ส่งออกสิงคโปร์เดือนมิ.ย. โตชะลอลงที่ 1.1% YoY ขณะที่ ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.ขยายตัวที่ 0.1% YoY ชะลอลงเช่นกัน
BF Economic Research การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์เดือนมิ.ย. ขยายตัวชะลอลงที่ 1.1% YoY จากที่ขยายตัว 15.5 % YoY ในเดือนพ.ค. โดยการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัว 4.6% ขณะที่ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลง -7.9% YoY สำหรับยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.ขยายตัวที่ 0.1% YoY ชะลอลงจากเดือนเม.ย. ที่ขยายตัว 0.6% YoY โดยหากไม่รวมยานพาหนะจะขยายตัวที่ 2.2% YoY ขณะเดียวกัน ยอดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเดือนพ.ค. ขยายตัว 1.2% YoY เร่งขึ้นจากที่เดือนที่ผ่านมาที่หดตัว -1.3% YoY การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์เดือนมิ.ย. ขยายตัวชะลอลงที่ 1.1% YoY จากที่ขยายตัว 15.5 % YoY ในเดือนพ.ค. โดยการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว […]
กองทุนบัวหลวง เสนอขาย “B-FUTURE” IPO 17-24 ก.ค. นี้
ข่าวประชาสัมพันธ์ Press Release กองทุนบัวหลวง เสนอขาย “B-FUTURE” IPO 17-24 ก.ค. นี้ เน้นลงทุนในธุรกิจล้ำสมัยที่มีศักยภาพเติบโตในอนาคต กองทุนบัวหลวงเปิดขาย “กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเพื่อคนรุ่นใหม่ หรือ B-FUTURE ครั้งแรกระหว่างวันที่17-24 ก.ค. นี้ ชูกลยุทธ์ลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มการบริโภคในอนาคต ที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ หวังคว้าโอกาสธุรกิจทั่วโลกที่มีศักยภาพเติบโตในวันข้างหน้า นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (กองทุนบัวหลวง) เปิดเผยว่า กองทุนบัวหลวง จะเปิดขายกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเพื่อคนรุ่นใหม่ หรือ B-FUTURE เป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) ในวันนี้ (17 ก.ค. 2561) จนถึงวันที่ 24 ก.ค.นี้ โดยจุดเริ่มต้นของกองทุน B-FUTURE คือ จะคัดเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโตโดดเด่น (Growth […]
อี-คอมเมิร์ซ กับก้าวเดินที่ไปได้อีกไกล
By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ การช้อปปิ้งเดี๋ยวนี้ทำได้ง่ายดายมากๆ ไม่ต้องเดินไปถึงหน้าร้านค้า แค่มีสมาร์ทโฟนก็กดเลือกช้อปและจ่ายสิ่งที่ใจนึกอยากได้ในเวลาแค่เสี้ยววินาที แล้วจากนั้นของก็พร้อมเดินมาส่งถึงที่แบบไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยหอบหิ้ว แม้ว่าคนในบางรุ่นอาจจะยังไม่ชินกับความสะดวกเหล่านี้ เพราะยังคุ้นเคยกับการช้อปปิ้งแบบเก่าๆ แต่ที่สุดแล้วนี่คือกระแสที่ต้องเดินไปในวันข้างหน้า ในวันนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของอี-คอมเมิร์ซ ธุรกิจในกระแสปัจจุบันและมีอนาคตมาให้ได้รู้จักกัน โดยข้อมูลจากรายงาน World Consumer Rights Day Campaign Pack อธิบายว่า อี-คอมเมิร์ซ มีด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ การค้าขายระหว่างภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ (B2B) การค้าขายระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) การค้าขายระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคด้วยกันเอง (C2C) ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า peer to peer (P2P) ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการมาของอี-คอมเมิร์ซก็คือ จำนวนประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้น โดยเมื่อปี 1995 ประชากรโลกที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังมีเพียงแค่ 1% เท่านั้น แต่ตัวเลขนี้ก็เติบโตอย่างก้าวกระโดด กลายเป็นเกือบ 50% แล้วในปี 2017 ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกัน อี-คอมเมิร์ซ ก็เติบโตอย่างรวดเร็วไม่แตกต่าง […]
หุ้นไทย 16 ก.ค. ปิดตลาดลดลง 15.83 จุด
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ ( 16 ก.ค. 2018) อยู่ที่ระดับ 1,627.69 จุด ลดลง 15.83 จุด หรือ 0.96% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,640.74 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,623.42 จุด มูลค่าการซื้อขาย 36,583.11 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ AOT ปิดที่ 63.25 บาท ลดลง 1.75 บาท (-2.69%) มูลค่าการซื้อขาย 2,671.73 ลบ. KTC ปิดที่ 23.10 บาท ลดลง 9.90 บาท (-30.00%) มูลค่าการซื้อขาย 2,589.00 ลบ. […]
B-FUTURE BF Editorial series Shoppingonline Smartphone Uncategorized
ผู้บริโภคมือเติบในยุคเทคโนโลยี The Series ตอนที่ 15
ผู้บริโภคสมัยใหม่มีความเชื่อมโยงมากกว่าเดิม เพียงแค่สมาร์ทโฟนแค่เครื่องเดียว ผู้บริโภคยุคปัจจุบันสามารถค้นหา เลือกดูสินค้าได้ ตรวจสอบราคา เปรียบเทียบราคา ซื้อขายหุ้น หรือแม้กระทั่งสั่งซื้อของจากช่องทางออนไลน์อื่น แม้ว่าจะอยู่ในห้างรีเทลอื่นก็ตาม เทคโนโลยี่สมัยใหม่ทำให้ผู้บริโภคมีพลังสูง หรือมีความหลายหลากในการเลือก แต่ในขณะเดียวกัน ห้างรีเทลที่เข้าใจประเด็นนี้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคผ่านเทคโนโลยี่จะประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ การปฏิสัมพันธ์จะมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น (personalized) ผู้บริโภคสมัยใหม่ในยุคเทคโนโลยี่มีลักษณะเด่น หรือพฤฒิกรรมร่วมกันอย่างน้อย 7 ประการด้วยกัน: 1. ช้อปปิ้งได้ทั้งวันทั้งคืน เทคโนโลยี่สมัยใหม่ไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไปสำหรับผู้บริโภคที่จะเลือกซื้อสินค้า หรือทำธุรกรรมต่างๆได้ตลอดเวลา หรือ24ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน หรือ7วันต่อสัปดาห์ การซื้อของโดยผู้บริโภคสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในช่วงเวลาในแต่ละวัน ด้วยเหตุนี้เจ้าของสินค้า หรือห้างรีเทลจะพยายามหาแพลตฟอร์มต่างๆเพื่ออำนวยความนสะดวกให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าออนไลน์ได้ทุกเมื่อเชื่อยาม เมื่อมีความต้องการ 2. ผู้บริโภคเป็นผู้ควบคุมเอง เทคโนโลยี่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถควบคุมประสพการณ์การช้อปปิ้งของตัวเอง โดยที่ใช้เทคโนโลยี่เพื่อค้นหาข้อมูลสินค้า ทำการบ้านว่าสินค้าหรือบริการอะไรเหมาะกับตัวเอง และหลังจากตกลงใจซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว ยังแชร์ข้อมูลให้เพื่อนๆได้รับทราบผ่านโซเซี่ยลมีเดีย ที่สำคัญขบวนการเหล่านี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็วผ่านสมาร์ทโฟน หรืออินเทอร์เน็ต 3. ช่องทางในการช้อปปิ้งมีความหลายหลากมากยิ่งขึ้น ในอดีตเวลาจะซื้อของผู้บริโภคต้องไปที่ร้านหรือห้าง แต่ทุกวันนี้ระบบออนไลน์ แอปพลิเกชั่นต่างๆ หรือสมาร์ทโฟนเปิดช่องทางให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้หลายหลากยิ่งขึ้น 4. ผู้บริโภคให้ความสนใจกับเนื้อหา (content)ของสินค้า ผู้บริโภคสมัยใหม่มีความรู้มากขึ้น รู้จักหาข้อมูลของสินค้า รู้จักเปรียบเทียบคุณภาพของสินค้า […]
GDP จีนไตรมาส 2/2018 โต 6.7% YoY ส่วนเครื่องชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือน มิ.ย. การบริโภคเร่งตัวขึ้น ขณะที่การผลิตและการลงทุนชะลอลง
BF Economic Research GDP จีน ไตรมาส 2/2018 ขยายตัว 6.7% YoY จาก 6.8% YoY ในไตรมาสก่อน โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัวลงในเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะการลงทุนที่ได้รับแรงกดดันจากการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด ขณะที่อุตสาหกรรมขั้นกลาง (Secondary Industry) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการผลิตชะลอลงต่อเนื่อง ดังแสดงตามรูป สำหรับเครื่องชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือน มิ.ย. ยอดค้าปลีกได้เร่งตัวขึ้น ขณะที่การลงทุนและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงชะลอตัวลงต่อ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือน มิ.ย. เร่งตัวขึ้นเป็น 9.0% YoY จาก 8.5% YoY ในเดือนก่อน และสูงกว่า โดยยอดขายกลับมาเร่งตัวขึ้นในเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะการบริการด้านอาหาร (Catering Services) ที่กลับมาเร่งตัวขึ้น ขณะที่ยอดขายในกลุ่มรถยนต์ (Automobiles) ได้หดตัว -7.0% YoY เพิ่มขึ้นจาก -1.0% […]
B-FUTURE BF Editorial series Uncategorized
ผู้บริโภคมือเติบในยุคเทคโนโลยี The Series ตอนที่ 14
เนื่องจากคนในยุคมิลเลนเนียลเติบโตขึ้นมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และสมาร์ทโฟน พวกเขามีอิทธิพลสูงต่อนักการตลาดที่จำต้องปรับกลยุทธ์เพื่อที่จะเข้าถึงผู้บริโภคสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคในตลาดอาเซียน ในเศรษฐกิจอาเซียนที่ใหญ่ที่สุด6ประเทศ คือสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 20-39 ปีมีจำนวน32% หรือ180ล้านคนในปี2015 เทียบกับ26%ในปี1975 คนวัยหนุ่มเป็นลักษณะเด่นของเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งเศรษฐกิจที่กำลังตั้งลำไม่ว่าจะเป็นบังคลาเทศ กัมพูชา ลาว เมียนมา ปากีสถาน ด้วยประชากร2,100ล้านคนรวมกัน กลุ่มประเทศเหล่านี้สามารถที่จะใช้ประชากรส่วนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวในการขับเคลื่อนความต้องการภายในประเทศ และผลักดันให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโต Hakuhodo Institute of Life and Living Asean (HILL-Asean) ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของคนยุคมิลเลนเนียลในอาเซียน โดยทำสำรวจ 8,100คนในภูมิภาคนี้ เพื่อเรียนรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคของพวกเขา โดยแบ่งพวกมิลเลนเนียลออกเป็น2กลุ่ม คือกลุ่มที่เกิดในทศวรรษ1980 และกลุ่มที่เกิดในทศวรรษ1990เพื่อศึกษาว่าพวกเขามีความแตกต่างกันอย่างไร Hill-Aseanพบว่า กลุ่มคนที่เกิดในยุค1980ใช้อินเทอร์เน็ตในการช้อปปิ้ง แต่พวกเขาแคร์เกี่ยวกับประสบการณ์จริงของการช้อปปิ้ง ด้วยการกลับไปเช็คดูของจริงในร้านค้า หรือเปรียบเทียบราคาสินค้าออฟไลน์ ส่วนคนที่เกิดในยุค1990ช้อปผ่านออนไลน์อย่างเป็นธรรมชาติมาก แต่พวกเขาแคร์ต่อประสบการณ์หลังการช้อปไปแล้ว […]
B-FUTURE BF Editorial series Uncategorized
ผู้บริโภคมือเติบในยุคเทคโนโลยี The Series ตอนที่ 13
แม้ว่าอินเดียจะมีประชากร 1,200 ล้านคน หรือมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองมาจากจีน แต่อินเดียจะเป็นประเทศที่มีประชากรในวัยหนุ่มสาว หรือวัยทำงานมากที่สุดในโลกภายในปี 2020 โดยค่าเฉลี่ยอายุของคนอินเดียจะอยู่ที่ 29 ปี อินเดียมีประชากรที่เกิดยุคมิลเลนเนียล 400 ล้านคน หรือประมาณ 46% ของประชากรทั้งหมด พอๆกับจีนเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้อินเดียยุคมิลเลนเนียล (เกิดระหว่างปี 1982-1997) จะเป็นเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอินเดีย และของโลกด้วย งานวิจัยของมอร์แกนสแตนเลย์ระบุว่า แม้ว่าคนอินเดียยุคมิลเลนเนียลจะมีอายุน้อย แต่เป็นผู้ที่ทำรายได้หลักให้กับครอบครัว โดยรายได้ของคนอินเดียมิลเลนเนียลเทียบเท่า 70% ของรายได้ครอบครัวของอินเดียทั้งประเทศ พลังของคนหนุ่มสาวอินเดียจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมการบริโภคของคนอินเดียมิลเลนเนียลจะมีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจ 4 ส่วนด้วยกันคือ 1. รถยนต์ มอเตอร์ไซค์และสกู๊ทเตอร์เป็นพาหนะที่จะแพร่หลายที่สุดของคนอินเดีย อย่างไรก็ตาม เมื่อคนอินเดียมีรายได้เพิ่มขึ้น จะซื้อรถยนต์ มอร์แกนสแตนเลย์พบว่า คนอินเดียมิลเลนเนียลมีรถยนต์ส่วนตัวขับเพียง 7% เท่านั้น แต่แนวโน้มการขยายตัวของตลาดรถยนต์มีสูงเมื่อกำลังซื้อของกลุ่มมิลเลเนียลเพิ่ม ในขณะเดียวกันคนอินเดียมิลเลนเนียลมีการใช้แอพในการเรียกแท็กซี่มากยิ่งขึ้น 2. บ้านที่อยู่อาศัย การซื้อรถยนต์เป็นเป้าหมายในอนาคตอันใกล้ของคนอินเดียมิลเลนเนียล […]
ผู้บริโภคมือเติบในยุคเทคโนโลยี The Series ตอนที่ 12
คนไทย และคนเอเชียยุคมิลเลนเนียลมีความต้องการการเดินทางแบบไหน? Amadeus ได้ทำการวิจัย และพบว่ากลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลของไทย และเอเชียต้องการประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบใหม่ ผ่านช่องทางที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชั่นของการขับขี่ร่วมกัน (ride sharing) หรือแพลตฟอร์มสำหรับที่พักระยะสั้นของระบบเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (sharing economy) การวิจัยของอะมาดิอุสพบว่า 42% ของคนยุคมิลเลนเนียลบอกว่า พวกเขามักที่จะใช้แอพพลิเคชั่นขับขี่ร่วมกันสำหรับการเดินทาง และอีก 35% บอกว่าพวกเขาใช้บริการเศรษฐกิจแบบแบ่งปันสำหรับที่พัก แน่นอนเลยที่เดียวที่ คนยุคมิลเลนเนียลใช้เทคโนโลยีเพื่อที่จะเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยว อะมาดิอุส พบว่า77%ของคนไทยที่ตอบแบบสอบถามแสดงความสนใจในแอพพลิเคชั่นที่ขยายความจริง ที่ให้ข้อมูลดิจิทัลแบบอินเทอร์แอคทีฟเกี่ยวกับวัฒนธรรม หรือประวัติศาสตร์ของสถานที่ท่องเที่ยว เปรียบเทียบกับ66%ของคนเอเชียทั้งภูมิภาค งานวิจัยของอะมาดิอุสทำร่วมกับ YouGov โดยมีการทำเซอร์เวย์ใน 14ตลาด และมี 6,870 คนตอบแบบสอบถาม ปรากฎว่า 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นคนในยุคมิลเลนเนียลที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี งานวิจัยเหมือนอย่างของอะมาดิอุสช่วยให้บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสามารถเจาะลูกค้ากลุ่มมิลเลนเนียลได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย หรือตรงต่อความต้องการของพวกเขาได้มากยิ่งขึ้น ในขณะที่คนมิลเลนเนียลของเอเชียต้องการได้รับการติดต่อผ่านอีเมล์ แต่ 45%ของคนไทยมิลเลนเนียลบอกว่าต้องการได้รับการติดต่อผ่านโซเซียลมีเดีย งานวิจัยพบว่า สำหรับคนยุคมิลเลนเนียลแล้ว อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเหมือนกับเป็นเนื้อหนังที่สองของพวกเขา และพวกเขาเปิดกว้างสำหรับประสบการณ์ใหม่ๆ บริษัทท่องเที่ยวที่จะประสบความสำเร็จต้องสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ยุทธศาสตร์ใหม่ๆ […]
เกาะกระแสกับ Premiumization
By…รุ่งนภา เสถียรนุกูล Portfolio Management แนวคิดเรื่อง Urbanization หรือ การขยายตัวของสังคมเมือง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน Mega Trend ที่สำคัญของโลก สาเหตุที่สังคมเมืองขยายตัวออกไปนั้น เกิดจากการรวมตัวของผู้คนจำนวนมากจนกลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่หรือเกิดจากการกระจายความเจริญของเมือง จากเมืองศูนย์กลางออกไปยังเมืองอื่นๆ ผลที่ตามมา คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนรูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่ตามมาพร้อมกับ Urbanization คือ พฤติกรรมผู้บริโภคถูกยกระดับไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของมนุษย์ เมื่อคนเรามีรายได้ที่ดีขึ้น เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว การเชื่อมต่อของโลกดิจิตอล ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก ต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้บริโภคจึงกล้าที่จะจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการในระดับที่สูงขึ้น ทำให้เกิดเป็น Trend ที่เรียกว่า Premiumization ถ้าพูดถึงคำว่า Premiumization ในแง่ของการบริโภค จะไม่ได้หมายถึงสินค้าที่มีราคาแพงเพียงอย่างเดียว แต่ในที่นี้จะหมายถึง การยกระดับการบริโภคที่เน้นเรื่องของความทันสมัย สะดวกสบาย มีนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านฟังก์ชั่น หรือดีไซน์ ถึงแม้ว่าระดับราคาสินค้าอื่นอาจจะสูงขึ้นไปกว่าสินค้าโดยทั่วไป ผู้ผลิตสินค้าและบริการ จะต้องหาวิธีใหม่ๆ ในการขยายมูลค่า (Drive […]