สงครามการค้าและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยังกดดันความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1/2019

สงครามการค้าและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยังกดดันความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1/2019

BF Economic Research จากการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในประเทศของธนาคารกลางญี่ปุ่น (ดัชนี Tankan) ซึ่งเป็นตัวสะท้อนภาวะเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง พบว่า ในไตรมาส 1/2019 ความกังวลเรื่องสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ยังกดดันให้ดัชนีของบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ลดลงมาจาก +19 เป็น +12 เช่นเดียวกับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ลดลงจาก +17 เป็น +7 และจาก +14 เป็น +6 ตามลำดับ โดยเฉพาะในอุตสากรรมการผลิตเครื่องจักร อุตสากรรมโลหะอื่นๆ นอกเหนือจากเหล็ก และอุตสาหกรรมกระดาษ สำหรับมุมมองของภาคธุรกิจต่อความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า บริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางมีมุมมองที่เป็นบวกกว่าบริษัทขนาดเล็ก โดยบริษัทขนาดเล็กมองว่าดัชนีจะติดลบที่ -2 ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 1 ก.ค. 2562 ปิดที่ 1,740.91 จุด เพิ่มขึ้น 10.57 จุด

วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 1 ก.ค. 2562 ปิดที่ 1,740.91 จุด เพิ่มขึ้น 10.57 จุด

วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 1 ก.ค. 2562 ปิดที่ 1,740.91 จุด เพิ่มขึ้น 10.57 จุด หรือ 0.61% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,747.53 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,739.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 61,332.08 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.SCB ปิดที่ 141.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 6,982.19 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 49.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,568.69 ลบ. 3.CPALL ปิดที่ 86.00 บาท ปิดไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย […]

เปิดมุมมองนักวิเคราะห์ กองทุนบัวหลวง…10 ปีผ่านไป ‘จีน’ มีอะไรมากกว่าที่คิด

เปิดมุมมองนักวิเคราะห์ กองทุนบัวหลวง…10 ปีผ่านไป ‘จีน’ มีอะไรมากกว่าที่คิด

ถ้าใครไปเมืองจีน 10 ปีก่อน แล้วกลับไปเมืองจีนเวลานี้จะเห็นว่าจีนเปลี่ยนไปมากจริงๆ วันนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเมืองจีน ตามมุมมองที่นักวิเคราะห์ของกองทุนบัวหลวงไปเจอมา จะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในคลิปวิดีโอนี้

เงินเฟ้อไทยชะลอที่ 0.87% น้ำมันเป็น key drag

เงินเฟ้อไทยชะลอที่ 0.87% น้ำมันเป็น key drag

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 102.94 ขยายตัว 0.87% (vs prev 1.15% YoY) หรือลดลง -0.36% MoM (vs prev 0.48% MoM) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) ขยายตัวเฉลี่ย 0.92% ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่หนุนให้เงินเฟ้อสูงขึ้น คือ สินค้ากลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ ข้าวสาร และเนื้อสุกร ส่วนปัจจัยลบที่กดดันให้เงินเฟ้อชะลอตัว คือ สินค้ากลุ่มพลังงานที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ของปี ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับลดลงตามสถานการณ์ในตลาดโลก จากผลกระทบความไม่สงบในตะวันออกกลาง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือน มิ.ย.62 อยู่ที่ 102.55 ขยายตัว 0.48% […]

ธนาคารกลางรุกทำงานร่วมกันผ่านศูนย์นวัตกรรมของ BIS รับมือเทคโนโลยีการเงิน

ธนาคารกลางรุกทำงานร่วมกันผ่านศูนย์นวัตกรรมของ BIS รับมือเทคโนโลยีการเงิน

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า ธนาคารกลางกำลังจับตาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการเงินที่เกิดขึ้นรวดเร็ว รวมถึงบริษัทอย่างเฟซบุ๊กที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคการเงิน โดยจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับศูนย์นวัตกรรมที่ ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) จัดตั้งขึ้น BIS ระบุว่า ศูนย์นวัตกรรมนี้จะมีฐานที่ตั้งในเมืองบาเซิล ของสวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ทำหน้าที่เพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบการเงินโลก ทั้งยังระบุและพัฒนาเชิงลึกในแนวโน้มเทคโนโลยีที่มีผลต่อธนาคารกลาง แม้กรณีที่เฟซบุ๊กวางแผนขยายตัวมาในระบบการชำระเงินและเปิดตัวคริปโตเคอเรนซีของตัวเองชื่อว่า ลิบรา จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงในคำแถลงการณ์ของ BIS แต่การเคลื่อนไหวของโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่รายนี้ ก็เข้ามาช่วยให้ธนาคารเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการร่วมมือกันด้านการวางกฎระเบียบเพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มเทคโนโลยีทางการเงิน “การปฏิวัติของไอทีที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่มีพรมแดนและทำให้เกิดผลในหลายพื้นที่พร้อมๆ กัน ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นนี้จะมุ่งเน้นช่วยเหลือธนาคารกลางเพื่อระบุถึงแนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญ สนับสนุนการพัฒนาที่สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมรักษาการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบเพื่อปกป้องเสถียรภาพทางการเงิน” Jens Weidmann ประธาน BIS กล่าวผ่านคำแถลงการณ์ที่ออกมาเกี่ยวกับการสร้างศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้ สำหรับ BIS เป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีธนาคารกลางประเทศต่างๆ ถือหุ้นอยู่ โดยรายละเอียดเกี่ยวกับศูนย์นวัตกรรมที่จัดตั้งขึ้นนี้ยังมีจำกัด ทาง BIS ระบุเพียงว่า ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนหรือเกี่ยวกับระดับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานได้ ขณะที่ธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ต่างก็ร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนความคิดริเริ่มการจัดตั้งในครั้งนี้

SUPER เผยโรงไฟฟ้า 2 โครงการได้รับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องครบถ้วน พร้อมเดินหน้ากองทุน SUPEREIF ต่อไป

SUPER เผยโรงไฟฟ้า 2 โครงการได้รับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องครบถ้วน พร้อมเดินหน้ากองทุน SUPEREIF ต่อไป

นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ SUPER เปิดเผยว่า ตามที่ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งผลการอนุมัติการจัดตั้งของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ า ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี (Super Energy Power plant Infrastructure Fund หรือ “SUPEREIF”) แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2562 โดยที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้สามารถเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนได้ต่อเมื่อโครงการโรงไฟฟ้า 2 โครงการ ที่กองทุนฯ จะลงทุนในสิทธิรายได้สุทธิได้รับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว บริษัทขอแจ้งให้ทราบว่า ปัจจุบันโครงการโรงไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการได้ใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) […]

วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 28 มิ.ย. 2562 ปิดที่ 1,730.34 จุด ลดลง 1.30 จุด

วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 28 มิ.ย. 2562 ปิดที่ 1,730.34 จุด ลดลง 1.30 จุด

วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 28 มิ.ย. 2562 ปิดที่ 1,730.34 จุด ลดลง 1.30 จุด หรือ -0.08% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,735.61 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,729.46 จุด มูลค่าการซื้อขาย 61,332.08 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.GPSC ปิดที่ 70.25 บาท เพิ่มขึ้น 2.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,349.48 ลบ. 2.EA ปิดที่ 55.75 บาท ปิดไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 2,294.61 ลบ. 3.ADVANC ปิดที่ 218.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย […]

BF Monthly Economic Review มิ.ย. 2562

BF Monthly Economic Review มิ.ย. 2562

BF Economic Research   สรุปประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน มิ.ย. 2562 ในช่วงเดือน มิ.ย. ภาพเศรษฐกิจยังคงดู Soft ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แต่ตลาดกลับให้ผลตอบแทนที่ดีเนื่องด้วยตลาดมีความคาดหวังว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งในแง่ของพื้นฐานของเศรษฐกิจเรายังไม่คิดว่า Fed จะด่วนปรับทิศทางนโยบายการเงินอย่างรวดเร็วขนาดนั้น เพราะตัวเลขตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ก็ยังแข็งแกร่ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็ยังขยายตัวได้ แต่ในแง่นัยยะของการลงทุนนั้น เรายังคิดว่าความคาดหวังต่อการปรับลดดอกเบี้ยยังมีอยู่ ผนวกกับตลาดก็ยังก็มีความคาดหวังผลสัมฤทธิ์ในเรื่องการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่ง ณ ตอนนี้ สองความคาดหวังนี้ก็เป็นแรงส่งให้ตลาดให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ดี ตามที่เรียนไปข้างต้นว่า ตลาดเคลื่อนไหวด้วยความคาดหวัง นั่นหมายความว่า หากตลาดหวังผิดทาง ตลาดก็อาจจะปรับตัวลงมาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น นักลงทุนอาจจะต้องลงทุนด้วยความระมัดระวัง ในช่วงตลาดขาขึ้นด้วย เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ณ ตอนนี้ ยังไม่ได้ดีขนาดนั้น สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจรายประเทศนั้น เราพบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ประเทศในกลุ่ม East Asia ได้รับผลกระทบจาก […]

สภาเศรษฐกิจโลกร่วมมือเนเธอร์แลนด์-แคนาดาทดสอบการเดินทางแบบไร้กระดาษตั้งแต่ต้นจนจบ

สภาเศรษฐกิจโลกร่วมมือเนเธอร์แลนด์-แคนาดาทดสอบการเดินทางแบบไร้กระดาษตั้งแต่ต้นจนจบ

สภาเศรษฐกิจโลก ร่วมกับรัฐบาลประเทศเนเธอร์แลนด์ และแคนาดา เปิดตัวโครงการต้นแบบการเดินทางแบบไร้กระดาษ (เปเปอร์เลส ทราเวล) ระหว่าง 2 ประเทศที่สนามบินมอนทรีออล แคนาดา โดยโครงการต้นแบบนี้จะใช้งานแพลตฟอร์มชื่อว่า Known Traveller Digital Identity (KTDI) ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มแรกที่ทำให้สามารถใช้ข้อมูลประจำตัวดิจิทัลของนักเดินทางสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศแบบไร้กระดาษได้ โดยแพลตฟอร์มนี้จะทำงานร่วมกับระบบของพันธมิตร มีการทดสอบภายในปีนี้ คาดว่าจะเปิดตัวการเดินทางแบบไร้กระดาษตั้งแต่ต้นจนจบได้ช่วงต้นปี 2020 โครงการต้นแบบนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ได้แก่ หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง สนามบิน ผู้ให้บริการเทคโนโลยี และสายการบิน สร้างระบบที่ใช้งานร่วมกันเพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยและราบรื่น “ในปี 2030 คาดว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางระหว่างประเทศทางอากาศ 1,800 ล้านคน เพิ่มขึ้น 50% จากปี 2016 ซึ่งระบบปัจจุบันในสนามบินไม่สามารถรองรับได้ โครงการนี้จะเสนอทางเลือกใช้ข้อมูลประจำตัวดิจิทัลที่ใช้งานร่วมกันได้ ผู้โดยสารจะได้ประโยชน์จากระบบเรื่องความปลอดภัยและการเดินทางไร้รอยต่อ เปลี่ยนอนาคตการบินและความปลอดภัย” Christoph Wolff หัวหน้าฝ่ายโมบิลิตี้ สภาเศรษฐกิจโลก กล่าว KTDI เป็นข้อมูลประจำตัวดิจิทัลที่ใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งเชื่อมโยงกับเอกสารประจำตัวบุคคลที่รัฐบาลออกให้ (อีพาสปอร์ต) […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจกลุ่ม CLM

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจกลุ่ม CLM

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา กัมพูชา เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2018 เติบโตสูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ 7.5% (ประมาณการเบื้องต้น) จาก 7.0% ในปี 2017 โดยการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก การส่งออกรองเท้าและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมดขยายตัว 17.6% ในปี 2018 มากที่สุดในรอบ 5 ปี ด้านเศรษฐกิจในประเทศก็ยังขยายตัวได้ดี เห็นได้จากการนำเข้ารถยนต์และเหล็กที่เป็นตัวชี้วัดการจับจ่ายใช้สอยในประเทศและการก่อสร้างในประเทศที่มีการขยายตัว 50% และ 48% ตามลำดับ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ขาดดุลเพิ่มขึ้นจาก -9.7% ต่อ GDP เป็น -10.4% แต่ได้รับการชดเชยด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2018 ที่ 13.4% […]