คณะกรรมการ FOMC มีมติ 8:2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0-0.25%
BF Economic Research คณะกรรมการ FOMC มีมติ 8:2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0-0.25% โดยได้เปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินเป็น Average Inflation Targeting เพื่อให้สามารถคงอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น คณะกรรมการ FOMC มีมติ 8:2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0-0.25% โดยได้เปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินเป็น Average Inflation Targeting เพื่อให้สามารถคงอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น ขณะที่ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2020 ดีกว่าประมาณการในครั้งก่อน การปรับเปลี่ยนแนวทางของนโยบายการเงินในครั้งนี้ เรียกว่า Average Inflation Targeting โดยกรอบการดำเนินนโยบายเช่นนี้จะเอื้อให้ Fed สามารถคงอัตราดอกเบี้ยต่ำได้เป็นระยะเวลานาน ตราบเท่าที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยยังต่ำกว่า 0% นั่นหมายความว่าถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในอีกปีหรือสองปีข้างหน้า จะกระโดดขึ้นไปสูงกว่า 2.0% แต่ถ้าตราบใดก็ตามที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยยังไม่เกิน 2.0% Fed ก็จะยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ Dot Plot ในเดือนก.ย. ได้สะท้อนว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยืนใกล้ศูนย์ไปถึงปี […]
สรุปเศรษฐกิจจีนในเดือน ส.ค.
BF Economic Research เศรษฐกิจจีน ในเดือนส.ค. ขยายตัวต่อเนื่องจากฝั่งอุปทาน ส่วนการค้าปลีกเริ่มพลิกกลับมาเป็นบวก หนุนโดยยอดขายรถยนต์ โทรศัพท์และอุปกรณ์สื่อสาร และเครื่องสำอาง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ส.ค. ขยายตัว 5.6% YoY เร่งตัวขึ้นจาก 4.8% ในเดือนก่อน จากแรงหนุนของทั้งอุปสงค์โลกที่ทยอยฟื้นตัวและผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือน ส.ค. พลิกกลับมาขยายตัว 0.5% YoY จากที่หดตัว -1.1% ในเดือนก่อน โดยนับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 หลังการระบาดรอบสองของ COVID-19 ในจีนเริ่มคลี่คลายและรัฐบาลทยอยผ่อนปรนมาตรการที่เข้มงวดต่อเนื่อง ยอดขายรถยนต์ยังคงขยายตัวแข็งแกร่ง ( 11.8% vs. 12.3% เดือนก่อน) ขณะที่ยอดขายในกลุ่มร้านอาหารแม้จะฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องแต่ก็ยังหดตัว (-7.0% vs. […]
อัตราเงินเฟ้อไทยเดือนส.ค. ลบ 0.50%YoY ลบน้อยลงจากราคาอาหาร
• อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ส.ค.-20 อยู่ที่102.3 vs. prev 102.0 หรือ -0.50%YoY (vs. prev.-0.98%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน 0.29%MoM (vs. prev.0.66%MoM) YTD: -1.03% (vs. prev.-1.11%) • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ส.ค.-20 อยู่ที่102.3 vs. prev 102.0 หรือ -0.50%YoY (vs. prev.-0.98%YoY) ,เมื่อเทียบรายเดือน 0.29%MoM (vs. prev.0.66%MoM) YTD: -1.03% (vs. prev.-1.11%) • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารและน้ำมัน) อยู่ที่ 0.30%YoY (vs. prev.0.39%YoY) เมื่อเทียบรายเดือน 0.00%MoM (vs. […]
เศรษฐกิจอินเดียหดตัวถึง -23.9%YoY ในไตรมาส 2/2020 มากที่สุดเป็นเป็นประวัติการณ์
BF Economic Research เศรษฐกิจอินเดียหดตัวถึง -23.9%YoY ในไตรมาส 2/2020 มากที่สุดเป็นเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติในปี 1996 โดยเป็นผลจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ทำให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ในช่วงระหว่างปลายเดือนมี.ค.-พ.ค. ซึ่งการล็อกดาวน์ของอินเดียนั้นนับว่ามีความเข้มงวดสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักในเกือบทุกภาคส่วน ในรายองค์ประกอบของ GDP การลงทุนนับว่าเป็นปัจจัยฉุดสำคัญ โดยหดตัวสูงถึง -47.1%YoY ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนหดตัว -26.7%YoY ด้านการใช้จ่ายของภาครัฐแม้จะขยายตัวได้ 16.4%YoY แต่ก็ยังไม่สามารถพยุงเศรษฐกิจจากวิกฤติ COVID-19 ได้ สำหรับในรายธุรกิจ การก่อสร้างหดตัวมากถึง -50.3%YoY โรงแรมและการสื่อสารหดตัว -47%YoY ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตหดตัว -39.3%YoY ทั้งนี้ แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวจากในช่วงล็อกดาวน์ แต่ก็ยังถือว่าชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า เนื่องจากอินเดียมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอดจนแตะระดับ 75,000 คนต่อวัน ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อรวมทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 3.5 ล้านคนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี โดยเราคาดว่า GDP อินเดียในปีงบประมาณ 2020-2021 (เม.ย. 2020 – […]
ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของไทยเริ่มดีขึ้น
BF Economic Research • การบริโภคครัวเรือนทรงตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน (-0.1% YoY vs. -4.5% เดือนก่อน) จากการใช้จ่ายที่ดีขึ้นในเกือบทุกหมวด ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นและรายได้ภาคเกษตร (+3.4% vs. -2.2% เดือนก่อน) อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนและหมวดบริการยังคงหดตัวในระดับสองหลัก (-15.7% และ -22.8% ตามลำดับ) • การบริโภคครัวเรือนทรงตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน (-0.1% YoY vs. -4.5% เดือนก่อน) จากการใช้จ่ายที่ดีขึ้นในเกือบทุกหมวด ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นและรายได้ภาคเกษตร (+3.4% vs. -2.2% เดือนก่อน) อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนและหมวดบริการยังคงหดตัวในระดับสองหลัก (-15.7% และ -22.8% ตามลำดับ) • การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง (-12.8% YoY vs. -10.2% เดือนก่อน) จากการใช้จ่ายด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ยังคงหดตัวสูง (เช่น […]
Economic Review Economic Update Uncategorized
BF Monthly Economic Review – ส.ค. 2563
BF Economic Research สรุปประเด็นที่น่าสนใจ GDP ไตรมาสที่ 2 ของประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ประกาศออกมาแล้วเห็นการติดลบค่อนข้างแรง ข่าวร้ายผ่านไปแล้ว ส่วนในไตรมาสที่ 3 และ 4 จะเห็นเศรษฐกิจค่อยๆ กระเตื้องขึ้น นโยบายการเงินที่เปลี่ยนไปของสหรัฐฯ เป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุน ติดตามการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกของจีนขยายตัวต่อเนื่อง หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ประเทศในเอเชียอื่นๆ จะได้รับอานิสงส์ด้วย เพราะห่วงโซ่อุปทานการผลิตเชื่อมโยงกัน การประกาศ GDP ไตรมาสที่ 2 ของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ประกาศออกมาแล้วเห็นการติดลบค่อนข้างแรง ในเชิงมุมมองของการลงทุนมองว่า ข่าวร้ายผ่านไปแล้ว ในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ตลาดมองว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆ กระเตื้องขึ้น หลายประเทศ ได้รับการปรับตัวเลข GDP ดีขึ้น หรือแม้แต่จีนที่ยังไม่เห็น GDP ติดลบแม้แต่ไตรมาสเดียว ต้องติดตามนโยบายการเงิน โดยเมื่อปลายเดือน ส.ค. มีการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ […]
เศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง หดตัว -12.2% YoY ต่อเนื่องจากในไตรมาสแรกที่หดตัว -2.0% (ปรับประมาณการลงจากเดิมที่ -1.8% YoY) ส่งผลให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยหดตัว -6.9%
BF Economic Research เศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง หดตัว -12.2% YoY ต่อเนื่องจากในไตรมาสแรกที่หดตัว -2.0% (ปรับประมาณการลงจากเดิมที่ -1.8% YoY) ส่งผลให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยหดตัว -6.9% ทั้งนี้ หากเทียบรายไตรมาสต่อไตรมาสหลังขจัดปัจจัยฤดูกาล (QoQ, SA) พบว่า เศรษฐกิจไทยหดตัว -9.7% (vs. -2.5% ใน 1Q20) เป็นการหดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน ในรายองค์ประกอบ ด้านการใช้จ่าย อุปสงค์ต่างประเทศ: หดตัวสูงในระดับสองหลักทั้งการส่งออกสินค้าและบริการ (-15.9% และ -70.4% ตามลำดับ) ซึ่งเป็นผลพวงจากกิจกรรมเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงักจากมาตรการ Lockdown และเศรษฐกิจคู่ค้าที่อ่อนแอลงหลังการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในวงกว้าง อุปสงค์ในประเทศ: หดตัวจากการใช้จ่ายของภาคเอกชน ทั้งการบริโภคและการลงทุน โดยการบริโภคภาคเอกชนหดตัว -6.6% (vs. +2.7% ใน 1Q20) […]
Economic Update: ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของจีน
BF Economic Research ประเทศจีน คะแนนในเดือนก.ค. อยู่ที่ 20% ปรับลงมาเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ 33% เนื่องด้วยการระดมทุนและสินเชื่อใหม่สกุลหยวนปรับตัวลดลง ตลาดค่อนข้างผิดหวังกับตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีก ซึ่งหากพิจารณาในรายธุรกิจก็จะพบว่า มีกลุ่มธุรกิจที่สามารถขยายตัวในเชิงยอดขายได้ดีเช่น Auto, Property เป็นต้น ณ ขณะนี้การฟื้นตัวของจีนจะกระจุกอยู่ที่ภาคการลงทุนเป็นหลัก หากการบริโภคในประเทศสามารถ Catch Up ได้ก็น่าจะทำให้จีนมีความน่าสนใจมากขึ้น ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ของจีนจะออกนโยบายกระตุ้นการบริโภคในประเทศในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. น่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง ส่วนการส่งออกในเดือนก.ค. นี้ปิดบวกที่ 7.2% YoY จากที่ Flat 0.5% ในเดือนก่อน หากภาพการส่งออกของจีนขยายตัวดีต่อเนื่องก็น่าจะส่งผลบวกที่ดีต่อประเทศใน Supply Chain ของจีนด้วย กิจกรรมภายในประเทศ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ก.ค. ขยายตัว 8% YoY เท่ากับเดือนก่อน นำโดยผลผลิตรถยนต์ (26.8% vs. 20.4% […]
Economic Review Economic Update
ลงทุนอย่างไรหลังโควิด-19
ตลอดเกือบครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ทั่วโลกต้องเผชิญกับความท้าทายในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จนมาถึงช่วงครึ่งปีหลังนี้ สถานการณ์ในหลายประเทศเริ่มดีขึ้น นักลงทุนก็เริ่มสอบถามกันเข้ามามากว่า แล้วในช่วงหลังโควิด-19 ควรจะลงทุนอย่างไรดี ติดตามรายละเอียดที่น่าสนใจได้จากคลิปวิดีโอนี้ ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังได้ที่ BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563 BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563
การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) สหรัฐฯ เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 1.76 ล้านราย
BF Economic Research การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 1.76 ล้านราย ดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.48 ล้านราย ต่อเนื่องจากที่เพิ่มขึ้น 4.79 ล้านรายในเดือนก่อน สะท้อนการฟื้นตัวที่ดีขึ้นของตลาดแรงงาน การจ้างงานเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะภาคบริการ (1.72 ล้านราย vs. 4.28 ล้านรายเดือนก่อน) ยังคงนำโดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 ได้แก่ การโรงแรมและพักผ่อน (5.92 แสนราย) ค้าปลีก (2.58 แสนราย) การให้บริการด้านสุขภาพและความช่วยเหลือทางสังคม (1.91 แสนราย) และการให้บริการทางธุรกิจ (1.70 แสนราย) ส่วนภาคการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (3.9 หมื่นราย vs. 5.15 แสนรายเดือนก่อน) ทั้งในภาคอุตสาหกรรม (2.6 หมื่นราย) และภาคก่อสร้าง […]