ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,568.33 จุด ลดลง 17.85 จุด (-1.13%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 30 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,568.33 จุด ลดลง 17.85 จุด (-1.13%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,564.82 จุด และสูงสุดที่ 1,591.23 จุด มูลค่าการซื้อขาย 71,991.49 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ KBANK ปิดที่ 150.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 (+0.33%) มูลค่าการซื้อขาย 2,774.26 ลบ. ADVANC ปิดที่ 194.50 บาท ลดลง 4.50 (-2.26%) มูลค่าการซื้อขาย 2,595.71 ลบ. WPH ปิดที่ 4.68 บาท เพิ่มขึ้น 0.38 (+8.84%) มูลค่าการซื้อขาย 2,546.76 ลบ. PTT ปิดที่ 34.00 […]
เศรษฐกิจจีนไม่ฟื้นกลับช่วง Q2 มาตรการคุมโควิดฉุดธุรกิจทุกประเภทชะลอตัว
ธุรกิจตั้งแต่ภาคบริการจนถึงภาคการผลิตของจีน ชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก สะท้อนผลกระทบอันยืดเยื้อของมาตรการคุมโควิด ขณะเดียวกันมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลยังไม่ส่งผลกระทบ รายงาน “ไชน่า เบจ บุ๊ก” ในสหรัฐฯ ซึ่งอ้างว่า ได้สัมภาษณ์นักธุรกิจในจีนมากกว่า 4,300 คนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน ชี้ว่า ในขณะที่มีการผ่อนคลายล็อกดาวน์เป็นส่วนใหญ่ในเดือนพฤษภาคม แต่ข้อมูลในเดือน มิถุนายน ไม่ได้ชี้ว่า เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวกลับมาเหมือนที่มีการคาดการณ์เป็นส่วนใหญ่ และยังมีสัญญาณใหม่เพียงเล็กน้อยว่า มาตรการกระตุ้นของรัฐบาลจะมีผลกระทบมาก นครเซี่ยงไฮ้ ได้ล็อกดาวน์ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม รวมถึงกรุงปักกิ่งและส่วนอื่นๆ ของประเทศยังได้คุมโควิดในระดับหนึ่งเช่นกัน ในปลายเดือนพฤษภาคม นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ได้เรียกร้องผ่านการประชุมวิดีโอคอลครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยให้เจ้าหน้าที่ทำงานหนัก เพื่อให้มีการเติบโตในช่วงไตรมาส 2 และลดการว่างงาน อย่างไรก็ดี รายงานของ ไชน่า เบจ บุ๊ก ชี้ว่า ในระหว่างไตรมาส 1 และไตรมาส 2 การจ้างงานลดลงในภาคผลิตทั้งหมด ยกเว้นการแปรรูปอาหาร […]
BF Knowledge Center BMAPS100RMF BMAPS25RMF BMAPS55RMF BMAPSRMF
BF Knowledge Tips: อยู่กับปัจจุบันยังไง ให้มีเงินใช้ในอนาคต
“อยู่กับปัจจุบันยังไง ให้มีเงินใช้ในอนาคต” โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® สำหรับใครที่เข้าสู่วัยกลางคน แล้วใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน โดยไม่คำนึงถึงอนาคต ขอให้ปรับมุมมองใหม่สักนิดนึง แม้ว่าเราต้องอยู่กับปัจจุบันก็ตาม แต่การกระทำในปัจจุบันของเรานั้น สามารถส่งผลไปถึงอนาคตของเราด้วย เหมือนกับคำที่กล่าวว่า “อดีตเป็นอย่างไร ดูได้ในปัจจุบัน ส่วนอนาคตจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจุบันที่เราทำ” นั่นเองค่ะ ดังนั้น หากไม่อยากให้ลำบากในอนาคต เราต้องทำปัจจุบันเพื่อปัจจุบัน และเพื่ออนาคตด้วยค่ะ ใครที่ว่าอนาคตไม่สำคัญ คำพูดนี้ ไม่จริงเลยค่ะ เพราะเราทำปัจจุบัน ก็เพื่อให้อนาคตเราดี เพราะปัจจุบันเรายังมีเรี่ยวแรงในการทำงาน ร่างกายเรายังแข็งแรง ยังสามารถทำงานได้ไหว เราก็ต้องเตรียมความพร้อมเอาไว้ เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตเราจะเป็นยังไง งานที่เราทำอยู่ตอนนี้ อนาคตเราจะยังได้ทำมั้ย เงินที่เราหาได้ตอนนี้ อนาคตเราจะยังหาได้หรือเปล่า เพราะทุกอย่างไม่มีความแน่นอนนั่นเอง แม้ว่าการทำงานในบริษัท ได้เงินเดือนทุกเดือนๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ใครๆ ก็คิดว่ามีความมั่นคง แต่หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่านเข้ามาในชีวิต ทำให้หลายคนเริ่มมีมุมมองที่เปลี่ยนไป จากความมั่นคงที่คิดว่ามั่นคงจริงๆ ก็ไม่มั่นคงอีกต่อไป ดังนั้น ทำปัจจุบันให้ดี อยู่กับปัจจุบัน […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,586.18 จุด ลดลง 8.29 จุด (-0.52%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,586.18 จุด ลดลง 8.29 จุด (-0.52%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,582.52 จุด และสูงสุดที่ 1,590.05 จุด มูลค่าการซื้อขาย 55,564.35 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTT ปิดที่ 35.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,072.17 ลบ. AOT ปิดที่ 71.00 บาท ลดลง 1.00 (-1.39%) มูลค่าการซื้อขาย 2,896.94 ลบ. EA ปิดที่ 81.75 บาท ลดลง 1.25 (-1.51%) มูลค่าการซื้อขาย 2,249.82 ลบ. ADVANC ปิดที่ 199.00 บาท […]
‘เยนอ่อน’ กดดันธุรกิจญี่ปุ่น เปิดช่องต่างชาติเข้าซื้อกิจการ
การอ่อนค่าของ “เงินเยน” ที่ร่วงลงต่ำสุดที่ 136.455 เยน/ ดอลลาร์สหรัฐ แตะระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี ทำให้นักท่องเที่ยวที่หลงรักญี่ปุ่นต่างแห่กันเข้าเก็บสะสม แต่เงินเยนที่อ่อนค่าก็กดดันผู้ประกอบการและชาวญี่ปุ่นจากผลกระทบจากต้นทุนพลังงานและสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น รอยเตอร์ส รายงานว่า เงินเยนของญี่ปุ่นยังคงแกว่งค่าอยู่ในระดับต่ำ หลังจากที่ร่วงลงต่ำสุดที่ 136.455 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (ultra-loose monetary policy) ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่ยังคงมุ่งมั่นรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำที่ต้องการให้เกิดการขยายตัวของค่าแรงอย่างแข็งแกร่ง เพื่อบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ซึ่งเป็นแนวทางส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น แม้ว่าการอ่อนค่าอย่างรุนแรงของเงินเยน อาจส่งผลให้บริษัทต่างๆ ของญี่ปุ่นประสบความยากลำบากในการวางแผนทางธุรกิจ แต่บีโอเจ มองว่า นโยบายการเงินในปัจจุบันมีความเหมาะสมต่อการกระตุ้นการเติบโตของค่าแรง ซึ่งจะช่วยให้การบริโภคภายในประเทศขยายตัว และเป็นปัจจัยที่หนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การสำรวจของ “โตเกียว โชโกะ รีเสิร์ช” ผู้ให้บริการข้อมูลธุรกิจญี่ปุ่น เปิดเผยว่า บริษัทญี่ปุ่นถึง 46.7% จากบริษัทที่ร่วมให้ข้อมูลทั้งหมด 2,649 […]
BBLAM เสนอขาย IPO “BFTERM 3/22(AI)” วันที่ 29 มิ.ย. – 4 ก.ค.นี้
BBLAM เสนอขาย IPO กองทุนรวมบัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 3/22 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย’ หรือ BFTERM 3/22(AI) เน้นลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ IPO 29 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2565 รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า BBLAM เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนรวมบัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 3/22 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย’ หรือ BFTERM 3/22(AI) อายุประมาณ 6 เดือน ประมาณการผลตอบแทน 0.60% ต่อปี ขนาดโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยเสนอขายในราคา 10 บาทต่อหน่วย และผู้ลงทุนจะต้องจองซื้อครั้งแรกขั้นต่ำ 500,000 […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 28 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,594.47 จุด เพิ่มขึ้น 14.27 จุด (+0.90%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 28 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,594.47 จุด เพิ่มขึ้น 14.27 จุด (+0.90%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,576.75 จุด และสูงสุดที่ 1,596.27 จุด มูลค่าการซื้อขาย 60,346.04 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTTEP ปิดที่ 162.50 บาท เพิ่มขึ้น 6.00 (+3.83%) มูลค่าการซื้อขาย 3,615.30 ลบ. PTT ปิดที่ 35.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 (+2.94%) มูลค่าการซื้อขาย 3,573.95 ลบ. AOT ปิดที่ 72.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 (+2.49%) มูลค่าการซื้อขาย 3,108.78 ลบ. CPALL ปิดที่ […]
รัสเซียผิดนัดชำระหนี้ต่างชาติครั้งแรกในรอบ 104 ปี
รัสเซียผิดนัดชำระพันธบัตรรัฐบาลสกุลเงินต่างชาติเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2461 หลังจากไม่สามารถชำระหนี้ได้ภายในเส้นตายวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี รมต.คลัง รัสเซีย ปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นการผิดนัดชำระหนี้อย่างแท้จริง เพราะรัสเซียมีเงินและต้องการชำระ แต่ชาติตะวันตกออกมาตรการด่วนที่ยับยั้งการชำระเงิน ระบุสถานการณ์ทั้งหมดเป็น “เรื่องตลก” รัสเซียมีเงินที่จะชำระหนี้ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเต็มใจที่จะชำระ แต่มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกทำให้เป็นไปไม่ได้ที่รัสเซียจะชำระเงินแก่เจ้าหนี้ระหว่างประเทศ การชำระดอกเบี้ย 100 ล้านดอลลาร์ได้ครบกำหนดชำระเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมและรัสเซียกล่าวว่า ได้ส่งเงินให้กับ “ยูโรเคลียร์” ซึ่งเป็นธนาคารที่จะกระจายการชำระเงินให้แก่นักลงทุนแล้ว อย่างไรก็ดี จากรายงานของบลูมเบิร์ก การชำระเงินดังกล่าวได้เกิดการติดขัดและเจ้าหนี้หลายคนไม่ได้รับเงิน ในขณะเดียวกัน จากการรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ผู้ถือพันธบัตรรัสเซียสกุลเงินยูโรที่เป็นชาวไต้หวัน ไม่ได้รับการชำระดอกเบี้ย เงินที่ไม่ได้ถึงมือเจ้าหนี้ภายใน 30 วันหลังจากที่ครบกำหนด ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ และยูโรเคลียร์ไม่ได้บอกว่ามีการขัดขวางการชำระเงินหรือไม่ แต่กล่าวว่า ทำตามมาตรการคว่ำบาตรทั้งหมด รัสเซียผิดนัดชำระหนี้ต่างชาติครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2461 ในช่วงที่มีการปฏิวัติบอลเชวิคเมื่อวลาดิมีร์ เลนิน ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์คนใหม่ ไม่ยอมชำระหนี้ของราชอาณาจักรรัสเซีย ส่วนการผิดนัดชำระหนี้ทุกประเภทครั้งสุดท้ายของรัสเซียเกิดขึ้นเมื่อปี […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 27 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,580.20 จุด เพิ่มขึ้น 11.44 จุด (+0.73%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 27 มิ.ย. 2565 ปิดตลาดที่ 1,580.20 จุด เพิ่มขึ้น 11.44 จุด (+0.73%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,575.29 จุด และสูงสุดที่ 1,584.05 จุด มูลค่าการซื้อขาย 59,201.02 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTTEP ปิดที่ 156.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.00 (+1.95%) มูลค่าการซื้อขาย 2,680.23 ลบ. BANPU ปิดที่ 12.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 (+2.46%) มูลค่าการซื้อขาย 2,401.35 ลบ. KBANK ปิดที่ 150.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 (+1.35%) มูลค่าการซื้อขาย 2,120.12 ลบ. PTT ปิดที่ […]
เงินเฟ้อ-หุ้นดิ่งฉุดธุรกรรม M&A วูบทั่วโลก สหรัฐลดลงมากสุด 40%-เอเชียลด 10%
ธุรกรรม M&A ลดลงทั่วโลก หลังเงินเฟ้อพุ่ง ตลาดหุ้นพัง และเกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอย บอร์ดบริษัทจำนวนมากไม่กล้าขยายกิจการผ่านการเข้าถือสิทธิ์ ส่งผลให้การทำข้อตกลงในช่วงไตรมาส 2 ลดลง 25.5% เหลือ 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยในสหรัฐฯ ลดลงมากสุดถึง 40% ขณะที่ในเอเชียลดลง 10% แต่ยุโรปเป็นภูมิภาคเดียวที่เพิ่มขึ้น 6.5% การรุกรานยูเครนของรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ และความกังวลที่ว่า เศรษฐกิจกำลังจะเกิดภาวะถดถอย ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมควบรวมกิจการและเข้าถือสิทธิ์ (M&A) ในช่วงไตรมาสสอง โดยจากข้อมูลของดีลลอจิค ข้อตกลงที่ได้มีการประกาศแล้วมีมูลค่าลดลง 25.5% เหลือ 1 ล้านล้านดอลลาร์ กิจกรรม M&A ในสหรัฐฯ ลดลง 40% เหลือ 456,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาสสอง ขณะที่ในเอเชียลดลง 10% และยุโรปเป็นเพียงภูมิภาคเดียวที่มีการทำข้อตกลงเพิ่มขึ้น 6.5% โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะมีการทำข้อตกลงของกองทุนหุ้นเอกชนเป็นจำนวนมาก เช่น การเทคโอเวอร์มูลค่า 58,000 […]