เศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวกลับสู่อัตราการเติบโตก่อน Covid-19
BF Economic Research GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 6.5% YoY (vs prev 4.9%) หนุนโดยการฟื้นตัวในทุก Sector เป็นผลให้ทั้งปี GDP จีน ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาดที่ 2.3% ในปี 2020 (mkt cons 2.1%, 2019: 6.0%) ทั้งนี้ Market Consensus มองว่าจีนจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2021 นี้และ GDP ปี 2021 จะยังคงขยายตัวดีในกรอบ 8-9% ส่วนตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือน ธ.ค. ยังส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง นำโดยภาคการผลิตที่เร่งตัวขึ้นสวนทางกับที่ตลาดคาด ส่วนการบริโภคและการลงทุนขยายตัวต่อเนื่อง รายละเอียดดังแสดง; ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ธ.ค. ขยายตัว 7.3% […]
ส่งออกไทยเดือนธ.ค. ดีขึ้น คาดทั้งปีหดตัวไม่เกิน -7%
BF Economic Research Fact Fact ส่งออกไทย ในเดือน พ.ย. 2020 อยู่ที่ 18,932.7 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 19,376.7 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -3.65%YoY (vs. prev.-6.71%YoY) ถ้าไม่รวมทองจะอยู่ที่ -3.12%YoY (vs. prev.-6.34%YoY) YTD Export Growth =-6.95% vs.prev.-7.26% มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน พ.ย. 2020 อยู่ที่ 18,880.1 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 17,330.2 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -1.00%YoY (vs. prev.-14.30%YoY) YTD Import Growth =-13.5% vs.prev.-14.7% ดุลการค้า ในเดือน […]
Fed คงดอกเบี้ยที่ 0-0.25% ปรับ outlook ของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแต่จะยังคง Dovish ไปอีกนาน
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% และระบุว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) แนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ชี้ว่า Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย ซึ่งไม่แตกต่างจาก Dot Plot ครั้งก่อนในเดือน ก.ย. ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ Fed ยังคงระบุว่า จะเข้าซื้อที่อัตราปัจจุบัน USD120bn ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) เดือนละ USD80bn […]
อัตราเงินเฟ้อไทยหดตัว -0.41% YoY ยังติดลบแต่หดตัวน้อยลง จากราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ขยายตัวขึ้น คาดทั้งปี 2020 จะติดลบ -0.8 to -0.9%
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน พ.ย.-20 อยู่ที่ 102.2 vs. prev 102.2 หรือ -0.41%YoY (vs. prev.-0.50%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน -0.04%MoM (vs. prev.0.05%MoM), YTD: -0.90% (vs. prev.-0.94%) อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ 0.18%YoY (vs. prev.0.19%YoY), เมื่อเทียบรายเดือน 0.01%MoM (vs. prev.-0.02%MoM) ราคาอาหาร (36% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ 1.70%YoY (vs. prev.1.57%YoY),เมื่อเทียบรายเดือน -0.23%MoM (vs. prev.0.05%MoM) ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (64% ของตะกร้าสินค้า) อยู่ที่ -1.64%YoY (vs. prev.-1.70%YoY),เมื่อเทียบรายเดือน 0.07%MoM […]
สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ต.ค.
BF Economic Research ธปท. เผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน ต.ค. หดตัวในอัตราสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวในเดือนก่อน จากปัจจัยชั่วคราวที่หมดลง และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในปีก่อน รายละเอียดสำคัญ ดังนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาในประเทศเป็นครั้งแรกในเดือน ต.ค. ที่จำนวน 1,200 คน หลังจากที่รัฐบาลได้ เริ่มดำเนินการเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบอยู่อาศัยระยะยาวผ่านการให้วีซ่าพิเศษ (Special Tourists VISA หรือ STV) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นมา การบริโภคครัวเรือนหดตัวที่ 1.1% YoY (vs. +0.4% เดือนก่อน) โดยเป็นผลมาจากการใช้จ่ายที่ลดลงในหมวดสินค้าไม่คงทน (-3.5% vs. +2.3% เดือนก่อน) และหมวดบริการ (-24.2% vs. -22.0% เดือนก่อน) ซึ่ง ธปท. ระบุว่าเป็นผลมาจากวันหยุดยาวพิเศษที่หมดไป (หยุดชดเชยสงกรานต์) และผลจากฐานสูงปีก่อน (รัฐดำเนินมาตรการชิมช้อปใช้) อนึ่ง […]
Economic Review Economic Update
BF Monthly Economic Review – ส่งท้ายปี 2563
BF Economic Research ในเดือน ธ.ค. นี้ กองทุนบัวหลวงขอนำเสนอมุมมองเศรษฐกิจมหภาคสำหรับการลงทุนในปี 2564 ทั้งนี้มุมมองเศรษฐกิจสำหรับการลงทุนอาจไม่เหมือนกับภาพเศรษฐกิจในความเป็นจริง จะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย สำหรับธีมการลงทุนที่ในตลาดคาดหวังกัน ได้แก่ 1.ภาพเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่การฟื้นตัว (Global economic recovery) 2.นโยบายการเงินและการคลังยังเป็นตัวหลักหล่อลื่นเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อไป ส่งต่อไปจนถึงปี 2564 สำหรับภาพเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่การฟื้นตัวเป็นธีมที่นักลงทุนคาดหวังกัน โดยในปี 2564 ตลาดมองเศรษฐกิจปรับตัวฟื้นคืนมาสู่ระดับก่อนที่จะเกิด COVID-19 หรือปี 2562 นั่นเอง ประเทศที่จะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเลย คือ โควิด-19 หายไปแล้วฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง จะเป็นประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สามารถหาสมดุลได้ทั้งฝั่งภาคบริการและภาคการผลิต คือไม่พึ่งพิงภาคการท่องเที่ยวมากเกินไป มีสัดส่วนการผลิตและภาคบริการค่อนข้างสมดุลกัน ได้แก่ ประเทศจีน และเวียดนาม ทั้ง 2 ประเทศนี้ แม้กระทั่งไตรมาส 2 ของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประเทศต่างๆ ปรับตัวลดลงแรงๆ เพราะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 […]
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ต.ค.-20 -0.5%YoY (vs. prev.-0.70%YoY), เมื่อเทียบรายเดือน 0.05%MoM (vs. prev.-0.11%MoM) YTD: -0.94% (vs. prev.-0.99%)
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ต.ค.-20 อยู่ที่ 102.23 vs. prev 102.18 หรือ -0.5%YoY (vs. prev.-0.70%YoY), เมื่อเทียบรายเดือน 0.05%MoM (vs. prev.-0.11%MoM) YTD: -0.94% (vs. prev.-0.99%) อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ 0.19%YoY (vs. prev.0.21%YoY) เมื่อเทียบรายเดือน -0.02%MoM (vs. prev.0.04%MoM) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อยังหดตัว YoY แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน ก.ย.63 หนุนจากราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ประกอบกับ ผลผลิตพืชผักได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื้นที่ อีกทั้งราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานแม้ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สำหรับราคาสินค้าในหมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ไข่และผลิตภัณฑ์นม หมวดเคหะสถาน หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลปรับตัวลดลง […]
สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ก.ย.
BF Economic Research เศรษฐกิจในเดือน ก.ย. ฟื้นตัวจากที่มีวันหยุดยาวพิเศษที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศ ขณะที่การใช้จ่ายสาธารณะยังคงเป็น Driver หลักเช่นเดิม การส่งออกหดตัวน้อยกว่าเดือนก่อนตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น เมื่อมองไปข้างหน้า GDP ไตรมาส 3/2020 (Market Cons -8.8% YoY) มีแนวโน้มที่จะหดตัวน้อยกว่าไตรมาสก่อนหน้า (-12.2% YoY) เนื่องจากในช่วงไตรมาส 3 นั้นรัฐบาลได้ผ่อนคลาย มาตรการล็อคดาวน์ลง มาตรการของรัฐบาลที่กระตุ้นการบริโภคที่ได้เริ่มในเดือนต.ค. อาจมีส่วนช่วยการบริโภคได้อย่างจำกัดเนื่องจากความเสี่ยงทางการเมืองยังมีอยู่มาก รายละเอียดของเครื่องชี้รายตัว รายจ่ายลงทุนของภาครัฐ (ไม่รวมเงินโอน) เพิ่มขึ้น 46.5% YoY (vs. +47.0% เดือนก่อน) โดยได้รับแรงหนุนจากการเร่งเบิกจ่ายในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2020 ของรัฐบาลกลางและรัฐวิสาหกิจ การบริโภคภาคเอกชนไม่ขยายตัว (0% YoY vs. -0.3% เดือนก่อน) โดยเป็นการปรับตัวดีขึ้นในทุกหมวดของการใช้จ่าย โดยเฉพาะสินค้าไม่คงทน (+1.2% vs. -1.5% […]
GDP สหรัฐฯ (Advance Estimate) ขยายตัว +33.1% QoQ saar นับเป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังจากที่หดตัว -31.4% ในไตรมาส 2
GDP สหรัฐฯ (Advance Estimate) ขยายตัว +33.1% QoQ saar นับเป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังจากที่หดตัว -31.4% ในไตรมาส 2 เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังจากการผ่อนคลายล็อคดาวน์ การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวได้ดี (และเป็นองค์ประกอบหลักที่ผลักดัน GDP) หนุนโดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลที่ให้เงินช่วยเหลือแก่ประชาชนเพื่อจับจ่ายใช้สอยในช่วงที่สหรัฐฯประกาศล็อคดาวน์ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวได้ดีในทุกองค์ประกอบทั้งจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำสุด ส่งผลให้ยอดขายบ้านเติบโตได้ดี อีกทั้งรัฐบาลร่วมกับธนาคารกลางสหรัฐฯได้ออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจในช่วงล็อคดาวน์เช่นโครงการ Paycheck Protection Program และ Main Street Lending Program ก็มีส่วนช่วยหนุนการลงทุนของภาคธุรกิจด้วย ในรายองค์ประกอบ การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว +40.7% (vs. -33.2% ไตรมาสก่อน) จาก การฟื้นตัวของการใช้จ่ายซื้อสินค้าทั่วไป (นำโดยรถยนต์และเสื้อผ้า) และบริการ (นำโดยการดูแลสุขภาพ บริการอาหาร และที่พัก) การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว +83.0% (vs. -46.6% ไตรมาสก่อน) จากทั้งการลงทุนภาคธุรกิจ (CAPEX) ขยายตัว […]
Economic Review Economic Update
BF Monthly Economic Review – ต.ค. 2563
BF Economic Research สรุปประเด็นที่น่าสนใจที่มีผลต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงเดือนตุลาคมนี้มีอะไรบ้าง เริ่มกันที่ประเด็นแรกคือ IMF ได้ออกมาปรับประมาณการเศรษฐกิจทั้งในปี 2020 และปี 2021 โดยในปี 2020 จะเห็นว่าเกือบทุกประเทศทั่วโลกเศรษฐกิจหดตัว โดยทั่วกันซึ่งตลาดก็ได้รับรู้ประเด็นนี้ดีแล้ว ขณะที่ประมาณการเศรษฐกิจปีหน้า 2021 เป็นเรื่องที่ตลาดให้ความสนใจ โดยปีหน้าของ IMF มีมุมมองใหม่ที่ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ขาฟื้นตัวซึ่งในหลายๆประเทศเป็นการฟื้นตัวในอัตราที่ค่อนข้างเยอะพอสมควร ซึ่งส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่ามาจากฐานที่ค่อนข้างต่ำด้วย และรวมถึงมองว่าการระบาดของโควิด-19 หลายๆ ประเทศสามารถบริหารจัดการได้ ทั้งนี้ IMF มองว่าเศรษฐกิจโลกการเติบโตจะกลับมาอยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกับปี 2019 เมื่อมาพิจารณาจากปัจจัยเศรษฐกิจปีหน้าที่ฟื้นตัว มีประเทศไหนที่น่าสนใจบ้าง พบว่า จีน และเวียดนามเศรษฐกิจจะเติบโตได้ดี การระบาดของโควิด-19ไม่สามารถทำอะไรทั้งสองประเทศนี้ได้ โดยจะเห็นว่าเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของจีนก็ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งทั้งตัวเลขรายเดือนและรายไตรมาสสะท้อนไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้จีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ฉะนั้นถ้าสนใจลงทุนในจีนตอนนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุน เพื่อไปรอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะยิ่งส่งให้จีนไปต่อในปี 2021 สำหรับเวียดนามอีกหนึ่งประเทศที่น่าสนใจ จะพบว่า เศรษฐกิจฟื้นตัวกับมาในอัตราที่โดดเด่น สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ ต่างมีคำถามเข้ามาว่าจะสามารถลงทุนได้รึเปล่า ซึ่งอยากจะให้นักลงทุนติดตามปัจจัยที่มีผลต่อตลาด โดยจะมีเหตุการณ์หลักๆ หลายเหตุการณ์ที่อาจทำให้ตลาดผันผวนในบางช่วง โดยปัจจัยที่เราจับตามองมีดังนี้ […]