BF Knowledge Tips: BMAPS กองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนช่วยเลือกลงทุน

BF Knowledge Tips: BMAPS กองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนช่วยเลือกลงทุน

  สรุปความสัมภาษณ์ เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® การลงทุนในกองทุนรวมปัจจุบัน จะแนะนำให้ลงทุนเป็นพอร์ตมากขึ้น โดยพิจารณาโดยปรับสัดส่วนให้เหมาะกับตัวเอง  โดยพอร์ตลงทุน อาจจะมี 3 แบบง่ายๆ พอร์ตที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ จะลงทุนในทรัพย์สินที่ลงทุนในตราสารหนี้ หรือตราสารที่มีความเสี่ยงไม่มากนักเป็นหลัก ขณะเดียวกันกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง เช่น หุ้น หรือทองคำ ก็อาจลงทุนในสัดส่วนไม่มากนัก พอร์ตที่มีความเสี่ยงกลางก็อาจจะมีความผสมผสาน อาจลงทุนในกองที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น ประมาณครึ่งนึง และกองที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ประมาณครึ่งนึง เป็นต้น พอร์ตที่มีความเสี่ยงสูง เหมาะสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้มากๆ อาจจะลงทุนในหุ้น 80-100% ของเงินที่ลงทุนได้ ประเด็นอยู่ที่ไส้ของพอร์ตว่าควรจะลงทุนอย่างไร สำหรับคำแนะนำคือถ้ามีสัดส่วนหุ้น หรือพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูง ก็ควรพิจารณาเลือกกองทุนหุ้นหลายๆ กอง เพราะทุกวันนี้ การลงทุนมีความเสี่ยงจากหลายปัจจัยที่มากระทบ หรือผันผวนมากขึ้น การลงทุนในหุ้น หรือกองทุน จึงควรกระจายการลงทุนไปในหลายๆ กอง หลายๆ แบบ […]

BF Knowledge Tips: How to F.I.R.E เกษียณได้ไวอย่างมีความสุข

BF Knowledge Tips: How to F.I.R.E เกษียณได้ไวอย่างมีความสุข

โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM แนวคิดเรื่องการมีอิสรภาพทางการเงิน (Financial Independence) ได้ถูกพูดถึงกันบ่อยมาก โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่มองว่า โลกของการทำงานในปัจจุบัน ทำให้เราต้องสูญเสียเวลาอันมีค่าในการใช้ชีวิต  ส่งผลให้ไม่มีเวลาในการที่จะดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของตัวเราเอง รวมถึงคนในครอบครัว เพราะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการดิ้นรนต่อสู้ ทำงานเพื่อแลกเงิน และสะสมความมั่งคั่งให้เพียงพอที่จะใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้อย่างมีความสุข ซึ่งก็คงจะดีกว่า ถ้าหากเราจะสามารถย่นระยะเวลาการทนทุกข์จากการทำงานให้สั้นลง และสามารถปลดเกษียณตัวเองได้เร็วๆ เพื่อไปใช้ชีวิตอย่างที่ตัวเองต้องการ และนี่จึงเป็นที่มาของแนวคิด F.I.R.E movement  (Financial Independence Retire Early Movement) F.I.R.E movement  คือการมีอิสรภาพทางการเงิน  สามารถเกษียณได้ก่อนกำหนด และมีเวลาที่จะไปใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ โดยแนวทางของ F.I.R.E Movement  ตั้งอยู่บน  3  หลักการที่ต้องลงมือทำอย่างเคร่งครัด หลักการแรกคือ  เก็บออมประมาณ 50 – 70% ของรายได้  หลักการที่สองคือ ต้องควบคุมรายจ่ายอย่างหนัก โดยต้องกินใช้ให้ต่ำกว่ามาตรฐานที่ตัวเองสามารถจ่ายได้ หลักการสุดท้ายคือ  ต้องรู้จักลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถให้ผลตอบแทนสูงได้ในระยะยาวอย่างน้อยๆ 10 ปี จากทั้ง 3 […]

BF Knowledge Tips: เคล็ดลับแก้ปัญหาการเงินวัยหลักสี่

BF Knowledge Tips: เคล็ดลับแก้ปัญหาการเงินวัยหลักสี่

โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® เผลอแป๊บๆ เลข 4 ก็เข้ามาในชีวิตแล้ว ทำไมหันไปทางไหนก็เห็นคนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นชีวิตการทำงาน ชีวิตในครอบครัว แม้แต่เพื่อนๆ เราก็มีบ้านหลังใหญ่ มีรถหรูๆ ขับ แล้วทำไมเหมือนเรายังไม่มีอะไรเลย สุดท้ายแล้วเราจะมีเงินใช้หลังเกษียณมั้ยเนี่ย ปัญหาคาใจสำหรับคนที่เข้าสู่วัยหลักสี่ แล้วยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน วันนี้มีทางออกให้ค่ะ ที่ผ่านมาหลายคนอาจจะไม่เคยมีการตั้งเป้าหมาย ทำให้การทำงาน หรือทำอะไรแค่จบเป็นวันๆ ไป แต่ถ้าเรามีเป้าหมาย เราจะคิดหาวิธีที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายได้ ถ้ามีหลายเป้าหมายแนะนำให้เขียนเป้าหมายที่ต้องการออกมา และพิจารณาดูว่าเป้าหมายไหน สำคัญมาก เป้าหมายไหนสำคัญ เป้าหมายไหนที่สามารถพลาดได้ หรือไม่สำคัญ เพียงแค่เราต้องการเท่านั้นเอง นอกจากนี้ ยังต้องดูระยะเวลาที่ต้องการให้แต่ละเป้าหมายประสบความสำเร็จด้วย โดยให้ List ออกมา และเขียน Timeline ซึ่งจะได้ภาพที่ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นเรามี 3 เป้าหมาย โดยเป้าหมายที่ใกล้ที่สุดคือ ต้องการไปเที่ยวญี่ปุ่นแบบ backpack ในอีก 1 ปีข้างหน้า ด้วยงบ 50,000 […]

BF Knowledge Tips: ลงทุนเป็นพอร์ต ทางออกในโลกลงทุนที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

BF Knowledge Tips: ลงทุนเป็นพอร์ต ทางออกในโลกลงทุนที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

สรุปความสัมภาษณ์ เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ตลาดการลงทุนทุกวันนี้ยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบยังคงเป็นปัจจัยเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงในฝั่งตะวันตก จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก เนื่องจากโลกใบนี้เศรษฐกิจเชื่อมโยงกัน เราจะพบว่ามีข่าวอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมโหฬาร จนกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของหลายประเทศที่โครงสร้างเศรษฐกิจอ่อนแอ สิ่งเหล่านี้เป็นความกังวลที่ถูกพูดถึงมากขึ้น กรณีสงครามรัสเซียยูเครนนั้น ผลกระทบที่สำคัญจะไม่ใช่เรื่องระหว่าง 2 ประเทศ แต่เป็นประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามในครั้งนี้ทำให้ประเด็นการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของประเทศบนโลกใบนี้ออกเป็น 2 ค่าย ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในแง่ทุนนิยมเสรี เพราะเมื่อมีการแบ่งฝ่ายฉันฝ่ายเธอ การเคลื่อนไหวของเงินทุน หรือสินค้าและบริการจะถูกควบคุมหรือกีดกัน ถือเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลต่างๆ ใช้ต่อกรกับฝั่งตรงข้าม คำถามคือแล้วเราจะลงทุนยังไงดี วันนี้อยากจะพูดถึงประเด็นหนึ่งก็คือ การให้บริการของสถาบันการเงินที่เป็นเรื่องการจัดพอร์ต หลายท่านอาจมีการใช้บริการนักวางแผนการเงิน หรือผู้ดูแลเงินส่วนตัว เป็นลักษณะของ private wealth ที่มีการดูแล จัดพอร์ต จัดสัดส่วนที่เหมาะสมมาให้ แต่ถ้าเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ใช้บริการเหล่านี้ ก็จะมีโมเดลที่นำเสนอผู้ลงทุนผ่านกองทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวม หรือบางหน่วยงานธุรกิจก็ใช้กองทุนส่วนบุคคลมานำเสนอ อย่างโมเดลที่พยายามจะมองว่าอะไรให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด ว่าการลงทุนแบบไหน การปรับพอร์ตโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือใช้โมเดลแบบไหนน่าจะให้ผลที่ดีกับผู้ลงทุน การปรับเปลี่ยนหรือสัดส่วนการลงทุนควรจะเป็นแบบไหน สิ่งนี้อยู่ในเป้าหมายการสร้างผลตอบแทนภายใต้การบริหารความเสี่ยงโดยการลงทุนที่ไม่กระจุกตัวในสินทรัพย์ใดมากเกินไป จะมีการกระจายความเสี่ยงเพื่อลดความผันผวนด้วย […]

BF Knowledge Tips: ทำยังไงดี? เมื่อพอร์ตลงทุนติดลบ

BF Knowledge Tips: ทำยังไงดี? เมื่อพอร์ตลงทุนติดลบ

โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM สำหรับคนที่กำลังลงทุนอยู่ในตอนนี้ เชื่อว่าหลายคนพอร์ตลงทุนน่าจะติดลบอยู่พอสมควร โดยเฉพาะคนที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศกลุ่มเทคโนโลยี เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่า หุ้นกลุ่มนี้กำลังเป็นเทรนด์ลงทุนในอนาคต และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับพอร์ตลงทุนของเรา โดยที่ผ่านมามีสถานการณ์โควิดเป็นตัวกระตุ้น ทำให้หุ้นกลุ่มนี้เติบโตไปอย่างก้าวกระโดด จึงทำให้หลายๆ บลจ. ออกกองทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน และแน่นอนว่านักลงทุนอย่างเราก็ไม่พลาดที่จะเข้าไปลงทุนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วง IPO ที่มีแรงจูงใจกับราคา 10 บาทต่อหน่วย ทำให้ในภาพรวมพอร์ตการลงทุนเราน่าจะมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นต่างประเทศกลุ่มเทคโนโลยีค่อนข้างมาก ดังนั้น เมื่อนักลงทุนจำนวนหนึ่งซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อยตัดสินใจทำรายการขายคืนหุ้นกลุ่มนี้เพื่อทำกำไรหลังจากที่เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ราคาของหุ้น หรือกองทุนรวมหุ้นที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้พอร์ตลงทุนของเราติดลบไปด้วย ในกรณีที่พอร์ตลงทุนติดลบ อย่างแรกที่ควรทำคือ ทบทวนพอร์ตลงทุนของเราในปัจจุบันว่ามีสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมหรือไม่? ซึ่งในหลายๆ ครั้งเรามักจะพบว่า พอร์ตติดลบเกิดจากการที่เราจัดสัดส่วนการลงทุนที่ไม่เหมาะสม โดยมักมีการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากจนเกินไป ซึ่งถ้าอยู่ในช่วงขาขึ้น ภาพรวมของพอร์ตลงทุนก็จะกำไรมาก แต่ถ้าหากอยู่ในช่วงขาลงหรือปรับฐาน ภาพรวมของพอร์ตลงทุนก็จะขาดทุนมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสม โดยให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุน ทั้งนี้ สำหรับนักลงทุนที่ได้พิจารณาพอร์ตลงทุนของตัวเองแล้วพบว่า สัดส่วนในการลงทุนมีความเหมาะสมสอดคล้องตามเป้าหมาย ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุน เอาไว้ดีอยู่แล้ว ถ้ายังสามารถลงทุนต่อไปได้ […]

เลือกลงทุนตลาดไหนดี ในสภาวะดอกเบี้ยปัจจุบัน

เลือกลงทุนตลาดไหนดี ในสภาวะดอกเบี้ยปัจจุบัน

สรุปความ เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ในเวลานี้ความกังวลเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น จะไปโฟกัสอยู่ที่การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินฟ้อ สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นตลาดหุ้นที่ใหญ่ เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนสหรัฐฯ ก็มีจำนวนมาก มีการลงทุนทั้งในสหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงฝั่งเอเชียด้วย แม้แต่การลงทุนในไทย ก็มีเม็ดเงินลงทุนมาจากฝั่งตะวันตกค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงทำให้ผู้ลงทุนมีความกังวลกันว่า หากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น จะทำให้นักลงทุนบางส่วนเทขายหุ้นออกมา เนื่องจากบริษัทหรือกิจการต่างๆ จะมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น เมื่อดูในเชิงการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ หรือ Asset Allocation ก็อาจจะมีการโยกเงินบางส่วนที่อยู่ในตลาดหุ้นไปลงทุนในตลาดพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า และได้รับผลตอบแทนขยับขึ้นมากว่าในช่วงก่อนหน้านี้ โดยภาพรวมแล้วการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ดัชนีราคาตลาดหุ้นปรับลดลง แต่ถ้าไปดูกันจริงๆ จะพบว่า เมื่อดูปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การสกัดเงินเฟ้อ หรือปัจจัยอื่น ไม่ได้หมายความว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก หรือกลุ่มธุรกิจต่างๆ ไปในทิศทางเดียวกันหมด อาจจะมีบางส่วนที่กระทบมาก บางส่วนที่กระทบน้อย หรือกิจการบางประเภทอาจจะได้ผลดีจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยซ้ำ ขณะที่กิจการบางประเภท เมื่อเจอเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ก็ยังสามารถปรับขึ้นราคาสินค้าหรือบริการให้ผู้บริโภครับภาระจ่ายแทนได้ หากเรากลับไปวิเคราะห์ที่พื้นฐาน จะพบว่า ปัจจุบันสิ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นผันผวนและกังวลมากๆ มี […]

เคล็ดลับวัยซ่า ลงทุนสู้เงินเฟ้อ

เคล็ดลับวัยซ่า ลงทุนสู้เงินเฟ้อ

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® ปีนี้บอกเลย ไม่ว่าจะวัยไหนๆ ก็อยากจะสู้เงินเฟ้อให้อยู่หมัด นั่นเป็นเพราะว่าข้าวของแพงขึ้นมาเยอะ ค่าน้ำมันก็สูง แม้แต่ไข่ไก่ที่มีติดบ้านกันทุกบ้าน ก็ขึ้น จากปีก่อนไข่ไก่คละ ตกฟองละ 2.50 บาท แต่มาปีนี้กระโดดมาเป็น 3.50 บาท แล้วจะไม่ให้ตกใจกันได้ยังไง แต่ทำไมต้องเป็นวัยซ่า (Silver Age : SA) ที่ลงทุนสู้เงินเฟ้อนั่นเป็นเพราะ เป็นช่วงวัยที่มีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอ รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ และเตรียมตัวก้าวเข้าสู่วัยเกษียณในอนาคต ดังนั้น จึงต้องหาตัวช่วยเรื่องการลงทุนที่สามารถต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เรื่องการลงทุนที่สู้กับเงินเฟ้อได้ดีนั้น นอกจากการลงทุนในทองคำแล้ว ยังมีการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องใช้เวลาติดตามอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างสบายๆ นั่นก็คือการลงทุนในกองทุนรวม โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวันของเรา ล้วนส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม อย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ยังมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านไฟฟ้า ด้านโซล่าร์ รวมถึงด้านเน็ตเวิร์คและการเก็บพลังงาน หรือแม้แต่ประเทศที่กำลังพัฒนาก็มีการเติบโตของสังคมเมืองมากขึ้น ทำให้มีความต้องการระบบโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้นด้วย การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน จึงเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่หน่วยงานกำกับดูแล มีความต้องการสินทรัพย์และการใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ […]

ทำงานใหม่ๆ ลงทุนอย่างไรให้ชนะเงินเฟ้อ

ทำงานใหม่ๆ ลงทุนอย่างไรให้ชนะเงินเฟ้อ

โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานในช่วงนี้ บอกได้เลยว่าต้องเจอกับศึกรอบด้าน กว่าจะได้งานทำก็ยาก เรียนรู้งานใหม่ก็ยาก เพราะการทำงานปัจจุบันเน้นการใช้เทคโนโลยี ทำให้ขาดการปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เรียกได้ว่า ในแง่มุมของการทำงานนั้นไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด แถมด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยจะดี อย่างตอนนี้เราก็เจอกับสภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมาก และสูงขึ้นเร็วชนิดที่ว่าเงินเดือนขึ้นตามไม่ทัน   ทำให้ราคาสินค้าและบริการที่ซื้อกินซื้อใช้แพงขึ้น แล้วอย่างนี้ คนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ อย่างเรา หากคิดจะลงทุนควรจะวางแผนอย่างไรดี? อย่างแรกที่ต้องทำก่อนจะลงทุนคือ การวางแผนสภาพคล่อง ให้มีเงินพอกินพอใช้ในแต่ละเดือน  ยิ่งในยุคเงินเฟ้อ ข้าวยากหมากแพง ก็อาจจะทำให้เรามีค่าใช้จ่ายโดยรวมที่มากขึ้น ทั้งที่เราก็ใช้ชีวิตแบบเดิม ยกตัวอย่างค่าไฟ ที่อยู่ดีๆ ค่า ft  ก็ปรับสูงขึ้น เปิดแอร์ตัวเดิม ระยะเวลาเท่าเดิม แต่ค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น หลังจากที่วางแผนสภาพคล่องเรียบร้อยแล้ว เราจึงค่อยจัดสรรเงินส่วนหนึ่งมาออมและอีกส่วนหนึ่งมาลงทุน แต่สิ่งหนึ่งที่วัยทำงานสงสัยก็คือ เราจะลงทุนอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ เพราะอย่างที่เรารู้กันดีว่า ถ้าลงทุนแล้วผลตอบแทนได้น้อยกว่าเงินเฟ้อ นั่นก็หมายความว่า มูลค่าเงินลงทุนของเรา นอกจากจะไม่งอกเงยแล้วยังติดลบหรือถูกลดอำนาจในการซื้อไปอีกต่างหาก คำตอบของข้อสงสัยนี้จึงอยู่ที่ว่า เราจะลงทุนในสินทรัพย์อะไร? ที่จะสามารถให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อได้ ซึ่งก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า เงินเฟ้อปัจจุบันอยู่ที่เท่าไร? […]

อยากลดหย่อนภาษีแค่ปีเดียวต้องทำยังไง

อยากลดหย่อนภาษีแค่ปีเดียวต้องทำยังไง

โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® หมดไปกับ 1 ไตรมาส สำหรับใครที่อยากลดหย่อนภาษีปี 2565 แต่ไม่รู้จะเอายังไงกับชีวิตดี จะลงทุนต่อเนื่องก็ยังไม่รู้อนาคต มีแต่ความไม่แน่นอน แต่ที่แน่ๆ ปีนี้มีรายได้ อยากลงทุนให้เงินงอกเงย แถมประหยัดภาษีได้ด้วย มีวิธีง่ายๆ แนะนำค่ะ สำหรับการลงทุนและลดหย่อนภาษีได้ด้วย ปัจจุบันก็จะมี 2 แบบ คือ แบบแรกลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ซึ่งจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยก็ปีเว้นปี โดยต้องลงทุน 5 ปีขึ้นไป และขายคืนได้ตอนอายุ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว ส่วนอีกแบบคือกองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF ที่ไม่ได้มีเงื่อนไขว่าต้องลงทุนทุกปี แต่มีเงื่อนไขว่าแต่ละครั้งที่ลงทุน ต้องลงทุนได้อย่างน้อย 10 ปี เวลาขายคืนก็จะนับเป็นรายก้อนไป ซึ่งถ้าดูแล้วรายได้ไม่แน่นอนเท่าไหร่ การลงทุนใน SSF ก็จะเหมาะมากกว่า โดยส่วนตัวมองว่ากองทุนรวมเพื่อการออมหรือ SSF นั้น เหมาะกับคนที่มีเป้าหมายใช้เงินในอนาคต […]

แก้ปัญหาความกังวลจากภาวะตลาดด้วยหลักการลงทุนพื้นฐาน

แก้ปัญหาความกังวลจากภาวะตลาดด้วยหลักการลงทุนพื้นฐาน

สรุปความ เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ปี 2022 นี้เปิดปีมาด้วยความยากของการลงทุน ไตรมาสแรกเต็มไปด้วยความผันผวน ทั้งกรณีของเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ และในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากปี 2021 ขณะที่ความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อยังไม่จบ ก็เกิดกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรป และส่งผลต่อราคาน้ำมัน ซึ่งมีผลกระทบต่อไปยังเศรษฐกิจทั่วโลกด้วย เหล่านี้คือความไม่แน่นอน และเป็นสิ่งที่ทำให้นักลงทุนจำนวนมากชะลอการลงทุน รวมทั้งไม่แน่ใจกับเรื่องการลงทุน หลายคนที่เคยลงทุนมาก่อนหน้านี้แล้วเข้าซื้อหุ้นหรือกองทุนในราคาที่สูง ก็เกิดความไม่สบายใจ จะยอมตัดขายขาดทุน (Cut loss) ก็ไม่แน่ใจ หรือจะซื้อต่อในราคาปัจจุบันที่เห็นว่าต่ำแล้ว ก็ยังไม่แน่ใจเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่จะช่วยได้คือเรื่องวินัยการลงทุน ประเด็นสำคัญก็คือ 1.สิ่งที่ลงทุนต้องเป็นสิ่งที่เรามั่นใจว่า ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไร ในระยะยาวยังเป็นสิ่งที่ดี สามารถลงทุนได้ นั่นก็คือสิ่งที่อยู่ในเมกะเทรนด์สำคัญ โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่รู้จักนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ และสอดคล้องกับโลกปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน 2.เมื่อเราเจอแล้วว่าอะไรเป็นสิ่งที่น่าลงทุน ต่อมาก็คือ เราจะลงทุนเมื่อไหร่ ลงทุนอย่างไร ซึ่งนี่เป็นเรื่องของวินัยการลงทุนที่เราพูดกันมาโดยตลอด การควบคุมวินัยการลงทุนที่ดีที่สุดคือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย หรือ Dollar […]