นายกรัฐมนตรีอังกฤษเดินหน้าแผนยกเลิกมาตรการจำกัดทางสังคมใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า

นายกรัฐมนตรีอังกฤษเดินหน้าแผนยกเลิกมาตรการจำกัดทางสังคมใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า

สำนักข่าว Reuters ระบุว่า  Boris Johnson ประธานาธิบดีของอังกฤษออกมาเผยแผนงานเพื่อยุติมาตรการจำกัดทางสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อควบคุมโควิด-19 ในอังกฤษในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า หลังจากทดสอบพบว่าการกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็วทำให้ป้องกันการแพร่เชื้อเดลต้าได้มากเพียงพอ Johnson ยืนยันว่า รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะยุติมาตรการจำกัดต่างๆ ในวันที่ 19 ก.ค. นี้ โดยการตัดสินใจครั้งสุดท้ายจะดำเนินการในสัปดาห์หน้า ขณะที่ขั้นตอนนี้จะขจัดข้อจำกัดต่างๆ ออกไปอย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการติดต่อทางสังคม คำแนะนำการทำงานจากที่บ้าน และคำสั่งให้สวมหน้ากาก หลังจากบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดที่สุดในประวัติศาสตร์กับพฤติกรรมของคนอังกฤษเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา Johnson เดิมพันด้วยโปรแกรมการกระจายวัคซีนซึ่งทำให้การติดเชื้อและการเข้ารับการรักษาพยาบาลน้อยลง ป้องกันไม่ให้บริการสุขภาพถูกครอบงำด้วยระลอกใหม่ของโควิด-19 ภายใต้แผนงานที่วางไว้ ไนท์คลับจะกลับมาเปิดให้บริการและจะไม่จำกัดจำนวนคนในสถานบริการต่างๆ ขณะที่แนวทางการเว้นระยะห่างทางสังคมจะถูกยกเลิก เขา กล่าวว่า เราต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง ถ้าเราไม่สามารถเปิดสังคมของเราได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่ฤดูร้อนหรือวันหยุดปิดภาคการศึกษามาถึง เราก็ต้องถามตัวเองว่าแล้วเมื่อไหร่เราจะกลับไปเป็นปกติได้ โดยเราจะเคลื่อนตัวออกจากข้อจำกัดทางกฎหมายและอนุญาตให้ประชาชนตัดสินใจเองได้เกี่ยวกับการจัดการกับไวรัส ทั้งนี้ รัฐบาลของ Johnson มีการวางนโยบายด้านสุขภาพในอังกฤษเอาไว้ แต่ไม่รวมสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ

กองทุนบัวหลวงเสนอขาย IPO “BP8/21 (AI)” วันที่ 7-12 ก.ค.นี้

กองทุนบัวหลวงเสนอขาย IPO “BP8/21 (AI)” วันที่ 7-12 ก.ค.นี้

กองทุนบัวหลวงเสนอขาย IPO ‘กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 8/21 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย’ หรือ BP8/21 (AI) ซึ่งเป็นเทอมฟันด์ อายุ 6 เดือน วันที่ 7-12 กรกฎาคม 2564 นี้ ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท เป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่มองหาการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่เหมาะสม รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนบัวหลวงเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 8/21 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ BP8/21 (AI) ระหว่างวันที่ 7-12 กรกฎาคม 2564 นี้ โดยเสนอขายในราคา 10 บาทต่อหน่วย และผู้ลงทุนจะต้องจองซื้อครั้งแรกขั้นต่ำ 500,000 บาท   กองทุนนี้ เป็นกองทุนที่มีกำหนดอายุโครงการ (เทอมฟันด์) […]

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 1.25% YoY ในเดือน มิ.ย.

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 1.25% YoY ในเดือน มิ.ย.

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 1.25% YoY ในเดือน มิ.ย. (vs. 2.44% เดือน พ.ค. และ 3.41% เดือน เม.ย.) ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิ.ย. อยู่ที่ 99.93 เพิ่มขึ้น 1.25% YoY เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ 2.4% YoY ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.89% YoY YTD สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เดือนมิ.ย. อยู่ที่ 100.47 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 0.52% YoY ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 ก.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,579.28 จุด เพิ่มขึ้น 0.79 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 ก.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,579.28 จุด เพิ่มขึ้น 0.79 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 ก.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,579.28 จุด เพิ่มขึ้น 0.79 จุด หรือ +0.05% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,582.46 จุด และต่ำสุดที่ 1,573.67 จุด มูลค่าการซื้อขาย 58,232.61 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 116.50 บาท ลดลง 2.00 บาท (-1.69%) มูลค่าการซื้อขาย 3,476.48 ลบ. 2.GUNKUL ปิดที่ 4.84 บาท เพิ่มขึ้น 0.04 บาท (+0.83%) มูลค่าการซื้อขาย 1,562.76 ลบ. 3.GPSC ปิดที่ 76.75 […]

Fund Comment มิถุนายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มิถุนายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนระหว่างเดือนมิ.ย. ปิดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.2% นำโดยตลาดสหรัฐฯ ทั้ง S&P 500 และ Nasdaq ที่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ และตลาดยุโรปทำจุดสูงสุดใหม่ในระหว่างเดือน ปัจจัยที่ตลาดจับตามองในเดือนนี้คือ ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาพของการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจากผลการประชุม Fed แม้ว่าจะยังคงมุมมองการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้น แต่ Dot Plot ชี้ว่า ดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ นำมาซึ่งความกังวลต่อการลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ (QE Tapering) ของ Fed ที่อาจจะเร็วขึ้น ส่งผลให้กดดันบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า  สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงตลาดทองคำ แต่ขณะเดียวกัน นักลงทุนกลับเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่ม High growth ซึ่งราคาปรับลดลงมาก  ซึ่งสะท้อนความกังวลของ Bond yield ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปมากแล้ว ปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นในครึ่งปีหลังจึงอยู่ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการเป็นสำคัญ  หลังนโยบายการเงินและการคลังของประเทศหลัก เริ่มส่งผลเชิงบวกลดลง ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เร็วกว่าคาด ขณะที่อุปทานสินค้าบางกลุ่มมีไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ […]

ตลาดหุ้นเวียดนามโตต่อเนื่อง เร่งใช้ระบบใหม่รองรับธุรกรรมได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว

ตลาดหุ้นเวียดนามโตต่อเนื่อง เร่งใช้ระบบใหม่รองรับธุรกรรมได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว

Vietnamnews รายงานว่า ตลาดหุ้นโฮจิมินยังคงมีทิศทางการเติบโตที่แข็งแกร่งในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยดัชนี VN Index ปิดที่ระดับ 1,408.55 จุด เพิ่มขึ้น 6.06% ใน 1 เดือน และเพิ่มขึ้น 27.6% เทียบกับสิ้นปีก่อน ทั้งนี้พบว่าหุ้นบางอุตสาหกรรม มีอัตราการเติบโตสูง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้น 9.03% ในเดือนเดียว ตามด้วยกลุ่มสาธารณูปโภค เพิ่มขึ้น 8.56% และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้น 6.3% ท่ามกลางสภาพคล่องในระบบที่ยังสูง ทำให้ยอดการซื้อขายเฉลี่ย ทั้งในเชิงมูลค่าและปริมาณเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด โดยในเดือน มิ.ย. มีมูลค่าการซื้อขาย 23.68 ล้านล้านดอง (1,030 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และจำนวน 735.16 ล้านหุ้น เพิ่มขึ้น 7.94% และ 4.73% เมื่อเทียบกับเดือน […]

Fund Comment มิถุนายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มิถุนายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน มิ.ย. 2564 มีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าตั้งแต่ช่วงอายุคงเหลือ 2 ปีขึ้นไป และปรับตัวลดลงค่อนข้างมากถึง -13 ถึง -22 bpsในช่วงอายุคงเหลือ 4-9 ปี โดยมีปัจจัยหลักจากการที่ทิศทางเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า และยังไม่มีการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ประกอบกับสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนระยะสั้นจะยังคงอยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง นักลงทุนจึงมีการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วง 4-5 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าช่วง 3 ปีค่อนข้างมาก และมีการไล่ซื้อไปจนถึงช่วงอายุ 9 ปี ขณะที่พันธบัตรอายุ 10 ปี ซึ่งมีความสัมพันธ์ด้านอัตราผลตอบแทนกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก มีความต้องการซื้อน้อยกว่าช่วงอายุก่อนหน้า เนื่องจากตลาดยังติดตามสัญญาณการสิ้นสุดการใช้นโยบายการเงินและผ่อนคลายของ Fed ในปี 2022 และยังคงแนวโน้มการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี อยู่ที่ระดับ 1.78% ปรับลดลง 7 bps ณ สิ้นเดือน มิ.ย. แนวโน้มของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ถึงแม้ในระยะยาวจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น […]

การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 8.50 แสนตำแหน่ง มากที่สุดในรอบ 10 เดือน

การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 8.50 แสนตำแหน่ง มากที่สุดในรอบ 10 เดือน

BF Economic Research การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 8.50 แสนตำแหน่ง มากที่สุดในรอบ 10 เดือน และดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 7.20 แสนตำแหน่ง ขณะที่ตัวเลขเดือนก่อนถูกปรับเพิ่มขึ้น 2.4 หมื่นตำแหน่ง เป็น 5.83 แสนตำแหน่ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 พบว่ายังมีตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ราว -6.8 ล้านตำแหน่ง ในรายองค์ประกอบพบว่า การจ้างงานยังเพิ่มขึ้นโดยหลักในหมวดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 ได้แก่ การโรงแรมและพักผ่อน (+3.43 แสนตำแหน่ง), การจ้างงานภาคการศึกษา (+2.68 แสนตำแหน่ง), ค้าปลีก (+6.7 หมื่นตำแหน่ง) และการบริการอื่นๆ เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ (+5.6 หมื่นตำแหน่ง) ด้านการจ้างงานภาคก่อสร้างลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (-7.0 พันตำแหน่ง […]

BF Monthly Economic Review – มิ.ย. 2564

BF Monthly Economic Review – มิ.ย. 2564

สรุปความ BF Economic Research ประเด็นสำคัญที่มีผลต่อมุมมองการลงทุนอีก 6 เดือนข้างหน้า มี 4 หัวข้อ คือ 1.การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า 2.อัตราเงินเฟ้อ 3.ความเสี่ยงด้านการเมือง 4.นัยของเศรษฐกิจมหภาคที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนในระยะถัดไป การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ PMI ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้เศรษฐกิจรายเดือน พบว่า มีการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยสหรัฐฯ มีดัชนี PMI พุ่งทะยานขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 50 อยู่มาก เป็นแรงสะท้อนจากการที่สหรัฐฯ มีมาตรการกระตุ้นทางการคลังในปริมาณค่อนข้างมาก อัดฉีดเงินใส่มือประชาชน ทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามามากมาย เป็นผลให้ภาคธุรกิจต้องเร่งผลิตตอบรับกับคำสั่งซื้อที่มากขึ้น ส่วนประเทศจีน หากดูตามกราฟจะเห็นว่า จีนมีความแตกต่างจากสหรัฐฯ คือฟื้นตัวก่อน ดัชนีวิ่งสู่เหนือระดับ 50 ก่อนสหรัฐฯ แต่ว่าดัชนีค่อนข้างนิ่ง เพราะเมื่อฟื้นตัวก่อน สิ่งที่เป็นปัจจัยบวกจากฐานต่ำก็จะไม่มีแล้ว ภาพของจีนจึงเป็นการฟื้นตัวอย่างค่อนข้างมีเสถียรภาพและไปเรื่อยๆ สำหรับอินเดียและญี่ปุ่น เข้าข่ายการฟื้นตัวที่ไม่ทั่วถึง […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 2 ก.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,578.49 จุด ลดลง 15.26 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 2 ก.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,578.49 จุด ลดลง 15.26 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 2 ก.ค. 2564 ปิดตลาดที่ 1,578.49 จุด ลดลง 15.26 จุด หรือ -0.96% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,596.05 จุด และต่ำสุดที่ 1,574.92 จุด มูลค่าการซื้อขาย 80,922.70 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.BANPU ปิดที่ 13.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.20 บาท (+1.50%) มูลค่าการซื้อขาย 5,935.32 ลบ. 2.KBANK ปิดที่ 118.50 บาท ลดลง 3.50 บาท (-2.87%) มูลค่าการซื้อขาย 5,328.73 ลบ. 3.PTT ปิดที่ 38.75 […]