ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มี.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,377.94 จุด เพิ่มขึ้น 7.60 จุด (+0.55%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มี.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,377.94 จุด เพิ่มขึ้น 7.60 จุด (+0.55%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,371.17 จุด และสูงสุดที่ 1,378.46 จุด มูลค่าการซื้อขาย 26,472.78 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ DELTA ปิดที่ 74.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.25 (+3.11%) มูลค่าการซื้อขาย 1,114.48 ล้านบาท PTTEP ปิดที่ 153.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 (+2.68%) มูลค่าการซื้อขาย 1,039.97 ล้านบาท BTS ปิดที่ 5.65 บาท เพิ่มขึ้น 0.05 […]
แบงก์ชาติเกาหลีใต้แทรกแซงตลาด FX เข้าซื้อดอลลาร์ใน Q4/66 หวังชะลอวอนแข็งค่า
ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ระบุในวันนี้ (29 มี.ค.) ว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้เข้าซื้อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐสุทธิ 1.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 4/2566 (เดือนต.ค.-ธ.ค.) ตามแผนแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเกาหลีใต้ เพื่อสกัดไม่ให้เงินวอนแข็งค่าขึ้นอีก รายงานระบุว่า การดำเนินการครั้งนี้มีขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้เทขายสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐติดต่อกัน 9 ไตรมาสเพื่อสกัดไม่ให้เงินวอนอ่อนค่าลง “การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปเพื่อรักษาเสถียรภาพตลาดในช่วงที่เกิดความผันผวนมากเกินไป อันเนื่องจากพฤติกรรมการแห่ทำตามฝูงชน” นายคิม ชินยัง หัวหน้าคณะทำงานตลาดปริวรรตเงินตราของธนาคารกลางเกาหลีใต้ระบุ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การดำเนินการในไตรมาส 4/2566 นับเป็นการดำเนินการซื้อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินวอนเป็นครั้งแรกของธนาคารกลางเกาหลีใต้นับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ในไตรมาส 4/2566 อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐ-วอนปรับลดลง 4.5% ซึ่งสอดคล้องกับการลดลงในดัชนีดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นมาตรวัดมูลค่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินสำคัญ 6 สกุล ที่มา: รอยเตอร์
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 28 มี.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,370.34 จุด ลดลง 10.49 จุด (-0.76%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 28 มี.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,370.34 จุด ลดลง 10.49 จุด (-0.76%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,368.81 จุด และสูงสุดที่ 1,383.60 จุด มูลค่าการซื้อขาย 33,639.12 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ KTB ปิดที่ 16.80 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,052.94 ล้านบาท AOT ปิดที่ 65.25 บาท ลดลง 0.25 (-0.38%) มูลค่าการซื้อขาย 876.12 ล้านบาท CPALL ปิดที่ 54.50 บาท ลดลง 0.25 (-0.46%) มูลค่าการซื้อขาย 856.95 […]
จีนมั่นใจเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เปิดกว้างรับนักลงทุนต่างชาติ
นายจ้าว เล่อจี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีน เปิดเผยในวันนี้ (28 มี.ค.) ว่า จีนตั้งเป้าที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่แข็งแกร่งต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ผ่านการขยายการเข้าถึงตลาดสำหรับนักลงทุนต่างชาติ และส่งเสริมการเติบโตที่มีคุณภาพสูง นายจ้าว ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติของจีน กล่าวในระหว่างเปิดการประชุมโป๋อ่าว ฟอรั่ม ฟอร์ เอเชีย (Boao Forum for Asia) ประจำปีว่า จีนจะทำให้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนใหม่สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และยินดีที่จะร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในด้านนี้ นายจ้าวได้แสดงความเชื่อมั่นว่า การนำเข้าและส่งออกสินค้าของจีนมีแนวโน้มพุ่งขึ้นทะลุระดับ 32 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 5 ปีข้างหน้า สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า จีนได้เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดเมื่อไม่นานมานี้ รวมถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนเริ่มต้นปี 2567 อย่างสดใส และสร้างความเชื่อมั่นให้กับทางการจีน ในขณะที่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำหนดนโยบายของจีนยังคงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ ท่ามกลางความซบเซาของภาคอสังหาริมทรัพย์และหนี้สินในระดับสูงของรัฐบาลท้องถิ่น นอกจากนี้ นายจ้าวยังให้คำมั่นว่าจะเปิดกว้างมากขึ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ และปรับลดรายการข้อจำกัดและข้อห้าม (Negative List) ในการลงทุนสำหรับบริษัทต่างชาติ ทั้งนี้ […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 27 มี.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,380.23 จุด เพิ่มขึ้น 3.60 จุด (+0.26%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 27 มี.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,380.23 จุด เพิ่มขึ้น 3.60 จุด (+0.26%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,374.92 จุด และสูงสุดที่ 1,385.07 จุด มูลค่าการซื้อขาย 31,800.29 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ BKGI ปิดที่ 3.56 บาท เพิ่มขึ้น 0.18 (+5.33%) มูลค่าการซื้อขาย 974.11 ล้านบาท AOT ปิดที่ 65.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 (+1.55%) มูลค่าการซื้อขาย 884.97 ล้านบาท TRUE ปิดที่ 8.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.05 […]
รมว.คลังญี่ปุ่น ออกคำเตือนครั้งใหม่ เตรียมดำเนินการขั้นเด็ดขาด หลังเงินเยนอ่อนค่าหนัก
รมว.คลังญี่ปุ่น ออกคำเตือนครั้งใหม่ เตรียมดำเนินการขั้นเด็ดขาด หลัง “เงินเยน” อ่อนค่ามากสุดในรอบ 34 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยล่าสุดซื้อขายที่ 151.97 เยนต่อดอลลาร์ วันที่ 27 มีนาคม 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายชุนนิจิ ซูซูกิ (Shunichi Suzuki) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่น ออกคำเตือนที่รุนแรงที่สุดจนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับการอ่อนค่าของเงินเยน เนื่องจากค่าเงินเยนอ่อนค่ามากสุดในรอบ 34 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยระบุว่าทางการอาจดำเนินการขั้นเด็ดขาด รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่นใช้คำว่า “ขั้นตอนเด็ดขาด” ครั้งล่าสุดในฤดูใบไม้ร่วงปี 2565 เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงตลาดครั้งสุดท้ายเพื่อหยุดยั้งการอ่อนค่าของเงินเยน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่นแสดงความเห็นเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 ไม่นานหลังจากที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจากข้อมูลสหรัฐที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่ามากสุดในรอบ 34 ปี และเข้าสู่โซนที่ทางการแทรกแซงตลาดในปี 2565 โดยเงินเยนซื้อขายที่ 151.97 เยนต่อดอลลาร์ในช่วงเอเชีย ลดลงประมาณ 0.2% และอ่อนค่ากว่า 151.94 เยนต่อดอลลาร์ […]
BBLAM เสนอขาย IPO ‘กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 7/24’ วันที่ 27-29 มี.ค. 2567
BBLAM เสนอขาย IPO กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 7/24 หรือ Bualuang Thanarat 7/24 เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ IPO 27-29 มีนาคม 2567 รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า BBLAM เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 7/24 หรือBualuang Thanarat 7/24 (B7/24) อายุประมาณ 6 เดือน ประมาณการผลตอบแทน 2.00% ต่อปี ขนาดโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยเสนอขายในราคา 10 บาทต่อหน่วย และผู้ลงทุนจะต้องจองซื้อครั้งแรกขั้นต่ำ 10,000 บาท สำหรับ บัวหลวงธนรัฐ 7/24 จะนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 26 มี.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,377.23 จุด เพิ่มขึ้น 4.74 จุด (+0.35%)
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 26 มี.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,377.23 จุด เพิ่มขึ้น 4.74 จุด (+0.35%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,369.63 จุด และสูงสุดที่ 1,379.51 จุด มูลค่าการซื้อขาย 41,002.14 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ AOT ปิดที่ 64.50 บาท ลดลง 0.50 (-0.77%) มูลค่าการซื้อขาย 1,302.16 ล้านบาท XPG ปิดที่ 1.48 บาท เพิ่มขึ้น 0.28 (+23.33%) มูลค่าการซื้อขาย 1,206.79 ล้านบาท PTTEP ปิดที่ 151.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,198.17 […]
ฝรั่งเศสขาดดุลงบประมาณเกินเป้าในปี 2566 เหตุศก.โตอ่อนแอเกินคาด
ข้อมูลล่าสุดเปิดเผยในวันนี้ (26 มี.ค.) ว่า ฝรั่งเศสประสบปัญหาขาดดุลงบประมาณภาครัฐเพิ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้วมากกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ ซึ่งสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลในการพยายามรักษาแผนลดการขาดดุลให้เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส (INSEE) ระบุว่า งบประมาณภาครัฐประจำปี 2566 แสดงให้เห็นว่าการขาดดุลทางการคลังอยู่ที่ 5.5% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจ สูงขึ้นจากระดับ 4.8% ในปี 2565 และมากกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 4.9% อย่างมีนัยสำคัญ นายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฝรั่งเศส กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ส่งผลให้รายได้จากภาษีลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการขาดดุลที่เพิ่มขึ้น สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเตือนล่วงหน้าแล้วว่า การขาดดุลจะเป็นไปในทิศทางที่แย่กว่าที่คาดไว้ แต่ก็ยังคงเป็นข่าวร้ายอยู่ดี เพราะนี่หมายความว่า ฝรั่งเศสจะต้องหาทางประหยัดงบประมาณเพิ่มเติมในปีนี้ เพื่อให้สามารถรักษาเป้าหมายการขาดดุลที่ 4.1% ในปี 2567 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศแผนการตัดงบประมาณเพิ่มเติมอีก 1 หมื่นล้านยูโร (1.09 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) แล้วในปีนี้ และระบุว่า อาจจะต้องมีการออกกฎหมายในช่วงกลางปีเพื่อหาทางประหยัดงบประมาณเพิ่มเติม “ผมเรียกร้องให้เราทุกคนตื่นตัวและร่วมกันตัดสินใจในการใช้จ่ายภาครัฐทั้งหมด” นายเลอ แมร์ […]
นักวิเคราะห์ชี้ เจอโรม พาวเวล ส่งสัญญาณพร้อมหนุนตลาดแรงงาน แม้ส่งผลเงินเฟ้อยืดเยื้อสักระยะ
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ พุ่งสูงในปี 2565 ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ได้ดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันไม่ให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างจนส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าพุ่งสูงมากเกินไป จนถึงปัจจุบัน พบว่า อัตราว่างงานยังคงเพิ่มขึ้น แต่เฟดก็ได้เริ่มส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อลดความเสี่ยงจากการปลดคนงานออกมากจนเกินไป แม้จะนำไปสู่การเกิดอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเล็กน้อยไปอีกสักระยะก็ตาม นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวในช่วงแถลงข่าวหลังการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อวันพุธที่แล้ว โดยประกาศว่า อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นเกิดคาดของสหรัฐฯ อาจกระตุ้นให้เฟดพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย และย้ำถึงประเด็นนี้หลายครั้งในการตอบคำถามสื่อมวลชน ประธานเฟด กล่าวหลังการประชุมนโยบายการเงินเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า “แม้เฟดจะต้องการรอให้แน่ใจว่า การต่อสู้กับเงินเฟ้อประสบความสำเร็จก่อนที่จะลดอัตราดอกเบี้ย แต่หากมีสัญญาณความอ่อนแอเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดในตลาดแรงงานก็อาจเป็นเหตุผลให้เฟดใช้มาตรการตอบสนองทางนโยบายได้เช่นกัน” นายเจอโรม กล่าวว่า เขายังไม่เห็นสัญญาณความเปราะบางใดๆ ในตลาดแรงงานขณะนี้ แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนกลับลดมุมมองบวกลง โดยชี้ให้เห็นว่า อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหลายรัฐ รวมไปถึงการลดจำนวนพนักงานชั่วคราวและชั่วโมงการทำงานลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี นายเจอโรมและคณะกรรมการ FOMC ยังคงเฝ้าจับตาตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งอาจอ่อนแอลงได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากในอดีตนั้น เมื่ออัตราการว่างงานเริ่มสูงขึ้น ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะบริษัทต่างๆ พากันประกาศปรับลดพนักงานตามๆ กัน ท่าทีของนายเจอโรมดูเหมือนจะพยายามเร่งกระบวนการลดอัตราดอกเบี้ยให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยยังคงยืนหยัดถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย […]