Economic Update Interest Rate Thailand
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี
Economic Research กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องตั้งแต่การประชุมเดือน มิ.ย. 2020 3 ปัจจัยที่ กนง. จะติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น แนวโน้มและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลาง กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวในปี 2022 และ 2023 ที่ 3.2% และ 4.4% ตามลำดับ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยจะมีผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว โดยผลของการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่มากเท่าระลอกก่อนหน้า โดยที่มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น แต่จะไม่กระทบแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม Downside Risk ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย การขาดแคลนวัตถุดิบในบางอุตสาหกรรมที่อาจยืดเยื้อ และผลกระทบจากค่าครองชีพและต้นทุนที่สูงขึ้นต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในกลุ่มเปราะบาง กนง. จะติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2022 และ 2023 คาดว่าจะอยู่ที่ […]
GDP ไตรมาส 3 หดตัว -0.3% YoY (-1.1% QoQ, sa)
BF Economic Research GDP ไตรมาส 3 หดตัว -0.3% YoY (-1.1% QoQ, sa) จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ระบาดรุนแรง แต่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดที่ -0.8% สศช. รายงานเศรษฐกิจไทยหดตัว -0.3% YoY ในไตรมาส 3 ดีกว่าที่ตลาดคาด และปรับตัวแย่ลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 7.6% ทั้งนี้ เมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้า GDP หดตัว -1.1% QoQ sa (vs. 0.1% ไตรมาสก่อน) ในรายองค์ประกอบ: ด้านการใช้จ่าย (Demand Side) อุปสงค์ในต่างประเทศ: การส่งออกสินค้าและบริการโดยรวมชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า (12.3% vs. 27.7% ไตรมาสก่อน) โดยการส่งออกสินค้าชะลอลงเป็น 12.3% (vs. 30.7% […]
สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค.
BF Economic Research สรุปภาวะเศรษฐกิจจากธปท. สะท้อนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ฉุดเศรษฐกิจต่อเนื่องในเดือน ส.ค. ขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศจะได้รับแรงหนุนในเดือน ต.ค. การบริโภคภาคเอกชนหดตัวลงแรงในเดือน ส.ค. (-9.2% YoY vs. -6.8% เดือนก่อน) โดยดัชนีการใช้จ่ายทุกหมวดปรับตัวลดลงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส อาทิ สินค้าคงทน (-22.3%) สินค้าไม่คงทน (-11.1%) และภาคบริการ (-7.7%) ด้านรายได้เกษตรกรชะลอลงเป็น 6.5% (vs. +9.3% เดือนก่อน) จากราคาที่ลดลง ขณะที่การขอรับสวัสดิการต่อเนื่องยังคงสูงกว่าระดับปกติ การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเป็น 9.6% (vs. +13.6% เดือนก่อน) โดยหลักเป็นผลของยอดจดทะเบียนรถยนต์สำหรับลงทุนใหม่ (-16%) และหมวดวัสดุก่อสร้าง (-10.4%) ที่ลดลง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังอยู่ในระดับต่ำ (15.1k vs. 18.1k เดือนก่อน) อันเป็นผลจากการบังคับใช้มาตรการด้านการท่องเที่ยวที่เข้มงวดยังคงอยู่ แม้ว่าจะเริ่มมีการทยอยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเฟสนำร่อง อาทิ […]
BF Editorial BF Knowledge Center Thailand
บาทอ่อน มีผลยังไงกับกองทุน ?
บาทอ่อน มีผลยังไงกับกองทุน ? ไม่ว่าจะบาทอ่อน หรือบาทแข็ง ล้วนมีผลกระทบกับกองทุนต่างประเทศ แต่จะกระทบหรือไม่ เป็นอย่างไร มาฟังกันค่ะ เรียนเชิญท่านกดติดตาม เพื่อรับฟัง KnowMore No Bore หรือ สาระ ความรู้ แบบง่าย ๆ และเรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ ใน BF PODCASTS ของกองทุนบัวหลวง ได้ที่ bualuangfund
สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย.
BF Economic Research สรุปตัวเลขเศรษฐกิจไทยในเดือนเม.ย. ที่จัดทำโดย ธปท และหน่วยงานอื่นๆ โดยภาพรวมยังโตเมื่อเทียบรายปี แต่เมื่อเทียบรายเดือนพบว่าหดตัวในรายเครื่องชี้ มีรายละเอียดดังนี้ การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน -4.3% MoM (vs. +1.0% เดือนก่อน) แม้ว่าจะเติบโตสูงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฐานที่ต่ำ (+8.7% YoY vs. +3.7% เดือนก่อน) : หลังจากที่ปรับฤดูกาล ดัชนีการใช้จ่ายปรับตัวลดลงในทุกหมวดย่อย ได้แก่ สินค้าไม่คงทน (-5.3% MoM), บริการ (-3.9%) สินค้าคงทน (-3.5%) และสินค้ากึ่งคงทน (-0.8%) ด้านรายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวสองหลัก (+14.2% vs. +16.3% เดือนก่อน) ส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากราคา แต่ดัชนี้ด้านผลผลิตชะลอลง ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฐานต่ำ (+11.9% YoY vs. +10.7% เดือนก่อน) : […]
อัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ. ลดลง -1.17% YoY (vs prev -0.34%YoY) ผลจากมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟฟ้า
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ลดลง -1.17% YoY (vs prev -0.34%YoY) เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ซึ่งการหดตัวในเดือนนี้ มีปัจจัยหลักจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและ น้้าประปา เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ก.พ.–มี.ค. 2564) ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักสด ข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว ลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและฐานราคา ที่ต่ำปีก่อน ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่นๆ ส่วนใหญ่ยังทรงตัวและ เคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการบริโภคของประชาชน ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐาน flat 0.04% YoY และเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.- ก.พ.) เงินเฟ้อทั่วไปลดลง -0.75% (AoA) ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.12% (AoA) สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมี.ค. น่าจะยังหดตัวต่อไป […]
Economic Update Thailand Uncategorized
GDP ไทยไตรมาส 4 หดตัว -4.2% YoY ดีกว่าการคาดการณ์ของตลาด ทั้งปีหดตัว -6.1% คาดปีนี้ขยายตัว 3.3%
BF Economic Research GDP ไทยไตรมาส 4 หดตัว -4.2% YoY ดีกว่าการคาดการณ์ของตลาด (vs. ตลาดคาด -5.4%) และปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัว -6.4% ส่งผลให้ GDP ในปี 2020 หดตัว -6.1% (vs. -6.4% ตลาดคาด และ +2.3% ในปี 2019) สำหรับในรายไตรมาส, GDP ในไตรมาส 4 ขยายตัว 1.3% QoQ (vs. +6.2% ไตรมาสก่อน) ในรายองค์ประกอบ ด้านอุปสงค์: พบว่าแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการบริโภคของครัวเรือน อุปสงค์ภายในประเทศ: การขยายตัวของการใช้จ่ายภาครัฐยังคงมีอย่างต่อเนื่อง (การบริโภค +1.9% vs. +2.5% ไตรมาสก่อน และการลงทุน +0.6% […]
จีดีพีไทยไตรมาส 4 ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาการณ์
BF Economic Research ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไทยไตรมาส 4 ปี 2020 หดตัว -4.2% YoY ตามการหดตัว -6.4% ในไตรมาสที่ 3 และตัวเลขออกมาดีกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่มองว่าจะลดลง -5.4% YoY โดยการหดตัวของจีดีพีครั้งนี้นับเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 แต่ลดลงน้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรก เนื่องจากรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายชุดและมาตรการจำกัดโควิด-19 ได้ผ่อนคลายลง เมื่อพิจารณาถึงปี 2020 ทั้งปีเศรษฐกิจหดตัว -6.1% (จากปี 2019 ที่ขยายตัว 2.4%) เป็นอัตราถดถอยต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1998 สำหรับปี 2021 สศช. ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจขยายตัว 2.5% -3.5% จากที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.5% -4.5% ในประมาณการครั้งก่อนเดือนพ.ย. 2020 ข้อมูลเพิ่มเติม
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : ไทย
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจในปี 2020-2021 GDP ไทยในไตรมาส 3/2020 หดตัว -6.4% ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัว -12.1% ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการปรับตัวที่ดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาดว่าจะหดตัว -8.8% YoY ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนปีนี้ GDP ไทยหดตัวที่-6.7% YTD ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนหนุนให้เศรษฐกิจไตรมาส 3/2020 หดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อนหน้า มาจากการส่งออกสินค้าและบริการ การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลและการลงทุนของภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปีนี้ ภายใต้แนวโน้มสถานการณ์ต่างๆ ทั้งจากปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ หากไม่มีปัจจัยใดที่เข้ามากระทบรุนแรงก็คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 จะดีขึ้นกว่าไตรมาส 3 เนื่องจากจะเห็นได้จากดัชนีที่เป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือนมีการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง หลังจากมีมาตรการคลายล็อคดาวน์ในช่วงโควิด ในขณะที่ตลาดส่งออกจะติดลบน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2020 นี้จะหดตัวที่ -6.4% และเรามองว่าในปี 2021 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 3.8% โดยจะเป็นอัตราการขยายตัวที่ยังไม่กลับไปในระดับของ […]
เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก หดตัว -1.8% อ่อนแอลงจากที่ขยายตัว 1.5% ในไตรมาส 4 ปี 2019 แต่ดีกว่าตลาดเนื่องจากการสะสมสินค้าคงคลัง
BF Economic Research เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก หดตัว -1.8% อ่อนแอลงจากที่ขยายตัว 1.5% ใน 4Q19 แต่ดีกว่าตลาด ทั้งนี้ หากเทียบรายไตรมาสต่อไตรมาสหลังขจัดปัจจัยฤดูกาล (QoQ, SA) พบว่า เศรษฐกิจไทยหดตัว -2.2% (vs. -0.2% ใน 4Q19) เข้าสู่ภาวะ Technical Recession ในรายองค์ประกอบ ด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้าและบริการหดตัว -6.7% โดยได้รับแรงฉุดจากการส่งออกบริการที่หดตัว-29.8% ตามรายได้จากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคเอกชนขยายตัว 3.0% (vs. +4.1% ใน 4Q19) เป็นอัตราที่ชะลอลงแต่ยังบวกได้ด้วยแรงหนุนจากกาารบริโภคสินค้าไม่คงทน การลงทุนหดตัว -6.5% (vs. +0.8% ใน 4Q19) ซึ่งได้รับแรงฉุดทั้งจากการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนที่หดตัว -9.3% (vs. +2.6% ใน 4Q19) […]