BF Knowledge Tips: ทำไม? B-GLOBAL ต้องเปลี่ยนกองทุนหลัก

BF Knowledge Tips: ทำไม? B-GLOBAL ต้องเปลี่ยนกองทุนหลัก

โดย เสกสรร โตวิวัฒน์  CFP®  BBLAM ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2566 นี้ บลจ.บัวหลวง ได้เปลี่ยนแปลงกองทุนหลักของกอง B-GLOBAL และ B-GLOBALRMF ใหม่ครับ โดยสาเหตุเกิดจากกองทุนหลักเดิม มีปัญหาข้อจำกัดในการลงทุนต่อในอนาคต โดยไม่ได้มีปัญหาด้านการดำเนินงานของกองทุนหรือปัญหาอะไร เดิม กองทุนบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF) ซึ่งเป็นกองทุนตราสารทุนต่างประเทศประเภท feeder fund ได้นำเงินไปลงทุนผ่านกองทุนหลักเพียงกองทุนเดียว คือ Wellington Global Opportunities Equity Fund ซึ่งบริหารจัดการโดย Wellington Management Company ซึ่งก็เป็นบริษัทที่เราไว้ใจและมีการนำเงินไปลงทุนด้วยหลายกองทุน อย่าง BCARE, B-GTO กองทุนหลักก็บริหารโดย Wellington เช่นกัน เมื่อปลายปีที่แล้ว มีนักลงทุนต่างประเทศรายใหญ่ที่ลงทุนในกองทุนหลักได้ไถ่ถอนเนื่องจากเหตุผลส่วนตัว ที่ไม่ได้เกิดจากปัญหาของกองทุนหลัก ทำให้สัดส่วนการลงทุนของ B-GLOBAL […]

BF Knowledge Tips: วางแผน Asset Allocation อย่างไรในสภาวะปัจจุบัน

BF Knowledge Tips: วางแผน Asset Allocation อย่างไรในสภาวะปัจจุบัน

  โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP®   BBLAM ทุกวันนี้การลงทุนยากขึ้นเรื่อยๆ จากปัจจัยความไม่แน่นอนต่างๆ ที่ทำให้นักลงทุนกังวล หลายคนเคยได้ยินคำแนะนำในการปรับพอร์ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันว่าต้องลดความเสี่ยงถือเงินสดมากขึ้น หรือโยกการลงทุนมาไว้หุ้นหรือกองทุนที่สามารถต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ เช่น กองทุนที่ลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก หุ้นเฮลธ์แคร์ หรือเทคโนโลยีชนิดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การดำเนินธุรกิจ หรือสอดคล้องกับพฤติกรรมของคนในปัจจุบัน ส่วนตราสารหนี้ก็ให้ลดการลงทุนในตราสารหนี้อายุยาวๆ ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น หลายคนก็เกิดข้อสงสัยตามมา แล้วแบบนี้พอร์ตการลงทุนที่เราจัดสัดส่วนการลงทุนไว้ ตั้งใจลงทุนระยะยาว เราต้องเปลี่ยนไหม หรือต้องถือกองทุนที่เลือกไว้นั้นต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องปรับอะไร เรื่องนี้ขอให้มองที่วัตถุประสงค์เป็นหลักนะครับ เราเลือกเป้าหมายการลงทุนระยะยาว แน่นอนว่าสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตก็ควรจะเป็นสัดส่วนที่เราเลือกไว้ ไม่อ่อนไหว ขายทิ้ง ซื้อใหม่ ย้ายไปย้ายมาตามความกลัวหรือข่าวสารระยะสั้น ถ้าเราเชื่อว่าสุดท้ายมันจะผ่านไปได้ และพอร์ตที่เราเลือกไว้เหมาะสมแล้วกับการลงทุนระยะยาว การยึดสัดส่วนการลงทุนที่ตั้งใจในระยะยาวยังเป็นหัวใจสำคัญที่ละเลยไม่ได้ เว้นแต่เกิดเหตุที่ทำให้โครงสร้างของผลตอบแทนเป้าหมายที่เราวางไปไว้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อันนั้นก็ถือเป็นข้อยกเว้นเป็นกรณีไป เช่น กิจการหรือหุ้นที่เราเลือกไว้ว่าดี ถูกการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี disrupt จนเกิดความเสียหายไปต่อไม่ได้ หรือไม่น่าสนใจแบบเดิม แบบนี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงการลงทุนได้ แต่เวลาเกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบสูงอย่างปัจจุบัน เราอาจจะเปลี่ยนแปลง สินทรัพย์ที่เราลงทุน หรือไส้ในของพอร์ต หรือโยกย้ายได้บ้าง อย่างเช่น […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

Highlight ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงมุ่งรักษาความสมดุลย์ของพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นวัฎจักรและหุ้นเติบโต (Cyclical and Growth) การคัดเลือกหุ้นรายตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ ในจังหวะที่นโยบายเชิงมหภาคของแต่ละประเทศมีความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้เห็นโอกาสการลงทุนในช่วงที่ตลาดอาจเกิดความผันผวนจากนโยบายดังกล่าว ภาพรวมตลาด ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวนต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี  จากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะ สินทรัพย์ดิจิทัล ทองคำ และน้ำมัน ขณะที่ตลาดหุ้นนั้น ถือเป็นการเพิ่มปัจจัยกดดันการลงทุน เพิ่มเติมจากความกังวลที่มีก่อนหน้าในเรื่องนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของ Fed ทั้งนี้ Fed ถูกคาดการณ์ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากถึง 6 ครั้งในปีนี้ จากแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง ดังนั้น ปัจจัยจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเร็วในช่วงหลัง และสินค้า Commodity หลายรายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกของรัสเซีย จึงอาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อคาดการณ์เงินเฟ้อและท่าทีของ Fed ในระยะข้างหน้า พอร์ตการลงทุน กองทุนได้รับผลกระทบเชิงบวกจากลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มวัสดุ ในขณะที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากกลุ่มเทคโนโลยี และ กลุ่มเฮลธ์แคร์ หุ้นที่ส่งผลเชิงบวก เช่น Marvell Technology  บริษัทโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับเซมิคอนดักเตอร์  มีผลประกอบการดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีการซื้อกิจการของ Innovium […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

Highlight ถึงแม้จะมีการระบาดของไวรัส COVID มากขึ้นเมื่อมีการเปิดเมือง แต่เชื่อว่าการที่ประเทศต่างๆ จะกลับไปใช้นโยบายล็อคดาวน์เต็มรูปแบบอย่างที่เคยทำน่าจะมีไม่มาก ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจึงน่าจะมีค่อนข้างจำกัด ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงมุ่งรักษาความสมดุลของพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นวัฎจักรและหุ้นเติบโต (Cyclical and Growth) การคัดเลือกหุ้นรายตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ ในจังหวะที่นโยบายเชิงมหภาคของแต่ละประเทศมีความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้เห็นโอกาสการลงทุนในช่วงที่ตลาดอาจเกิดความผันผวนจากนโยบายดังกล่าว ภาพรวมตลาด ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน นำโดยตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรปที่สามารถปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในช่วงปลายเดือน จากปัจจัยกดดันจากไวรัสกลายพันธุ์ Omicron ซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดเป็น สายพันธุ์ที่น่ากังวล อย่างไรก็ตาม ความที่ประเด็นความกังวลในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เชื่อว่า ความเสี่ยงด้านลบของตลาดหุ้นจะมีอยู่จำกัด ขณะที่ในเดือนธันวาคมนี้จะมีการประชุมนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งตลาดคาดการณ์ถึงแผนการเริ่มลดขนาด QE เป็นอีกปัจจัยที่ตลาดรอดูความชัดเจนของการลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ Fed โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น แม้ว่าการฟื้นตัวจากแรงส่งจากภาคการผลิตในสหรัฐฯและยูโรโซนจะเริ่มชะลอตัวลง แต่การผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นนั้น ส่งผลให้ดัชนีภาคการบริการฟื้นตัวกลับขึ้นมาเป็นลำดับ รวมถึงแรงส่งจากหลายประเทศในวงกว้างช่วยเป็นแรงหนุนต่อโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวมได้ ดังนั้น Fed ยังคงเดินหน้าลดความผ่อนคลายทางการเงินต่อไป และถึงแม้จะมีการระบาดของไวรัส COVID มากขึ้นเมื่อมีการเปิดเมือง แต่เชื่อว่าการที่ประเทศต่างๆ จะกลับไปใช้นโยบายล็อคดาวน์เต็มรูปแบบอย่างที่เคยทำน่าจะมีไม่มาก ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจึงน่าจะมีค่อนข้างจำกัด พอร์ตการลงทุน เมื่อดูรายกลุ่มอุตสาหกรรม กองทุนได้รับผลเชิงบวกจากการลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เฮลธ์แคร์ […]

กองทุนต่างประเทศ ทำไมน่าลงทุน

กองทุนต่างประเทศ ทำไมน่าลงทุน

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® พูดถึงกองทุนต่างประเทศแล้ว โอ้โห มีหลากหลายกองมากๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนที่เจาะจงลงทุนเฉพาะประเทศ หรือตามทวีป เช่น สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ยุโรป เอเชีย หรือเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนเฉพาะอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยี นวัตกรรม กลุ่มเฮลธ์แคร์ ซึ่งสามารถลงทุนกระจายทั่วโลก หรือจะลงทุนเฉพาะบางประเทศก็ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายลงทุนของกองทุนนั้นๆ แล้วความน่าสนใจกองทุนต่างประเทศอยู่ตรงไหน มาติดตามกันค่ะ ความน่าสนใจของกองทุนต่างประเทศอยู่ตรงไหน หุ้นไทยไม่น่าสนใจแล้วหรือยังไง? ความน่าสนใจของกองทุนต่างประเทศอยู่ที่กองทุนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ในไทยอาจจะไม่มี อย่างเช่นเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ พลังงานสะอาด ที่เข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตของเรา และเป็นเทรนด์ในอนาคต ซึ่งการลงทุนในไทยจะเน้นไปที่กลุ่มพลังงาน ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ฯ ยังไม่มีหุ้นในกลุ่มที่เป็นอินโนเวชั่น หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ดังนั้น การกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศจึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการลงทุน ทำให้เราสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น การลงทุนในกองทุนต่างประเทศ ลงทุนตอนนี้แพงไปแล้วหรือยัง? การลงทุนในกองทุนรวม ไม่เหมือนกับการซื้อหุ้นเองรายตัว การซื้อหุ้นรายตัวเราจะประเมินราคาหุ้นว่าควรมีราคาเท่าไหร่ หากปัจจุบันราคาสูงถึงราคานั้นแล้ว เราก็คงขายทิ้ง และไปหาหุ้นตัวใหม่แทน แต่การลงทุนในกองทุนรวม จะมีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่เลือกลงทุนหุ้นเข้ากองทุน […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

Highlight หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ  บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ไตรมาส 2/2021 ผู้จัดการกองทุนขายกำไรในหุ้นกลุ่มอุตสาหรรม เพราะราคาปรับเพิ่มขึ้นมามากจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการเพิ่มขึ้นของดีมานด์ โดยได้ลงทุนต่อในหลายอุตสาหกรรมและเลือกหุ้นที่ราคายังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงมุ่งรักษาความสมดุลย์ของพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นวัฎจักรและหุ้นเติบโต (Cyclical and Growth) การคัดเลือกหุ้นรายตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ ในจังหวะที่นโยบายเชิงมหภาคของแต่ละประเทศมีความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้เห็นโอกาสการลงทุนในช่วงที่ตลาดอาจเกิดความผันผวนจากนโยบายดังกล่าว ภาพรวมตลาด หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น สถานการณ์ที่ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายใช้สอยหลังวิกฤต ภาวะที่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขาดแคลน และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางบางแห่ง จึงพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือปรับใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มเติบโต (Growth) นำโดยกลุ่ม กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มการเงิน แต่ราคาหุ้นกลุ่มเติบโตก็เริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงกลางไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พอร์ตการลงทุน ไตรมาส 2/2021 ผู้จัดการกองทุนขายกำไรในหุ้นกลุ่มอุตสาหรรม เพราะราคาปรับเพิ่มขึ้นมามากจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการเพิ่มขึ้นของดีมานด์ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 (BMAPS25), กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 (BMAPS55) และกองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 (BMAPS100)

กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 (BMAPS25), กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 (BMAPS55) และกองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 (BMAPS100)

HIGHLIGHT การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกยังคงมีปัจจัยบวกจากสภาพคล่องในระบบ และการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ที่ผ่านมาตลาดผันผวนจากการรับรู้ปัจจัยลบเรื่องการลดวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์ของเฟดแล้วบางส่วน เริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนเข้ากลุ่ม Defensive เช่น เฮลธ์แคร์มากขึ้น ขณะที่เงินไหลออกจากกลุ่มเทคโนโลยีเบาบางลง ในช่วงที่ผ่านมา กองทุนเข้าลงทุนใน B-SIP /B-BHARATA/B-NIPPON นอกจากนี้ผู้จัดการกองทุนยังมีการถือเงินสดหรือกองทุนสภาพคล่องไว้บางส่วน เพื่อเข้าลงทุนเพิ่มหากตลาดหุ้นปรับฐานในช่วงที่ FED ออกมาสื่อสารเรื่องวงเงินการซื้อสินทรัพย์ และการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในอนาคตอันใกล้นี้  การทำ Asset Allocation มีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงเช่นปีนี้ กองทุน BMAPS ทั้ง 3 กองทุน ยกเว้นค่าธรรมเนียมการขายตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ธันวาคม 2564 และค่าธรรมเนียมการจัดการไม่เรียกเก็บซ้ำซ้อน ภาพรวมตลาด การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกยังคงมีปัจจัยบวกจากสภาพคล่องในระบบ  และการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ที่ผ่านมาตลาดผันผวนจากการรับรู้ปัจจัยลบเรื่องการลดวงเงินเข้าซื้อสินทรัพย์ของเฟดแล้วบางส่วน เริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนเข้ากลุ่ม Defensive เช่น เฮลธ์แคร์มากขึ้น ขณะที่เงินไหลออกจากกลุ่มเทคโนโลยีเบาบางลง ตลาดสหรัฐฯ มีปัจจัยบวกจากความรวดเร็วในการฉีดวัคซีน และเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลาดจีนปรับลดลงตั้งแต่ตรุษจีนที่ผ่านมา ด้วยนโยบายของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจลดลง และมาตรการเข้มงวดกับบริษัทเทคโนโลยี แต่ปัจจุบันความกังวลในเรื่องดังกล่าวผ่อนคลายลงมากแล้ว และมีปัจจัยบวกจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากโควิดได้เร็วกว่าประเทศอื่น ตลาดญี่ปุ่น […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

HIGHLIGHT กลยุทธ์การลงทุนของกองทุนหลักเป็นแบบ Bottom-up คือ การพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของรายบริษัทเป็นสำคัญ  ปีนี้กองทุนลงทุนในหุ้นวัฎจักรมากขึ้นเพราะราคาน่าสนใจ เมื่อหุ้นวัฎจักรปรับตัวเพิ่มขึ้นจนมาอยู่ในระดับที่เต็มมูลค่าแล้ว กองทุนได้ขายทำกำไรไปบางส่วน และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน ธนาคารของยุโรปเ พราะมีมุมมองเชิงบวกกับเศรษฐกิจยุโรปว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของยุโรปน่าจะเพิ่มมากขึ้นในระยะใกล้นี้  สถานการณ์การลงทุนในปีนี้เป็นปีที่น่าจะมีความผันผวนตลอดทั้งปี จากปัจจัยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และความคาดหวังว่ากิจกรรมจะกลับมาได้เป็นปกติ ซึ่งทำให้เกิดเสี่ยงในการลงทุนเป็นระยะ พอร์ตการลงทุนของกองทุนซึ่งเน้นการกระจายการลงทุน โดยดูจากมูลค่าของกิจการและราคาหุ้นที่เหมาะสมนี้  ผู้จัดการกองทุนหลักมั่นใจว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้ ภาพรวมตลาด ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนพฤษภาคม ตลาดหุ้นโลกส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่ง และ การแจกจ่ายวัคซีนที่เพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นยุโรป มีตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงเป็นปัจจัยบวกในภูมิภาค ในขณะที่เอเชียมีทิศทางที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ด้านกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มที่มีราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มพลังงาน ตามด้วยกลุ่มการเงิน ในขณะที่กลุ่มที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ได้แก่ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และกลุ่มเทคโนโลยี พอร์ตการลงทุน กลยุทธ์การลงทุนของกองทุนหลักเป็นแบบ Bottom-up คือ การพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของรายบริษัทเป็นสำคัญ ปีนี้กองทุนลงทุนในหุ้นวัฎจักรมากขึ้นเพราะราคาน่าสนใจ เมื่อหุ้นวัฎจักรปรับตัวเพิ่มขึ้นจนมาอยู่ในระดับที่เต็มมูลค่าแล้ว กองทุนได้ขายทำกำไรไปบางส่วน และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน ธนาคารของยุโรปเ พราะมีมุมมองเชิงบวกกับเศรษฐกิจยุโรปว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของยุโรปน่าจะเพิ่มมากขึ้นในระยะใกล้นี้ มุมมองในอนาคต ผู้จัดการกองทุนหลักมองว่าปีนี้เป็นปีที่ต้องรักษาความสมดุลย์ของพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นวัฎจักร์และหุ้นปลอดภัย […]

BUALUANG FUND Virtual Investment Insight 2021 (ตอนที่ 4)

BUALUANG FUND Virtual Investment Insight 2021 (ตอนที่ 4)

สรุปความสัมภาษณ์ คุณพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา CFA® ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และ คุณสันติ ธนะนิรันดร์  ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน (CIO) ในตอนที่ 1-3 มีการกล่าวถึงการลงทุนหลังผ่านพ้นอุปสรรคที่น่าสนใจ โดยวิเคราะห์มุมมองการลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับความยั่งยืน หุ้นเทคโนโลยี หุ้นสหรัฐฯ และหุ้นจีนกันมาแล้ว ในตอนนี้ เราจะมากล่าวถึงโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นไทย รวมถึงมีคำแนะนำการจัดพอร์ตลงทุนมาฝากด้วย คำถาม – มุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นไทย คุณพีรพงศ์ – โควิดที่เกิดขึ้นทำให้ภาคท่องเที่ยวบอบช้ำมากที่สุด ปรับลดลงมา ซึ่งภาคที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว คิดเป็น 20% ของจีดีพี ขณะที่นักลงทุนกำลังคาดหวังกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่า ปีนี้จะเติบโตได้ 2.5-4% ขึ้นอยู่กับการกระจายวัคซีนทั่วถึงว่า เร็วแค่ไหน รวมถึงการเปิดประเทศ โดยนักลงทุนกำลังคาดหวังไปถึงมูลค่าหุ้นในปี 2022 แล้ว ถ้ามอง P/E 20 เท่าในปีนี้ ก็ถือว่า ไม่ถูก แต่ถ้ามองไปถึงปี 2022 ก็ถือว่า ไม่แพง […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

Highlight สภาพคล่องทั่วโลกอยู่ในระดับสูง และธนาคารกลางหลายประเทศ มีท่าทีพร้อมอัดฉีดสภาพคล่องเข้ามาในระบบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีกับการลงทุน ตั้งแต่ต้นปี หุ้นกลุ่มคุณค่า (Value) ให้ผลตอบแทนที่ดีกับพอร์ต ในขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเริ่มมีแรงขาย เป็นโอกาสในการลงทุน ผู้จัดการกองทุน มีมุมมองเชิงบวกต่อการเปิดประเทศ และการที่เศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะปกติ โดยมองว่า Fed จะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย เน้นลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ ภาพรวมตลาด ตลาดเปิดต้นปี 2021 ด้วยความข่าวดีด้านวัคซีน ความชัดเจนด้านการเมืองของสหรัฐฯ และการผ่อนคลายเรื่องสงครามการค้า นักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้น จนกระทั่งปลายเดือน ม.ค. มีประเด็นการขายชอร์ตหุ้นบางตัวในสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนเกรงว่าจะกระทบกับภาพรวมการลงทุนทั้งหมด ประกอบกับเริ่มมีความกังวลว่า Fed อาจจะลดขนาดงบดุลเร็วกว่ากำหนด หากเศรษฐกิจฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดโควิด อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐในช่วง ก.พ. ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นปรับฐานลง อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องทั่วโลกอยู่ในระดับสูงและธนาคารกลางหลายประเทศ มีท่าทีพร้อมจะอัดฉีดสภาพคล่องเข้ามาในระบบซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีกับการลงทุน กระแสเงินไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และกลุ่ม Emerging Market ขณะที่ออกจากยุโรป โดยเข้าหุ้นคุณค่า (Value) มากกว่าหุ้นเติบโต (Growth) […]