คณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมควบคุมงบการคลังของอิตาลีอีกครั้ง หลังดำเนินนโยบายไม่สอดคล้องกับกฎของอียู

คณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมควบคุมงบการคลังของอิตาลีอีกครั้ง หลังดำเนินนโยบายไม่สอดคล้องกับกฎของอียู

BF Economic Research คณะกรรมาธิการยุโรป หรือ European Commission (EC) รายงานผลการประเมินนโยบายการคลังของอิตาลีเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ในปี 2018 รัฐบาลอิตาลีได้ดำเนินนโยบายการคลังอย่างขาดความรอบคอบ และไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบของอียูในการควบคุมหนี้สาธารณะของตัวเอง รวมทั้งมีแนวโน้มจะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงปี 2020 สำหรับหนี้สาธารณะของอิตาลีนั้นมีสูงถึง 132.2% ต่อจีดีพีในปี 2018 ซึ่งมากกว่าระดับที่อียูกำหนดไว้ ทั้งนี้ อียูมีความกังวลเกี่ยวกับระดับหนี้สาธารณะของอิตาลีเป็นอย่างมาก เนื่องจากอิตาลีมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในอียูโซน แต่กลับมีหนี้สาธารณะสูงถึงอันดับ 2 ในอียูโซน ทำให้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอียูในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าหากพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีเกิดผิดนัดชำระหนี้ (Default) ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจและการเงินของอียู ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าธนาคารกลางของแต่ประเทศสมาชิก จะหารือร่วมกันว่าจะดำเนินมาตรการทางวินัยกับอิตาลีหรือไม่ ซึ่งถ้าคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าควรดำเนินมาตรการ คณะกรรมาธิการยุโรปจะเรียกร้องให้อิตาลีลดการขาดดุลงบประมาณการคลังลง จนอยู่กรอบของอียูภายในระยะเวลา 3-6 เดือน ผ่านการปรับอัตราภาษีขึ้น และลดการใช้จ่ายของรัฐบาลลง […]

เงินเฟ้อเดือน พ.ค. ได้แรงหนุนจากอาหารสด

เงินเฟ้อเดือน พ.ค. ได้แรงหนุนจากอาหารสด

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของเดือน พ.ค. ยังคงแข็งแกร่งที่ 1.15% แม้ราคาพลังงานในประเทศจะลดลง 0.49% YoY แต่ราคาอาหารสดยังคงเห็นการเพิ่มขึ้นที่ 5.28% YoY ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปนับตั้งแต่ต้นปี (YTD) อยู่ที่ 0.92% ต่ำกว่ากรอบล่างของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของ ธปท. ที่ 1%-4% เล็กน้อย ในระยะข้างหน้า ด้วยฐานราคาพลังงานที่สูงในกลางปี 2018 กอปรกับการปรับลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกเมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้เราคงมุมมองอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2019 ที่ 1.0% และมองว่าธปท จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ในปีนี้ เราได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2019 ลงเป็น 3.6% (จาก 4.1% ในปี 2018) เนื่องจากการส่งออกได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าในเวทีโลก อีกทั้งเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญความไม่แน่นอนทางการเมืองหลังเลือกตั้งอาจทำให้การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนสะดุด เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวสุดท้ายซึ่งคือการบริโภคในประเทศก็ขึ้นอยู่กับการซื้อสินค้าคงทน อาทิ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ […]

เศรษฐกิจไทยในเดือนเม.ย. ขยายตัวโดยได้รับการหนุนจากยอดขายรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

เศรษฐกิจไทยในเดือนเม.ย. ขยายตัวโดยได้รับการหนุนจากยอดขายรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

BF Economic Research เศรษฐกิจไทยในเดือนเม.ย. ขยายตัวจากเดือนก่อนจากอุปสงค์ในประเทศโดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องในทุกหมวดการใช้จ่าย หนุนจากยอดขายรถยนต์ ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน โดยภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดีในเดือนเม.ย. ได้แก่ ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเล็กน้อยจากหมวดเครื่องจักร ด้านการท่องเที่ยวกลับมาขยายตัวแต่นักท่องเที่ยวจีนยังหดตัวต่อเนื่องเช่นเดียวกับการส่งออกไทยที่ได้รับผลกระทบจาก Trade War ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) พลิกกลับมาขยายตัว ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว ที่ 2.0% YoY จากเดือนก่อนที่หดตัว -2.7% YoY ตามการผลิตในหมวดยานยนต์เพื่อรองรับอุปสงค์ในประเทศ ที่ขยายตัวได้ดีที่ 13.4% YoY (vs prev 2.4% YoY) สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ 10.6% YoY จากเดือนก่อนที่ 0.6% YoYโดยเฉพาะการผลิตเครื่องปรับอากาศเพื่อจำหน่ายในประเทศและเพื่อการส่งออก จากสภาพอากาศในปีนี้ที่ร้อนกว่าปกติ อย่างไรก็ดี การผลิตในหมวดฮาร์ดดิสไดรฟ์หดตัวต่อเนื่องที่ -12.1% YoY ตามอุปสงค์ ต่างประเทศที่ชะลอลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการปรับลดระดับสินค้าคงคลัง หมวดอาหารและเครื่องดื่มหดตัว -1.4% YoY […]

BF Monthly Economic Review – พ.ค. 2562

BF Monthly Economic Review – พ.ค. 2562

BF Economic Research ความเสี่ยงเริ่มมีมากขึ้นในไตรมาส 2/2019 ตัวเลข GDP ไตรมาส 1/2019 เริ่มประกาศออกมาในหลายประเทศ เราเห็น Negative Impact ที่มาจากการส่งออกซึ่งเป็นผลจาก Trade War รอบที่แล้ว (ปี 2018) หากประกอบกับการประกาศสงครามการค้าในรอบปี 2019 นี้ จะเป็น Downside ต่อ GDP ได้อีกในช่วงที่หลือของปี 2019 ถึงปี 2020 โดยที่ผลกระทบจาก Trade War ขึ้นอยู่กับว่าประเทศพึ่งพิงการส่งออกมากน้อยขนาดไหน กรณีประเทศที่พึ่งการส่งออกมากๆ เช่นสิงคโปร์ จะเป็นผลลบได้มากถึง -0.9 ppt หากพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนในหลายประเทศเราพบข้อสังเกตที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ 1.การส่งออกติดลบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2.ภาคการผลิต/ภาคอุตสาหกรรม (รับผลกระทบต่อเนื่องจากการส่งออกที่ติดลบ) ไม่ค่อยสู้ดีสะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการผลิต กลุ่ม E&E (ซึ่งเป็นกลุ่มการผลิตเพื่อการส่งออก) […]

การส่งออกเดือนเม.ย. มีมูลค่า 18,556 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.6% YoY (vs prev -4.9% YoY ) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันหดตัว -1.2% YoY

การส่งออกเดือนเม.ย. มีมูลค่า 18,556 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.6% YoY (vs prev -4.9% YoY ) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันหดตัว -1.2% YoY

BF Economic Research ภาพรวม การส่งออกเดือน เม.ย. มีมูลค่า 18,556 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -2.6% YoY (vs prev -4.9% YoY ) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันหดตัว -1.2% YoY การนำเข้าเดือน เม.ย. มีมูลค่า 20,013 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -0.7% YoY (vs prev -7.6% YoY) หากไม่รวมทองคำและน้ำมันขยายตัว 0.4% YoY รวม 4 เดือนแรก การส่งออกมีมูลค่า 80,543 ล้านดอลลาร์ฯ (ลดลง-1.9% YoY) การนำเข้ามีมูลค่า 79,973 ล้านดอลลาร์ฯ (ลดลง-1.1% YoY) และการค้าเกินดุล 550 […]

GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง

GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง

BF Economic Research GDP ไทยไตรมาส 1/2019 ขยายตัว 2.8% YoY ชะลอจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกหดตัวแรง และการลงทุนชะลอลง ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของเอกชนไทย ขยายตัว 4.6% YoY (vs prev 5.4% YoY) โดยสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการดำเนินโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย โดยเฉพาะในส่วนของวงเงิน ค่าซื้อสินค้าอุปโภคที่จำเป็นในไตรมาสนี้ การใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าคงทน โดยเฉพาะการใช้จ่ายในการซื้อยานพาหนะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง กลุ่มสินค้าไม่คงทนขยายตัวดีทั้งในหมวดอาหารและสินค้าไม่คงทนอื่นๆ แต่กลุ่มสินค้ากึ่งคงทนและบริการสุทธิชะลอลง รายจ่ายรัฐบาล ขยายตัว 3.3% YoY vs prev 1.4% YoY หนุนจากรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการของรัฐขยายตัว 5.6% YoY และการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมขยายตัว 5.0 % YoY การลงทุน การลงทุนรวม ขยายตัว 3.2% YoY vs […]

GDP final สิงคโปร์ Q1/2019 ขยายตัวที่ 1.2 % YoY ต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาส

GDP final สิงคโปร์ Q1/2019 ขยายตัวที่ 1.2 % YoY ต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาส

GDP final สิงคโปร์ Q1/2019 ขยายตัวที่ 1.2% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาสนับตั้งแต่ Q4/2015 เป็นผลเนื่องมาจาก GDP ภาคการผลิตที่พลิกมาหดตัวในรอบ 3 ปี ประกอบกับ GDP ภาคบริการที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากความสามารถส่งออกที่ลดลง อย่างไรก็ดี GDP ภาคการก่อสร้างที่ฟื้นตัวหลังจากหดตัวยาวนานกว่า 2 ปี เป็นปัจจัยผลักดันสำคัญให้ GDP ขยายตัวได้ สิงคโปร์: GDP (Final) Q1/2019 ขยายตัวที่ 1.2% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และต่ำกว่า GDP คาดการณ์ (Estimated) ที่ประกาศครั้งที่ผ่านมาเล็กน้อยที่ 1.3% YoY อีกทั้ง ยังชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 1.3% YoY ต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาสนับตั้งแต่ […]

GDP มาเลเซีย Q1/2019 ขยายตัวชะลอลงที่ 4.5 % YoY ขณะที่ อินโดนีเซียขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย. สูงกว่าคาด

GDP มาเลเซีย Q1/2019 ขยายตัวชะลอลงที่ 4.5 % YoY ขณะที่ อินโดนีเซียขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย. สูงกว่าคาด

BF Economic Research GDP มาเลเซีย Q1/2019 ขยายตัวที่ 4.5% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.7% YoY เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ อินโดนีเซียพลิกกลับมาขาดดุลการค้าในเดือนเม.ย. 2019 ที่ -2,502 ล้านดอลลาร์ฯ สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ มาเลเซีย: GDP Q1/2019 ขยายตัวที่ 4.5% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.7% YoY ตามที่ตลาดคาดการณ์ เป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวชะลอลงที่ 7.6% YoY ( 8.4% YoY) ประกอบกับการลงทุนที่พลิกมาหดตัวที่ -3.5% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 0.6 % YoY โดยสาเหตุหลักมาจากการลงทุนภาครัฐที่หดตัวถึง -13.2 % YoY เนื่องมาจากการชะลอการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐกลับขยายตัวเร่งขึ้นที่ 6.3% […]

GDP ฟิลิปปินส์ Q1/2019 ขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ 5.6% YoY

GDP ฟิลิปปินส์ Q1/2019 ขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ 5.6% YoY

BF Economic Research GDP Q1/2019 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 5.6% YoY และชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.3% YoY เป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่ ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือน มี.ค. ที่ -3,140 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การขาดดุลการค้าใน Q1/2019 ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ASEAN UPDATE       ฟิลิปปินส์: GDP Q1/2019 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 5.6% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.3% YoY เป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวชะลอลงที่ 7.4% YoY เป็นหลัก (Prev. 12.6% YoY) เนื่องจากความล่าช้าในการผ่านร่างงบประมาณประจำปี 2019 ซึ่งประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต เพิ่งลงนามเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี […]

การประชุมกนง. เดือน พ.ค. โหวตคงดอกเบี้ยที่ 1.75% เป็นเอกฉันท์

การประชุมกนง. เดือน พ.ค. โหวตคงดอกเบี้ยที่ 1.75% เป็นเอกฉันท์

Headline: คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ในการประชุมเดือนพ.ค. โดยตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี เพื่อรอประเมินผลกระทบให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง หลังมองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศยังสูงในระยะข้างหน้า Key points: คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากการส่งออกสินค้าและการลงทุน โดยการส่งออกสินค้าขยายตัวชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง • สำหรับด้านอุปสงค์ในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังได้รับแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และการจ้างงานโดยรวมที่เริ่มทรงตัวและมีสัญญาณการชะลอลงของการจ้างงานในภาคการก่อสร้างและภาคการผลิตเพื่อส่งออก การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง • สำหรับประเด็นด้านเงินเฟ้อนั้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน ช่วยชดเชยผลของราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงจากภาวะภัยแล้งในระยะข้างหน้า สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจ e-commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต • คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบัน มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ประกอบกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก และปัจจัยในประเทศยังมีอยู่สูงในระยะข้างหน้า […]