ภัยคุกคาม! ไอเอ็มเอฟเตือน AI อาจทำให้ตลาดแรงงานชะงักชะงัน

ภัยคุกคาม! ไอเอ็มเอฟเตือน AI อาจทำให้ตลาดแรงงานชะงักชะงัน

รองกรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือน AI อาจทำให้ตลาดแรงงานชะงักชะงัน พร้อมเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายสร้างกฎอย่างรวดเร็ว เพื่อควบคุมเทคโนโลยีดังกล่าว หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ รายงานเมื่อวันจันทร์ (5 มิ.ย.) ว่า นางกีตา โกปินาธ รองกรรมการผู้จัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือนถึง การหยุดชะงักอย่างมากในตลาดแรงงานที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง และเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายสร้างกฎอย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมเทคโนโลยีดังกล่าว นางโกปินาธ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “เราต้องการรัฐบาล เราต้องการสถาบันต่างๆ และเราต้องการผู้กำหนดนโยบายที่จะดำเนินการอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ในแง่ของกฎระเบียบ แต่ยังรวมถึงในแง่ของการเตรียมพร้อมสำหรับการหยุดชะงักครั้งใหญ่ในตลาดแรงงาน” นอกจากนี้ เธอยังเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม สำหรับพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการนำ AI มาใช้ และดำเนินการเกี่ยวกับนโยบายภาษีเพื่อที่จะไม่ให้ท้ายเหล่าบริษัทที่นำเครื่องจักรมาแทนที่พนักงาน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นางโกปินาธได้เตือนให้ผู้กำหนดนโยบายระมัดระวังในกรณีที่บางบริษัทอยู่ในจุดที่เหนือชั้นกว่าในด้านเทคโนโลยี AI นี้ ทั้งนี้ เธอกล่าวว่า “เราไม่ต้องการมีบริษัทขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลและพลังการประมวลผลจำนวนมหาศาลซึ่งมีข้อได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรม” ที่มา: รอยเตอร์

BBLAM Monthly Economic Review สรุปเศรษฐกิจรายเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2023

BBLAM Monthly Economic Review สรุปเศรษฐกิจรายเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2023

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM เศรษฐกิจโลกและมุมมองตลาดโดยภาพรวม เศรษฐกิจโดยภาพรวมของโลกยังคงชะลอตัวโดยเฉพาะกลุ่ม DM ที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น และไทย ยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องโดยทั้งสามประเทศยังได้รับอานิสงส์จากการเปิดเมือง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตร (ยกเว้นน้ำตาล) ได้ปรับตัวลงตามราคาน้ำมัน และอุปสงค์โลก ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในหลายๆ ประเทศกลับไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ ธนาคารกลางหลายๆ แห่งจึงคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตั้งแต่ต้นปี (เช่น เกาหลีใต้  อินโดนีเซีย) ในขณะที่ บางประเทศ เช่น เวียดนามกลับทิศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง (เนื่องด้วยแรงกดดันจากภายนอก หรือ External Factors เริ่มผ่อนแรง) ด้านประเทศไทยยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (เนื่องด้วย กนง. มองว่าการส่งออกและการท่องเที่ยวจะเป็น Upside Risk ให้กับเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี) สำหรับปัจจัยด้าน Macroeconomics ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงนี้ ได้แก่ 1) ผลของการยกเพดานหนี้ที่จะมีต่อความชันของ Yield […]

Fund Comment พฤษภาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment พฤษภาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนพฤษภาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นในแทบทุกช่วงอายุ โดยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 19-25 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 1-16 bps. เป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามความคาดการณ์ของตลาดที่มองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขยับขึ้นสู่ระดับ 2.00% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. 2566 วันที่ 31 พ.ค. 2566 กนง. ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps เป็น 2.00% ต่อปี ตามที่ตลาดคาด และมองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ การส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 3.6% และ 3.8% ในปี 2023 และ 2024 สำหรับเงินเฟ้อมองว่า แม้มีแนวโน้มปรับลดลงในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวอยู่ที่ […]

BBLAM Weekly Investment Insights 5 – 9 มิถุนายน 2023

BBLAM Weekly Investment Insights 5 – 9 มิถุนายน 2023

2023 – The Rise of Asia INVESTMENT STRATEGY By BBLAM – Innovation “โดยภาพรวมแล้วดูเหมือนเทคฯ จะเจอกับสถานการณ์ความต้องการชะลอตัว แต่จริง ๆ แล้วเป็นโอกาสลงทุนโดยเลือกว่าเทคฯ กลุ่มไหนเป็นโอกาส ซึ่ง Fidelity มองไปที่หลายกลุ่มด้วยกัน เช่น Cloud adoption, Electric vehicles ที่ smarter และ safer” เดือนที่ผ่านมาดัชนี S&P500 เคลื่อนไหวในช่วงระหว่าง +3.6% และ -1.2% โดยหุ้นที่ดันตลาดบวกมาจากหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูง (High quality mega-cap stocks) และหุ้น Defensive นอกจากนี้ ก็ยังได้แรงหนุนจากการรายงานผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาด S&P500 ที่บริษัทมากกว่า 80% รายงานดีกว่าตลาดคาด แต่ด้วยภาพรวมเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง จะยังคงมีผลต่อความผันผวนของหุ้นกลุ่มนี้ […]

สัดส่วนการลงทุนในบริษัท STARK ของกองทุนรวม 4 กองทุน ภายใต้การจัดการของ บลจ.บัวหลวง

สัดส่วนการลงทุนในบริษัท STARK ของกองทุนรวม 4 กองทุน ภายใต้การจัดการของ บลจ.บัวหลวง

ตามที่มีข่าวจากแหล่งต่างๆ ว่า กองทุนภายใต้การจัดการของ บลจ.บัวหลวง มีการถือครองหุ้นของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK) ซึ่งไม่สามารถนำส่งงบการเงินประจำปี 2565 ได้ หุ้นจึงถูกตลาดหลักทรัพย์ฯ ระงับการซื้อขายไปตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 และเมื่อเปิดให้มีการซื้อขายอีกครั้ง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ราคาหุ้น STARK ก็ปรับตัวลดลงมามาก จึงขอเรียนให้ทราบว่า บลจ.บัวหลวง มิได้นิ่งนอนใจ และได้ดำเนินการบริหารกองทุนด้วยความระมัดระวังมาโดยตลอด ในการจัดสัดส่วนการลงทุนของหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตลงทุนนั้น ทางทีมผู้จัดการกองทุน นอกจากวิเคราะห์ถึงโอกาสในการลงทุน ยังได้มีการกระจายการลงทุน และบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยไม่ให้ไปกระจุกในกลุ่มอุตสาหกรรม หรือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป รวมถึงประเมินความเสี่ยงจากตลาด และการดำเนินธุรกิจของบริษัท เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของแต่ละกองทุนโดยรวมในระยะยาว ซึ่งอาจจะมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้ กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น STARK นั้นมี 4 กองทุน โดยถือหุ้น STARK ในสัดส่วนเพียง […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 2 มิ.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,531.20 จุด เพิ่มขึ้น 9.80 จุด (+0.64%) 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 2 มิ.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,531.20 จุด เพิ่มขึ้น 9.80 จุด (+0.64%) 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 2 มิ.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,531.20 จุด เพิ่มขึ้น 9.80 จุด (+0.64%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,524.52 จุด และสูงสุดที่ 1,534.49 จุด มูลค่าการซื้อขาย 42,523.30 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ DELTA ปิดที่ 99.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 (+1.02%)  มูลค่าการซื้อขาย 1,568.97 ล้านบาท SCB ปิดที่ 105.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 (+1.44%)  มูลค่าการซื้อขาย 1,392.93 ล้านบาท AOT ปิดที่ 70.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,349.43 ล้านบาท […]

‘หุ้นอินเดีย’ ขึ้นแท่นหุ้นที่มีกำไรสูงสุดในเอเชีย หลังนักลงทุนต่างชาติทั่วโลกแห่ซื้อ

‘หุ้นอินเดีย’ ขึ้นแท่นหุ้นที่มีกำไรสูงสุดในเอเชีย หลังนักลงทุนต่างชาติทั่วโลกแห่ซื้อ

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 สำนักข่าว The Business Times รายงานว่า การไหลเข้าของต่างชาติเข้าสู่หุ้นอินเดียเร่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนในเดือนพฤษภาคม 2566 เนื่องจากนักลงทุนพยายามที่จะลงทุนในหุ้นที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดของกลุ่มหนึ่งในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นของประเทศสุทธิ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนที่แล้ว ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยบลูมเบิร์ก กองทุนทั่วโลกพุ่งขึ้น 24 วันติดต่อกัน จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ซึ่งเป็นยาวที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2559 ซึ่งการซื้อช่วยขับเคลื่อนหุ้นอินเดียขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ของกระดานผู้นำเอเชียในไตรมาสนี้ โดยดัชนี Nifty 50 พุ่งขึ้นมากกว่า 6% เศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวได้คือ จุดขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่การฟื้นตัวของจีนกำลังสูญเสียโมเมนตัมและความเสี่ยงที่สหรัฐจะชะลอตัวลง Rajiv Jain ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของ GQG กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า “อินเดียจะเป็น 1 ใน 2 หรือ 3 ตลาดชั้นนำที่จะให้ผลกำไรขององค์กรเป็นเลขสองหลักในอีก 5 […]

‘ดัชนีนิกเคอิ’ ของญี่ปุ่น ปิดสูงสุดในรอบ 32 ปี หลังวุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้

‘ดัชนีนิกเคอิ’ ของญี่ปุ่น ปิดสูงสุดในรอบ 32 ปี หลังวุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า หุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ (2 มิ.ย.66) โดยดัชนีนิกเคอิปิดที่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ทศวรรษ หลังจากวุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติด้วยคะแนนเสียง 63 ต่อ 36 เสียง ผ่านร่างกฎหมายการขยายเพดานหนี้และปรับลดการใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นเวลา 2 ปี และขณะนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งให้กับประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อลงนามบังคับใช้ต่อไป และส่งสัญญาณว่า ธนาคารกลางไม่รีบเร่งที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น โดยหุ้น SoftBank Group Corp เพิ่มขึ้น 4.3% ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า หน่วยชิปของบริษัทจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เฟื่องฟู T&D Holdings, Inc พุ่งขึ้น 4.28% ซึ่งเป็นผู้นำบริษัทประกันที่สูงขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงของหายนะทางการเงินจากการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ หายไป ดัชนีนิกเคอิสูงขึ้น 1.21% ที่ระดับ 31,384.93 จุด ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2533 […]

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 มิ.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,521.40 จุด ลดลง 12.14 จุด (-0.79%) 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 มิ.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,521.40 จุด ลดลง 12.14 จุด (-0.79%) 

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 มิ.ย. 2566 ปิดตลาดที่ 1,521.40 จุด ลดลง 12.14 จุด (-0.79%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,521.31 จุด และสูงสุดที่ 1,536.76 จุด มูลค่าการซื้อขาย 48,244.01 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ DELTA ปิดที่ 98.00 บาท ลดลง 1.00 (-1.01%)  มูลค่าการซื้อขาย 2,247.66 ล้านบาท CPALL ปิดที่ 63.25 บาท ลดลง 0.50 (-0.78%)  มูลค่าการซื้อขาย 1,532.05 ล้านบาท MAKRO ปิดที่ 38.25 บาท ลดลง 2.25 (-5.56%) […]

ECB เตือนการขยับดอกเบี้ยของ BOJ อาจสะเทือนตลาดบอนด์ทั่วโลก

ECB เตือนการขยับดอกเบี้ยของ BOJ อาจสะเทือนตลาดบอนด์ทั่วโลก

“ธนาคารกลางยุโรป” ออกโรงเตือน “ธนาคารกลางญี่ปุ่น” หากดำเนินนโยบายทุบเงินเฟ้อแบบนี้ต่อไป นักลงทุนญี่ปุ่นส่อเทขาย พันธบัตรยุโรปหนัก เสี่ยงกระทบราคาพันธบัตรโลก Key Points นักลงทุนเอเชียแห่ขายบอนด์ยุโรป ทุบสถิติในรอบ 17 ปี กองทุนญี่ปุ่นซื้อบอนด์ยุโรปน้อยสุดเป็นประวัติการณ์ “อีซีบี” เตือน หาก “บีโอเจ” ยังคงดำเนิน ‘Normalization Policy’ ต่ออาจทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นเทขายบอนด์ยุโรปหนัก  โดยปกติแล้ว ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ มักจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ “กิจการภายใน” ของประเทศอื่น อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานวันนี้ (1 มิ.ย.) ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกโรงเตือน ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เกี่ยวกับ “ความเสี่ยงด้านตลาดตราสารหนี้” จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของบีโอเจ ที่เกิดขึ้น ท่ามกลางปริมาณเงินเยนที่ไหลออกจากสินทรัพย์ในภูมิภาคแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยหากอ้างอิงตามข้อมูลซึ่งย้อนกลับไปถึงปี 2548  พบว่า ในปี 2565 บรรดานักลงทุนจากประเทศในภูมิเอเชียขายพันธบัตรยุโรปด้วยจำนวนมากที่สุดที่ 5.4 ล้านล้านเยน หรือ 3.87 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ […]