ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)
สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วงเดือน ธ.ค. 2018 ดัชนี MSCI AC ASEAN Index ในเดือน ธ.ค. ยังคงปรับลดลงต่อเนื่องอีก 3.8% ส่งผลให้ทั้งปี 2018 ตลาดหุ้นอาเซียนปรับตัวลง 11% โดยได้รับปัจจัยกดดันจากภายนอกมากกว่าปัจจัยภายในภูมิภาค ปัจจัยหลักคือการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) รวมถึงยังมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนที่ยืดเยื้อและยังไม่ได้ข้อสรุปของการเจรจาซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ขณะที่เม็ดเงินลงทุนต่างชาติในตลาดอาเซียนไหลออกอย่างต่อเนื่องทั้งปี ยกเว้นเวียดนามเท่านั้นที่มีกระแสเงินทุนไหลเข้า อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นอาเซียนนับว่าปรับตัวลดลงน้อยกว่าเอเชียที่ในปี 2018 ดัชนี MSCI AC Asia ex-Japan ปรับตัวลง 16% ด้วยความที่ประเทศกลุ่มอาเซียนได้รับผลกระทบของปัญหาสงครามการค้าอย่างค่อนข้างจำกัด และบางประเทศ เช่น เวียดนาม กลับกลายเป็นได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต ประกอบกับราคาหุ้นที่ระดับมูลค่าปรับลดลงมาจนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีต ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่ปรับลงมากสุดใน 2018 ด้วยเหตุจากราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อการนำเข้าและทำให้บัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้นและอัตราเงินเฟ้อพุ่งทะยานขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังค่าเงินของประเทศที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆ ทำให้ธนาคารกลางของฟิลิปปินส์ต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อพยุงค่าเงินและต่อสู้กับเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ต้นปี 2019 ตลาดหุ้นอาเซียนกลับมามีผลตอบแทนเป็นบวกอีกครั้ง ด้วยปัจจัยที่คอยกดดันตลาดหุ้นอาเซียนในปี 2018 […]
หุ้นไทยปิดตลาดที่ 1,652.64 จุด ลดลง 3.09 จุด
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) วันที่ 14 ก.พ. 2019 ปิดตลาดที่ระดับ 1,652.64 จุด ลดลง 3.09 จุด หรือ -0.19% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,659.52 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,650.13 จุด มูลค่าการซื้อขาย อยู่ที่ 45,882.01 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTT ปิดที่ 48.25 บาท ลดลง -0.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,230.76 ลบ. 2.TRUE ปิดที่ 5.45 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,807.95 ลบ. 3.ADVANC ปิดที่ […]
ธปท. เปิดแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ปี 2019-2021
ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดผยว่า แผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 4 (ปี 2019-2021) มุ่งสร้างระบบนิเวศน์ หรือ Ecosystem ให้ระบบการชำระเงินดิจิทัล เป็นทางเลือกหลักของการชำระเงิน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและบริการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ราคาถูก และตรงความต้องการของผู้ใช้ทั้งประชาชน ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และโซเชียล คอมเมิร์ซ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มอี และธุรกิจขนาดใหญ่ ตลอดจนขยายการใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดย ธปท. จะร่วมกับสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการชำระเงิน และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันมาตรการต่างๆ ให้บรรลุผล สำหรับกรอบการพัฒนามี 5 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้ได้มาตรฐานพร้อมเชื่อมโยง (2) การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการชำระเงิน โดยพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ (3) การส่งเสริมการเข้าถึงและใช้บริการชำระเงินโดยขยายการใช้ระบบการชำระเงินดิจิทัล และความรู้ความเข้าใจในทุกภาคส่วน (4) การกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้นกันพร้อมรับมือภัยไซเบอร์และคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม (5) การพัฒนาข้อมูลชำระเงิน โดยเชื่อมโยงข้อมูลการชำระเงินอย่างบูรณาการและพัฒนาการวิเคราะห์เชิงลึก […]
เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในไตรมาส 4/2018
BF Economic Research จากประมาณการเบื้องต้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4/2018 กลับมาเติบโต 1.4% QoQ saar (0.3% QoQ sa) ตามที่ตลาดคาด โดยเป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนที่ 2.4% QoQ saar และ 9.8% QoQ saar ตามลำดับ หลังหดตัวในไตรมาสก่อนหน้าจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการลงทุนในเครื่องจักรของภาคธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การส่งออกสุทธิ (การส่งออกหักลบด้วยการนำเข้า) ยังเป็นตัวฉุดจีดีพีในไตรมาส 4 โดยการส่งออกขยายตัว 3.7% QoQ saar ในขณะที่ การนำเข้าเติบโตถึง 11.3 % QoQ saar ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่กระทบการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าสมาร์ทโฟนและเซมิคอนดักเตอร์ เรามองว่า การที่ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน น่าจะเป็นปัจจัยกดดันการส่งออก และเศรษฐกิจของญี่ปุ่นต่อไป หลังจากที่ก่อนหน้านี้การส่งออกเป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับมาฟื้นตัวได้
หุ้นไทยปิดตลาดที่ 1,655.73 จุด เพิ่มขึ้น 13.24 จุด
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) วันที่ 13 ก.พ. 2019 ปิดตลาดที่ระดับ ที่ 1,655.73 จุด เพิ่มขึ้น 13.24 จุด หรือ 0.81% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,657.12 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,645.84 จุด มูลค่าการซื้อขาย อยู่ที่ 45,303.59 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTT ปิดที่ 49.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,711.71 ลบ. 2.EA ปิดที่ 51.25 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,697.21 ลบ. 3.PTTGC […]
B-HY (H75) AI B-HY (UH) AI BF Knowledge Center
ทำความรู้จัก กับ บัวหลวง ไฮยิลด์
ทำความรู้จัก กับ บัวหลวง ไฮยิลด์ โดย…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (B-HY) เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนแบบ Feeder Fund คือลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ AXA World Funds US High Yield Bonds USD Fund (กองทุนหลัก) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV มี AXA Funds Management เป็นผู้จัดการกองทุน ซึ่งมีเป้าหมายในการบริหารกองทุนเพื่อให้รับรายได้ดอกเบี้ยในระดับที่สูงและสม่ำเสมอ โดยลงทุนในตราสารหนี้ประเภท High Yield ของสหรัฐ AXA Funds Management ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุน มีประสบการณ์ มีทีมงานบริหารกองทุน โดยเฉพาะตราสารหนี้มาหลาย 10 ปี มีฐานการลงทุนอยู่ทั่วโลก […]
ก.ล.ต. เตรียมจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์จัดตั้ง “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” รองรับการยกเว้นภาษีการลงทุนตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมดังกล่าว ช่วยส่งเสริมการออมเงินเพื่อเกษียณอายุของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สืบเนื่องจากกรมสรรพากรอยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2018 และคาดว่าจะมีผลใช้บังคับกลางปี 2019 ซึ่งจะส่งผลให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมมีภาระภาษีตามไปด้วย ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหากลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงยังคงได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน กระทรวงการคลังจะเสนอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ “กองทุนรวม” ที่มีผู้ถือหน่วยเฉพาะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว ก.ล.ต. มีแผนที่จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อรองรับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีข้อกำหนด อาทิ ผู้ถือหน่วยต้องเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น ยกเว้นจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนขั้นต่ำที่กำหนดไว้อย่างน้อย 35 ราย ไม่เป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) การรับชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนสามารถใช้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินแทนเงินสดได้ อนึ่ง ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th/hearing ผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2033-9660 หรือทาง […]
กองทุนบัวหลวง เสนอขายกองทุนใหม่ บัวหลวงธนสารพลัส 5/19
กองทุนบัวหลวง เสนอขายกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 5/19 ระหว่างวันที่ IPO 13-18 ก.พ. 2562 สำหรับกองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 5/19 (BP5/19) เน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ และหรือเงินฝากต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และหรือภาคเอกชน ในระดับ Investment grade กองทุน BP 5/19 อายุประมาณ 6 เดือน ประมาณการผลตอบแทน 1.75% ต่อปี ขนาดโครงการ 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าว เหมาะสมกับเงินลงทุนของผู้ลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ โดยเลือกลงทุนในตราสารหนี้ของกิจการที่มีความมั่นคง และมีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนที่จะนำมาลงทุนในกองทุนนี้ ควรเป็นเงินส่วนที่สามารถลงทุนได้ตามอายุกองทุน ลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท ที่ราคาเสนอขาย 10 บาทต่อหน่วยลงทุน สำหรับตราสารหนี้ […]
หุ้นไทยปิดตลาดที่ 1,642.49 จุด เพิ่มขึ้น 4.49 จุด
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) วันที่ 12 ก.พ. 2019 ปิดตลาดที่ระดับ 1,642.49 จุด เพิ่มขึ้น 4.49 จุด หรือ 0.27% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,645.63 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,635.54 จุด มูลค่าการซื้อขาย อยู่ที่ 34,886.39 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTTGC ปิดที่ 67.50 บาท ลดลง -0.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,634.59 ลบ. 2.BEAUTY ปิดที่ 8.15 บาท เพิ่มขึ้น 0.45 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,408.10 ลบ. 3.AOT ปิดที่ […]
เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรปี 2018 ชะลอตัวมากสุดในรอบ 6 ปีฉุดค่าเงินปอนด์ลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์
BF Economic Research เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรขยายตัว 0.2% QoQ (1.3% YoY) น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.3% QoQ (1.4% YoY) ทำให้ทั้งปี 2018 เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 1.4% ลดลงจาก 1.8% ในปี 2017 และเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012 โดยปัจจัยที่ช่วยประคองเศรษฐกิจ ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายของภาครัฐ และสินค้าคงคลัง ซึ่งหักลบกับการลงทุน และการส่งออกที่หดตัว โดยเฉพาะการลงทุนที่หดตัวถึง -1.4% QoQ (-3.7% YoY) หลังการประกาศตัวเลขจีดีพี ค่าเงินปอนด์ก็อ่อนค่าลงแตะ 1.285 ดอลลาร์ต่อปอนด์ จากก่อนหน้าที่อยู่เหนือระดับ 1.3 ดอลลาร์ต่อปอนด์ ทั้งนี้ กองทุนบัวหลวงมองว่า เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2019 จากผลกระทบของความไม่แน่นอนในการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก