนที่ระดับปัจจุบันสามารถยอมรับได้ จึงกลับเข้ามาซื้อพันธบัตรอีกครั้ง อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยเฉพาะในระยะยาวปรับตัวลดลงในระดับจำกัดและมีปริมาณการซื้อขายที่เบาบางระหว่างเดือน เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลด้านธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) มูลค่ารวมไม่เกิน 140,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้พันธบัตรระยะยาวมีปริมาณเพิ่มขึ้นและมีผลต่อราคาพันธบัตร โดยการทำธุรกรรม Bond Switching เสร็จสิ้นในวันที่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยมีการตอบรับจากนักลงทุนในระดับที่ดี ทำให้เกิดแรงซื้อกลับเข้าพันธบัตรระยะยาวอีกครั้ง ด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 27-28 เม.ย. […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 พ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,549.22 จุด ลดลง 33.91 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 พ.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,549.22 จุด ลดลง 33.91 จุด หรือ -2.14% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,583.27 จุด และต่ำสุดที่ 1,547.35 จุด มูลค่าการซื้อขาย 127,109.24 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 126.00 บาท ลดลง -6.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 6,278.05 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 39.50 บาท ลดลง -0.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,901.55 ลบ. 3.AOT ปิดที่ 60.00 บาท ลดลง […]
Fund Comment
Fund Comment เมษายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อในเดือน เม.ย. โดย MSCI World Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.5% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างอ่อนแอกว่าในช่วงเดียวกัน จากปัจจัยการแพร่ระบาดในประเทศระลอก 3 โดยดัชนี SET Index ปรับตัวลดลง 0.26% จากสิ้นเดือน มี.ค. บรรยากาศการลงทุนโดยภาพรวมของโลก ยังคงหนุนด้วยภาพเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆ ซึ่งจะทำให้โอกาสในการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในระยะข้างหน้ามีมากขึ้น สำหรับความกังวลต่อการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของบอนด์ยีลด์ (Bond Yield) สหรัฐฯ ในเดือนก่อนหน้านั้นดูมีความคลายตัวลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯทรงตัวดีขึ้น หลังจากที่นักลงทุนในตลาดต่างประเทศได้มีการปรับลดน้ำหนักการลงทุนตราสารหนี้ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ในอดีต ด้าน Fed ยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ด้านแนวโน้มการลงทุนในไตรมาสที่ 2 นี้ ตลาดหุ้นโลกยังมีแนวโน้มอยู่ในทิศทางเชิงบวก จากการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศเศรษฐกิจหลัก จะช่วยให้เศรษฐกิจมีโอกาสกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในระยะข้างหน้าได้เร็วกว่าที่คาด รวมทั้งการออกแผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ (The American Jobs Plan) เป็นจำนวน 2.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ […]