ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 9 ก.พ. 2565 ปิดตลาดที่ 1,703.16 จุด เพิ่มขึ้น 18.93 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 9 ก.พ. 2565 ปิดตลาดที่ 1,703.16 จุด เพิ่มขึ้น 18.93 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 9 ก.พ. 2565 ปิดตลาดที่ 1,703.16 จุด เพิ่มขึ้น 18.93 จุด (+1.12%) ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,708.03 จุด และต่ำสุดที่ 1,688.95 จุด มูลค่าการซื้อขาย 135,624.66 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 162.50 บาท เพิ่มขึ้น 8.00 บาท (+5.18%) มูลค่าการซื้อขาย 10,373.33 ลบ. 2.KCE ปิดที่ 64.75 บาท ลดลง 8.50 บาท (-11.60%) มูลค่าการซื้อขาย 6,125.07 ลบ. 3.PTT ปิดที่ 40.50 […]

ธนาคารกลางญี่ปุ่นมองนโยบาย zero-Covid ของจีนจะกระทบการเติบโตของโลก

ธนาคารกลางญี่ปุ่นมองนโยบาย zero-Covid ของจีนจะกระทบการเติบโตของโลก

ผู้ดำเนินนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นออกมาให้ความเห็นว่า นโยบายการควบคุมโควิดให้เป็นศูนย์ของจีน หรือที่เรียกว่า zero-Covid จะมีผลกระทบต่อการเติบโตของโลก เนื่องจากไปทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก และสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อให้ทั่วโลก นี่ถือเป็นการออกมาแสดงความเห็นสอดคล้องกับที่ Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกมาแสดงความคิดเห็นเมื่อเดือนมกราคม โดยชี้ว่าจีนควรทบทวนการใช้แนวทาง zero-Covid ใหม่ Toyoaki Nakamura คณะกรรมการบริหาร ธนาคารกลางญี่ปุ่น แสดงความคิดเห็นว่า เศรษฐกิจจีนถือเป็นตลาดและโรงงานของโลก ดังนั้นการใช้นโยบาย zero-Covid จึงมีความเสี่ยง ท่ามกลางการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนในวงกว้างขึ้นซึ่งอาจกระทบเศรษฐกิจโลก รวมถึงทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก และสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อ ขณะที่ความไม่แน่นอนที่บริษัทญี่ปุ่นจะส่งผ่านต้นทุนวัตถุดิบที่แพงขึ้นไปยังครัวเรือนได้เร็วแค่ไหน ก็เป็นอีกความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ Nakamura คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวต่อเนื่องได้จากผลกระทบการแพร่ระบาดและข้อจำกัดในด้านอุปทานที่ลดลง แต่เขามองว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะต้องคงนโยบายแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษเอาไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งเพียงพอที่จะเร่งเงินเฟ้อไปถึงเป้าหมาย 2% ได้ ที่มา : CNBC

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี

Economic Research กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2022 มีแนวโน้มสูงกว่าที่ประเมินไว้และอาจสูงกว่ากรอบเป้าหมายในช่วงแรกของปี จากการปรับขึ้นราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานและอาหารสดบางประเภท นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้น จากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจมากขึ้นหากราคาพลังงานและอาหารสดอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด หรือหากข้อจำกัดด้านการผลิตขยายวงกว้างขึ้นไปสู่สินค้าประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย แต่จะต้องติดตามราคาพลังงานโลก การปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการในประเทศ รวมทั้งแรงกดดันต่อค่าจ้างแรงงานอย่างใกล้ชิด สภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง โดยการกระจายสภาพคล่องยังแตกต่างกันบ้างในแต่ละภาคเศรษฐกิจ ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นสำคัญ สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ฯ ยังเคลื่อนไหวผันผวน จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักที่เร็วขึ้นและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดในประเทศ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด รวมทั้งผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ด้านนโยบายการคลัง กนง. เห็นว่ามาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมาตรการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องยังมีความสำคัญ ด้านการดำเนินนโยบายการเงิน กนง.มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ โดยปัจจัยที่ต้องติดตามต่อ ได้แก่ สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ราคาพลังงานโลก การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงความเพียงพอของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ […]

BBLAM Monthly Economic Review – มกราคม 2022 : ยูโรโซน ญี่ปุ่น อินเดีย

BBLAM Monthly Economic Review – มกราคม 2022 : ยูโรโซน ญี่ปุ่น อินเดีย

Economic Research เศรษฐกิจยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย ในเดือนมกราคม 2022 ประเด็นหลักหนีไม่พ้น อัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นสูง ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินเป็นหลัก ยูโรโซน สำหรับเศรษฐกิจยูโรโซน จะเห็นว่าตั้งแต่ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจยูโรโซนฟื้นตัวมาได้ค่อนข้างดี นับตั้งแต่เจอวิกฤติโควิด BBLAM คาดการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจยูโรโซนน่าจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง หลังจากฟื้นตัวค่อนข้างแรง แต่เมื่อยูโรโซนเผชิญกับการระบาดของโควิด ตั้งแต่สายพันธุ์เดลต้าต่อด้วยสายพันธุ์โอมิครอน ก็ทำให้เศรษฐกิจดูเหมือนจะสะดุดลงไปบ้างในไตรมาส 4 ปี 2021 สะท้อนได้จากตัวเลข PMI หรือดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่บ่งบอกถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเยอรมนี ที่นอกจากเผชิญปัญหาโควิดแล้ว ก็เจอปัญหาขาดแคลนชิปที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ปรับตัวลดลงด้วย ส่งผลให้เมื่อเทียบเยอรมนี กับประเทศอื่นๆ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปนแล้ว ดูเหมือนเศรษฐกิจเยอรมนีจะชะลอตัวลงไปมากกว่า เมื่อพิจารณาตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ล่าสุดที่ออกมา GDP เยอรมนี ออกมาอยู่ที่ -0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ทำให้ตลาดเริ่มมีความกังวลว่า เศรษฐกิจเยอรมนีอาจจะเผชิญกับภาวะ technical recession ได้ […]

ย้ายงานทั้งที จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังไงดี

ย้ายงานทั้งที จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังไงดี

โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ปีขาลทั้งที ต้องขานรับโอกาสใหม่ๆ ที่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องเงิน เรื่องของความรัก แต่ปุบปับงานที่เล็งๆ ไว้ก็เข้ามาเตะตาเราจนได้ และแล้วก็มีโอกาสได้ย้ายงานใหม่ ทั้งตื่นเต้นดีใจ แต่เอ๊ะ ที่ทำงานใหม่เรามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วยหรือเปล่า แล้วที่ทำงานตอนนี้ที่มีอยู่ต้องจัดการยังไง เพื่อไม่ให้เสียโอกาส เสียจังหวะการลงทุน มีคำแนะนำดังนี้ค่ะ กรณีที่ทำงานใหม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แบบนี้สบายเลยค่ะ ไม่ต้องกังวลเรื่องการสะสมเงินเพื่อการเกษียณ เพราะได้สะสมต่อเนื่อง แบบนี้เราสามารถแจ้งที่ทำงานปัจจุบันว่าต้องการโอนย้ายไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ โดยในช่วงทดลองงานกับที่ทำงานใหม่ จะยังไม่มีการส่งเงินสะสมต่อเนื่อง ดังนั้น เราก็ต้องคงเงินไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมโดยมีค่าธรรมเนียมการคงเงิน 500 บาทค่ะ ส่วนใครที่ไม่อยากคงเงิน ไม่อยากโอนย้ายไปที่ทำงานใหม่ก็ไม่เป็นไรค่ะ เราสามารถโอนย้ายไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพสำหรับการโอนย้ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ได้ (RMF for PVD) ซึ่งต้องไปหาว่าที่ไหนมีบ้าง แล้วก็มาแจ้งที่ทำงานเดิมเพื่อทำเรื่องโอนย้ายไป ซึ่งเงินส่วนนี้ก็เสมือนเป็นการลงทุนระยะยาวต่อเนื่องไป และเงินที่ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานใหม่ก็เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ค่ะ กรณีที่ทำงานใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แหม ถ้าได้งานใหม่แล้ว มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วยก็จะดีมากนะคะ แต่ถ้าที่ใหม่ไม่มีก็ไม่ต้องตกใจไปค่ะ ลองดูว่าจะจัดการยังไงกับเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมที่เรามีอยู่ ในกรณีนี้ สามารถจัดการได้ 2 วิธีด้วยกัน […]

BBLAM Monthly Economic Review – มกราคม 2022 : สหรัฐฯ จีน

BBLAM Monthly Economic Review – มกราคม 2022 : สหรัฐฯ จีน

Economic Research ประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจในเดือนมกราคม 2022 คือ ทิศทางนโยบายการเงิน โดยในส่วนของสหรัฐฯ และจีน นั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพิ่งจะประชุมไปเมื่อปลายเดือนมกราคม 2022 และ BBLAM จะมีข้อสังเกตจากธนาคารกลางจีน (PBoC) มาเป็นข้อมูลเปรียบเทียบด้วย BBLAM อยากชี้ให้ทุกท่านเห็นว่า Upside ของการลงทุน หรือส่วนเพิ่ม มาจากความต่างระหว่างสิ่งที่ตลาดคาดหวังกับความเป็นจริง เริ่มที่สิ่งที่ตลาดคาดหวังก่อน ก็คือ 1.ตลาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมนี้แล้ว 2.Fed จะต้องขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้ง 5 ครั้ง หรือบางที่ก็คาดการณ์ว่าจะขึ้นไปถึง 7 ครั้งเลยทีเดียว 3.Fed อาจจะมีการปรับลดงบดุล หรือทำ QT ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้ง 3 ประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นความกังวลให้กับตลาดในภาพรวม แต่ว่าสิ่งที่ Fed บอก ณ การประชุมเมื่อช่วงสิ้นเดือนมกราคม […]

ยุโรปเตรียมผ่อนคลายกฎ เปิดทางหนุนลงทุนโรงงานชิป

ยุโรปเตรียมผ่อนคลายกฎ เปิดทางหนุนลงทุนโรงงานชิป

สหภาพยุโรปกำลังหาวิธีที่จะทำให้หาเงินทุนได้ง่ายขึ้นมาดำเนินการจัดสร้างโรงงานผลิตชิป ภายใต้แผนหลักพันล้านยูโรของคณะกรรมาธิการยุโรปที่วางไว้ โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมชิปและลดการพึ่งพาบริษัทในสหรัฐฯ กับเอเชียลง ความเคลื่อนไหวของฝ่ายบริหารสหภาพยุโรปนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่สหรัฐฯ มีแผนการลงทุนในชิป 52,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ออกมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับจีน รวมทั้งมาในช่วงที่โลกมีปัญหาขาดแคลนชิป มีปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานที่กระทบต่อผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ให้บริการสุขภาพ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และอื่นๆ ทั้งนี้แผนการลงทุนในชิปของยุโรป จะใช้เงินลงทุน 15,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่เป็นการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน ภายในปี 2030 ตามที่ Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ระบุกับสื่อ “การลงทุนนี้จะเพิ่มเติมจากการลงทุนภาครัฐ 30,000 ล้านยูโรที่มีแผนออกมาแล้วจากโครงการ NextGenerationEU รวมทั้ง Horizon Europe และงบประมาณของชาติ โดยเงินลงทุนก้อนนี้จะถูกจับคู่กับการลงทุนระยะยาวของภาคเอกชน” เธอ กล่าว เบื้องต้นยุโรปจะผ่อนคลายกฎเกณฑ์ของรัฐที่มีอยู่ ที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันการอุดหนุนที่ผิดกฎหมายและไม่เป็นธรรมที่มอบให้กับบริษัทในยุโรป สำหรับโรงงานชิปที่มีนวัตกรรม ที่มา : Reuters

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 8 ก.พ. 2565 ปิดตลาดที่ 1,684.23 จุด เพิ่มขึ้น 6.99 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 8 ก.พ. 2565 ปิดตลาดที่ 1,684.23 จุด เพิ่มขึ้น 6.99 จุด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 8 ก.พ. 2565 ปิดตลาดที่ 1,684.23 จุด เพิ่มขึ้น 6.99 จุด (+0.42%) ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,685.14 จุด และต่ำสุดที่ 1,677.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 84,621.58 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.KBANK ปิดที่ 154.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 บาท (+1.64%) มูลค่าการซื้อขาย 5,334.72 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 40.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท (+0.62%) มูลค่าการซื้อขาย 4,169.06 ลบ. 3.PTTEP ปิดที่ 134.00 […]

BBLAM แนะนำธีมการลงทุนรับปีขาล “Blue Sky, Green Ocean” จับโอกาสจากเศรษฐกิจไทยขาขึ้น และธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

BBLAM แนะนำธีมการลงทุนรับปีขาล “Blue Sky, Green Ocean” จับโอกาสจากเศรษฐกิจไทยขาขึ้น และธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ข่าวประชาสัมพันธ์                                                                                    Press Release  นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า ตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นไทยต่างฝากความหวังไว้กับการกลับมาเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ในขณะที่มีความท้าทายเข้ามาเป็นระยะ เช่น การเกิดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า และส่งท้ายปีด้วยการเกิดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ทำให้บางประเทศในแถบยุโรปต้องกลับมาใช้มาตรการล็อคดาวน์ รวมถึงคุมเข้มการเดินทางทางอากาศเพื่อจำกัดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจไทยนับว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว โดยเวลานี้อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงฟ้าเปิดที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จะเริ่มทยอยดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพียงแต่การกลับไปสู่จุดที่เคยเป็นก่อนวิกฤติการณ์โควิด-19 ยังคงต้องใช้เวลา เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกที่ไม่แน่นอน เช่น นโยบาย Zero-Covid ของจีน ซึ่งห้ามไม่ให้ประชาชนเดินทางไปยังต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อรายได้ภาคบริการและการท่องเที่ยวเกือบ 1 ใน 4 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เข้ามาในประเทศไทยในแต่ละปี อีกหนึ่งปัจจัยคือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้รูปแบบแนวทางต่างๆ ไม่กลับไปเป็นเช่นเดิม ยกตัวอย่างเช่น การเดินทางเพื่อธุรกิจที่อาจลดลง ด้วยมีการนำ Virtual Meeting มาใช้มากขึ้น […]

BBLAM ต้อนรับวาเลนไทน์ จ่ายปันผลกองทุน BCAP 0.007183 บาทต่อหน่วย

BBLAM ต้อนรับวาเลนไทน์ จ่ายปันผลกองทุน BCAP 0.007183 บาทต่อหน่วย

ข่าวประชาสัมพันธ์                                                                                    Press Release รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน หรือ BCAP เตรียมจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565   ในอัตรา 0.007183  บาทต่อหน่วยลงทุน  โดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน  เพื่อสิทธิในการรับเงินปันผล ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 และกำหนดจ่ายเงินปันผล ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 กองทุน BCAP เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นไทย ที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่เกินปีละ 4 ครั้ง ในอัตรา 95% จากกำไรสะสม หรือกำไรสุทธิจากการดำเนินงานในแต่ละงวดบัญชี หากนักลงทุนกำลังมองหาการลงทุนในหุ้นไทย ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุน BCAP ได้ […]